วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เกือบตายเพราะกินมะรุม สาระน่ารู้เกี่ยวกับมะรุม

ปกติดิฉันไม่รู้จักมะรุม ต่อเมื่อแต่งงานมาจึงได้รู้จักเพราะครอบครัวสามีอยู่นนทบุรีและชอบทานแกงส้มมะรุม จึงได้หัดทาน แต่ไม่เคยสังเกตุตัวเองรู้แต่ว่าหลังๆเริ่มมีผื่นลมพิษขึ้นก็ไม่ได้สนใจ จนวันหนึ่งกำลังจะประชุมเวลา 10.00 น. ก็ลงไปทานข้าวก่อนหน้าครึ่งชั่วโมง(ทานข้าวกับแกงส้มมะรุมและเนื้อเค็มทอด) ทานเสร็จก็รีบขึ้นไปห้องประชุมชั้นสามแล้วก็วิ่งลงมาชั้นล่างเพื่อถ่ายเอกสารและก็วิ่งกลับขึ้นไปอีกครั้ง(ขึ้นลงด้วยบันได)นับเวลาได้น่าจะภายในสิบห้านาทีหลังจากทานข้าว อยู่ๆก็เกิดอาการผื่นแดงขึ้นทั้งตัว แสบและเจ็บปวด ผิวเริ่มมีสีแดงขึ้นทั้งตัวไม่นานก็หมดสติล้มลงไปนอนกองกับพื้น ที่ทำงานของดิฉันมีพยาบาลจึงรีบพากันส่งโรงพยาบาลซึ่งอยู่ห่างไปประมาณสองกิโลได้



เมื่อไปถึงหมอวัดความดันไม่ขึ้น ดิฉันเ มื่อได้สติก็รู้สึกตาลอย เมื่อหมอให้ยาก็มีอาการหนาวสั่น หนาวข้างในหนาวทรมานมาก ห่มผ้ากี่ผืนก็ไม่หายหนาว หลายชั่วโมงจึงดีขึ้น นอนโรงพยาบาลอยู่ สามวัน ดิฉันมาทราบจากเพื่อนพยาบาลว่าหมอบอกว่าถ้ามาช้ากว่านี้นิดเดียวก็ช่วยไม่ทันแล้ว หมอบอกว่า



แพ้อาหารเฉียบพลับ ดิฉันก็ไม่รู้ว่าแพ้อะไร เข้าใจว่าแพ้กุ้งเพราะวันนั้นทานแกงส้มมะรุมกับกุ้ง ต่อมาเมื่อออกจากโรงพยาบาลได้พักหนึ่งก็มีคนเอาแกงส้มมะรุมกับปลามาขายก็ซื้อทานเพราะไม่รู้ว่าแพ้มะรุม เกิดอาการเช่นเดียวกันเลย แต่เพราะครั้งนี้รู้แล้วว่าต้องรีบไปโรงพยาบาลแต่ถึงอย่างนั้นก็ยังช๊อคก่อนถึงโรงพยาบาลจนได้ ตอนพี่สาวไปหาที่โรงพยาบาลพี่บอกว่าผิวหนังเป็นสีแดงเข้มบวมไปหมดเลย หมอลงความเห็นว่าแพ้มะรุมและหากยังคงทานอีกต่อไปจะฟุ๊บคาโต๊ะเลย ตลกมั้ยคะ แพ้มะรุม อยากรู้มากๆเลยว่าทำไมถึงแพ้ได้และแพ้รุนแรงขนาดช๊อคทุกครั้ง หรือที่ภาษาหมอเรียกว่าแพ้เฉียบพลัน ทำไมถึงแพ้ เพราะอะไร แล้วจะหายได้มั้ย ใครรู้ช่วยตอบทีคะ



วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สมุนไพรอบตัว ลดความอ้วน สูตรพิเศษ


สมุนไพรอบตัว สูตรพิเศษ ลดความอ้วน

จำนวน 12 ถุงเล็ก ใช้ได้ 3 ครั้ง ต่อ 1 ถุง ใช้ได้ 36 วัน

ราคา 250 บาท



วิธีใช้ สมุนไพร 1 ถุงเล็ก นำใส่ถุงผ้า ใช้ได้ 3 ครั้ง ต่อน้ำ 1 ลิตร อบตัวทุกวัน ๆ ละ 20 – 30 นาที แล้วแต่สภาพร่างกาย

ขณะอบตัวควรจิบน้ำอุ่นเป็นระยะ

ข้อห้าม สตรีมีครรภ์ และ ผู้มีไข้ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคลมบ้าหมู อ่อนเพลีย นอนน้อย กินอาหารอิ่มใหม่ ๆ

ตัวยาสมุนไพร

ไพล, วานนาคำ, ขมิ้นชัน, ข่าแดง, ข่า, ชุมเห็ดเทศ, ใบเตยหอม, ใบมะขาม, ใบส้มเสี้ยว, ใบส้มป่อย, ใบแจง, ใบพลับพลึง, พิมเสน, การบูร, ผิวส้มทั้ง 3, ใบมะนาว, ตะไคร้บ้าน, เถาเอ็นอ่อน และ ตัวยาอีก 20 ชนิดบดเป็นผงละเอียด


ผลิตโดย กลุ่มแม่บ้านและแพทย์แผนไทย ตำบลรำมะสัก จ. อ่างทอง

081-357-1859, http://kasidit-herbal.blogspot.com/, Email: yatha22@hotmail.com

วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การดูแลสุขภาพสตรีหลังการคลอดบุตร

การแพทย์แผนไทย จะมีการดูแลสุขภาพสตรีหลังการคลอดบุตร
ให้มีสุขภาพที่แข็งแรง และมีรูปร่างที่งดงาม ถึงแม้ว่าการคลอดบุตร
เป็นเรื่องธรรมชาติ มิใช่เรื่องของการเจ็บป่วย แต่เนื่องจากสตรีที่
ตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายทั้งภายในและภายนอก
ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนกระทั้งคลอดบุตร จะมีการขยายตัวของอวัยวะต่าง ๆ
แม้กระทั่งผิวหนังก็ยังมีการเปลี่ยนแปลง บางแห่งจะมีสีที่คล้ำกว่าปกติ
หรือเกิดฝ้าที่ใบหน้า และ หลังการคลอดบุตรเป็นช่วงที่ร่างกายมีความ
อ่อนแอ ขาดภูมิคุ้มกัน จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

ดังนั้น หลังจากการคลอดบุตรแล้ว สตรีทุกคนย่อมต้องการสุขภาพที่แข็งแรง
เพื่อจะได้ดูแลบุตรอันเป็นที่รัก นอกจากนี้ย่อมปรารถนาที่จะมีเรือนร่างที่งด
งาม สมส่วน การแพทย์แผนไทยจึงมีกรรมวิธีมากมาย ที่จะทำให้สตรีหลังคลอดบุตร
สมความปรารถนา หลังจากที่ต้องอ่อนเพลีย และอดทนต่อความเจ็บป่วยจาก
การคลอดบุตร

วิธีการดูแลสตรีหลังคลอดบุตรที่มีมาแต่สมัยโบราณก็คือ การอยู่ไฟ การนั่งถ่าน

การประคบสมุนไพร การนาบหม้อเกลือ การเข้ากระโจม การรมตาด้วยควันจากสมุนไพร

การนวด และการอาบน้ำ แต่ละท้องถิ่นก็อาจจะมีวิธีการที่แตกต่างกันไป แม้กระทั่งการใช้

สมุนไพรก็ขึ้นอยู่กับท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งในปัจจุบันวิธีการบางอย่างก็ได้ปรับเปลี่ยนไปด้วยศาสตร์

ของการแพทยืแผนปัจจุบัน เช่น การนั่งถ่าน เพื่อให้รอยฉีกขาดของช่องคลอดและ ภายใน

ช่องคลอดแห้งเร็วขึ้น

* สตรีหลังคลอดบุตร

- ถ้าคลอดเองตามธรรมชาติ สามารถทำอยู่ไฟได้ หลังจากคลอดแล้ว 7 วัน

ซึ่งต้องไม่มีอาการตกเลือด และ ความดัน ด้วย

- ถ้าคลอดโดยการผ่าตัดออกทางหน้าท้องควรทำหลังการคลอดแล้วไม่น้อยกว่า 30 วัน

และต้องทำด้วยความระมัดระวังอย่างเป็นพิเศษ และไม่ควรทำการนาบหม้อเกลือ และ

การโกยหน้าท้อง นอกเสียจากว่า คลอดแล้ว 60 วัน และแผลหายสนิทแ้ล้วเท่านั้น

เวลาในการทำ

ต้องทำแต่เช้า เวลาที่ใช้ทำไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง และต้องทำติดต่อกันอย่างน้อย 3 วัน - 7 วัน


กรรมวิธี ในการดูแลคุณแม่หลังคลอด (การอยู่ไฟหลังคลอด)


การอยู่ไฟหลังคลอด

ในสมัยโบราณการคลอดบุตรเป็นไปตามธรรมชาติ หลังการคลอดบุตรไม่มีการเย็บหรือตกแต่งปากช่องคลอด สตรีหลังการคลอดบุตรจะต้องมีร่างกายที่อุ่นอยู่เสมอ เพื่อให้มีการไหลเวียนของโลหิตที่ดี และซ่อมแซมร่างกายให้เป็นปกติได้เร็ว โบราณจึงให้สตรีนั้นอยู่ไฟด้วยการนอนตะแคงบนไม้กระดานแผ่นเดียว โดยมีเตาดินที่เตรียมไว้เป็นพิเศษอยู่ห่างจากไม้กระดานประมาณ 1 เมตร ส่วนมากจะให้เตานั้นอยู่แนวเดียวกับท้อง จึงเรียกชื่อได้อีกอย่างหนึ่งว่า "การย่างท้อง"บางท้องถิ่น "การนอนแคร่" สำหรับวธีการดำเนินการต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้

การเตรียมอุปกรณ์ของใฃ้

1. ไม้กระดานที่มีความหนา 1-2 นิ้ว ความยาว 7-8 ฟุต (2-2.5 เมตร) และความกว้าง 12-15 นิ้ว หาขอนไม้รองด้านปลายไม้กระดานทั้งสองด้าน เพื่อให้สูงจากพื้นดินถ้าไม่มีไม้กระดาน จะใช้เป็นแคร่ที่ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกแทนก็ได้

2. เตาดินในสมัยโบราณนิยมใช้ต้นกล้วย 2 ต้น นำมาผ่าซึกแล้ววางเป็นกรอบสี่เหลี่ยนบนพื้นดิน ใส่ดินตรงกลางกรอบนั้นโดยเอาใบตองวางบนดินก่อน จึงวางฟื้นไม้สะแกที่จุดแล้ว ถ้าจะประยุกต์ใช้กับยุคปัจจุบันซึ่งบ้านเรือนส่วนใหญ่ไม่มีพื้นดิน ก็ให้เตรียมกาละมังขนาดใหญ่ (เส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า) 20 นิ้ว 1 ใบ และสังกะสีที่มีขนาดใหญ่พอที่จะปิดปากกาละมังให้มิด 1 แผ่น สำหรับไว้วางฟืนไม้สะแก

3.ฟืนหรือถ่านไม้ขนาดใหญ่ ตัดเป็นท่อน ๆ ยาวท่อนละไม่น้อยกว่า 10 นิ้ว จำนวน 60 ท่อน (มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนวันที่ทำการอยู่ไฟ) ถ้าเป็นฟืนไม้สะแกก็จะยิ่งดีเพราะจุดติดดี ให้ไฟแรง มอดช้า ไม่มีควัน และที่สำคัญคือ ไม่แตกไม่มีลูกไฟกระเ็นก่อนใช้ให้นำฟืนผึ่งแดด เพื่อไล่ความชื้นด้วย

4.ถังใส่น้ำและกระบวยตักน้ำอย่างละ 1 ใบ สำรองไว้ใช้ในกรณีที่ความร้อนมากไป ไม่สามารถทนได้ ให้ตักน้ำพรมที่ฟืนได้

วิธีทำการอยู่ไฟ

1.จัดสถานที่เพื่อวางไม้กระดานหรือแคร่ให้เหมาะสม

2.จัดที่สำหรับวางเตาดินให้ห่างจากไม้กระดานประมาณ 40-60 ซม. ส่วนมากจะให้เตาที่ใส่ฟืนแล้วนั้นตรงกับหน้าท้อง ถ้าใช้กาละมังก็ต้องเติมน้ำให้เต็มก่อน จึงวางแผ่นสังกะสีปิดปากกาละมังให้มิด วางฟืนไม้สะแกบนแผนสังกะสีแล้วจุดไฟที่ฟืน

3.ให้สตรีหลังคลอดขึ้นนอนบนไม้กระดานหรือแคร่ โดยนอนตะแคงเหยียดตัวให้ตรงและขาทั้งสองข้างชิดกัน ให้หน้าท้องตรงกับเตา ถ้าหากเมื่อยจะเปลี่ยนเป็นนอน หงายหรือเปลี่ยนท่านอนอื่น ๆ ได้ แต่ต้องพยายามให้ร่างกายได้รับความร้อนทุำกส่วน

4. ดูแลในเรื่องความร้อน ด้วยการเติมฟืนหากความร้อนลดลง แต่ถ้าร้อนมากจนไม่สามารถทนได้ ก็ให้ตักน้ำพรมที่ฟืนได้บ้าง