วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

พืชมีพิษ โพธิ์ศิริ

โพธิ์ศรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hura crepitans L.
วงศ์ Euphorbiaceae
ชื่อท้องถิ่น โพธิ์อินเดีย โพธิ์หนาม โพธิ์ศรีมหาโพธิ์ โพธิ์ทะเล โพธิ์ฝรั่ง ทองหลางฝรั่ง sand box tree, monkey pistol, portia tree, umbrella tree, monkey’s dinner bell
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ มีใบเดี่ยวลักษณะคล้ายใบโพธิ์ ลำต้น กิ่งก้านมีหนาม มียางใส ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้มีสีแดงเข้มเป็นช่อดอกยาว ดอกตัวเมียเป็นรูปเห็ดเล็กๆ ผลเป็นเปลือกแข็ง กลมแป้นคล้ายผลฟักทอง ภายในบรรจุด้วย เมล็ด ซึ่งมีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่วปากอ้า ในสมัยก่อนมีการนำผล ที่ยัง ไม่สุกมาต้ม เจาะรู ตากให้แห้ง บรรจุทรายไว้ในผล ใช้สำหรับซับหมึกจากปากกา เป็นที่มาของชื่อ sand box tree (2-4)


บ่อย ครั้งด้วยกันที่เราพบอาการพิษที่เกิดเนื่องจากการสัมผัส หรือรับประทานส่วนต่างๆ ของพืชที่อยู่รอบๆ ตัวเราเข้าไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชที่เป็นไม้ประดับเพื่อตกแต่งอาคารบ้านเรือน ซึ่งปัจจุบันมีมากมายหลายชนิด และบางชนิดเป็นพืชต่างถิ่นที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ “โพธิ์ศรี” เป็นไม้ประดับยืนต้นชนิดหนึ่งซึ่งมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ มีความสวยงาม เลี้ยงดูง่าย และเจริญเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย เนื่องจากโพธิ์ศรีมิใช่พืชท้องถิ่น ประชาชนโดยทั่วไปอาจไม่มีความรู้ว่าพืชชนิดนี้มีพิษอยู่ในส่วนยาง น้ำจากส่วนต่างๆ และเมล็ด
เนื่องจากโพธิ์ศรีมีผลซึ่งมีลักษณะสวยงามและดึงดูดสายตา ประกอบกับมีเมล็ดซึ่งมีรูปร่างลักษณะ คล้ายกับเมล็ดถั่วปากอ้าที่ใช้บริโภค ทำให้บ่อยครั้งมีเด็กๆ หรือผู้ใหญ่ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ ์นำไป รับประทานและเกิดอาการพิษ และด้วยความที่เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดจากภูมิภาคอื่น ทำให้ประชาชน โดยทั่วไปไม่ทราบถึงอันตรายจากการสัมผัสและรับประทานยางหรือเมล็ดของพืชชนิด นี้เข้าไป จึง สมควรที่จะมีการประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดยทั่วกัน

ตัวอย่างผู้ป่วย

รายงานความเป็นพิษของโพธิ์ศรีที่โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม อ. เมือง จ. นนทบุรี โดยนักเรียนชาย 18 คน อายุระหว่าง 12-15 ปี ได้เก็บเมล็ดแห้งมารับประทาน พบว่าเริ่มมีอาการตั้งแต่ 30 นาที ถึง 2 ชม. มีเพียงรายเดียวที่มีอาการเมื่อผ่านไป 6 ชม. โดยผู้ป่วยจะมีอาการแสบร้อนในคอกระหายน้ำ คลื่นไส้ อาเจียน บางรายมีอาการปวดท้อง และอุจจาระร่วง แต่ในวันรุ่งขึ้นอาการก็หายไป (5)
รายงานความเป็นพิษของโพธิ์ศรีที่โรงเรียนโพหัก วงศ์สมบูรณ์อุปถัมภ์ มีผู้ป่วย 23 ราย รับประทานเมล็ดเข้าไป ผู้ที่รับประทานสูงสุดคือ 3 เมล็ด มีอาการแสบร้อนคอ ปวดท้อง ง่วงนอน คลื่นไส้ ปวดศีรษะ อาเจียน ถ่ายเหลว และตาแดง (6)
รายงานความเป็นพิษของโพธิ์ศรีในปี 2517 เหตุการณ์เกิดขึ้นที่เมืองไมอามี รัฐฟลอลิดา เด็กชายกลุ่มหนึ่งมีอาการคลื่นไส้และท้องร่วงหลังจากรับประทานเมล็ดโพธิ์ศรีเข้าไป (3)
รายงานความเป็นพิษของโพธิ์ศรีในปี 2517 เหตุการณ์เกิดขึ้นที่เมืองไมอามี รัฐฟลอลิดาเช่นเดียวกัน แต่เป็นเด็กหญิงจำนวน 12 คน ซึ่งได้ทดลองรับประทานเมล็ดโพธิ์ศรีที่เก็บได้ จากคำบอกเล่าต่อๆ กันว่ามีรสชาดคล้ายกับวอลนัท ในจำนวนนั้นเด็กหญิงหนึ่งรายป่วย อีกสองรายมีอาการมีอากาคลื่นไส้ ส่วน 10 รายที่เหลือไม่พบอาการพิษใดๆ เนื่องจากรับประทานในจำนวนน้อย (3)
รายงานความเป็นพิษที่เกิดเนื่องจากการสัมผัส โดยสตรีชาวเยอรมัน อายุ 36 ปี ซึ่งมีอาการบวมแดงที่ผิวหนัง และมีอาการอักเสบของเยื่อบุจมูกและตาตลอดทั้งปีโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จากการตรวจสอบทางคลินิกพบว่าอาการดังกล่าวไม่มีความเกี่ยวพันกับการบริโภค อาหาร อาหารเสริม ยา หรือ ฝุ่นละอองใดๆ ทั้งสิ้น แต่สันนิษฐานว่าอาการแพ้ดังกล่าวนั้นมีสาเหตุมาจากการสัมผัสต้นโพธิ์ศรีที่ ปลูกในที่พักของผู้ป่วย และเมื่อทำการตรวจสอบด้วยวิธี scratch test พบว่าผู้ป่วยเกิดอาการแพ้เนื่องจากการสัมผัสถูกยางต้นโพธิ์ศรีจริงๆ จากรายงานพบว่าอาการแพ้เกิดขึ้นเนื่องจากการสัมผัสยางสดของต้นโพธิ์ศรี (7)

สารที่ทำให้เกิดพิษ

ในเมล็ดของโพธิ์ศรีประกอบด้วยน้ำมันซึ่งมีคุณสมบัติเป็นยาถ่าย และโปรตีนซึ่งมีพิษ มีชื่อว่า ฮูริน (hurin) หรือ เครพพิติน (crepitin) เมื่อกินเมล็ดโพธิ์ศรีเข้าไป 1-2 เมล็ด จะทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน และท้องร่วง (อาจมีเลือดปนออกมา) ปวดท้อง ชีพจรเต้นเร็ว ตาพร่า ในรายที่ได้รับสารพิษในปริมาณสูงๆ อาจทำให้เพ้อ ชัก หมดสติและอาจถึงตายได้ (2-9) ในประเทศชวามีการนำเอาเมล็ดมาย่างไฟเล็กน้อย หรือเอามาโขลกกับน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นเม็ดใช้รับประทานเป็นยาระบาย (4)
น้ำยางมีส่วนประกอบของสารฮูริน และเอนไซม์ฮูเรน (Hurain) ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ย่อยโปรตีน ซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้เมื่อสัมผัสถูกผิว โดยเกิดอาการเป็นผื่นแดงแบบไฟลามทุ่ง และพุพองขึ้นเป็นตุ่มน้ำใส เมื่อเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้ (3-4,7) ในประเทศเปรูมีการใช้ยางเพื่อเบื่อปลา (10)

อาการพิษ

- สำหรับการรักษาอาการพิษจากการบริโภคหรือสัมผัสเมล็ดหรือยางจากส่วนต่างๆ ของต้นโพธิ์ศรี พบว่าส่วนใหญ่จะมีอาการแสบร้อนในลำคอ ปวดท้อง กระหายน้ำ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย (2-6, 8-9)
- สำหรับในรายที่แพ้เนื่องจากการสัมผัสถูกยาง หรือน้ำจากส่วนต่างๆ ของพืช จะมีอาการอักเสบบวมแดง ที่ผิวหนัง เป็นผื่นแดงแบบไฟลามทุ่ง และพุพองขึ้นเป็นตุ่มน้ำใส หากน้ำยางเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้ (3-4,7)

การรักษา

แพทย์ที่ทำการรักษาจะให้การรักษาตามอาการ เนื่องจากเมื่อหยุดการสัมผัสหรือการบริโภคอาการ จะ ค่อยๆ ทุเลาเอง ในผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสียอย่างรุนแรง ให้ระวังการสูญเสียเกลือแร่ ให้ dextrose infusion เมื่อเกิดภาวะ hypoglycemia (2,5-6)

วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552

พืชมีพิษ พันซาด

พันซาด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Erythophleum succirubrum Gagnep
วงศ์ FABACEAE
ชื่ออื่นๆ พันชาด ซาด คราก เตรีย ตะแบง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ ดอกสีเหลือง ผลเป็นฝักคล้ายสะตอ ยาว 12-18 ซม. สูงประมาณ
20 - 35 เมตร พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ตอนบน (1) สรรพคุณ ตามตำรายาไทยใช้ ต้น แก้ไข้ทีมีพิษร้อน กระสับกระส่าย แก้ไข้เชื่อมซึม เนื้อไม้ แก้ไข้ ไม้ซากมีพิษถึงตายได้ ถ้าจะนำไปปรุงยา ต้องเผาถ่าน ถ่านไม้ แก้พิษไข้ ไข้เชื่อมซึม แก้โรคผิวหนัง แก้โรคในเด็ก ดับพิษตานซาง ไม่ระบุส่วนใช้ แก้พิษไข้ ไข้เชื่อมซึม แก้ไข้สันนิบาต ดับพิษโลหิต แก้โรคเด็ก การศึกษาทาง วิทยาศาสตร์ พบว่า มีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ กระตุ้นหัวใจ กระตุ้นการหดตัว ของ กล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อลาย คล้ายกล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อลาย เพิ่มความดันโลหิต เป็นพิษต่อหัวใจ ทำให้ตาย (2)

ความ หลากหลายของสายพันธุ์พืชในประเทศไทยมีค่อนข้างสูง บางชนิดมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก บางชนิดอาจแตกต่างกันแค่ลักษณะใบ ดอก หรือผล บางชนิดก็เหมือนกันจนแทบจะหาความแตกต่างในการจำแนกไม่ได้ ดังนั้นหลายกรณีของการได้รับพิษก็เนื่องมาจากการเข้าใจพิษคิดว่าพืชพิษเป็น พืชที่กินได้ และกรณีที่พบบ่อยมักจะเป็นเด็ก ในกรณีของพันซาดหรือซากก็เช่นกัน ผู้ที่รับประทานเข้าไปคิดว่าเมล็ดของพันซาดเป็นเมล็ดของไม้แดง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันมาก แต่เมล็ดของไม้แดงจะเล็กกว่า

รายงานความเป็นพิษ

รายที่ 1 เด็กชายอายุ 3 ปี มาโรงพยาบาลด้วยประวัติรับประทานเมล็ดต้นซากประมาณ 15 เมล็ด นาน 12 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล หลังจากการรับประทานประมาณ 30 นาที มีอาการอาเจียนหลายครั้ง ปวดท้อง ได้ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชน แพทย์ตรวจพบว่า มีอาการซึมเล็กน้อย ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ แพทย์ให้การรักษาโดยให้เข้าสารน้ำเข้าหลอดเลือดดำ ต่อมาผู้ป่วยซึมลง จึงส่งมารักษาต่อ ที่โรงพยาบาลมหาสารคาม การตรวจร่างกาย พบว่าคนไข้มีอุณหภูมิ กาย 36.8 องศาเซลเซียส ความดันโลหิต 100/100 มม. ปรอท หายใจ 32 ครั้งต่อนาที ชีพจร 96ครั้ง/นาที เบาเร็วไม่สม่ำเสมอ semicoma หัวใจเต้นจังหวะผิดปกติ ระบบอื่นๆ อยู่ในเกณฑ์ปกติ การตรวจคลื่นหัวใจ มีลักษณะ AF rhythum whit moderate ventricular response ให้การรักษาโดยให้สารน้ำและ NaHCO3 เข้าหลอดเลือดดำ ยให้ออกซิเจน 30 นาที ต่อมา ผู้ป่วยมีอาการหมดสติและหัวใจหยุดเต้น เคลื่อนหัวใจมีลักษณะ cardiac standstill ไม่ตอบสนอง ต่อการรักษา ผลการรักษา ถึงแก่กรรม(1)
รายที่ 2 เด็กชายอายุ 2 ปี มีประวัติรับประทานเมล็ดซากพร้อมผู้ป่วยรายที่ 1 แต่รับประทาน 3- 4 เมล็ด ครึ่งชั่วโมงต่อมามีอาการอาเจียน 3 - 4 ครั้ง ปวดท้องไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชน พร้อมผู้ป่วยรายที่ 1 ระหว่างการรักษาผู้ป่วยมีอาการซึมลง และชีพจรไม่สม่ำเสมอ จึงส่งผู้ป่วยรักษาต่อ การตรวจร่างกายพบว่าเด็กมี อุณหภูมิร่างกาย 36.5 องศาเซลเซียส ความดันโลหิต 90/50 มม. ปรอท หายใจ 32 ครั้ง/นาที ชีพจร 100 ครั้ง/นาที ไม่สม่ำเสมอ ผู้ป่วยมีอาการซึมเล็กน้อย หัวใจเต้นเร็ว ตรวจระบบอื่นๆ อยู่ในเกณฑ์ปกติ การตรวจห้อง ปฎิบัติการ ฮิมาโตคริค 36 % เม็ดเลือดขาว 17,750 เซลล์/มม 3 PMN 95% L 4% M 1% เกล็ดเลือด 150,000 เซลล์/มม3 เซลล์/มม3 ตรวจปัสสาวะ pH 6.0 ความถ่วงจำเพาะ 1.2020 ไม่พบ albumin และน้ำตาล BUN 10.0 มก/ดล creatinine 0.8 มก/ดล liver function test อยู่ในเกณฑ์ปกติ การตรวจคลื่นหัวใจ มีลักษณะ sinus arrest with A-V junctional escape beat ให้การรักษาโดยให้สาร โดยให้สารน้ำเข้าหลอดเลือดดำ ให้ออกซิเจน 2 ชั่วโมงต่อมาผู้ป่วยรู้สึกตัวดีขึ้น ชีพจรยังเต้นไม่สม่ำเสมอ วันต่อมาผู้ป่วนรู้สึกตัวดี vital sign อยู่ในเกณฑ์ปกติ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจซ้ำ พบว่ามีลักษณะปกติ ผลการรักษา ผู้ป่วยกลับบ้านในวันที่ 3 ของการรักษา (1)
รายที่ 3 เด็กหญิงอายุ 5 ปี มาโรงพยาบาลด้วยประวัติรับประทานเมล็ดต้นซาก 10-15 เมล็ด 7 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล หลังรับประทานครึ่งชั่วโมง มีอาการอาเจียนหลายครั้ง ซึมลง การตรวจร่างกาย อุณหภูมิ 36.8 องศาเซลเซียส ความดันโลหิต 80/50 มม. ปรอท หายใจ 40 ครั้ง/นาที ชีพจร 50 ครั้ง/นาที semicoma หายใจไม่สม่ำเสมอ ตรวจหัวใจพบว่าเต้นช้าและจังหวะไม่สม่ำเสมอ ตรวจระบบอื่นๆ อยู่ในเกณฑ์ปกติ การตรวจห้อง ปฎิบัติการ ฮีมาโตคริต 38 % เม็ดเลือดขาว 13,850 เซลล์/มม3 PMN 85% band 3% L 11% M 1% เกล็ดเลือด 346,000 เซลล์/มม3 creatinine 1.5 มก/ดล NA+ 140 mEq/ลิตร K+ 6.3 mEq/ลิตร Cl- 118mEq/ลิตร HCO3- 11.00 mEq/ลิตร การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Mobitztype II AV block with 2:1 AV conduction ventricular rate 50 ครั้ง/นาที T wave inversion ใน V1-V3 การรักษา โดยให้สารน้ำ NaHCO3 atropine และ dopamine เข้าหลอดเลือดดำ และให้ออกซิเจน ผลการรักษา พบว่าหัวใจเต้นช้าตลอดเวลา คลื่นหัวใจมีลักษณะเดิม บางครั้งมี A-V junctional-escape rhythm ผู้ป่วยมีอาการซึมลงเรื่อยๆ 3 ชั่วโมงต่อมาเริ่มหายใจช้า ความดันโลหิตลด และเสียชีวิตในที่สุด หลังจากรับประทานเมล็ดต้นซาก 13 ชั่วโมง (1)
รายที่ 4 เด็กหญิงอายุ 6 ปี มาโรงพยาบาลด้วยประวัติรับประทานเมล็ดต้นซาก 2 เมล็ด พร้อมกับผู้ป่วยรายที่ 3 หลังรับประทานครึ่งชั่วโมงมีอาการอาเจียนหลายครั้ง ซึมลง จึงมารับการรักษาพร้อมผู้ป่วยรายที่ 3 การตรวจร่างกาย อุณหภูมิ 36.8 องศาเซลเซียส ความดันโลหิต 100/60 มม. ปรอท หายใจ 40 ครั้ง/นาที ชีพจร 1000 ครั้ง/นาที ผุ้ป่วยซึมลงเล็กน้อย หายใจสม่ำเสมอ หัวใจเต้นเร็วเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ระบบอื่นๆ อยู่ในเกณฑ์ปกติ การตรวจห้องปฎิบัติการ ฮีมาโตคริต 31 % เม็ดเลือดขาว 12,400 เซลล์/มม3 PMN 88% band 2 % L 10 % เกล็ดเลือด 151,000 เซลล์/มม3 Na+ 137 mEq/L, K+ 3.4 mEq/L, Cl- 112.9 mEq/L, HCO –18.0 mEq/L น้ำตาลในเลือด 118 มก/ดล ตรวจปัสสาวะ pH 6.0 ความถ่วงจำเพาะ 1.015 ตรวจพบ albumin เล็กน้อย ไม่พบเล็กน้อย การตรวจคลื่นหัวใจ มีลักษณะ sinustachycardia อัตราการเต้น 125 ครั้ง/นาที ST depression ใน V1 - V3 และ deep T wave inversion ใน V1 - V4 วันต่อมาผู้ป่วยรู้สึกตัวดี vital signs อยู่ในเกณฑ์ปกติ การตรวจคลื่นหัวใจซ้ำพบว่ามีลักษณะ SA block ชนิด Mobitz type I,T wave inversion in V1 - V3 ผลการรักษาผู้ป่วยกลับบ้านได้ในวันที่ 3 หลังการรักษาในสภาพปกติ (1)
รายที่ 5 เด็กหญิงอายุ 12 ปี มีประวัติรับประทานเมล็ดต้นซาก 3 เมล็ด 1 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล หลังรับประทานมีอาการอาเจียนหลายครั้ง วิงเวียนศีรษะ ปวดท้อง การตรวจร่างกาย อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ความดันโลหิต 130 /90 มม. ปรอท หายใจ 24 ครั้ง/นาที ชีพจร 94 ครั้ง/นาที รู้สึกตัวดี การตรวจห้อง ปฎิบัติการ ฮีมาโตครีต 41 % เม็ดเลือดขาว 12,450 เซลล์/มม3 PMN 96% L 4% เกล็ดเลือด 286,000 เซลล์/มม3 ตรวจปัสสาวะ pH 6.5 ความถ่วงจำเพาะ 1,020 ไม่พบ albumin และน้ำตาล การตรวจคลื่นหัวใจ มีลักษณะ sinus rhythum rate 93 ครั้ง/นาที ST depression ใน Lead III, aVF, T wave inversion ใน V1 - V3 ผลการรักษาผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ในวันที่ 3 (1)
มีรายงานจากโรงพยาบาลอำเภอกระสังว่ามีเด็ก 4 คนอายุประมาณ 10 ขวบ กินเมล็ดเข้าไปตั้งแต่ตอนเที่ยงจนถึงเวลา 9 โมงเช้าของวันรุ่งขึ้น จึงได้นำมาโรงพยาบาล เนื่องจากเด็ก มีอาการอ่อนเพลียมากเกือบไม่รู้สึกตัว หอบ และเสียชีวิต 1 คน ขณะมาถึงโรงพยาบาลได้ประมาณ 5 – 10 นาที ทางโรงพยาบาลยังไม่ทันรักษาอย่างไร จากการตรวจร่างกายขณะมาถึงโรงพยาบาล ไม่ค่อยรู้สึกตัว หอบ หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ม่านตาหดเล็กมาก อีก 3 คนที่เหลือได้ให้การรักษา แบบประคบประคองตามอาการ ผลการรักษาหายเป็นปกติ จากการสอบถามเด็กที่รอดชีวิตพบว่า ได้กินเมล็ดเข้าไปคนละประมาณ 2-3 เมล็ดเท่านั้น (2)
นอกเหนือจากนี้มีรายงานผู้อพยพชาวกัมพูชา 27 คนรับประทานเมล็ดของตันซาก ทำให้เด็กเสียชีวิต 2 คน (5)
ความเป็นพิษ

ทุกส่วนของพิษชนิดนี้ได้แก่ ใบ เนื้อไม้ เปลือกไม้ ราก และเมล็ดมีพิษ เมื่อรับประทานเข้าไป ก็จะทำให ้เกิดอาการมึนเมา อาเจียน หัวใจเต้นผิดปกติ และทำให้เสียชีวิตได้ (1)
พืชในวงศ์ CAESALPINIACEAE ได้มีการศึกษาทางด้านเคมีและ เภสัชวิทยาเกี่ยวกับพืชในตระกูล นี้หลายชนิดคือ E. africanum, E. chlorostachys, E. couminga, E. ivorens, E. guineense (E. suaveolens) ซึ่งได้มีรายงานพบสาร dihydromyricetin และ alkaloids หลายชนิดได้แก่ 3ß-acetoxy-7ß -hydroxy-N-(2-hydroxyethyl)-N-methyl-(E)-cass 13(15)-en-16-amide, 3ß–acetoxynorerythrophlamine, 3ß -acetoxynorerythrostachamine, 3ß-acetoxynorerythrosuamine, cassadine, cassaide, cassaine, cassamide, cassamidine, cassamine, cassminic acid, coumidine, dehydronorerythrosuamine, erythrophlamide, erythrophlamine, erythrophleguine, erythrosuamine, 3-hydroxy norerythrosuamide, ivorine, norerythrosuamine, norcassamidine (erythrophleine), norcassamine, norcoumingide, 19-Nor-4-dehydro-cassaidine, norerythrophlamide, norerythrostachaldine norerythrostachamide, norerythrostachamine
ได้มีผู้นำเอา alkaloids เหล่านี้หลายตัวมาศึกษาพบว่า alkaloid cassaine, cassaidine, acetylcassaidine, erythrophleine, coumingine, ivorine, coumidine มีฤทธิ์ต่อหัวใจเหมือน Cardiac glycoside นอกจากนั้นในขนาดสูง ๆ จะกดศูนย์หายใจได้ ฤทธิ์อื่น ๆ ที่อาจพบ ได้แก่ความดันโลหิตสูง คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วงอย่างรุนแรง และมีโลหิตออกปนกับอุจจาระ น้ำลายออกมาก หายใจขัด และ ผู้ป่วยจะเสียชีวิตเนื่องจากหัวใจหยุดเต้น หรือกดศูนย์ควบคุม การหายใจอย่างมากจนหยุดหายใจ ดังนั้นอาการที่พบในเด็กอาจเนื่องมาจาก alkaloid เหล่านี้ เพราะต้นพันชาติเป็นไม้ในตระกูล Erythrophloem เช่นเดียวกัน ซึ่งน่าจะมีสารสำคัญเหมือนกัน การรักษาเนื่องจากไม่มี antidote ที่เฉพาะเจาะจงสำหรับสารนี้ จึงต้องรักษาตามอาการ
ในแอฟริกามีผู้ศึกษาพืชในสกุล Erythrophleum สองชนิดคือ Erythrophleum guineenese G. Don และ E. africanum Harms พบว่ามีอัลคาลอยด์หลายชนิดคือ cassaidine, nor- cassaidine,cassaine, cassamin, erythrophlamine, erythrophleine, homophleine ซึ่งอัลคาลอยด์เหล่านี้มีฤทธิ์คล้ายคลึงกับ cardiac glycoside (3) การรวบรวมการศึกษาสารในกลุ่ม erythrophleum alkaloids ในสัตว์ทดลองดังนี้
มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วงอย่างรุนแรง
มีผลต่อระบบประสาท เดินโซเซ น้ำลายไหล ชัก
มีผลต่อระบบอื่นๆ เช่น ยับยั้ง Na+-k+ ATPase system ของอวัยวะของสัตว์ทดลอง และอัลคาลอยด์บางชนิดเป็นพิษต่อเซลล์ (4)
ในประเทศไทย จินตนา สัตยสัย และคณะ ศึกษาน้ำสกัดจากใบของ E. succirubrum Gagnep พบว่ามีพิษต่อหนูถีบจักรเมื่อให้น้ำสกัดฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักร จะสังเกตอาการพิษได้อย่างชัดเจน ปริมาณใบพันซาดที่ทำให้หนูถีบจักรตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งมีค่าเท่ากับ 20 กรัม ต่อน้ำหนักหนุ 1 กิโลกรัม หากฉีดน้ำสกัดเข้าเส้นเลือดดำในหนูขาวปริมาณดังกล่าว จะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังกระตุ้นลำไส้เล็กส่วนปลาย (lleum) ของหนูที่ตัดออกจากร่างกาย แล้วแช่ไว้ในน้ำยา และอุณหภูมิเหมาะสม กระตุ้นแล้วตามด้วยการยับยั้งการทำงานของหัวใจห้องบนของหนู และกล้ามเนื้อกระบังลมที่กระตุ้นด้วยไฟฟ้าผ่านทางเส้นประสาท phrenic (6)

สรุป

อาการเริ่มแรกของรับประทานเมล็ดซากคือ อาเจียน ซึ่งอาการมักจะเกิดหลังจากกินประมาณ 30 นาที - 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ หลังจากนั้นจะมีผล ต่อระบบประสาท อาจเกิดจากพิษโดยตรง หรืออาจเกิดจากผลทางอ้อม ที่หัวใจทำงานผิดปกต ิแล้วเลือด ไปเลี้ยงสมอง ไม่เพียงพอ

วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552

พืชมีพิษ ผกากรอง

ผกากรอง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lantana camara Linn.
วงศ์ : Verbenaceae
ชื่ออื่นๆ: ก้ามกุ้ง เบญจมาศป่า ขะจาย ตาปู มะจาย คำขี้ไก่ ดอกไม้จีน เป็งละมาศ สาบแร้ง ยี่สุ่น สามสิบ
จีกา หญ้าสาบแร้ง (1)Cloth of Gold, Hedge flower
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้พุ่ม ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม มักมีขน ขอบใบหยัก สาก ด้านท้องใบมีขน ดอกเป็นดอกช่อเรียงตัวเป็นรูปกลม มีสีต่างๆ ตั้งแต่สีขาว เหลืองนวล หรืออาจเป็นสองสี ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นเป็นสีน้ำเงินเข้มเกือบดำ ภายในมี 2 เมล็ด (1)




มีสมาชิกท่านหนึ่งเขียนมาถามเรื่องพิษของผกากรอง เนื่องจากเคยได้ยินมาว่าเมล็ดของมันมีพิษมากอาจทำให้ถึงตายได้ แถวบ้านมีปลูกไว้มาก จึงเกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อเด็กหากเก็บไปรับประทาน ทางศูนย์ฯได้รวบรวมข้อมูลความเป็นพิษ และวิธีการแก้ไขเมื่อได้รับพิษ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในคนและสัตว์เลี้ยง

ตัวอย่างผู้ป่วย

คนไข้อายุ 50 ปี เกิดผิวหนังอักเสบเนื่องจากใช้ใบผกากรองแห้งทาผิว เนื่องจากผกากรองมีใบหยาบและสาก จึงอาจทำให้เกิดการระคายเคืองของผิวหนังได้เมื่อสัมผัส (2)
เด็กผู้หญิงอายุปีครึ่ง น้ำหนัก 35 ปอนด์ กินผลผกากรองสีเขียว ไม่ทราบปริมาณ ภายหลังการรับประทาน 6 ชั่วโมง มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ไม่สามารถยืนได้ เริ่มอาเจียน และหมดสติ เด็กถูกส่งตัวเข้าห้องพยาบาลทันที ได้รับรายงานว่าเด็กมีอาการ ขาดออกซิเจน หายใจลึก โคม่า และรูม่านตาขยายขนาดเท่าหัวเข็มหมุด (pinpoint pupil) ไม่ตอบสนองต่อแสง รักษาโดยฉีด adrenal steroid เข้าทางกล้ามเนื้อ ฉีด epinephrine 1: 1000 เข้าใต้ผิวหนัง ให้ออกซิเจน และรักษาตามอาการ เด็กหยุดหายใจที่เวลาประมาณ 8.5 ชั่วโมง ภายหลังรับประทาน ผลการชันสูตรศพ พบว่ามีเลือดคั่งที่ปอดและที่ไตเล็กน้อย มีชิ้นส่วนของผลผกากรองสีเขียวจำนวนมากในลำไส้เล็ก สาเหตุการตายเนื่องมาจาก pulmonary edema และ neurocirculatory collapse (3)
เด็กผู้หญิงอายู่ 4 ขวบ น้ำหนัก 32 ปอนด์ ถูกส่งเข้าห้องฉุกเฉินภายหลังรับประทานผลผกากรองสีเขียวไปแล้ว 3.5 ชั่วโมง มีอาการในขณะที่มาถึง คือ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หายใจลึก ช้า รูม่านตาขยาย กลัวแสง และอาเจียน ทำการล้างท้องและให้ความช่วยเหลือต่อไปอีก 24 ชั่วโมง ภายหลังเกิดอาการประมาณ 8 ชั่วโมง เด็กสามารถออกจากร.พ.ได้ (3)
เด็กชายอายุ 3 ปี น้ำหนัก 27 ปอนด์ ถูกนำส่งศูนย์ฉุกเฉินประมาณ 5 ชั่วโมงภายหลังทานผลผกากรองสีเขียวของผกากรอง เมื่อมาถึง เด็กมีอาการ อาเจียน ท้องเสียซึ่งในอุจจาระมีผลสีเขียวปนอยู่ หายใจไม่สะดวก ขาดออกซิเจน การตอบสนองของกล้ามเนื้อ tendon ถูกกด ( depressed deep tendon reflexes ) รูม่านตาขยาย และไม่มีแรง ทำการล้างท้องเด็กและฉีด adrenal steroid เข้าทางกล้ามเนื้อ ให้ออกซิเจน และให้ความช่วยเหลือโดยทั่วไป อาการพิษคงอยู่ประมาณ 56 ชั่วโมง และออกจากร.พ.ในวันที่ 5 ภายหลังการเข้ารักษาตัว (3)

มีรายงานการเกิดพิษและการศึกษาพิษของผกากรองในสัตว์ต่างๆ มากมาย เช่น แกะ แพะ วัว และควาย และสัตว์ทดลองประเภทอื่นๆ (4) เพราะในต่างประเทศผกากรองจัดว่าเป็นวัชพืชที่เป็นปัญหาต่อการเลี้ยงสัตว์ (5) มีบ่อยครั้งที่สัตว์เผลอไปกิน ทำให้เกิดบาดเจ็บล้มตาย เจ้าของสัตว์เลี้ยงจึงต้องศึกษาวิธีการแก้พิษ และรักษา

สารที่ทำให้เกิดพิษ

พิษของใบผกากรองเกิดจากสารกลุ่มไตรเทอร์ปีน ซึ่งเรียกว่า lantadene A หรือ rehmannic acid และ lantadene B กรดไตรเทอร์ปีนส์ สามารถดูดซึมเข้าทางเดินอาหารได้อย่างรวดเร็ว และไปยังตับโดยส่งผ่านเลือดที่ไปเลี้ยง lantadene A อาจออกฤทธิ์ป้องกันการสร้าง bilirubin glucuronide ซึ่งเป็นรูป conjugated ของ bilirubin ที่ไตสามารถขับออกได้ ดังนั้นเมื่อเหลือ bilirubin ตกค้าง จึงทำให้เกิดอาการดีซ่าน ตัวเหลือง และอาการแพ้แสงแดดของผิวหนัง (photosensitization) เกิดขึ้นตามมา (6)
ขนาดที่เป็นพิษของ lantadene A ที่ให้เข้ากระเพาะอาหารเท่ากับ 60-80 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม และของ lantadene B เท่ากับ 200-300 มิลลิกรัม (7,8) แกะตัวผู้ที่ได้รับผงใบ ขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัมในหนึ่งวัน หรือแบ่งให้ทานต่อเนื่องกัน 2 วัน มีอาการของผิวหนังแพ้แสงแดด และดีซ่าน (9) ในคนมักได้รับพิษจากการรับประทานผลมากกว่า เนื่องจากใบและลำต้นผกากรองมีเนื้อหยาบ จึงทำให้รับประทานลำบาก อาการพิษจากการแพ้แสงแดดของผิวหนังและดีซ่าน จึงไม่มีรายงานเกิดขึ้นในคน
นอกจากนี้มีรายงานของสารพิษตัวใหม่ คือ lantadene C ซึ่งถูกแยกจากใบของผกากรอง มีโครงสร้างที่คล้ายกับ lantadene A ทำให้เกิดพิษต่อตับของหมู guinea ด้วยเช่นกัน (10) แม้จะมีรายงานความเป็นพิษของผลผกากรองดิบ แต่สารสำคัญในเรื่องพิษของผลไม่แน่ชัด เนื่องจากมีผู้รายงานว่า Lantadene A ไม่พบในผล แต่ไม่ได้แจ้งว่าผลดิบหรือผลสุก อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีรายงานความเป็นพิษแน่ชัดจึงควรจะระมัดระวังและสอน เด็กๆ ไม่ให้รับประทานผล หรือส่วนอื่นๆของต้นไม้ที่ไม่รู้จัก (11)

อาการพิษ

คนที่ได้รับพิษจากผกากรองมักไม่แสดงอาการพิษทันที แต่จะเกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปแล้ว 2-3 ชั่วโมง อาการพิษที่เกิดขึ้นได้แก่ อาเจียน ท้องเสีย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง (lethargy) ขาดออกซิเจน หายใจช้าและลำบาก (labored slow respiration) รูม่านตาขยาย (mydriasis) กลัวแสง กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน (ataxia) โคม่า และการตอบสนองของกล้ามเนื้อ tendonถูกกด ( depressed deep tendon reflexes ) (12)
ส่วนอาการพิษที่เกิดขึ้นในสัตว์ มีพิษกึ่งเฉียบพลันในสัตว์ทดลองที่กินใบผกากรอง คือ ซึม ไม่อยากอาหาร ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย หลังจากนี้ 1-2 วัน จะพบอาการเหลือง และขาดน้ำตามเนื้อเยื่อเมือก กล้ามเนื้ออักเสบ ตาอักเสบ ผิวหนังไวต่อแสง ทำให้กล้ามเนื้ออักเสบที่เรียกว่า pink nose เจ็บ อาการอักเสบนี้อาจลุกลามไปถึงโพรงจมูก ตา ปาก เกิดเป็นแผลบวม ปลายจมูกแข็ง หนังตาบวม หูหนาและแตก คันหน้าจนสัตว์เลี้ยงถูบ่อยทำให้เป็นแผลหรือตาบอดได้ โดยมากได้รับพิษประมาณ 1-4 อาทิตย์อาจตายได้เนื่องจากไตล้มเหลว ปัสสาวะไม่หยุด อดอาหาร ขาดน้ำ ไม่มีการขับถ่าย มีปริมาณ billirubin สูงในเลือด จึงเหลือง เอ็นไซม์จากตับก็สูง แสดงว่ามีการอักเสบของตับ เมื่อชัณสูตรซากสัตว์ก็พบว่ามีอาการดีซ่าน ตับบวม ถุงน้ำดีโต เนื่องจาก ผนังบวม ไตเหลือง บวม ฉ่ำน้ำ และลำไส้ใหญ่ไม่เคลื่อนไหว (11)
พิษเรื้อรังในสัตว์ที่เกิดขึ้นตามมานอกจากทำให้เกิดอาการแพ้แสงแดดของ ผิวหนังแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังอื่นๆ เช่น ผิวหนังบริเวณปากหรือจมูก หู คอ ไหล่ ขา และส่วนอื่นๆ อาจเป็นสีเหลือง บวม แข็ง แตก และเจ็บ ผิวหนังลอกและเปิด อาจเกิดการอักเสบไปจนถึงเยื่อบุผิวเมือกบริเวณใกล้เคียง ซึ่งอาการเยื่อบุตาอักเสบอาจพบเห็นเป็นบางครั้งในระยะที่ได้รับพิษเฉียบพลัน และอาจมีผลกระทบต่อผิวหนัง เยื่อบุรอบๆตา และที่ตาด้วย (13)
สรุปแล้วอาการพิษที่เกิดขึ้นกับสัตว์สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะคือ (4)
ระยะแรก เกี่ยวข้องกับการปลดปล่อย และการดูดซึมของสารพิษจากทางเดินอาหาร
ระยะที่สอง เกิดขึ้นที่ตับ มีอาการตับแข็ง bilirubin และ phylloerythrin สูงในเลือด
ระยะสุดท้าย เกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากมี ปริมาณของ bilirubin และ phylloerythrin สูงเกิน
อาการพิษของสัตว์เกิดขึ้นแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปริมาณของพืชพิษที่สัตว์กินเข้าไป

การรักษา

การรักษาอาการพิษในคน หากพึ่งรับประทานไปไม่เกิน 30 นาทีแรก ให้รับประทาน syrup of ipecac เพื่ออาเจียนเอาเศษชิ้นส่วนของพืชออกมา โดยผู้ใหญ่รับประทาน 2 ช้อนโต๊ะ และเด็กอายุ 1-12 ปี รับประทาน 1 ช้อนโต๊ะ หากไม่ได้ผลให้ทำการล้างท้อง ยกเว้นในเด็กที่ได้รับพิษเกินกว่า 3 ชั่วโมง อาจล้างท้องไม่ได้ผล จึงควรให้ยา coticosteroids, adrenaline ให้ออกซิเจน และรักษาตามอาการ (14,11)
การรักษาอาการพิษในสัตว์เลี้ยง สัตว์เลี้ยงที่สงสัยว่าได้รับพิษจากผกากรอง ให้แยกออกจากบริเวณที่มีต้นผกากรองอยู่ ฤทธิ์ของผกากรองภายหลังการรับประทานเข้าไปจะไปทำให้กระเพาะของสัตว์หยุดการ เคลื่อนไหวจึงเป็นสาเหตุให้สารพิษเหลืออยู่ในกระเพาะและดูดซึมอย่างต่อ เนื่อง การแก้พิษโดยป้องกันไม่ให้พิษมีการดูดซึมเพิ่มขึ้นไปอีก โดยให้ผงถ่าน (activated charcoal) ในปริมาณสูงร่วมกับสารละลายอิเลกโตรไลท์เพื่อไปกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหว ของกระเพาะ และทำให้ของเหลวกลับเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ควรรักษาอาการแพ้แสงแดดของผิวหนังด้วย (15)
มีรายงานการทดลองใช้เบนโทไนต์ (bentonite) รักษาอาการพิษแทนผงถ่าน พบว่าสัตว์ทดลองมีอาการดีขึ้นช้ากว่ากลุ่มที่ให้ผงถ่าน 3 วัน แต่ราคาของสารเบนโทไนต์ถูกกว่าผงถ่าน จึงถือได้ว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการรักษาอาการพิษในสัตว์เลี้ยงวัว (16)

วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552

พืชมีพิษ ปรง

ปรง

ชื่อวิทยาศาสตรCycas circinalis L.
วงศ์ Cycadaceae
ชื่ออื่นๆ กา กาเดาะ กูดหลวา แข่ดู่ ทอคลิ บอกะ มะพร้าวเต่าดอย มะพร้าวเต่าหลวง มุ่งมาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ต้น เปลือกสีน้ำตาล มีรอยแผลใบที่ลำต้น มีเหง้ากึ่งใต้ดิน ใบเป็นใบประกอบ รูปยาว แคบ ปลายใบแหลม ดอกเพศผู้และเพศเมียแยกต้นกันอยู่ ดอกตัวผู้ออก เป็น ช่อที่ปลายยอด มีสปอร์จำนวนมากเรียงรอบแกนกลาง ดอกเพศเมียอกเป็นกาบระหว่างใบ มีไข่อ่อนติดทั้ง 2 ข้าง ข้างละ 2-4 หน่วย เมล็ดกลมเมื่อแก่จัดสีแดงอมส้ม (1,2 )




ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้คนรับประทานพืชที่ไม่นิยมนำมารับประทานก็คือการขาดแคลนพืชอาหาร ซึ่งเสียงต่อพิษที่จะเกิดขึ้น โชคดีอาจมีแค่อาการระคายเคียง แต่ถ้าโชคร้ายอาจเสียชีวิต ในกรณีของปรงมีรายงานว่าผู้อพยพชาวเขมรที่หนีสงครามข้ามมาฝั่งไทยในช่วงปี 2516 ในระหว่างการ เดินทางมายังประเทศไทย เนื่องจากขาดแคลนอาหาร จึงเก็บยอดปรงรับประทาน หลังจากมาถึงค่ายผู้ อพยพแล้วก็ยังรับประทานกันต่อ เมื่อรับประทานเข้าไปมากๆ ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และ ท้องเสียอย่างรุนแรง (1 ) สำหรับประเทศไทยพบพืชในวงศ์ Cycadaceae ทั้งหมด 5 ชนิดได้แก่
Cycas circinalis L ปรง
C. micholitzii Dyer var. simplicipinna Smitin มะพร้าวเต่า
C. pectinnata Thunb ปรงเขา
C. rumphii Miq ปรงญี่ปุ่น
C. siamensis Miq ปรงเหลี่ยม ปรงป่า ผักกูดบก

ความเป็นพิษ

ส่วนที่เป็นพิษของปรงได้แก่ ยอดและเมล็ด
มีรายงานความเป็นพิษหลายรายได้แก่
ชาวเขมรอพยพที่รับประทานยอดปรง มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสียอย่างรุนแรง (1)
ชาวญี่ปุ่นที่ซ่อนตัวอยู่ในเกาะกวม กินผลซึ่งยังทำไม่สุก ทำให้อาเจียนและมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรง จนมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ (1) นอกเหนือจากนี้ยังพบรายงานว่าคนของกัปต้นคุกกินผลของปรงทำให้เกิดอาการอาเจียนอย่างรุนแรง (1) จากการศึกษาเมล็ดของปรงพบว่ามีสารพิษที่สำคัญคือ Cycasin ซึ่งเป็นสารกลุ่ม Pseudocyanotic glycosside ซึ่งสารพวกนี้เมื่ออยู่ในสภาวะกรดจะสลายตัวให้ เมทานอล ( methanol ) แต่ในสภาวะ ที่เป็นด่างจะสลายตัวให้กรดไฮโดรเจนไซยานิค (HCN) ซึ่งสารทั้ง 2 ที่ได้เป็นสารพิษ ปฎิกิริยาทั้ง 2 นี้จะเกิดในร่างกาย โดยที่สภาวะในกระเพาะจะเป็นกรดและในลำไส้จะมีสภาวะเป็นด่าง เมทานอล ( methanol ) ทำให้เกิดอาการปวดหัว หมุน อาเจียน ปวดท้อง ปวดหลัง หายใจขัด สั่น ตามัว ท้องเสีย ถ้ารับมากๆ อาจทำให้ตาบอด เกิดอาการ acidosis เลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลง อาจทำให้เสียชีวิตได้ ส่วนกรดไฮโดรเจนไซยานิค ( HCN ) จะไปทำปฎิกริยากับ Fe+ ใน cytochrome oxidase ทำให้ขัดขวางระบบหายใจ โดยร่างกายไม่สามารถใช้ออกซิเจนได้ ทำให้หายใจถี่ มีอาการชัก และตายโดยที่หยุดหายใจ นอกจากนี้การศึกษา cycasin ในสัตว์ทดลองยังพบว่า cycasin มีพิษต่อตับ (3,4,5) และระบบประสาท (6)

การรักษา

น่าจะรักษาอาการเช่นเดียวกับอาการพิษจาก เมทานอล คือรักษาอาการ acidosis โดยใช้alkali พยายามรักษาระดับ electrolyte และอาหาร และควรกำจัดเมทานอลโดยใช้วิธี hemodialysis หรือ peritoneal dialysis พยายามให้ความอบอุ่นแก่คนไข้ ป้องกันตาไม่ให้ถูกแสง อาจให้ ethanal ซึ่งการรักษาเหล่านี้ต้องทำโดยแพทย์ในโรงพยาบาลเท่านั้น

สรุป

เห็นได้ว่าการเกิดพิษ เริ่มจากอาการตั้งแต่เล็กน้อยเช่น ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน จนถึงมาก เช่น อาเจียนอย่างรุนแรง อาการบวมของกระเพาะและอาการสลดหดหู่ มึนงง ประสาทหลอน ท้องร่วง ปวดท้อง ชาตามกล้ามเนื้อ ซึ่งอาการเหล่านี้บางอาการจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว บางอาการจะเกิดขึ้นช้า นอกจากส่งผลต่อคนแล้วยังมีรายงานว่าแกะที่กินใบของปรงก็เกิดอาการเกิดอาการเซลล์ประสาท และ เซลล์ตับถูกทำลาย และตายในที่สุด ( 7 ) ปรงสามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้เฉพาะแป้งจากราก ต้นและเมล็ด แต่ในประเทศฟิลิปปินส์ยังรับประทานยอดอ่อนด้วยแต่ต้อง กำจัดสารพิษออกก่อนโดย การแช่น้ำนานหลายๆ วัน เพื่อให้สารพิษละลายออกไป หรือต้มทำลายสารพิษเสียก่อน (1)


อ้างอิง http://www.medplant.mahidol.ac.th/tpex/poison/poison.htm


วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2552

พืชมีพิษ เทียนหยด

เทียนหยด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Duranta repens L.
วงศ์ : Verbenaceae
ชื่ออื่น : เครือออน (แพร่) พวงม่วง ฟองสมุทร สาวบ่อลด (เชียงใหม่) golden dewdrop, pigeon berry, skyflower
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบรูปไข่ ดอกออกทั้งปีออกเป็นช่อ ดอกมีสีม่วงอมฟ้า หรือขาว ผลกลมสีส้มเหลือง (1,2)






เทียนหยด มีชื่อวิทยาศาสตร์ Duranta repens L. แม้ว่าจะนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ แต่ก็อาจจะเกิดเป็นพิษได้ มีสมาชิกท่านหนึ่งได้โทรศัพท์เข้ามาถามเกี่ยวกับเรื่องเทียนหยด เนื่องจากมีเด็กอายุ 10 เดือน ระหว่างที่คุณปู่ คุณย่าพาไปเดินเล่นในสวน ได้เด็ดเอาใบเทียนหยด 2-3 ใบ มาเคี้ยวรับประทาน ประกอบกับเด็กมีอาการหวัดอยู่ เด็กมีอาการง่วงซึมทำให้ไม่แน่ใจว่าเป็นผลเนื่องจากเทียนหยดหรือไม่ จึงได้สอบถามมา แต่ภายหลังได้รับแจ้งว่าเด็กไม่เป็นอะไร เด็กได้รับเพียงเล็กน้อยมากจึงไม่มีอาการ อาการซึมคงเนื่องจากหวัดและยาที่ใช้รักษา (3)

ตัวอย่างผู้ป่วย

พบเด็กที่ออสเตรเลีย ได้รับพิษจากเมล็ดเทียนหยดเสียชีวิต อาการพิษที่พบ คือ นอนไม่หลับ มีไข้ และชัก และมีรายงานอีกฉบับว่ามีเด็กหญิงในฟลอลิด้ารับประทานผลเทียนหยดเข้าไป มีอาการมึนงง สับสน แต่ในวันต่อมาก็มีอาการเป็นปกติ (5)

สารที่ทำให้เกิดพิษ

สาร duacosterol (6), duratoside IV, duratoside V (6) และมีรายงานพบว่ามีผู้พบ กรดไฮโดรไซยานิค (Hydrocyanic acid, HCN) หรือไซยาไนด์ในใบ (6) จากการศึกษาทางเคมีจะเห็นว่ามีสารซึ่งอาจเป็นพิษได้ คือ ถ้ารับประทานใบในปริมาณมาก HCN จะทำให้เกิดอาการขาดออกซิเจนได้ ทำให้มีอาการตัวเขียว และอาจถึงกับเสียชีวิตได้ ถ้าได้รับใน ปริมาณน้อย ก็อาจมีอาการอาเจียน และท้องเสีย (3,4) ส่วนในเมล็ด พบสารจำพวก saponin ได้แก่ duratoside ?V, duratoside V เอกสารหลายเล่มระบุว่าเป็นพิษที่เกิดจาก saponin แต่ saponin ทุกตัวไม่ใช่ตัวทำให้เกิดพิษอย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีรายงานความเป็นพิษ ของเมล็ด เทียนหยด จึงควรที่จะระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้

อาการพิษ

ผู้ป่วยจะแสดงอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ลำไส้อักเสบ ในรายที่เกิดอาการพิษรุนแรง เนื้อเยื่อที่อยู่ลึกๆ อาจถูกทำลาย กรณีที่มีการดูดซึมสารพิษ ผู้ป่วยจะมีไข้สูง กระหายน้ำ จิตใจมีความกังวล ม่านตาขยาย และหน้าแดง พิษที่รุนแรงแสดงออกที่กล้ามเนื้อไม่มีแรง การประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี สุดท้ายการไหลเวียนของเลือดไม่สม่ำเสมอและอาจถึงขั้นชัก (7)

การรักษา

ต้องทำให้พิษลดลงหรือได้รับการดูดซึมน้อยที่สุด ได้แก่ การทำให้อาเจียน และให้สารหล่อลื่น เช่น นม หรือไข่ขาว ขณะพักฟื้นให้ทานอาหารอ่อนๆ ให้น้ำเกลือ กรณีมีการสูญเสียน้ำและเกลือแร่มาก (7)

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

พืชมีพิษ ดอกดึงหัวขวาน

ดองดึงหัวขวาน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gloriosa superba L.
วงศ์ : Liliaceae
ชื่อท้องถิ่น : ก้ามปู คมขวาน ดองดึง ดาวดึงส์
บ้องขวาน ฟันมหา มะขาโก้ง
Climbing lily, Super lily
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้เถา มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอาฟริกา แต่ได้ นำมาปลูกในเอเชียเขตร้อนทั่วๆ ไป มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงยาว สีเขียวมัน ปลายใบม้วนเข้าและม้วนลง เพื่อช่วยในการเกี่ยว พันกับหลักหรือต้นไม้ ดอกเดี่ยวใหญ่ กลีบดอกบิดเป็นคลื่น เมื่อเริ่มออกดอกจะมีสีเหลืองอ่อน ปลายกลีบสีแดง สีจะเข้มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อดอกแก่ มีกลีบดอก 6 กลีบ ผลมี ลักษณะเป็นฝัก เมื่อฝักแก่จะแตก เห็นเมล็ดสีส้ม ภายในมีหัวเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน

อกสีเหลืองออกส้มแดงสวยงาม หัวมีลักษณะเหมือนหัวขวาน แต่ในความสวยงามนั้นแฝงไว้ด้วยพิษมากมาย ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้น คือต้นดองดึงหัวขวาน ดองดึงเป็นพืชที่ออกดอกในฤดูฝน ดอกสวยงามมาก เมื่อออก
ดอกผลแล้วต้นจะตาย ส่วนหัวใต้ดินก็จะแตกเป็นต้นใหม่ต่อไปในปีถัดไป บางคนนิยมปลูกดองดึง เนื่องจากสวยงาม แต่ว่าต้องระมัดระวังเพราะในส่วนของเหง้าและเมล็ดจะมีสาร alkaloid ที่เรียกว่า colchicine สูง ซึ่ง colchicine ทำให้เกิดพิษและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ (1)

ตัวอย่างผู้ป่วย

หญิงอายุ 28 ปี รับประทานหัวดองดึงเป็นอาหารเพราะเข้าใจว่าเป็นกลอย มีอาการอาเจียน ท้องเสีย หลังจากรับประทานไปได้ 2-3 ชั่วโมง เข้าโรงพยาบาลในวันต่อมา มีอาการขาดน้ำและความดันต่ำวัดไม่ได้ มีไข้ อาเจียนและท้องเสีย หัวใจเต้นเร็ว วันที่ 4 หายใจไม่ได้ หัวใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด (2)
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2529 ได้มีข่างลงในหนังสือพิมพ์ว่ามีผู้เสียชีวิต เนื่องจากรับประทานหัวดองดึงเข้าไปถึง 3 ราย เพราะเข้าใจผิดคิดว่าหัวดองดึงเป็นสมุนไพรที่สามารถใช้รักษาอาการท้องอืด เฟ้อและปวดเมื่อยตามร่างกายได้ จึงนำไปต้มและนำมารับประทานคนละ 1 แก้ว เกิดอาการอาเจียนอย่างรุนแรงและเสียชีวิตในวัน
รุ่งขึ้น (3)
คนไข้ เพศหญิง อายุ 21 ปี รับประทานหัวดองดึงต้มขนาด 125 มิลลิกรัม ซึ่งมี colchicine 350 มิลลิกรัม หลังจากรับประทานไปได้ 2 ชั่วโมง ก็เริ่มอาเจียน จากนั้น 8 ชั่วโมงต่อมาก็ถ่ายท้องอย่างแรงเป็นน้ำและท้องเสียตลอดทั้งคืน โดยอาเจียน 25 ครั้ง และถ่ายท้อง 20 ครั้งในคืนนั้นไปโรงพยาบาล เนื่องจากคนไข้มีอาการหมดสติ ขาดน้ำ อัตราการเต้นของหัวใจ 122 ครั้งต่อนาที และความดันโลหิต 95/70 ม.ม. ปรอท อัตราการหายใจ 18 ครั้งต่อนาที แพทย์จึงให้น้ำเกลือ หลังให้น้ำเกลือแล้วผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ความดันโลหิตเพิ่มเป็น 100/70 ม.ม. ปรอท และอัตราการเต้นของหัวใจลดลงเหลือ 110 ครั้ง/นาที แต่เช้าวันต่อมาคนไข้หมดสติ
อีกครั้งหนึ่ง วัดความดันโลหิตไม่ได้จึงให้ hydrocortisone hemisuccinate, methoxamine และ noradrenaline 2 วัน หลังจากเข้าโรงพยาบาล คนไข้มีอาการเลือดออกในตาซ้าย และประจำเดือนซึ่งหมดไปในวันที่รับประทานหัวดองดึง กลับมีใหม่อีก 20 วัน ปริมาณเม็ดเลือดขาว 5,000/c.m.m 12 วันหลังจากเข้าโรงพยาบาลก็มีอาการผมร่วง ในวันที่ 23 ผมร่วงหมด 2 เดือนต่อมา จึงเริ่มมีผมงอกใหม่ แต่ยาวอย่างช้าๆ ซึ่งภายในเวลา 5 เดือนยาวได้เพียง 2-3 นิ้ว เท่านั้น (4)
มีรายงานผู้ที่รับประทานหัวดองดึงและเสียชีวิต 8 ราย ในประเทศศรีลังกา (5)
มีรายงานอาการพิษของผู้ที่ได้รับสาร colchicine จากหัวดองดึง ว่าผู้ป่วยจะมีอาการไตวายเฉียบพลัน ลำไส้อักเสบ ระบบไหลเวียนโลหิตผิดปกติ คลื่นหัวใจผิดปกติจนวัดไม่ได้ (6-8)
ชาวเผ่า EWE รับประทานใบดองดึง 1.613 กิโลกรัม ทำให้เสียชีวิต (9)
เมื่อให้หนูกินสารสัดด้วยน้ำในขนาด 10 กรัมต่อกิโลกรัม พบว่าเป็นพิษ (10)
มีรายงานพบการเสียชีวิตในเด็กที่ได้รับ colchicine ในขนาด 7-11 มิลลิกรัม (11)

สารที่ทำให้เกิดพิษ

สารที่ทำให้เกิดพิษของต้นดองดึงนั้น คือสารในกลุ่ม alkaloid ซึ่งประกอบด้วย colchicine และอนุพันธ์ เช่น N-formyl-N-deacetylcochicine, 3-desmethyl colchicine เป็นต้น ซึ่งพบได้ในทุกส่วนของต้นดองดึง แต่จะพบมากในเหง้าและเมล็ด (12-13)

สูตรโครงสร้าง Colchicine

ปรกติ colchicine ใช้เป็นยาแผนปัจจุบันในการรักษาโรคไขข้ออักเสบเฉียบพลัน (acute gouty arthritis) แต่ไม่ใช่ยาแก้ปวด และไม่สามารถใช้รักษาอาการปวดอื่น colchicine ไปขัดขวางการเคลื่อนที่ ของเม็ดเลือดขาวชนิด granulocyte ไม่ให้ไปที่บริเวณอักเสบ ทำให้เอนไซม์ที่ทำให้อักเสบและ lactic acid ลดลง ซึ่งเป็นผลให้ลดการอักเสบ และ colchicine ไประงับการหลั่ง glycoprotein ซึ่งทำให้ไขข้ออักเสบ ขนาดที่ใช้ในการรักษามีขนาดน้อยมาก คือ 1 มิลลิกรัม ในครั้งแรก แล้วตามด้วย 0.5-1.2 มิลลิกรัม ทุก 1-2 ชั่วโมง ควรหยุดยาทันทีเมื่ออาการปวดหายไป ขนาดที่ใช้ทั้งหมดไม่ควรเกิน 4-10 มิลลิกรัม เนื่องจาก colchicine มีพิษสูงไม่ควรให้ซ้ำภายใน 3 วัน อาจให้โดยวิธีฉีดก็ได้ โดยฉีดให้ในขนาด 2 มิลลิกรัม ถ้าใช้ในการป้องกันการเกิดอาการปวดหรืออักเสบ อย่างเฉียบพลัน ให้ใช้ในขนาด 0.5 มิลลิกรัม 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ อย่างสูงไม่เกิน 1.8 มิลลิกรัมต่อวัน นอกจาก มีประโยชน์ทางยาแล้วได้มีผู้รายงาน ฤทธิ์ข้างเคียงของ colchicine คือ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และปวดท้อง เมื่อมีอาการดังที่กล่าวมาน ี้ต้องหยุดให้ยา เพราะอาจเกิดพิษเพิ่มขึ้นเนื่องจากระยะเวลา ในการออกฤทธิ์และ พิษแตกต่างกันมาก ในแต่ละคน (3)

อาการเมื่อได้รับพิษ

เมื่อรับประทานหัวดองดึง หรือสารสกัดจากส่วนต่างๆ ของต้นดองดึง ภายใน 2-6 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะเริ่ม
มีอาการร้อนในปาก คอ หลอดลมตีบ อาการกลืนไม่ลง กระหายน้ำ ปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน ชีพจรเต้นเร็ว
(90-100 ครั้งต่อนาที) ความดันโลหิตลดลง (70-50 ม.ม. ปรอท หรือ 60-40 ม.ม. ปรอท) เมื่อตรวจคลื่นหัวใจด้วย Electrocardiogram (ECG) จะพบว่าหัวใจเต้นช้าผิดปกติ และอาจมีอาการชักเกร็ง เหงื่อออก เกร็ดเลือดต่ำ มีเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น ถ้าการรักษาและช่วยชีวิตไว้ได้ทัน อาการจะกลับสู่ปกติภายใน 5-10 วัน แต่มีบางรายเสียชีวิตเนื่องจากการหายใจและหัวใจล้มเหลว ขนาดที่ทำให้เสียชีวิตคือ 7 มิลลิกรัม บางครั้งมีอาการดีขึ้นแล้วแต่อาจมีอาการกลับ เป็นมากขึ้นอีกและ เสียชีวิตได้ เนื่องจากการขับถ่าย colchicine ช้า เมื่อรับประทาน colchicine เข้าไปจะถูกดูดซึมเข้าสู่ กระแสเลือด อย่างรวดเร็ว และจะมีปริมาณ colchicine สูงสุดเมื่อได้รับไปประมาณ 0.5-2 ชั่วโมง ซึ่ง colchicine จะเข้าไปอยู่ที่ลำไส้เป็นปริมาณสูงโดยผ่านทางน้ำดีและน้ำย่อย ดังนั้นจะเห็นได้ว่า อาการพิษจะทำลายลำไส้มาก (12-13)

การรักษา

ต้องรีบพยายามล้างท้อง และรักษาปริมาณ electrolyte ให้สมดุลย์ เพื่อป้องกันการช๊อค อาจจำเป็น
ต้องให้ meperidine (50-100 มิลลิกรัม) ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (IM) หรือให้ meperidine ร่วมกับ atropine เพื่อลดอาการปวดท้องอย่างรุนแรง และควรมีเครื่องช่วยหายใจในกรณีที่เกิดการอัมพาตของกล้ามเนื้อ ภาวะการหายใจล้มเหลวหรือช็อค (12-13)

วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552

พืชมีพิษ กลอย

กลอย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Dioscorea hispida Dennst.
ชื่อพ้อง D. hirsuta Blume
วงศ์ Dioscoreaceae
ชื่อท้องถิ่น กลอยข้าวเหนียว กลอยนก กลอยหัวเหนียว

กอย คลี้ มันกลอย Intoxicating yam, Nami, Wild yam
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้เถา ลำต้นกลม มีหนาม

หัวใต้ดิน ส่วนมากกลม เปลือกสีเทาหรือสีฟาง เนื้อขาว

หรือเหลืองอ่อน อมเขียว เป็นพิษ ปริมาณสารพิษจะ

แตกต่างกันไป ในช่วงฤดูฝน (เดือนสิงหาคม) จะมีพิษมากที่สุด

และในฤดูร้อน (เดือนเมษายน) จะมีพิษน้อยที่สุด (1, 2)

ลอยทอดเหลืองกรอบ ส่งกลิ่นหอม น่าอร่อย นับว่าเป็นอาหารชนิด
หนึ่งที่ผู้เขียนชอบรับประทาน และคิดว่าหลายๆท่านก็ชอบรับประทานเช่นเดียวกัน
แต่ในความกรอบอร่อยนี้ น้อยคนนักที่จะรู้ว่ากลอยนั้นถ้าผ่านกระบวนการทำไม่ถูกวิธี จะทำให้เกิดพิษต่อผู้ที่รับประทาน

ตัวอย่างผู้ป่วย

ผู้เขียนมีตัวอย่างผู้ที่ได้รับพิษจากการรับประทานกลอย 2 เรื่อง เรื่องแรกเป็นรุ่นพี่ของผู้เขียน 2 ท่าน รับประทานกลอยทอดที่ซื้อมาจากตลาดตอนพักกลางวัน ประมาณ 1-2 แผ่น พอตกบ่ายแก่ๆ ก็มีอาการอาเจียน วิงเวียน คลื่นไส้ พออาเจียนจนหมดท้อง อาการจึงเริ่มดีขึ้น เรื่องที่ 2 เป็นเรื่องที่เกิดที่ รพ.วาริชภูมิ มีเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล จำนวน 6 คน รับประทานกลอยนึ่งสุกหลังอาหารกลางวัน ประมาณบ่าย 3 โมงของวันเดียวกัน 1 ใน 6 คนนั้นก็มีอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ อาเจียน หลังจากนั้นคนอื่นๆก็มีอาการตามมาแบบเดียวกัน
นอกจากนี้ ในปี 1974 มีรายงานการตายของคนที่เข้าไปในป่าแล้วไม่ระมัดระวังในการรับ-ประทานกลอย ในประเทศมาเลเซีย 3 ราย (3)

สารพิษ

พืชในสกุล Dioscorea จะมีสารพิษ คือ dioscorine ในปริมาณที่แตกต่างกันแล้วแต่ species ในหัวกลอยจะมี dioscorine ในปริมาณมาก หัวกลอยแห้งและลอกเปลือกออก แล้ว จะมีแอลคาลอยด์ที่เป็นพิษ 0.19 % (3, 4)

อาการพิษ

หากรับประทานหัวกลอยมาก จะกดระบบทางเดินหายใจ และทำให้ตายได้ (4) จากรายงานการวิจัยของ วรา จันทร์ศิริศรี และคณะ ฉีดน้ำสกัดกลอยเข้าทางเส้นเลือดดำของหนูถีบจักร พบว่ากลอยจะไปกระตุ้นในระยะแรก ตามมาด้วยการกดระบบประสาทส่วนกลาง การเคลื่อนไหว (motor activity) ลดลงภายหลังฉีดน้ำสกัดกลอยในขนาดที่เริ่มทำให้เกิดพิษ (กดระบบประสาทส่วนกลางเพียงอย่างเดียว) แต่ถ้าฉีดในขนาดสูงมากจนสัตว์ทดลองตาย หนูถีบจักรจะชักในระยะแรก แล้วในที่สุดจะตายเนื่องจากระบบการหายใจถูกกด (2)
ขวัญฤดี เดชาติวงศ์ และคณะ ฉีดน้ำยากลอย (น้ำละลายสารสกัดกลอยด้วย 95 % เอทานอล จนได้สารแอลคาลอย์บริสุทธิ์)เข้าช่องท้องหนูถีบจักรและหนูขาว ขนาดน้อยกว่า 1 มก./นน.หนู 10 กรัม มีฤทธิ์กดสมอง หนูถีบจักรมีอาการซึมลงทุกตัว และบางตัวหลับ นานประมาณ 1 ชม. จึงกลับเป็นปกติ เพิ่มขนาดยาเป็น 1-1.2 มก./ นน.หนู 10 กรัม หนูถีบจักรจะแสดงอาการสมองถูกกดและถูกกระตุ้น หนูเริ่มซึมก่อน หูซีด ต่อมากระวนกระวาย หอบ และชัก หนู 2 ตัวใน 6 ตัว ชักรุนแรง และตาย เนื่องจากการหายใจถูกกด ถ้าใช้ขนาด 1.8-2 มก./ นน.หนู 10 กรัม ทำให้หนูชักรุนแรงมากและตายหมดทั้ง 3 ตัว ในหนูขาวเมื่อฉีดเข้ากล้ามและเข้าหลอดเลือดให้ผลเช่นเดียวกัน ผลต่อการหายใจของแมว พบว่ากลอยทำให้การหายใจเพิ่ม แต่ขนาดมากกลับทำให้การหายใจลดลง กลอยกระตุ้นปมประสาทเสรีของสุนัข ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น มีการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ทั้งกล้ามเนื้อทางเดินอาหารและกล้ามเนื้อหลอดเลือดในหนูตะเภา (5)
บุญยงค์ ตันติสิระ และคณะ พบว่าสาร dioscorine มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางหนูถีบจักรอย่างรุนแรง จนทำให้ชักและตาย (ก่อนเกิดอาการชักจะทำให้สัตว์ทดลองเคลื่อนไหวน้อยลง) (6)
พงษ์ ศักดิ์ กรรณล้วน และคณะ ให้สาร dioscorine ขนาด 0.002-1.024 มก./ กก. เข้าทางหลอดเลือดดำของหนูขาวที่สลบด้วย urethane จะทำให้ค่าความดันโลหิตเฉลี่ยของสัตว์ทดลองเพิ่มขึ้น 15-36 % โดยจะเพิ่มสูงสุดเมื่อให้ในขนาด 0.008 มก./ กก. หลังจากนั้นอัตราการเพิ่มของความดันโลหิตจะคงที่ อัตราการเต้นของหัวใจไม่เปลี่ยนแปลง อัตราเร็วของการหายใจจะสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่การเปลี่ยนแปลงนี้มีนัยสำคัญทางสถิติ สัตว์ทดลองบางตัวจะแสดงอาการหอบและหยุดหายใจ (apnea) ในบางครั้ง ซึ่งมักเกิดในขณะหายใจเข้า ช่วงเวลาที่การหายใจเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของความดัน โลหิต นอกจากนี้ dioscorine ไม่มีผลต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจของหนูขาว และกล้ามเนื้อผนังหลอดเลือดแดงของกระต่าย (7)
ดอกทำให้เกิดอาการระคายเคือง (8)

การรักษาอาการพิษ (9)

ให้การรักษาตามอาการ ได้แก่
1. ให้ phenobarbital หรือ diazepam เพื่อป้องกันอาการชัก แต่ต้องระวังไม่ให้ในรายที่ขนาดของกลอยที่ได้รับนั้นทำให้เกิดอาการพิษที่ไปลดการเคลื่อนไหว (motor activity) หรือกดระบบประสาทส่วนกลางแล้ว ยาเหล่านี้อาจไปเสริมฤทธิ์แทนที่จะต้านฤทธิ์ของกลอย
2. หยุดหายใจ อาจแก้โดยใช้ neostigmine

ดังนั้น การนำหัวกลอยมาใช้ประโยชน์เป็นอาหาร ต้องใช้ความชำนาญและเวลามาก โดยมีการหั่นเป็นชิ้นบางๆ นำไปล้างในน้ำไหล หรือต้มในน้ำเกลือโดยเปลี่ยนน้ำล้างหลายหน รวมทั้งการทดสอบในขั้นตอนสุดท้ายก่อนนำไปใช้ประโยชน์ให้แน่ใจว่าไม่มีสารพิษ เหลืออยู่ (10)

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2552

ตำราสมุนไพรไทย การะบูร

การะบูร, การบูร

ชื่ออื่น ๆ : การบูร การบูร (ภาคกลาง) อบเชยญวน พรมเส็ง (เงี้ยว) เจียโล่ (ประเทศจีน)

ชื่อสามัญ : Camphor, Laurel Camphor, Gum Camphor, Formosan Camphor

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum Camphora Th Fries, Cinnamomum Camphora Nees ex Eberm”

วงศ์ : LAURACEAE

ลักษณะทั่วไป

ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งมีลำต้นสูงประมาณ 9 เมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 25-45 นิ้ว ผิวมันเกลี้ยงเป็นสีเขียว

ใบ : เป็นใบเดี่ยว ผิวมันเรียบ เป็นสีเขียวตลอดทั้งปี ใบจะหนาและยาวประมาณ 5-15 ซม. ปลายใบแหลม ลักษณะของมันเป็นรูปรี

ดอก : ดอกเป็นสีขาวอมเขียว หรือสีเหลือง ดอกมีขนาดเล็กจะออกเป็นกระจุกตามบริเวณง่ามใบ มีดอกในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฏาคม

ผล : ผลมีสีชมพู หรือสีน้ำตาลม่วง เป็นผ ขนาดเล็ก ใน 1 ผล จะมีอยู่ 1 เมล็ด

ส่วนที่ใช้ : เปลือกและราก กลั่นเป็นการะบูนใช้กินประมาณ 1-2 เกรน ใช้แก้ปวดขัดตามเส้นประสาท
ข้อบวมเป็นพิษ แก้เคล็ดบวม เส้นสะดุ้ง กระตุก ขัดยอกแพลง ปวดท้อง ท้องร่วง ขับน้ำเหลือง แก้เลือดลม บำรุงกำหนัด ขับเหงื่อ ทำลายเสมหะ บำรุงธาตุ แก้โรคตา กระจายลม ขับผายลม และเมื่อนำมาผสมเป็นขี้ผึ้ง เป็นยาที่ร้อน ใช้ทาแก้เพื่อถอนพิษอักเสบเรื้อรัง ปวดยอกตามกล้ามเนื้อ สะบักจม ทรวงอก ปวดร้าวตามเส้นเอ็น โรคปวดผิวหนัง รอยผิวแตกในช่วงฤดูหนาว แก้พิษสัตว์กัดต่อย เป็นต้น

หมายเหตุ : วิธีการที่จะทำให้ได้สารสำคัญจากเปลือก เนื้อไม้หรือรากนั้น กระทำได้โดยการนำเอามา หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำกลั่นโดยใช่ไอน้ำ ก็จะได้การะบูนดิบ จากนั้นก็นำเอาการะบูนดิบไปแยกเอาน้ำมันออก โดยการระเหิด (sublimate)ด้วยถ่าน(charcoal)และน้ำปูนใส วิธีการสังเคราะห์การะบูน ซึ่งเริ่มจาก pinene เป็นสารที่สำคัญมักพบอยู่ในน้ำมันสน มีวิธีการคือเปลี่ยน pinene ให้กลายเป็น bornyl ester โดยการใช้ hydrogen chloride แล้ว treatf กับ sodium acetate ก็จะได้ iso-bornyl acetate แล้วนำ hydrolyse ก็จะได้ isoborneol สุดท้ายแล้วนำไป oxidise ก็จะให้ comphor.

หมายเหตุ : “การบูร(ทั่วไป) อบเชยญวณ(ไทย) พรมเส็ง(เงี้ยว).” In Siamese Plant Names,1948,p.117 “Camphor tree, Formosan camphor.”, “Camphor is a word covering several closely similar chemical substances. That from C. camphora is dextro-camphor,or common camphor, being the most abundant on the market. This the Malays call kapur tohor.” Burkill,I,1935,p.546.

พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552

ตำราสมุนไพรไทย เกล็ดนาคราช

เกล็ดนาคราช

ชื่ออื่น ๆ : กีบม้าลม (เชียงใหม่) เกล็ดนาคราช (เชียงใหม่-ระนอง) เบี้นไม้ (ภาคเนือ) ปรือเปราะ (เขมร)

ชื่อสามัญ : -

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dischidia imbricata Warb.

วงศ์ : ASCLEPIADACEAE

ลักษณะทั่วไป

ต้น : เป็นพรรณไม้เลื้อย ที่มีลำต้นเรียวเล็ก จะยึดเกาะตามต้นไม้อื่น ลำต้นเป็นข้อและจะมีรากงอกออกมา

ใบ : ใบมีลักษณะเป็นรูปกลม แบน หรือนูน ผิวเนื้อใบเป็นตุ่มเหมือนกับมีถุงลมอยู่ข้างใน อวบน้ำ ขนาดของใบมีความกว้างและยาวประมาณ 205-302 ซม. ใบจะออกเป็นคู่ตรงข้ามกันบริเวณข้อลำต้น

ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ขนาดเล็ก ลักษณะของดอกมีกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูปคนโท มีสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ข้างในกลีบมีขน และเกสรตัวผู้อยู่ 5 อันเชื่อมติดกัน

การขยายพันธ์ : เป็นพรรณไม้ที่มีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกลำต้น

ส่วนที่ใช้ : ลำต้น ใบสด

สรรพคุณ : ลำต้น เป็นยาแก้อักเสบและปวดบวม ใบสด นำเอามาตำให้ละเอียด แล้วนำมาพอกตามบริเวณแผลผุพองทั่วไป

หมายเหตุ : “เกล็ดนาคราช (ประจวบ - ระนอง) กับม้าลมม กีบมะรุม (เชียงใหม่) ปรือเปราะ (เขมร) “in Siam. Plant Names, 1948,p.191.

พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

ตำราสมุนไพรไทย เกล็ดมังกร

เกล็ดมังกร

ชื่ออื่น ๆ : กะปอดไม้ (เชี่ยงใหม่-ชุมพร) เกล็ดมังกร,เบี้ย (ภาคกลาง) หญ้าเกล็ดลิ่น(ชลบุรี)

ชื่อสามัญ : -

ชื่อวิทยาศาตร์ : Dischidia minor merr.

วงศ์ : ASCLEPIASACEAE

ลักษณะทั่วไป

ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นพัน เลื้อยเกาะยึดกับลำต้นไม้อื่นย้อยห้อยเป็นสายลง

ใบ : ใบมีลักษณะเป็นรูปกลม ขนาดเล็ก ปลายแหลมเป็นติ่งเล็ก ๆ ริมขอบใบเรียบ ขนาดใบกว้างและยาวประมาณ 5-11 มม. ใบจะออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ก้านใบสั้นยาวเพียง 2 มม.

ดอก : ดอกออกเป็นช่อสั้น ๆ ลักษณะของดอกกลีบ และกลีบรองกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นท่อ คล้ายรูปคนโท กลีบดอกมีสีแดง ยาวประมาณ 3 มม. ปลายกลีบเว้าเล็กน้อย ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้และตัวเมียเชื่อมติดกัน

ผล : มีลักษณะเป็นฝักโค้ง บริเวณเหนือจุดกึ่งกลางแหลมเรียวเป็นจะงอยใต้จุดกึ่งกลางเป็นรูปรีเบี้ยว ข้างในฝักมีเมล็ดแบนขนาดของฝักยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่มีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ลำต้น ใบสด

สรรพคุณ : ลำต้น เป็นยาแก้อักเสบ แก้ปวดบวม ใบสด นำมาตำให้ละเอียด แล้วนำมาพอกบริเวณแผลพุพอง

ถิ่นที่อยู่ : เป็นพรรณไม้ที่มักพบตามบริเวณป่าเบญจพรรณ

หมายเหตุ : “เบี้ย เกล็ดมังกร(ไทย) เบี้ยไม้ กับม้าลม(พายัพ) เกล็ดลิ่น(ศรีราช) อีแปะ(จันทบุรี).” In Siam Plant Names,1948,p.192.,Dischidia gaudichaudii Burkill I,1938,p.846 “Pitis pitia kechil (little pennywort).” “An epiphyte found from Tenasserim throughout Malasis.”

พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม?

วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552

ตำราสมุนไพรไทย แก้วลืมวาง

แก้วลืมวาง
ชื่ออื่น ๆ : เก็งชุ้งล้อ (จีน-กรุงเทพฯ) แก้วลืมวาง (เชียงใหม่)

ชื่อสามัญ : -

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dianthus chiinensis Linn

วงศ์ : CARYOPHYLLACEAE

ลักษณะทั่วไป

ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง มีความสูงเพียง 5-18 นิ้ว แตกกิ่งก้านเป็นจำนวนมาก

ใบ : เป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปหอกแคบ ขนาดเล็ก ริมขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบออกเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน โคนใบจะเชื่อมติดกันเล็กน้อย

ดอก : ดอกออกตรงบริเวณปลายยอด มี 1-3 ดอก ลักษณะของดอกมีกลีบรองกลีบดอก ยาวราว 16-24 มม. โคนกลีบจะเชื่อมติดกัน ส่วนปลายแยกออกเป็นแฉกแหลม ตั้งตรงมี 5 แฉก และกลีบดอกมีขนาดยาวราว 1-25 มม. ริมขอบกลีบจะหยักเป็นซี่ ๆ ห่างกัน ามีสีแดงแกมขาว หรือสีแดงหรือสีแดงดำ กลางดอกมีเกสรตัวผู้ 10 อัน ท่อเกสรตัวเมียแยกเป็น 2 แฉก

ผล : ผลมีลักษณะ ปลายผลหยักเป็นซี่เลื่อย 4 ซี่ สีแห้ง

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่นิยมปลูกกันเป็นไม้ประดับ เจริญเติบโตได้ดีในที่มีลักษณะเป็นดินอุดมร่วนซุย มีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ลำต้น

สรรพคุณ : ลำต้น ใช้เป็นยาแก้โรคมะเร็งผิวหนัง แก้โรคเรื้อน ขับระดู ขับปัสสาวะ เป็นยารักษาบาดแผล รักษาโรคโกโนเรีย และโรคแผลเน่าเปื่อย

ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้กับสัตว์ที่มีครรภ์ เพราะอาจจะทำให้ลูกในท้องแท้งได้

ถิ่นที่อยู่ : แก้วลืมวาง เป็นพรรณไม้พื้นเมืองในเขตอบอุ่นแถบเหนือ

หมายเหตุ : “ผีเสื้อ (กรุงเทพฯ) แก้วลืมวาง (พายัพ) “in Siam Plant Names,1948,p.175″ Chinese Pink;Indian Pink.

พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม

วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2552

ตำราสมุนไพรไทย โกฐกะกลิ้ง

โกฐกะกลิ้ง

ชื่ออื่น ๆ : -

ชื่อสามัญ : -

ชื่อวิทยาศาสตร์ : -

วงศ์ : -

ลักษณะทั่วไป

ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอดของต้น เปลือกต้นเกลี้ยงและสีเหลืองเทา ๆ มีเนื้อไม้ที่แข็งที่ทนทาน ลำต้นสูงประมาณ 12 เมตร

ใบ : เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกเรียงกันเป็นคู่ ๆ ไปตามลำต้นลักษณะใบเป็นรูปมนรี ปลายแหลม โคนมน ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อยมีสีเขียว ยาวประมาณ 2.5-4 นิ้ว

ดอก : ออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบหรือตรงส่วนยอดของก้าน ดอกมีขนาดเล็กสีเขียวแกมขาว ลักษณะของดอกเป็นหลอดเล็ก ๆ ปลายดอกแยกออกเป็น 5 แฉก หรือกว่าดอกยาวประมาณ 0.8 ซม.

ผล : พอดอกแก่หรือร่วงโรยไปก็จะติดผล ซึ่งเป็นลูกกลม ๆ เปลือกของผลนั้นมันเงาและสีเหลืองคล้ายผลส้ม แต่จะเล็กกว่าผลโตประมาณ 1.5-2 นิ้ว ภายในผลมีเมล็ดเป็นรูปกลมแบน สีหม่น ๆ มีขนปกคลุมอยู่ เม็ดหนึ่งมีเมล็ดอยู่ 2-5 เม็ด

การขยายพันธุ์ : เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

ลักษณะทั่วไป

ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม ามีลักษณะลำต้นเป็นโพรงกลวง และมียางสีเหลือง กิ่งก้านสาขาแตกออกมาก และมีใบเป็นพุ่ม

ใบ : ลักษณะของใบเป็นใบที่มีขนาดใหญ่ และยาว ประมาณ 60-120 ซม. ริมขอบใบหยัก ใบเป็นแฉก มีก้านใบยาวประมาณ 20-45 ซม.

ดอก : ดอกออกเป็นช่อยาว ลักษณะของดอกเป็นดอกเล็ก ๆ มีสีขาวอมเขียว ดอกเกาะติดกันอยู่ในก้านช่อกิ่งกิ่งหนึ่งมีประมาณ 7-10 ช่อ

ผล : ผลมีขนาดยาวประมาณ 1 ซม. กว่างประมาณ 0.6 ซม. ผลจะแก่ในช่วงเดือนสิงหาคม

ราก : รากมีลักษณะยาวพื้นผิวมีร่องเป็นริ้ว หรือเป็นขุยเกาะติดอยุ่เป็นสีเหลือง

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่มีการขยายพันะด้วยวิธีการแยกลำต้น หรือการเพาะเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ราก

สรรพคุณ : ราก นำรากมาปอกเปลือกออก แล้วนำไปตากแห้ง จะมีรสชาติขม กลิ่นหอม ใช้เป็นยาแก้อุจจาระ และปัสสาวะไม่ปกติ แก้โรคในดวงตา โรคท้องเสีย โรคริดสีดวงงอก เป็นยาระบาย บำรุงกระเพาะอาหารช่วยในการย่อยและบำรุงธาตุให้เป็นปกติ

ถิ่นที่อยู่ : โกฐน้ำเต้า เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบภาคยุโรปในประเทสอินเดีย รัสเซีย จีน ธิเบต

พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

ตำราสมุนไพรไทย โกฐพุงปลา

โกฐพุงปลา

ชื่ออื่น ๆ : กล้วยไม้(ภาคเหนือ)โกฐพุงปลา จุกโรหินี(ภาคกลาง) เถาพุงปลา(ระนอง-ตะวันออก) บวบลม(นครราชสีมา-อุบลราชธานี) นมตำไร(เขมร)

ชื่อสามัญ : -

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dischidia rafflesiana Wall.

วงศ์ : ASCLEPIADACEAE

ลักษณะทั่วไป

ต้น : เป็นพรรณไม้เลื้อย ที่มีลำต้นเป็นลำเถา และต้องอาศัยการยึดเกาะกับลำต้นไม้อื่น บริเวณลำต้นเป็นข้อมีรากออก

ใบ : ใบมี 2 อย่าง และมีลักษณะที่แตกต่างกันมาก ซึ่งจะอยู่ในต้นเดียวกัน ในอย่างแรกจะมีลักษณะคล้ายถุงปากแคบ แบนเป็นเหลี่ยม ใต้ท้องใบมีสีม่วง หลังใบเกลี้ยงเป็นสีเขียวหรือเหลือง ขนาดของใบกว้างประมาณ 2-2.5 ซม. ยาวประมาณ 5-12.5 ซม. อย่างที่ 2 เป็นใบธรรมดา มีลักษณะเป็นรูปค่อนข้างกลม ปลายใบแหลมมีติ่ง ผิวเนื้อใบเกลี้ยงใบหนาและอวบน้ำ ใบยาวประมาณ 1-2 ซม.

ดอก : ดอกออกเป็นช่อสั้น ช่อหนึ่งยาวประมาณ 3-15 มม. ลักษณะของดอกเป็นดอกขนาดเล้ก กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อ ท่อดอกป่องและเบี้ยวไปข้างหนึ่ง ปลายกลีบแยกออกเป็น .5 แฉก ที่ปลายท่อแต้มสีม่วง มีขนขึ้นประปรายอยู่ด้านนอก ด้านในเกลี้ยง กลีบรองกลีบดอกเป็นรูปรี หรือเป็นรูปไข่ ขอบกลีบดอกมีขน กลีบดอกกลม ยาวประมาร 1 มม. โคนดอกเชื่อมติดกันเล้กน้อย

ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝัก ยาวประมาณ 5-7.5 ซม. มีสีเหลืองแกมส้ม

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่มีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล้ด

ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก

สรรพคุณ : ใบ เป็นยาแก้โรคท้องเดิน ราก ใช้ปรุงเป็นยาฝาดสมานแก้ปวดเบ่ง แก้ท้แงร้วง แก้โรคบิด แก้อาเจียน เสมหะพิการ เมื่อนำมาบดหรือเคี้ยวผสมกับพลูเป็นยาแก้ไอ ถ้าใช้ภายนอกเป็นยาสมานแผล

ถิ่นที่อยู่ : เป็นพรรณไม้ที่มักพบตามป่าชายเลน ป่าแพะ และ ป่าเบญจพรรณ

หมายเหตุ : “จุกกะโรหินี โกฎฐ์พุงปลา (ไทย) กล้วยไม้ (พายัพ) บวบลม(โคราช-อุบล) พุงปลา (จันทบุรี-ตราด) เถาพุงปลา(ระยอง) กล้วยมุสัง(พังงา) จุรูหินี(ชุมพร) นมตำไร(เขมร).” In Siam. Plant Names,1948,p.p.192.,

พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

ตำราสมุนไพรไทย ทองบ้าน

ทองบ้าน

ชื่ออื่น ๆ : ทองหลางด่าง ทองหลางใบมนด่าง ทองหลางลาย ทองเผือก ทองหลางดอกแดง

ชื่อสามัญ : Erythrina indica.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Erythrina orientalis (L) Murr. Var. picta

วงศ์ : LEGUMINOSAE

ลักษณะทั่วไป :

ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบ มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งมีความสูงประมาณ 18 เมตร ลักษณะบริเวณลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมโค้ง คม ปลายหนามเป็นสีม่วงคล้ำ ผิวเปลือกลำต้นบาง เป็นสีเทา หรือสีเหลืองอ่อน ๆ

ใบ : ใบออกเป็นช่อ หรือใบรวม มีประมาณ 3 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปมน ปลายใบ แหลมยาวคล้ายใบใบโพธิ์ ใบที่อยู่ยอดจะมีขนาดใหญ่กว่าใบย่อยคู่ล่าง ขนาดของใบกว้างประมาณ 2-4 นิ้ว ยาวประมาณ 2-5.5 นิ้ว หลังใบมีเป็นสีด่างเหลือง ๆ เขียว ๆ พื้นผิวเรียบ เป็นมัน ใต้ท้องใบเป็นสีขาว หรือสีหม่น ก้านช่อใบยาวประมาณ 3-4 นิ้ว

ดอก : ดอกออกเป็นช่อติดกันเป็นกลุ่ม มีสีแดงสด ออกตามบริเวณข้อต้น หรือโคนก้านใบ ช่อหนึ่งยาวประมาณ 4-9 นิ้ว ลักษณะของดอกมีกลีบกว้างประมาณ 1-1.4 นิ้ว ยาวประมาณ 2-25 นิ้ว ดอกคล้ายกับดอกถั่ว ดอกมักจะออกในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์

ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝัก แบน โคนฝักเล็กลีบ ส่วนที่คอนไปทางปลายฝักจะบวม ซึ่งจะเห็นเป็นสัณฐานของเมล็ดได้ชัดมาก พอฝักแก่เต็มที่ปลายฝักก็จะแตกอ้าออก ภายในฝักมีเมล็ดเป็นเหลี่ยม

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่ปลูกขึ้นง่าย ปลูกได้ดีในดินทุกชนิด ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง

ส่วนที่ใช้ : เปลือกลำต้น ใบ ดอก เมล็ด เปลือกราก

สรรพคุณ :

เปลือกลำต้น ใช้เปลือกลำต้นสด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้โรคตับ แก้ไข้ แก้ปวด บวมตามข้อ และแก้ปวดได้ทุกชนิด หรือนำมาบดให้เป็นผงละเอียดแล้วใช้น้ำผสมเล็ก น้อยแล้วนำมาอุดฟัน แก้ปวดฟัน เป็นต้น

ใบ ใช้ใบสดนำมาต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้ไข้ แก้โรคบิด แก้ปวดเมื่อยตามไขข้อ แก้ปวดท้องเป็นยาขับพยาธิแก้ปวดท้อง ปวดฟัน แก้อาเจียน เป็นยาขับประจำเดือน กระต้นให้อยากอาหาร และยาใช้เป็นยานอนหลับได้ดี เป็นต้น

ดอก ใช้ดอกสด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาขับระดู

เมล็ด นำเมล็ดมาตำให้ละเอียดเป็นผง หรือนำมาต้มน้ำกิน เป็นยาแก้พิษงู เป็นยาขับ ระดู รักษามะเร็ง และฝี เป็นต้น<เปลือกราก นำมาต้มเอาน้ำกิน เป็นยากระตุ้นหัวใจ กระตุ้นไขสันหลัง และทำให้ความดันโลหิตในเส้นโลหิตแดงเพิ่มขึ้น และรักษาอาการไอเกร็งเนื่องจากโรคหอบหืดหรือขั้วปอดอักเสบ เป็นต้น

ถิ่นที่อยู่ : ทองบ้าน เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย

ส่วนประกอบทางยา :

?เมล็ด มี alkaloid เป็นส่วนประกอบอยู่ 2 ชนิด คือ erythraline และ hypophorine ซึ่งพบ ว่า alkaloid ทั้ง 2 ตัวนี้ ให้ผลเหมือนสาร; (curare-like-action) คือทำให้เกิดอัมพาต (paralysis) ของกล้ามเนื้อลาย และของระบบหายใจได้ดี โดยมีการทดลองให้ hypaphorine ในกบ พบว่าในปริมาณน้อยไม่ทำให้เกิด อัมพาต (paralysis) แต่กลับมีผลทำให้เกิดการไวต่อสิ่งกระตุ้นมากขึ้น (hyperexcitability) แต่ในปริมาณสูง ๆ พบว่าจะให้ผล paralysis ได้มาก ส่วน erythraline เป็น alkaloid มีให้ผล paralysis ได้มาก

ใบและราก มี alkaloid ที่เป็นพิษ 2 ชนิด คือ erythrinine และ erythrine ซึ่งมีฤทธิ์กด

ระบบประสาทส่วนกลาง (CNS depressant) ทำให้นอนหลับ และเกิดจากการมึนเมา (narcotic) ได้

ใบ ราก กิ่ง และผล มี hydrocyanic acid

เปลือก พบว่ามีส่วนประกอบของ resins, fixed oils, fatty acid, hypaphorine, bataine, Choline, Potassium chloide, Potassium Carbonate

ตำรับยา :

1. แก้ปวดฟัน ใช้เปลือก ล้างน้ำให้สะอาด บดให้เป็นผงละเอียด แล้วใช้อุดบริเวณฟัน ที่ปวด

2. แก้ปวดข้อ ปวดกระดูก ใช้เปลือกสด ๆ หนักประมาณ 20-40 กรัม ต้มน้ำดื่มกิน

3. แก้ไข้ ใช้ใบสด 20-40 กรัม หรือใบแห้ง ประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มน้ำกิน

4.ขับเสมหะ ใช้ใบสด และรากสด ในปริมาณอย่างละ 30 กรัม ใส่น้ำตาลทราย ประมาณ 15 กรัม ต้มน้ำกินวันละ 2 ครั้ง

5. ผิวหนังเป็นน้ำเหลือง เป็นฝี ให้ใช้ใบสดนำมาคั้นเอาน้ำล้างแผล

หมายเหตุ :? พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม

ตำราสมุนไพรไทย ทองสามย่าน

ทองสามย่าน

ชื่ออื่น ๆ : ทองสามย่าน (ภาคกลาง), โพเพะ (โคราช)

ชื่อสามัญ : -

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kalanchoe integra (Medik.) O. Kuntze

วงศ์ : CRASSULACEAE

ลักษณะทั่วไป :

ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นโค้งแล้วตั้งตรง ลักษณะของลำต้นอวบน้ำ ผิวเรียบ

เกลี้ยง ไม่มีกิ่งก้านสาขา ลำต้นข้อบน ๆ จะยาว ส่วนล่าง ๆ ข้อลำต้นสั้น ขนาดของลำต้นสูงประมาณ 1-1.5 เมตร

ใบ : ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ หรือรูปหอก โคนใบสอบเข้าหากันแคบ ส่วนปลายใบมน ริมขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ผิวเนื้อเรียบหนา ขนาดของใบกว้างประมาณ 1-5 นิ้ว ยาวประมาณ 1.5-12 นิ้ว ก้านใบจะโอบหุ้มลำต้น

ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ตามบริเวณยอดของลำต้น ดอกมีขนาดเล็ก ลักษณะของดอกมีกลีบรองกลีบดอก ตั้งตรงหรือกางออกเป็นรูปเหลี่ยม ปลายกลีบแหลม มีขนาดยาวประมาณ 4-12 มม. สำหรับกลีบดอกนั้นจะเชื่อมติดกันเป็นท่อ ปลายกลีบแยกจากกันเป็นแฉกมีความยาวประมาณ
7-13 มม. ขนาดของท่อดอกยาวประมาณ 1-2 ซม. ตรงกลางมีเกสรตัวผู้ราว 8 อัน และเกสรตัวเมียเป็นเส้นยาวอยู่รวมกัน

ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปยาวรี ส่วนปลายแหลม ซึ่งจะมีความยาวราว 10-12 มม. ผลออกติดกันเป็นพวง

การขยายพันธุ์ : ทองสามย่าน เป็นพรรณไม้กลางแจ้งชอบแสงแดด ซึ่งมักพบตามบริเวณหินปูน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดเพาะ

ส่วนที่ใช้ : ลำต้น, ใบ

สรรพคุณ :

ลำต้น ใช้เป็นยาแก้บรรเทาอาการฟกช้ำ และบวม ห้ามโลหิต และเป็นยาใช้ล้างนัยน์ ตา

ใบ นำใบสดมาตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำ เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย แก้อหิวาตกโรค เป็นยาแก้พิษในสัตว์ เป็นยาบำรุง และเป็นยาใช้พอกแผล เป็นต้น

หมายเหตุ : “ทองสามย่าน (กรุงเทพฯ) ; โพเพะ (โคราช).” In Siam.Plant Names,1948,p.288.

พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

ตำราสมุนไพรไทย ทับทิม

ทับทิม

ชื่ออื่น ๆ : มะเก๊าะ (ภาคเหนือ), มะก่องแก้ว พิลาขาว (น่าน), หมากจัง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), พิลา (หนองคาย), เจียะลิ้ว (จีน)

ชื่อสามัญ : Punic Apple, Pomegranate, Granades, Granats, Carthaginian Apple

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Punica granatum Linn.

วงศ์ : PUNICACEAE

ลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น หรือพรรณไม้พุ่มขนาดกลาง ลักษณะผิวเปลือกลำต้นเป็นสีเทา ส่วนที่เป็นกิ่งหรือยอดอ่อนจะเป็นเหลี่ยม หรือมีหนามแหลมยาวขึ้น

ใบ : ใบมีลักษณะเป็นรูปยาวรี โคนใบมนแคบ ส่วนปลายใบเรียวแหลมสั้น ผิวหลังใบเกลี้ยงเป็นมัน ใต้ท้องใบจะเห็นเส้นใบได้ชัด ขนาดของใบกว้างประมาณ 1-1.8 ซม. ยาวประมาณ 2.5-6 ซม.

ดอก : ดอกออกเป็นช่อ หรืออาจจะเป็นดอกเดียว ในบริเวณปลายยอด หรือง่ามกิ่ง ลักษณะของดอกมีเป็น สีส้ม สีขาว หรือสีแดง ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ 6 กลีบ ปลายกลีบดอกจะแยกออกจากกัน ตรงกลางดอกมีเกสรตัวเมีย และตัวผู้ซึ่งมีอับเรณูเป็นสีเหลือง ขนาดของดอกบานเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3 ซม.

ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้างกลม ผิวเปลือกนอกหนาเกลี้ยง ผลเมื่อแก่หรือสุกเต็มที่มีสีเหลืองปนแดง และลักษณะของผลจะแตก หรืออ้างออก ข้างในผลก็จะมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก เป็นรูปเหลี่ยม มีสีชมพูสด

การขยายพันธุ์ : ทับทิม เป็นพรรณไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในดินปนทรายหรือดินที่มีกรวด มีการขยาย พันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง หรือการใช้เมล็ด

ส่วนที่ใช้ : เปลือกลำต้น ใบ ดอก เปลือกผล เมล็ด และเปลือกราก

สรรพคุณ :
เปลือกลำต้น ในเปลือกของลำต้นจะมีอัลกาลอยด์ประมาณ 0.35-0.6% และอัลกา

ลอยด์ในเปลือกของลำต้นนี้มีชื่อเรียกว่า Pelletierine และ Isopelletierine ซึ่งใช้เป็นยา ถ่ายพยาธิได้ผลดี

ใบ ใช้ใบสดนำมาต้ม กรองเอาน้ำใช้ล้างแผลเนื่องจากมีหนองเรื้อรังบนหัว หรือใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วเอาไปพอกในบริเวณที่เป็นแผลถลอก เนื่องจากหกล้มได้ เป็นต้น

ดอก ใช้ดอกที่แห้งประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มกรองเอาน้ำดื่ม เป็นยาแก้ให้เลือดกำเดา แข็งตัว และแก้หูชั้นในอักเสบ หรือใช้ดอกแห้งนำมาบดให้ละเอียดแล้วใช้ทา หรือโรยบริเวณบาดแผลที่มีเลือดออก เปลือกผล ใช้เปลือกผลที่แห้งแล้วประมาณ 2.5-4.5 กรัม นำมาบดให้ละเอียด หรือนำ มาต้มกินน้ำ ใช้เป็นยาแก้โรคท้องเสีย โรคบิดเรื้อรัง ถ่ายเป็นมูกเลือด ถ่ายพยาธิ ตกขาว ดากออก แผลหิด และกลากเกลื้อนเป็นต้น

เมล็ด ใช้เมล็ดที่แห้งแล้วประมาณ 6-9 กรัม นำมาบดให้ละเอียด หรือทำเป็นยาก้อน กิน เป็นยาแก้โรคปวด จุกแน่น เนื่องจากโรคกระเพาะอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ทำให้เจริญอาหาร และแก้ท้องร่วง เป็นต้น

เปลือกราก ใช้เปลือกรากที่แห้งแล้ว ประมาณ 6-12 กรัม นำมาต้มน้ำกิน เป็นยาแก้ระดู ขาว ตกเลือด ถ่ายพยาธิ หล่อลื่นลำไส้ แก้ท้องเสีย และโรคบิดเรื้อรัง เป็นต้น

อื่น ๆ : ในประเทศอินเดียทางด้านแถบตะวันตกเฉียงใต้ ได้มีการใช้เปลือกผลทับทิม นำมา ย้อมผ้า ซึ่งใช้ผสมกับครามหรือขมิ้น จะได้สีผ้าที่ย้อมนั้นเป็นสีน้ำตาลอมแดง แต่ถ้าใช้เปลือกผลอย่างเดียวก็จะได้เป็นสีเขียว ผ้าที่ย้อมชนิดนี้เรียกว่า RAKREZI

ข้อห้ามใช้ : 1. เป็นบิด ท้องเสีย หรือท้องผูก ไม่สมควรใช้เปลือกราก เป็นยาแก้

2. การใช้เปลือกรากเป็นยาแก้ ควรจะใช้อย่างระมัดระวังให้มาก เพราะเปลือกรากมี พิษ

ถิ่นที่อยู่ : ทับทิม เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเซีย

ตำรับยา :
1. บาดแผลจากเชื้อรา แผลเรื้อรังที่ผิวหนัง ให้ใช้เปลือกรากพอประมาณ นำมาต้มใช้น้ำล้างแผล

2. เป็นบิดเรื้อรัง หรือถ่ายเป็นเลือด ให้ใช้เปลือกผล นำมาผิวไฟให้เกรียม แล้วนำมา บดให้ละเอียด ประมาณ 3-6 กรัม ผสมกับน้ำข้าวกิน หรือมะเขือยาว 1 ลูก แล้วต้มเอาน้ำดื่มกิน

3. เป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง ถูกน้ำร้อนลวก และแผลจากไฟไหม้ ใช้คั่วหรือผิงให้เกรียม แล้วบดให้ละเอียด ผสมกับน้ำมันพืชคลุกให้เข้ากันแล้วใช้ทาบริเวณแผล หรือใช้เปลือกผลและสารส้ม ในประมาณเท่า ๆ กัน แล้วนำมาบดให้ละเอียด แล้วใช้ทาบริเวณที่เป็น

4. เท้าที่เป็นแผลเน่าเรื้อรัง ให้ใช้เปลือกผลนำมาต้มเคี่ยวน้ำให้เหลว แล้วปล่อยให้ตก ตะกอน จากนั้นก็ใช้ทาบริเวณแผลที่เป็นทุกวัน

5. แก้เลือดกำเดาไหลไม่หยุด

- ใช้ดอกทับทิมสด โขลก หรือหั่นให้เป็นฝอย แล้วใช้อุดรูจมูก

- ใช้ดอกที่แห้งแล้ว นำมาตำให้ละเอียด ประมาณ 0.3 กรัม ใช้เป่าเข้ารูจมูก

- ใช้ดอกแห้งประมาณ 0.3 กรัม และดอกปอแก้วประมาณ 3 กรัม นำมาบด ผสมกันให้ละเอียด แล้วนำมาต้มหรือใช้ผสมกับน้ำกิน ในประมาณ 3 กรัม ต่อน้ำ 1 แก้ว

6. ขับพยาธิตัวกลม และตัวตืด ให้ใช้เปลือกรากที่แห้งแล้ว ประมาณ 18 หรือ 25 กรัม นำมาตำให้ละเอียดแล้ว ใช้ต้มน้ำกิน หรือรินเอาน้ำต้มใส่ข้าวข้น ๆ กินก่อนอาหาร

7. หญิงที่เป็นระดูขาว หรือตกเลือดมากผิดปกติ ให้ใช้รากที่สด ประมาณ 1 กำมือ นำมาเผาไฟให้เกรียม จากนั้นเอาไปต้ม หรือเคี่ยวกับน้ำให้ข้น ใช้กินครั้งละ 1 แก้ว

8. นิ่วในไต ให้ใช้รากสด และลำต้นกิมจี่เช่า ในปริมาณ 30 กรัม เท่ากัน นำมาต้มใช้ น้ำกิน

9. แผลที่ถูกคมมีด หรือของมีคมทุกชนิด ที่มีเลือดไหลใช้ดอกที่แห้งแล้ว นำมาตำให้ละเอียดแล้วใช้พอกบริเวณที่เป็นแผล

10. หูชั้นกลางอักเสบ ให้ใช้ดอกสดนำมาผิงไฟให้เกรียมบนก้อนอิฐ จากนั้นนำมาบด ให้ละเอียดผสมกับพิมเสนพอประมาณ ใช้เป่าเข้าหู

11. สำหรับเด็กที่ไม่เจริญอาหาร อาเจียนเป็นโลหิต หรือจมูกและฟันไม่ปรกติ ให้ใช้ ดอกสด (แห้ง) นำมาต้มน้ำกิน

ตำรับยา (สัตว์) :
1. ถ่ายพยาธิตัวกลมในสุกร ให้ใช้เปลือกรากและผลเล็บมือนาง ในประมาณ 15 กรัม เท่ากัน และเมล็ดหมากอีก 10 กรัม นำมาต้มน้ำให้กิน

2. ถ่ายพยาธิตัวตืดกับสัตว์เลี้ยง ให้ใช้เปลือกรากนำมาบดให้ละเอียด แล้วดอง หรือ แช่ในน้ำประมาณ 4-5 ชม. จากนั้นน้ำไปต้มให้สัตว์กิน (เปลือกรากผง สัตว์ที่มีอายุมาก
ให้ใช้ในปริมาณ 30-60 กรัม สำหรับสัตว์ที่มีอายุอ่อนหรือปานกลาง ให้ใช้ในปริมาณ 10-12 กรัม)

3. ม้าและวัว ที่อ่อนแอหมดกำลัง ให้ใช้เปลือกของผลที่แห้งแล้วในปริมาณ 30 กรัม นำมาตำให้ละเอียดใช้ละลายน้ำให้กิน

4.ลูกสุกรเป็นโรคบิด ให้ใช้เปลือกผลประมาณ 3 กรัม และเจียวซัวจา ผสมกันแล้ว คั่วให้แห้ง แล้วเติมใบกี๊บักประมาณ 10 กรัม นำมาต้มเอาน้ำให้กิน

5. ห้ามเลือดสำหรับบาดแผลข้างนอก ให้ใช้ดอกที่แห้งแล้วบดให้ละเอียดใช้โรย บริเวณที่เป็นแผล

ข้อมูลทางคลีนิค :
1. บิดอมีบา จากการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคบิดอมีบา ในจำนวน 40 คน โดยใช้เปลือก ผลเข้มข้นประมาณ 60% ใช้ต้มน้ำกินทุก ๆ หลังอาหารในประมาณครั้งละ 20 มล (ในช่วงที่กินยา ผู้ป่วยอาจมีอาการหูอื้อ หรืออึดอัดกังวลใจบ้าง แต่ต่อมาอาการก็จะหายเอง) ผลปรากฏว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

2. ถ่ายพยาธิตัวตืด จากการทดลองกับคนไข้ 9 คน โดยการใช้เปลือกรากแห้ง หลังจากขูดผิวนอกออกแล้วประมาณ 25 กรัม นำไปดองหรือแช่น้ำ (300 มล.) นานประมาณ 24 ชม. จากนั้นก็นำมาต้ม ตั้งไฟอ่อน ๆ จนให้น้ำเหลือประมาณ 100 มล. ใช้ดื่มก่อนที่จะรับประทานอาหารเช้า จากนั้นอีก 4 ชม. ก็ให้กินดีเกลือประมาณ 20-25 กรัม สำหรับขับพยาธิตัวตืดออกมา จากการทดสอบปรากฏว่า
มีผู้ป่วย 5 คน ที่เป็นพยาธิจากหมู 4 คน เป็นพยาธิจากวัว และอีก 1 คนไม่ปรากฏผลอะไรเลย

3. แก้โรคบิดแบคทีเรีย จากการทดสอบกับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ในจำนวน 50 คน โดยการใช้เปลือกผลที่แห้งแล้วต้มให้มีความเข้มข้น 50-6% ให้ผู้ป่วยกิน 3-4 ครั้งต่อวันในประมาณ ครั้งละ 10-20 มล. ผลปรากฏว่ามีผู้ป่วย
จำนวน 49 คน มีอาการดีขึ้น อีก 1 คน มีอาการดีขึ้นภายหลัง

4. อาการอักเสบจากการติดเชื้อ จากการทดสอบคนป่วยที่เป็นไส้ติ่งอักเสบ ลำไส้อักเสบ ท่อน้ำดีอักเสบ ผิวหนังเป็นแผลติดเชื้อ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ และหลอดลมอักเสบ จำนวน 415 คน โดยการใช้เปลือกผล ต้มให้เดือดกรองน้ำนำไประเหยแห้ง แล้วนำไปบดให้ละเอียดเป็นผง นำมาใส่ในแคปซูล ขนาด 250 มก. กินครั้งละ 3 ครั้ง ๆ ละ 1-2 แคปซูล ผลปรากฏว่าผู้ป่วยมีอาการหายขาดเลย 305 คน อาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 57 คน อาการดีขึ้น 36 คน และอีก 17 คน ไม่ได้ผลเลย

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา :
1. สารที่ได้จากการสกัดเปลือกราก เปลือกผลและผลด้วยแอลกอฮอล์ จะมีฤทธิ์ใน

การยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อต่าง ๆ หลายประเภท เช่น Pseudomonas aeruginosa, S. schottmuelleri, Shigella paradysenteriae B.H., S. montevideo, Staphylococcus aureus, Escherichia coli และ S. paradysenteriae III-Z เปลือกผลที่มีได้จากการสกัดในความเข้มข้น 10 กรัมต่อลิตร มีฤทธิ์ช่วยในการยับยั้งเชื้อรา Colletotrichum falcatum Went. และ Piricularia oryzae Cav. น้ำที่สกัด หรือคั้นจากรากและใบมีฤทธิ์ช่วยในการยับยั้งเชื้อ Mycobacterium tuberculosis และมีฤทธิ์ใช้ฆ่าเชื้อไวรัสในยาสูบ

2. สารละลาย pelletierine hydrochloride ในน้ำอัตรส่วน 1 : 10,000 มีฤทธิ์สามารถ ฆ่าพยาธิเส้นด้ายได้ดี ภายใน 5-10 นาที แต่ถ้าใช้ในอัตราส่วน 1 : 50,000 มีผลเพียงทำให้พยาธิระคายเคืองเท่านั้น แต่สำหรับในปัจจุบัน ได้ค้นพบว่าตัวที่มีฤทธิ์ในการทำลายพยาธิที่จริงและได้ผลดีคือ
isopelletierine ตัว pelletierine บริสุทธิ์ มีฤทธิ์ในการทำลายพยาธิได้เหมือนกันถ้าจะได้ผลดีต้องอยู่ในรูปอัลคาลอยด์แทน เนท เพราะอัลคาลอยด์แทนเนท ไม่ถูกดูดซึม และลายน้ำได้ยาก

3. จากการทดลองให้หนูตะเภา หรือหนูใหญ่ตัวเมียกินผงที่ละเอียดแล้วของเปลือก ผล ปรากฏว่าผลของการตั้งท้องน้อยกว่าพวกที่ไม่ได้กิน ทดลองกับกระต่ายจากการใช้เปลือกรากสกัดเอาน้ำ ทำให้เลือดของกระต่ายแข็งตัวได้เร็วขึ้นกว่าปรกติ

หมายเหตุ : พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม

พืชมีพิษ สาวน้อยประแป้ง

สาวน้อยประแป้ง

ชื่อวิทยาศาสตรDiffenbachid picta Schott
ชื่อพ้อง : Dieffenbachia seguine (Jacq.) Schott, Dieffenbachia maculata (Lodd.) G.Don, Arum seguine Jacq.,Caladium maculatum Lodd.,Caladium seguine (Jacq.) Vent.,Caladium seguine (Jacq.) Vent. Maculatum Sims
วงศ์ : Araceae
ชื่ออื่นๆ : ว่านหมื่นปี ช้างเผือก ว่านพญาค่าง อ้ายใบก้านขาว บ้วนมีแช ว่านเจ้าน้อย มหาพรหม อ้ายใบ Dumb cane
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ล้มลุกมีลำต้นตรง ใบเดี่ยวเรียง สลับ รูปไข่แกมขอบขนานแกมวงรี ปลายใบแหลม โคนใบรูป ลิ่มถึงรูปหัวใจ มักมีลายประสีเขียวและขาว ก้านใบมีกาบ ดอกช่อ มีกาบออกที่ซอกใบ ผลแบบกล้วยสีแดง เมล็ดเรียบ รูปทรงกลมถึง ทรงรูปไข่ (1)




พันธุ์ไม้ต่าง ๆ ในประเทศไทยมีมากมายหลายหลากชนิด ทั้งที่เป็นคุณและเป็นโทษ มียาหลายประเภทที่สกัดได้จากสมุนไพร ซึ่งมีประโยชน์มากมายในการรักษาโรค ในทางกลับกันก็มีพืชหลาย ชนิดที่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต ซึ่งต้นสาวน้อยประแป้งยังจัดเป็นพืชพิษ ชนิดหนึ่งที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ปกติพืชชนิดนี้ไม่ใช้เป็นอาหาร แต่หาง่ายและมีขึ้นอยู่ทั่วไป เนื่องจากใช้เป็นไม้ประดับ ในอดีตเคย ใช้ใบแก้เคล็ดบวมและรักษาโรคไขข้ออักเสบ ทั้งต้นระคายผิวหนัง จึงใช้ทำให้เลือดมาเลี้ยงมากขึ้น รักษาโรคไขข้ออักเสบและแก้โรคลม จับโปง และปัจจุบันต้นสาวน้อยประแป้งเป็นไม้ประดับที่ปลูกเพื่อ ความสวยงามตามบ้านเรือน

ตัวอย่างผู้ป่วย

ผู้ ป่วยชายไทยคู่อายุ 38 ปี รับราชการเป็นทหาร มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ ก่อนมาโรงพยาบาล 1 ชั่วโมง อาการน้ำลายฟูม พูดได้แต่เป็นเพียงเสียงที่ออกจากลำคอเท่านั้น ริมฝีปากบวม ผนังกระพุ้งแก้มบวม ลิ้นบวมโตคับปาก ลักษณะผิวลิ้นมีสีขาว กลิ่นเหม็นเล็กน้อย อ้าปากได้ลำบาก ร้อนไหม้และเจ็บปวดบริเวณริมฝีปาก ช่องปากและในลำคอ หายใจไม่ออก ไม่พบอาการแคลเซียมในเลือดต่ำ แม้เคยมีรายงานว่า ผลึกแคลเซียมออกซาเลทสามารถทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำได้ อาจเป็นเพราะปริมาณผลึกแคลเซียมออกซาเลทในผู้ป่วยรายนี้ไม่สูงพอที่จะทำให้ เกิดอาการแคลเซียมในเลือดต่ำ จากการซักประวัติทราบว่า ผู้ป่วยเคี้ยวและกลืนใบและลำต้นของต้นสาวน้อยประแป้งลงไปหลายคำเนื่องจาก สภาพมึนเมา เมื่อ 5 วันก่อนผู้ป่วยมาโรงพยาบาล อาการที่เกิดขึ้นจึงค่อนข้างรุนแรง (2)
ผู้ป่วยเด็กชายอายุ 13 ปีชาวจีนได้รับยางของต้นสาวน้อยประแป้งกระเด็นเข้าตาข้างซ้าย ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดอย่างรวดเร็วและรุนแรง เมื่อมาถึงโรงพยาบาลปรากฎว่า ไม่สามารถลืมตาข้างซ้ายได้เลย เมื่อตรวจดูตาพบว่า cornea มีรอยปุ่มขึ้นมา (3)
และรายอื่น ๆ ที่รับประทานต้นสาวน้อยประแป้งเข้าไป พบว่ามีอาการเผ็ดร้อนในปาก การบวมของข้างแก้ม ลิ้น เพดานและหน้าบวม พูดไม่ชัด บางรายถึงกับเสียงหายไป อาการบวมและปวดมีมากจนกระทั่งกลืนอาหารไม่ได้ และบางครั้งจะมีอาการระคายเคืองทางเดินอาหาร แต่ไม่มีผลต่อไตหรือทำให้ชัก การสัมผัสกับผิวหนังอาจมีอาการแพ้เป็นผื่นบวมแดง อาการบวมจะเริ่มลดลงในวันที่ 4 และเกือบหมดไปในวันที่ 12 แต่อาการปวดจะยังคงมากอยู่ จนถึงวันที่ 8 อาจเกิดแผลที่ลิ้นและข้างแก้ม ตลอดจนทางเดินอาหารส่วนอื่น ๆ ด้วย (4)

สารที่ทำให้เกิดพิษ

ต้นสาวน้อยประแป้ง คือ ผลึกแคลเซียมออกซาเลท (calcium oxalate) อยู่เป็นจำนวนมาก (5) โดยอยู่ในรูปที่เป็นผลึกรูปเข็ม มีอยู่ทั้งในใบ ลำต้นและหัวใต้ดิน เป็นสารที่ไม่ค่อยละลายน้ำ นอกจากนี้ยังมีสารจำพวกโปรตีน (protoanemomine) (8)

อาการพิษ

ผลึกแคลเซียมออกซาเลท (calcium oxalate) ในสาวน้อยประแป้ง ซึ่งเป็นผลึกรูปเข็มนี้จะทิ่มแทงผิวหนังทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดินอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปาก และลำคอ (6,7,8,9,10,11) เมื่อรับประทานต้นสาวน้อยประแป้งเข้าไปจะรู้สึกเจ็บปวด ร้อนที่ลิ้น และในเยื่อบุช่องปาก (5,6) ข้อสำคัญคือสารนี้รวมตัวได้ดีกับแคลเซียม ทำให้เกิดภาวะ แคลเซียม ในเลือดต่ำ (2) ซึ่งมีผลต่อการทำงานของหัวใจ กล้ามเนื้อลาย ระบบประสาทส่วนกลาง การสัมผัสถูกยาง ทำให้เกิด อาการบวมแดงได้ (2,7) และนอกจากนี้ยังมีสารจำพวกโปรตีน (protoanemomine) ทำให้ปาก ลิ้นและคอบวม พองเป็นตุ่มใส อีกทั้งยังทำให้กลืนลำบากอีกด้วย (6)

การรักษา

เพื่อลดอาการปวดอาจต้องให้ยาระงับปวดจำพวก meperidine (demerol) ล้างปากและรับประทานสารละลาย aluminium magnesium hydroxide 1 oz ทุก 2 ชั่วโมง อาจให้พวก steroid แต่ฤทธิ์ในการเป็น antihistamine ไม่ค่อยได้ผล อาจจำเป็นต้องให้น้ำเกลือ
ถ้ากรณีเพียงแต่เคี้ยวไม่ได้กลืนพืชลงไป รักษาโดยการใช้น้ำชะล้างปากและคอ เพื่อบรรเทาอาการปวดร้อนไหม้ที่ลิ้นและเยื่อบุช่องปาก อาจรับประทานยาแก้ปวดและยาแก้อักเสบอาการจะอยู่เพียง 2-3 วันก็สามารถรับประทานอาหารอ่อน ๆ ได้ (7)
ท ในกรณี cornea มีรอยปุ่มขึ้นมา โดยทั่วไปอาการจะหายไป 3-4 อาทิตย์ แต่ถ้าให้ 1%ethyl morphine และ 2%disodium edetate จะช่วยให้อาการดีขึ้น โดย 1%ethyl morphine จะช่วยทำให้ permeability ของ cornea ดีขึ้นและ 2%disodium edetate จะช่วยละลายผลึกแคลเซียมออกซาเลททำให้แผลหายเร็วขึ้น โดยใช้เวลารักษาเพียงครึ่งเดียว (3)
ในกรณีที่ผิวหนังถูกยางควรให้การรักษาโดยการล้างด้วยน้ำสบู่หลาย ๆ ครั้ง เพื่อเจือจางสารพิษที่ผิวหนัง (4)
แม้ว่าอาการพิษที่เกิดจากต้นสาวน้อยประแป้งจะพบได้ไม่บ่อยนัก แต่ต้นสาวน้อยประแป้ง จัดเป็นพืชที่หาง่ายและขึ้นอยู่ทั่วไป โอกาสที่จะเกิดการสัมผัสยางหรือรับประทาน พืชต้นนี้เข้าไป โดย รู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจเกิดขึ้นได้ จึงควรที่จะระมัดระวัง

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

ตำราสมุนไพรไทย ทองพันชั่ง

ทองพันชั่ง

ชื่ออื่น ๆ : ทองคันชั่ง, หญ้ามันไก่, ทองพันดุลย์ (ภาคกลาง)

ชื่อสามัญ : -

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhinacanthus nasutus (L.)Kurz.

วงศ์ : ACANTHACEAE

ลักษณะทั่วไป :

ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีลักษณะเป็นพุ่มขนาดเล็ก ส่วนโคนของลำต้นเนื้อเป็นแกนแข็ง ขนาดของลำต้นสูงประมาณ 90-120 ซม.

ใบ : ใบมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้างรี ส่วนปลายใบแหลมเรียว ใบมีลักษณะคล้ายกับใบพริก แต่มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย ใบมีสีเขียวและจะมีจุดแต้มเป็นสีน้ำตาล

ดอก : ดอกมีสีขาวบริสุทธิ์ เป็น 2 ปาก มีลักษณะคล้ายนกยาง

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ต้องการน้ำและความชื้นค่อนข้างมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำกิ่ง

ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก

สรรพคุณ :

ใบ ใช้ใบสด หรือคั่วให้แห้ง นำมาชงในน้ำใช้ดื่ม เป็นยาช่วยขับปัสสาวะ หรือใช้เป็นยาระบายได้

ใบและราก มีสารอ๊อกซีเมททิลแอนทราควิโนน(oxymethylanthraquinone) เมื่อนำเอา

ใบ ประมาณ 5-8 ใบ และรากสดประมาณ 2-3 ราก นำมาตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำออก จากนั้นก็นำมาแช่ด้วยแอลกอฮอล์ หรือในสุรา แล้วใช้ทารักษาผิวหนัง กลากเกลื้อน หรือผื่นคัน เป็นต้น

ถิ่นที่อยู่ : ทองพันชั่ง เป็นพรรณไม้ที่มักพบทั่วไปในประเทศเขตร้อน

หมายเหตุ : พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม

วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2552

เด็กเป็นไตวายได้ด้วยหรือ


ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศ ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น คาดว่าสิ้นปี 2549 ประเทศไทย จะมีผู้ป่วยภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ประมาณ 30,000 ราย ในจำนวนนี้ รวมไปถึง ผู้ป่วยเด็กไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วย

ร่างกายคนเรา มีไตอยู่สองข้าง บริเวณเอวด้านหลัง โดยไตเป็นอวัยวะที่สำคัญ ทำหน้าที่รักษาสมดุลน้ำ เกลือแร่ และกรดด่างในร่างกาย นอกจากนั้น ไตยังทำหน้าที่สำคัญหลายอย่าง คือ สร้างสารกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง กำจัดของเสีย ขับยา และสารพิษออกจากร่างกายทางปัสสาวะ

ผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตเสื่อม ระยะแรกจะไม่มีอาการแสดงให้เห็น จนกว่าการทำงานของไต ลดลงไปกว่าร้อยละ 70-80 จึงเป็นการยาก ที่จะช่วยชะลอการเสื่อมการทำงานของไต หรือแก้ไขได้แต่เนิ่นๆ

ผู้ป่วยที่มีไตวายเรื้อรัง ในที่สุดจะเข้าสู่ ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย คือ ไตไม่สามารถทำหน้าที่ได้ ต้องหาไตใหม่ มาปลูกถ่ายแทนที่ ซึ่งต้องผ่านหลายขั้นตอน และยังมีผล ทั้งร่างกาย จิตใจ ครอบครัว เศรษฐกิจ และสังคม

สาเหตุ ของ ภาวะไตวายเรื้อรัง หรือไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในเด็ก มีความแตกต่างจากผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กเล็ก มักเกิดจากความผิดปกติ ทางโครงสร้างของไต และระบบทางเดินปัสสาวะ ตั้งแต่กำเนิด เช่นภาวะไตเล็ก และเนื้อไตผิดปกติ ภาวะอุดกั้นในทางเดินปัสสาวะ และโรคทางพันธุกรรม ขณะที่ในเด็กโต มักเกิดจากโรคไตอักเสบเรื้อรัง กลุ่มอาการเนโฟรติก และโรคเอสแอลอี

อาการ ที่บ่งบอกว่าเป็นโรคไตวาย เช่น ปัสสาวะน้อย หรือไม่มีปัสสาวะ ปัสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน สิ่งเหล่านี้ เกิดจากความผิดปกติของหลอดไต ในการดูดกลับสารน้ำและเกลือแร่ ปัสสาวะสีน้ำล้างเนื้อ มีอาการหน้าและหนังตา บวม หรือเท้าบวมทั้งสองข้าง ซึ่งสังเกตได้ง่าย เวลาตื่นนอนตอนเช้า และการกดบุ๋มที่หน้าแข้งทั้งสองข้าง ความดันโลหิตสูง

อาการที่บ่งบอกว่า เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย คือ ตัวซีด อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เป็นตะคริว ผิวหนังแห้ง คันตามตัว ตามัว บวม เหนื่อยหอบ ถ้าเป็นมากขึ้นจะซึมลง ชัก หมดสติ และเสียชีวิตได้ในที่สุด โดยผู้ป่วยเด็กมีอาการอื่นๆ ได้อีก เช่น การเจริญเติบโตช้า จากการขาดสารอาหาร และความผิดปกติของฮอร์โมน ช่วยการเจริญเติบโต หรือติดเชื้อบ่อยๆ รวมทั้ง การเจริญเติบโตของกระดูกที่ผิดปกติ

การสืบค้นที่จำเป็น และสามารถบอกได้ว่า มีภาวะไตวายหรือไม่ คือ การตรวจปัสสาวะและเลือด เพื่อประเมินการทำงานของไต

การปลูกถ่ายไตมี 2 ประเภท ดังนี้

1.
จากผู้บริจาคที่เสียชีวิต
2.
จาก ผู้บริจาคที่มีชีวิต โดยต้องมีหมู่เลือดที่เข้ากันได้ และเนื้อเยื่อเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน เพื่อให้ผลการปลูกถ่ายไตออกมาดี การปลูกถ่ายไตในเด็ก มักได้จากผู้บริจาคที่มีชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบิดา หรือมารดา จากข้อกำหนดว่า การปลูกถ่ายไต จากผู้บริจาคที่มีชีวิต ต้องมีความสัมพันธ์กันทางสายเลือด ได้แก่
บิดาหรือมารดา บุตรหรือธิดา พี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกัน ที่สามารถพิสูจน์ได้ โดยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือทางกฎหมาย
ลุง ป้า น้า อา หลาน ลูกพี่ลูกน้องในลำดับแรก หรือญาติที่มีความสัมพันธ์ ทางสายเลือดครึ่งหนึ่ง เช่น พี่น้องต่างบิดาหรือมารดา
สามี ภรรยา ต้องมีหลักฐานการจดทะเบียนสมรส จนถึงวันผ่าตัดปลูกถ่ายไต ไม่น้อยกว่า 3 ปี ยกเว้น กรณีที่มีบุตรหรือธิดาด้วยกัน ซึ่งสามารถตรวจพิสูจน์ได้

ทั้งนี้ ผู้บริจาค ต้องไม่ถูกบังคับ หรือได้รับการจ้างวาน ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์ใดๆ ทั้งทางตรง และทางอ้อมทั้งสิ้น

ส่วนค่าใช้จ่าย ในการผ่าตัดปลูกถ่ายไตของ รพ.ศิริราช หากผู้ป่วยไม่มีโรคแทรกซ้อนหลังผ่าตัด จะอยู่ราว 150,000 - 300,000 บาท หากมีโรคแทรกซ้อน ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับโรค และชนิดของยาที่ใช้ในการรักษา นอกจากนี้ หลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไตแล้ว ผู้ป่วยยังต้องรับประทานยากดภูมิต้านทาน เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายปฏิเสธไต ที่ได้รับใหม่ไปตลอดชีวิต สำหรับค่ายาในระยะแรกหลังผ่าตัด จะประมาณเดือนละ 10,000 - 30,000 บาท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความจำเป็น ในการใช้ยา และจะค่อยๆ ลดลงตามลำดับ

แม้วันนี้ บัตรประกันสุขภาพถ้วน (30 บาท) จะยังไม่ครอบคลุมการรักษา แต่ทางหน่วยไตเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ดำเนินการปลูกถ่ายไต ครั้งแรกไปเมื่อ 10 ปีก่อน (พ.ค. 2539) จนถึงปัจจุบัน ยังมีผู้ป่วยอีกหลายราย ที่รอการปลูกถ่ายไต ซึ่งท่านสามารถเป็น 1 ในหลายล้านคน ที่ช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ ให้ได้รับการรักษา อย่างเท่าเทียมกับผู้อื่นในสังคม ด้วยการบริจาคเข้า กองทุน‘ปลูกถ่ายไตเด็ก” รหัส D 002714 ในศิริราชมูลนิธิ ที่ ตึกมหิดลบำเพ็ญ ชั้น 1 หรือ 0- 2419-7658 - 60

ท้ายนี้ มีวิธีง่ายๆ ในการดูแลสุขภาพไตมาฝาก เริ่มด้วย

1.
หลีกเลี่ยงอาหารเค็มจัด และภาวะเครียด
2.
ดื่มน้ำสะอาดวันละ 1.5 - 2 ลิตรในผู้ใหญ่ และลดลงตามส่วนสำหรับเด็ก
3.
พักผ่อนให้เพียงพอ
4.
ไม่ใช้ยาใดประจำ โดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ผศ. นพ. สุโรจน์ ศุภเวคิน
กุมารแพทย์ทางไต