วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ข้าวหอมนิล ของมูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงรังษีนภดล ยุคล ราคา 100 บาท 081-3571859



ราคา ข้าวหอมนิล ของมูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงรังษีนภดล ยุคล

1 กิโลกรัม ราคา 100 บาท บรรจุสูญญากาศอย่างดีเก็บไว้ได้นาน ป้องกันแมลงและมอดเป็นอย่างดี

สั่งซื้อจำนวน 20 ถุงขึ้นไป ได้รับแถม 1 ถุง และลดราคาเหลือถุงละ 90 บาท แถมบริการส่งฟรี(20 ถุงขึ้นไป)
สนใจสั่งซื้อได้ที่ 081-3571859
Email:yatha22@hotmail.com

ลักษณะพิเศษของข้าวเจ้าหอมนิล



ข้าวเจ้าหอมนิลเป็นข้าวที่ได้รับการคัดเลือก และพัฒนาจนได้ข้าวที่มีเมล็ดข้าวกล้องเรียวยาว สีม่วงเข้ม ข้าวกล้องเมื่อหุงสุกจะนุ่มเหนียว และมีกลิ่นหอม น่ารับประทาน ที่สำคัญคือ ข้าวกล้องมีโปรตีนสูงถึง 12.5% ปริมาณคาร์โบไฮเดรต 70% ปริมาณ amylose 16% และยังประกอบไปด้วย ธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง แคลเซียม และโพแทสเซียม ซึ่งสูงกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 (ตารางที่ 1)
การศึกษาเอกลักษณ์ทางพันธุกรรมโดยใช้โมเลกุลเครื่องหมายชนิด microsatellite จำนวน 48 ตำแหน่ง มาทำการตรวจสอบ ชี้ให้เห็นว่า ข้าวเจ้าหอมนิลมีความแตกต่างจากข้าวพันธุ์ Hei Bao และ Xua Bue Huqที่เป็นข้าวเมล็ดสีดำของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จึงยืนยันได้ว่าข้าวทั้ง 3 ไม่ได้เป็นพันธุ์เดียวกัน

ลักษณะประจำพันธุ์ ข้าวเจ้าหอมนิลเป็นข้าวนาสวน ไม่ไวแสง สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี การแตกกอดี ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และแมลงโดยทั่วๆ ไป

ความสูงของต้น
สีของ ใบ/ลำต้น
เมล็ดข้าวกล้องยาวประมาณ
เปลือกหุ้มเมล็ดข้าว
อายุการเก็บเกี่ยว
ผลผลิตเฉลี่ย
75 เซนติเมตร
เขียวเข้มอมม่วง
6.5 มม. มีสีม่วงดำ
มีสีม่วงเข้ม
95-100 วัน
400-700 กิโลกรัมต่อไร่
ต้านทานต่อโรคไหม้ (Blast)
ทนทานต่อสภาพแล้ง (Drought) และดินเค็ม (Salinity)

ปริมาณองค์ประกอบของสารอาหารในเมล็ด
ปริมาณ แป้งอะมัยโลส (Amylose) 12%
ปริมาณธาตุเหล็ก 2-2.25 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม
ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidamt) 292 ไมโครโมลต่อกรัม
น้ำมันรำข้าว 18%
เส้นใยจากรำข้าว 10%

ตารางที่ 1 คุณค่าทางโภชนาการของข้าวเจ้าหอมนิลเทียบ กับข้าวขาวดอกมะลิ 105
คุณค่าทางโภชนาการ
ข้าวเจ้าหอมนิล
ข้าวขาวดอกมะลิ 105
โปรตีน (%)
คาร์โบไฮเดรต (%)
ธาตุเหล็ก (มก./100 ก)
สังกะสี (มก./100 ก)
แคลเซียม (มก./100 ก)
โพแทสเซียม (มก./100 ก)
ทองแดง (มก./100 ก)
12.56
70.0
3.26
2.9
4.2
339.4
0.1
6.0
80.0
-
-
-
-
-

ตารางที่ 2 ปริมาณวิตามินบางชนิดในข้าวและข้าวสาลี
วิตามิน
ข้าวกล้อง
ข้าวขัดขาว
ข้าวสาลี
B1 (มก./100 ก)
B2 (มก./100 ก)
B3 (มก./100 ก)
B6 (มก./100 ก)
Folic acid (ไมโครกรัม/100 ก)
0.34
0.05
4.7
0.62
20
0.07
0.03
1.6
0.04
16
0.57
0.12
7.4
0.36
78

ที่มา : Chrispeels, M.L. and E.S. David. 1994. Plants, Genes and Agriculture. Jones and Bartlett Publishers. London. England. 478 p.

ลักษณะทางโภชนาการ
ข้าวเจ้าหอมนิลเป็นข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยมีโปรตีนอยู่ในช่วงประมาณ 10-12.5 % มีปริมาณแป้งอะมัยโลสประมาณ 12-13% มีปริมาณสาร 2-acetyl-1-pyrroline ปานกลาง ร่วมกับสารหอมระเหยจำเพาะ พวก Cyclohexanone ในปริมาณมาก มีแคลเซียม 4.2 มิลลิกรัมต่อ100 กรัม ปริมาณธาตุเหล็กแปรปวนอยู่ระหว่าง 2.25- 3.25 มิลลิกรัมต่อ100 กรัม และธาตุสังกะสีประมาณ 2.9 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม
ข้าวเจ้าหอมนิลมีปริมาณสาร antioxidation สูงประมาณ 293 ไมโครโมลต่อกรัม ในส่วนของเยื่อหุ้มเมล็ดที่เป็นสีม่วงเข้มประกอบไปด้วยสาร anthocyanin, proanthocyanidin, bioflavonoids และวิตามิน E ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และสีผสมอาหารตามธรรมชาติ
ในส่วนของรำและจมูกข้าว มีวิตามิน E วิตามิน B และกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ในส่วนของรำมีน้ำมันรำข้าว 18% เป็นองค์ประกอบ ซึ่ง 80 % เป็นชนิด C18:1 และ C18:2 เหมือนกับน้ำมันที่ได้จากถั่วเหลืองและข้าวโพดและพบว่ามีสาร omega-3 ประมาณ 1-2 % รำข้าวของเจ้าหอมนิลมีปริมาณเส้นใย digestible fiber สูงถึง 10% จากข้อมูลทางโภชนาการนับได้ว่าข้าวเจ้าหอมนิลเป็นข้าวที่มีศักยภาพในการนำมาแปรรูปทางอุตสหกรรมอาหารสูง เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารจากแป้งข้าวเจ้าหอมนิล รวมทั้งขนมขบเคี้ยวต่าง

คุณประโยชน์ของสีม่วงในข้าวเจ้าหอมนิล
ข้าวเจ้าหอมนิลมีเมล็ดสีม่วงดำ เมื่อวิเคราะห์ปริมาณสีของเมล็ด สีม่วงดำประกอบไปด้วย สีม่วงเข้ม (cyanidin) สีชมพูอ่อน (peonidin) และสีน้ำตาล (procyanidin) ผสมกัน ซึ่งสีที่เห็นนั่นเป็นสารประกอบกลุ่ม flavonoid ที่เรียกว่า สารแอนโทไซยานิน (anthocyanin) ที่ประกอบไปด้วยสาร cyanidin กับ สาร peonidin สารโปรแอนโทไซยานิดิน (proanthocyanidin) ประกอบด้วยสาร procyanidin ซึ่งสารดังกล่าวทั้งหมดนี้เป็นสาร antioxidant ที่ทำหน้าจับกับอนุมูลอิสระแล้วช่วยทำให้กลไกลการทำงานของร่างกายมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าปกติ
สารแอนโทไซยานิน มีรายงานวิจัยพบว่า สามารถช่วยลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ ช่วยลดไขมันอุดตันในเส้นเลือดที่หัวใจ และสมอง บรรเทาโรคเบาหวาน ช่วยบำรุงสายตาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นเวลามองตอนกลางคืน สาร cyanidin มีประสิทธิภาพในการ antioxidation ได้ดีกว่าวิตามินอี หลายเท่า และยังยับยั้งการเจริญเติบโตของ epidermal growth factor receptor ในเซลล์มะเร็ง สารโปรแอนโทไซยานิดิน หรือเรียกว่าสาร condensed tannins มีรายงานวิจัยพบว่า สารโปรแอนโทไซยานิดิน ทำการ antioxidation ได้ดีกว่าวิตามินซี วิตามินอี และ เบต้าแคโรทีน (beta-carotene) สาร โปรแอนโทไซยานิดิน ยังไปจับกับอนุภาคของกัมมันตภาพรังสีทำให้เซลล์ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ และช่วยลดไขมันอุดตันในเส้นเลือดป้องกันโรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูง ยังยับยั้งการเจริญเติบของเซลล์มะเร็งเต้านม ปอด กระเพาะอาหาร และเม็ดเลือดขาว และยังป้องกันไวรัส HSV-1 และยับยั้งการทำงานของเอมไซม์ reverse transcriptase ใน ไวรัส HIV






ลักษณะทางกายภาพ

ข้าวเจ้าหอมนิล เป็นข้าวเจ้าสีดำ เมล็ดใส ที่ได้จากการคัดพันธ์กลายของข้าวเหนียวดำต้นเตี้ยจากจีน ข้าวเจ้าหอมนิลสูงประมาณ 60-75 เซนติเมตร มีอายุวันเก็บเกี่ยว 95-105 วัน มีการแตกกอดี ใบและลำต้นสีเขียวปนม่วง มีหูใบ โคนต้น ดอก และเมล็ดมีสีม่วงเข้ม ผลผลิตประมาณ 400-700 กิโลกรัม/ไร่ จากการศึกษาเอกลักษณ์พันธุกรรม โดยใช้ microsatellite จำนวน 48 ตำแหน่ง ชี้ให้เห็นว่า ข้าวเจ้าหอมนิลมีความแตกต่างข้าว Hei Bao และ Xua Bue Huq จากจีน ซึ่งมีปริมาณโปรตีนและธาตุเหล็กสูง แสดงให้เห็นว่า ข้าวทั้ง 3 ไม่ได้เป็นข้าวพันธุ์เดียวกัน

ข้าวเจ้าหอมนิลนับเป็นข้าวที่มีโภชนาการสูง เหนียวนุ่ม เมล็ดยาว และมีกลิ่นหอม ข้าวเจ้าหอมนิลมีโปรตีนอยู่ในช่วงประมาณ 10-12.5 % มีแคลเซียม 4.2 มิลลิกรัม/100 กรัม ธาตุเหล็กแปรปรวนระหว่าง 2.25-3.25 มิลิกรัม/ 100 กรัม และธาตุสังกะสีประมาณ 2.9 มิลลิกรัม

ข้าวเจ้าหอมนิลมีปริมาณแป้ง amylose ประมาณ 12-13 % ข้าวกล้องของข้าวเจ้าหอมนิลหุงสุก นุ่มมีกลิ่นหอมแบบข้าวเหนียวดำและข้าวหอม มีปริมาณสาร 2-acety-1-pyrroline ปานกลาง ร่วมกับสารหอมระเหยจำเพาะ เช่น Cyclohexanone ในปริมาณมาก

ข้าวเจ้าหอมนิลมีปริมาณ antioxidation สูงประมาณ 293 ไมโครโมล/กรัม มีน้ำมันรำข้าว 18 % ซึ่ง 80 % เป็นชนิด C18 : C18:2 และพบว่ามี omega-3 ประมาณ1-2 % รำข้าวเจ้าหอมนิล มีปริมาณ digestible fiber ถึง 10 % จากข้อมูลคุณภาพแป้ง และโภชนาการนับได้ว่าข้าวเจ้าหอมนิล เป็นข้าวที่มีศักยภาพในการแปรรูปทางอุตสาหกรรมอาหารสูง ในการทำ cracker หรือ cooky

ข้าวเจ้าหอมนิลยังมีความสามารถในการต้านทานโรคไหม้ และไหม้คอรวงระดับสูง ทนน้ำท่วมและทนแล้งระดับปานกลาง การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าหอมนิลระยะต่อมา ได้เข้าคู่ผสมกับข้าวหอมมะลิ 105 และได้ทำการเพาะเลี้ยงอับเรณู (anther culture) จากรุ่น F3 ควบคู่กับการทำ pedigree จนในที่สุดได้ลูกที่เป็น double haploid ที่มีเมล็ดสีม่วงหนึ่งสายพันธุ์คือ ข้าวเจ้าหอมนิล DH และลูกที่ได้จากากรคัดเลือก pedigree พันธุ์ใหม่คือ ข้าวเจ้าหอมนิล # 1 ซึ่งให้ผลผลิตสูงกว่า เมล็ดเรียวยาว และให้สีเมล็ดเข้มสม่ำเสมอตลอดปี ในคู่ผสมอื่น ๆ ก็ได้เน้นการปรับปรุงต้านทานแมลง เพิ่มผลผลิต และคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีข้าวที่มีโภชนาการเทียบเท่าข้าวเจ้าหอมนิลออกสู่ ผู้บริโภคต่อไป