วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ชิคุนกุนย่า โรคร้าย ที่มาจากยุงลาย (ภาค 2)

โปรโมชั่น ครบ 1 ปี รับของแจกฟรี
http://kasidit-herbal.blogspot.com





เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก กระทรวงสาธารณสุข , thaimuslim.com , bangkokhealth.com, thairath.co.th

เมื่อเร็วๆ นี้เราคงได้ยินข่าวว่าเกิดการแพร่ระบาดของ "โรคชิคุนกุนยา" ใน แถบจังหวัดชายแดนภาคใต้ จนลุกลามไปเกือบทั่วทั้งประเทศแล้วนั้น ทำให้หลายคนแปลกใจไม่น้อยว่า นี่คือโรคประหลาดสายพันธุ์ใหม่อะไรหรือเปล่า วันนี้กระปุกดอทคอมจึงอาสาคลายข้อสงสัย ด้วยการนำความรู้เกี่ยวกับ "โรคชิคุนกุนยา" มาบอกต่อกันค่ะ…



โลชั่นป้องกันยุง และ บำรุงผิว ผลิตจากสมุนไพร 100%
ราคา 30 บาท
ประโยชน์
ทาป้องกันยุงกัด และ ทาแก้คันจากยุงกัน แก้อาการแพ้จากสิ่งต่างๆ
และช่วยบำรุงผิว ทาทุก ๆ 2 ชั่วโมง สำหรับป้องกันยุง

เด็ก 2 ขวบขึ้นไปทาได้คะ ไม่มีอาการแพ้(สารแพ้เกิดจากน้ำหอม และ สารกันบูด)

ส่วนประกอบ
ตะไคร้หอม, กระเพาแดง, เสลดพังพอน, ว่านน้ำ, ไพรสด, และน้ำมันจมูกข้าว

สนใจซื้อติดต่อ 081-357-1859
Email: yatha22@hotmail.com

"ชิคุนกุนยา" คืออะไร
"โรคชิคุนกุนยา" (Chikungunya) หรือ "โรคไข้ปวดข้อยุงลาย" ไม่ใช่โรคใหม่อะไรหรอกค่ะ แต่เป็นโรคที่อุบัติขึ้นมานานแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ.1955 (พ.ศ.2498) โดยมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปแอฟริกา ก่อนจะแพร่ระบาดไปหลายๆ ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งผู้ที่บรรยายลักษณะของโรคชิคุนกุนยาเป็นคนแรกคือ Marion Robinson และ W.H.R. Lumsden ในปี ค.ศ.1955 (พ.ศ.2498) ซึ่งก่อนหน้านั้น 3 ปี เกิดมีการระบาดของโรคในดินแดนที่ราบสูงมากอนดี พรมแดนระหว่างประเทศโมแซมบิก และแทนซาเนียในปัจจุบัน จากนั้นก็พบการระบาดของเชื้อชิคุนกุนยาเป็นครั้งคราวในทวีปแอฟริกา เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การแพร่เชื้อโรคชิคุนกุนยาในทวีปแอฟริกานั้น มี 2 วงจร คือ "วงจรชนบท" คน-ยุง-ลิง ซึ่งมีลิงบาร์บูน เป็นโฮสต์ โดยมีการระบาดเล็กๆ เป็นครั้งคราว ก่อนที่คนจะนำเชื้อชนิดนี้ออกมาสู่ชุมชนเมือง ทำให้เกิด "วงจรในเมือง" คน-ยุง กลายเป็นการแพร่ระบาดจากคนสู่คน โดยมียุงเป็นพาหะนั่นเอง
ส่วนการแพร่เชื้อชิคุนกุนยาในทวีปเอเชียต่างจากในทวีปแอฟริกา เนื่องจากวงจรที่พบคือ "วงจรในเมือง" มียุงลายเป็นพาหะนำเชื้อติดต่อไปสู่คนได้ รูปแบบคล้ายคลึงกับโรคติดเชื้อที่นำโดยยุงลายอื่นๆ ซึ่งอุบัติการของโรคเป็นไปตามการแพร่กระจาย และความชุกชุมของยุงลาย โดยเกิดการแพร่ระบาดในทวีปเอเชียครั้งแรกที่เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย ในปี ค.ศ.1963 (พ.ศ.2506) จากนั้นพบการระบาดเป็นครั้งคราว จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2005 – ค.ศ.2006 (พ.ศ.2548 – พ.ศ.2549) พบการระบาดใหญ่ที่หมู่เกาะทางตอนใต้ของอินเดีย มีผู้เสียชีวิต 237 ราย และประชากรหนึ่งในสามติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา
ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ.2006 (พ.ศ.2549) พบการระบาดของไวรัสชิคุนกุนยาในประเทศปากีสถาน ต่อมาในเดือนมกราคม ค.ศ. 2008 (พ.ศ.2551) พบการระบาดในประเทศสิงคโปร์ พบผู้ป่วย 10 ราย โดยทางการสิงคโปร์ได้ออกมาตราการเฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิด ทางด้านประเทศมาเลเซียพบการระบาดของโรคชิคุนกุนยาในเดือนกันยายน ค.ศ.2008 (พ.ศ.2551) มีผู้ป่วย 1,975 ราย กว่าครึ่งอาศัยอยู่ในรัฐยะโฮร์ ส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่มาจากประเทศอินเดีย และคนมาลาเซียที่เดินทางไปท่องเที่ยวประเทศอินเดีย


ในประเทศไทยพบมีการระบาดของโรคชิคุนกุนยา 7 ครั้ง ดังนี้
- ในปี พ.ศ.2531 (ค.ศ.1988)พบการระบาดที่จังหวัดสุรินทร์
- ในปี พ.ศ.2534 (ค.ศ.1991) พบการระบาดที่จังหวัดขอนแก่น และปราจีนบุรี
- ในปี พ.ศ. 2536 (ค.ศ.1993) มีการระบาด 3 ครั้งที่จังหวัดเลย นครศรีธรรมราช และหนองคาย
- ในปี พ.ศ.2551 (ค.ศ.2008) พบการระบาดที่จังหวัดนราธิวาส รายงานผู้ป่วยที่ตำบลละหาร อำเภอยี่งอ
ตั้งแต่เดือนกันยายน 2551 ถึงวันที่ 12 ตุลาคม 2551 พบรายงานผู้ป่วยรวมทั้งหมด 170 ราย ใน 2 จังหวัด คือนราธิวาส ใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอยี่งอ 99 ราย อำเภอเจาะไอร้อง 9 ราย และอำเภอแว้ง 44 ราย และพบที่ อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี จำนวน 18 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
- ในปี พ.ศ. 2552(ค.ศ.2009) การแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาพบในจังหวัดพัทลุง
โดยสำรวจพบผู้ป่วยครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือระหว่าง 25-34 ปี อาชีพที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือกลุ่มเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และอาชีพรับจ้าง อำเภอที่พบผู้ป่วยมากสุดคืออำเภอป่าพะยอม อำเภอกงหรา อำเภอเขาชัยสน และอำเภอเมือง ตามลำดับ โดยผู้ป่วยทั้งหมดได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลอำเภอนั้น ผู้ป่วยทุกรายอยู่ในอาการปลอดภัย นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้นหลังมีผู้ป่วยเดินทางกลับ จากรับจ้างกรีดยางพาราจากจังหวัดใกล้เคียง ทั้ง นี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 พบผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาสะสมจำนวน 20,541 ราย ใน 23 จังหวัด ยังไม่พบผู้เสียชีวิต โดยพบผู้ป่วยจาก 7 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี ตรัง พัทลุง ยะลา นราธิวาส และสตูล
ที่มาของชื่อไวรัสชิคุนกุนยา
ชื่อของเชื้อไวรัสชิคุนกุนยานั้น มาจากคำในภาษา Makonde ซึ่งเป็นภาษาของชนพื้นเมืองในแอฟริกาที่อาศัยอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของ ประเทศแทนซาเนีย และทางตอนเหนือของประเทศโมแซมบิก โดยรากศัพท์พื้นเมืองเดิมเรียกว่า kungunvala ซึ่งมีความหมายเป็นภาษาอังกฤษว่า "That which bends up" สอดคล้องกับลักษณะอาการปวดข้อของโรคนี้
สาเหตุของโรคชิคุนกุนยา
โรคชิคุนกุนยาเกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) ซึ่งเป็น RNA Virus จัดอยู่ใน genus alphavirus และ family Togaviridae ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ ดังนั้นจึงมักพบการระบาดในช่วงฤดูฝนที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะกับการเพาะพันธุ์ ของยุงลาย ซึ่งเมื่อประชากรยุงเพิ่มขึ้น ทำให้มีการติดเชื้อในยุงลายมากขึ้น โดยพบโรคนี้ได้ในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งต่างจากไข้เลือดออก และหัดเยอรมันที่ส่วนมากพบในผู้อายุน้อยกว่า 15 ปี


การติดต่อของโรคชิคุนกุนยา
การติดต่อของโรคชิคุนกุนยาเกิดขึ้นเมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วย ที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสนั้นจะไปเพิ่มจำนวนมากขึ้นในตัวยุง และเมื่อยุงนั้นไปกัดคนอื่นต่อ ก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้เกิดการติดเชื้อโรคชิคุนกุนยาได้ ทั้งนี้ โรคชิคุนกุนยามีระยะฟักตัว 1-12 วัน แต่ช่วง 2-3 วันจะพบบ่อยที่สุด ส่วนในช่วงวันที่ 2-4 วัน จะเป็นช่วงที่มีไข้สูง มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก และสามารถติดต่อกันได้หากมียุงลายมากัดผู้ป่วยในช่วงนี้ และนำเชื้อไปแพร่ยังผู้อื่นต่อ

อาการของโรคชิคุนกุนยา
ผู้ที่เป็นโรคชิคุนกุนยาจะมีไข้สูงอย่างฉับพลัน ร่วมกับอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกหรือข้อ ปวดกระบอกตา หรือมีเลือดออกตามผิวหนัง และอาจมีอาการคันร่วมด้วย ซึ่งดูเผินๆ คล้ายกับโรคไข้เลือดออก หรือหัดเยอรมัน แต่จะไม่มีอาการรุนแรงจนถึงขั้นช็อก หรือเลือดออกมากเช่นโรคไข้เลือดออก
อย่าง ไรก็ตาม โรคชิคุนกุนยาสามารถเป็นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่ผู้ใหญ่จะมีอาการรุนแรงกว่า คือมักจะมีอาการปวดข้อทั้งข้อมือ ข้อเท้า และเป็นข้ออักเสบตามมาด้วย ซึ่งมักจะเปลี่ยนตำแหน่งที่ปวดไปเรื่อยๆ บางครั้งมีอาการรุนแรงมากจนขยับข้อไม่ได้ แต่จะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ หรือบางคนอาจจะปวดเรื้อรังอยู่เป็นเดือนหรือเป็นปีก็ได้ และไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงช็อกจนเสียชีวิต


การรักษาและป้องกันโรคชิคุนกุนยา
ทุกวันนี้ยังไม่มีวัคซีนสำหรับการรักษาและป้องกันโรคชิคุนกุนยา ดังนั้นการรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการ เช่น หากเป็นไข้ก็ให้ยาลดไข้ หรือหากปวดข้อก็ให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น แต่ล่าสุดได้มีผลการศึกษาวิจัยพบว่า ยาคลอโรควิน (Chloroquin) สามารถบรรเทาอาการที่เกิดจากโรคชิคุนกุนยาได้ผลดีเช่นกัน ทั้งนี้ วิธีที่จะสามารถป้องกันโรคชิคุนกุนยาได้ดีที่สุดก็คือ การกำจัดยุงลายอันเป็นตัวพาหะนำโรค โดยต้องหมั่นตรวจดูแหล่งน้ำภายในบ้าน เช่น บ่อ กะละมัง ชาม โอ่งน้ำ ตุ่ม ฯลฯ ควรหาฝาปิดให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงมาวางไข่ หรือให้ใส่ทรายอะเบทในอัตรา 1 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร ลงไปในน้ำก็จะสามารถป้องกันการวางไข่ของยุงลายได้ รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาฉีดพ่นหมอกควันตามอาคารบ้านเรือนที่ มีแหล่งน้ำขังอยู่ เพื่อเป็นการป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลาย

นอกจากนี้ ตัวเราเองก็ต้องป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยการทายากันยุง หรือใช้สารไล่ยุง และสวมเสื้อผ้าที่ป้องกันไม่ให้ยุงกัด รวมทั้งยังต้องเฝ้าสังเกตอาการของคนรอบข้างว่ามีอาการใกล้เคียงกับโรคชิคุ นกุนยาหรือไม่ หากมีอาการคล้ายเคียงหรือต้องสงสัยให้รีบพาไปพบแพทย์โดยเร็ว

จะเห็นว่าแม้โรคชิคุนกุนยาจะไม่ทำอันตรายถึงชีวิต แต่ก็ทำให้คนป่วยได้รับความทุกข์ทรมาน และความรำคาญใจจากอาการปวดได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงควรป้องกัน และเตรียมพร้อมรับมือกับโรคชิคุนกุนยาไว้ก่อนจะดีที่สุดค่ะ

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประโยชน์ ของ ชามะรุม (Moringa Oleifera)



ไม้มะรุมเป็นไม้ที่ปลุกกลางบ้านของไทยที่รู้จักอย่างแพร่หลายมาเป็นเวลานาน
นอกจากจะรับประทาน อร่อยแล้วชาวอินเดียก็ได้นำมะรุมไปทำการทดลอง
และเชื่อว่ามะรุมมีคุณสมบัติในการรักษาโรคต่าง ๆ ได้ถึง 300 ชนิด

องค์การสหประชาติได้ให้การสนับสนุนในการค้นคว้าต้นมะรุมและวิจัยอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในการรักษา
โรคขาดอาหารและอาการตาบอด ซึ่งเกิดขึ้นในเด็กแรกเกิดจนถึงวัยเจริญเติบโต ในประเทศด้อยพัฒนา
เช่น กลุ่มประเทศอาฟริกาตอนใต้ และ ประเทศอินเดีย

กล่มองค์การ การกุศลมากมายได้หันมาให้ความสนใจอย่างจริงจังกับต้นมะรุมมาก รวมทั้งประเทศไทย
กลุ่มนักศึกษาแพทย์จำนวน 25 ท่านจากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ได้ทำการทดลองต้นมะรุมในการวิจัยที่จะ
นำมารักษา ผู้ป่วยด้วยโรคงูสวัด แม้แต่กลุ่มประเทศอื่น ๆ เช่นอังกฤษ, เยอรมัน, รัสเซีย, ญี่ปุ่น, จีน
ก็หันมาให้ความสนใจมะรุมเป็นอย่างมากและทำการค้นคว้าอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็ง เบาหวาน โรคเอสด์ และ อีกมากมาย

ประโยชน์คร่าว ๆ จากวารสารค้นคว้ามะรุมที่พอจะอ้างอิงได้มีดังต่อไปนี้

1. มะรุมใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กทารกแรกเกิด ถึง 10 ขวบ และลดสถิติการเสียชีวิต พิการ และตาบอด
2. มะรุมใช้รักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ ทำให้สามารถลดการใช้ยาลงโดยความเห็ฯชอบ
และการดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ผู้รักษาด้วย
3. มะรุมใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง
4. มะรุมช่วยเพื่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ถ้าแม้ทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ
เด็กที่เกิดมาจะไม่ติดเชื่อ HIV นอกจากนี้ยังช่วยให้คนทั่ว ๆ ไป สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเองได้
ถ้ารับประทานอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้ง
5. มะรุมช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอสด์ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้และสามารถมีชีวิตอยู่อย่างคนทั่วไปได้ในสังคม
การรักษาโรคเอสด์ที่ประสบผลสำเร็จในกลุ่มประเทศอาฟริกา แม้แต่ในสหรัฐอเมริกาก็กำลังอยู่ในภาวะทดลอง
6. ถ้ารับประทานมะรุมอย่างสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็ง แต่ถ้าหากเป็นแล้วก็จะช่วยให้การ
รักษาพยาบาลง่ายขึ้น ในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ ถ้าใช้ควบคู่ไปกับยาแพทย์
แผนปัจจุบัน หากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำชามะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัว
เร็วขึ้นและมีร่างการที่แข็งแรง

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วิธีทดลอง Tourniquet Test ไข้เลือดออก

วัดความดันโลหิต ด้วยเครื่อง




tourniquet test คือ วิธีการวัดความดันโลหิตด้วยเครื่องวัดที่มีขนาด cuff พอเหมาะ กับขนาดต้นแขนส่วนบนของผู้ป่วย คือครอบคลุมประมาณ 2 ใน 3 ของต้นแขน บีบความดันไว้ ที่กึ่งกลางระหว่าง systolic คือ ความดันระยะหัวใจบีบตัว ความดันเลือดในขณะที่หัวใจบีบตัวเพื่อสูบฉีดโลหิตออกไปเลี้ยงร่างกาย และ diastolic pressure คือ ความดันระยะหัวใจคลายตัว ความดันเลือดในขณะที่หัวใจคลายตัว หลังจากที่หัวใจบีบตัวเพื่อสูบฉีดโลหิตออกไปเลี้ยงร่างกายแล้ว ความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัวมีค่าน้อยกว่าความดันเลือดระยะหัวใจบีบตัว รัดค้างไว้ประมาณ 5 นาที หลังจากนั้นจึง คลายดัน รอ 1 นาทีหลังคลาย ความดันจึงอ่านผลการทดสอบ ถ้าตรวจพบจุดเลือดออก เท่ากับหรือมากกว่า 10 จุดต่อตารางนิ้วถือว่า ให้ผลบวก ให้บันทึกผลเป็นจำนวน จุด ต่อตารางนิ้ว ทั้งรายที่ให้ผลบวกและรายที่มีน้อยกว่า 10 จุด

ยุงก้นปล่อง ตัวร้ายพาหะไข้มาลาเรีย

ทำงานในป่าเสี่ยงสุด




โรคไข้มาลาเรียเป็นโรคติดต่อที่มียุงก้นปล่องเป็นพาหะ เกิดจากเชื้อ Plasmodium ซึ่งเป็นสัตว์เซลล์เดียว อยู่ใน Class Sporozoa มีวงจรชีวิตในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์จำพวกยุง


1. เชื้อมาลาเรียในคนมีอยู่ 4 ชนิดคือ

1. Plasmodium falciparum (หรือไข้จับสั่นวันเว้นวัน ชนิดร้ายแรง จับไข้ทุก 36 ชม.)
2. Plasmodium vivax (หรือไข้จับวันเว้นวัน ชนิดไม่ร้ายแรง จับไข้ทุก 4 ชั่วโมง)
3. Plasmodium malariae (มีอาการคล้ายกับเชื้อชนิดไวแวกซ์)
4. Plasmodium ovale ( ไข้จับสั่นวันเว้นสองวัน จับไข้ทุก 72 ชั่วโมง)


2. ยุงพาหะนำเชื้อมาลาเรีย คือ ยุงก้นปล่องตัวเมีย ในประเทศไทยมียุงก้นปล่องประมาณ 68 ชนิด
มี 6 ชนิดที่สามารถนำเชื้อ โดยแบ่งดังนี้

1. ยุงพาหะหลัก (Primary vector) คือยุงที่มีบทบาทและความสำคัญต่อการนำเชื้อ ได้แก่ยุงก้นปล่องชนิด Anopheles dirus , Anopheles minimus , Anopheles maculatus

2. ยุงพาหะรอง (Secondary vector) มีความสำคัญและความสามารถการนำเชื้อรองลงมา ได้แก่ Anopheles acunitus , Anopheles sundaicus , Anopheles pseudowillmori
นอกจากนี้ยังมียุงก้นปล่องที่สงสัยว่าจะเป็นยุงพาหะอีกหลายชนิด เนื่องจากมีความหนาแน่นสูงและเป็นยังเป็นยุงพาหะในประเทศเพื่อนบ้าน แต่ยังไม่พบว่านำเชื้อในประเทศไทย ได้แก่ Anopheles phlippinensis , Anopheles barbirostris , Anopheles capestris , Anopheles culicifacies


3. สาเหตุและการติดต่อ

โรคไข้มาลาเรียเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงก้นปล่อง โดยยุงก้นปล่องกัดคน
ที่มีเชื้อมาลาเรีย (ผู้ป่วย) จะทำให้เชื้อมาลาเรียเข้าไปอยู่ในตัวยุง ถ้ายุงที่มีเชื้อมาลาเรียไปกัดคนที่มีสุขภาพดีแข็งแรง ก็จะทำให้คนนั้นรับเชื้อ และเกิดการเจ็บป่วย แม้ว่าร่างกายสุขภาพแข็งแรงแต่ถ้าปล่อยให้ยุงมีเชื้อมาลาเรียกัด ก็มีโอกาสป่วยเป็นโรคไข้มาลาเรียได้ นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อจากมารดาที่มีเชื้อมาลาเรียในร่างกายแล้วถ่ายทอดทางรกไปสู่ทารกในครรภ์
แต่พบน้อยมาก หรือจากการถ่ายเลือดซึ่งกันโดยไม่ตรวจหาเชื้อมาลาเรียก่อนการให้เลือด


4. อาการ

ในระยะแรกไข้จะจับไม่เป็นเวลา อาจมีอาการไม่สบายในระยะ 2-3 วันแรก เช่น ปวดศรีษะ
ปวดเมื่อย เพลีย เบื่ออาหาร หลังจากนั้นไข้จะจับเป็นเวลา แบ่งเป็น 3 ระยะ

1. ระยะหนาว จะหนาวสั่นประมาณ 15-20 นาที มีอาการหนาวสั่นขนลุก ห่มผ้าหลายผืนก็
ไม่หาย อุณหภูมิในร่างกายจะสูงขึ้น ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตสูงขึ้น ผิวหนังเย็นซีด อาจคลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะบ่อย แล้วจะเข้าสู่ระยะร้อน

2. ระยะร้อน นานประมาณ 2 ชั่วโมง อุณหภูมิร่างกายสูง 39-40 องศาเซลเซียส ชีพจรเต้นแรง ความดันโลหิตสูง ลมหายใจร้อน หน้าผิวหนังแดงและแห้ง คลื่นไส้อาเจียน กระหายน้ำ บางคนจะมีอาการกระสับกระส่าย หรือไม่มีสติ ปวดศรีษะมากปวดลึกเข้าไปในกระบอกตา ถ้าเป็นเด็กอาจชัก ต่อมาเหงื่อเริ่มออก อาการจะคลายร้อน

3. ระยะเหงื่อออก กินเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง อุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็ว เหงื่อออกทั่วตัว ความดันโลหิตกลับสู่ปกติ ผู้ป่วยรู้สึกเพลียหลับไป เข้าสู่ระยะพัก ไม่มีไข้ รู้สึกสบายดี กินเวลา 1-2 วัน แล้วแต่ชนิดของเชื้อและจะจับไข้อีก

- Relapse คือการกลับมีอาการและมีเชื้อมาลาเรียในโลหิตอีก หลังจากหายแล้วโดยไม่ได้รับเชื้อใหม่อีก เกิดเฉพาะชนิดไวแวกซ์และโอวาเล่ เพราะทั้ง 2 ชนิดนี้มีเชื้อมาลาเรียหลบซ่อนที่เซลล์ตับ ซึ่งจะเจริญเข้าสู่เม็ดเลือดแดงอีก จึงทำให้เป็นไข้กลับ แต่อาการจะไม่รุนแรงเหมือนครั้งแรก

- Recrudescence คืออาการไข้กลับที่เกิดจากเชื้อมาลาเรียถูกทำลายไม่หมด เชื้อที่เหลือจะเจริญเพิ่มจำนวนขึ้น ทำให้เกิดเป็นไข้มาลาเรียอีก จะเกิดเฉพาะเชื้อชนิดฟัลซิปารัม ส่วนเชื้อชนิดมาลาริอีอาจเกิดได้จากเป็นไข้ครั้งแรก

- Cerebral malaria (มาลาเรียขึ้นสมอง) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงซึ่งจะเกิดเฉพาะเชื้อชนิดฟัลซิปารัม จะมีอาการสับสน เพ้อคลั่ง ชักกระตุกไม่รู้สึกตัว หมดสติ ขาดอำนาจควบคุมการพูด อัมพาตครึ่งซีก บางรายอาจจะบ้าคลั่งได้ ถ้ารักษาถูกต้องจะฟื้นคืนสติได้ ส่วนใหญ่จะพบในผู้ป่วยที่ไม่เคยติดเชื้อมาลาเรียมาก่อน (ไม่มีภูมิคุ้มกัน)

5. การรักษา

หากมีอาการไข้และสงสัยว่าเป็นไข้มาลาเรีย ควรรีบไปพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อเจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรียโดยเร็ว หากพบว่าเป็นไข้มาลาเรียจะต้องรีบรักษา โดยต้องกินยาให้ครบตามแพทย์สั่ง อย่าหยุดกินยากลาคันเมื่อเห็นว่าอาการดีขึ้น เพราะอาจจะทำให้เชื้อดื้อต่อยารักษา และจะต้องเปลี่ยนยาขนานใหม่อีก กลุ่มที่เสี่ยงต่อโรค ผู้อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีไข้มาลาเรียชุกชุม เช่น ผู้ที่อาศัยอยู่ในป่า ผู้ที่มีอาชีพหาของป่า หรือต้องปฏิบัติงานในป่า ซึ่งต้องเข้าไปในท้องที่ที่มีไข้มาลาเรียชุกชุม รวมถึงนักท่องเที่ยวที่นิยมเที่ยวพักค้างแรมในป่า

6. ข้อควรระวัง

1. หลังจากไปท่องเที่ยวค้างแรมในป่าเขา ประมาณ 10-14 วัน หากมีอาการไข้ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อขอเจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรียโดยเร็ว

2. ผู้ป่วยไข้มาลาเรียบางรายอาจจะไม่แสดงอาการเด่นชัด แต่หากมีไข้หลังกลับจากค้างแรมในป่า ควรเจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรียเพื่อความปลอดภัยในชีวิต

3. สตรีมีครรภ์ หากเป็นไข้มาลาเรียอาจจะทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตได้

4. ผู้ป่วยไข้มาลาเรีย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและถูกต้อง โดยเฉพาะเป็นเชื้อมาลาเรีย
ชนิดที่ขึ้นสมอง (ฟัลซิปารัม) อาจทำให้เสียชีวิตได้

7. การป้องกันและควบคุม

บางคนเข้าใจผิดคิดว่าการกินยาป้องกันมาลาเรียก่อนเข้าพักแรมในพื้นที่ ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคมาลาเรียแล้วจะไม่เป็นไข้มาลาเรีย ความจริงการกินยาป้องกันมาลาเรียนั้นไม่มีความจำเป็นเพราะขณะนี้ยังไม่มียาป้องกันที่ให้ผลดี แต่อาจจะทำให้เชื้อดื้อต่อยารักษาได้ การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การไม่ให้ถูกยุงกัด เช่น นอนในมุ้ง หรือมุ้งชุบสารเคมีกันยุง ทายากันยุงที่ผิวหนัง พักอาศัยในบ้านหรือกระท่อมที่พ่นสารเคมีกันยุง สุ่มไฟไล่ยุง จุดยากันยุง พ่นยากันยุง หากไปพักค้างแรมในป่าหรือบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคมาลาเรียแล้ว หลังกลับมาควรสังเกตตนเองว่ามีไข้ภายใน 15 วัน หากมีอาการไข้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรียโดยทันที ที่มาลาเรียคลินิกหรือสถานพยาบาลใกล้บ้าน

ที่มา: กลุ่มโรคติดต่อนำโดยแมลง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่1 กรุงเทพฯ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

รอบรู้เรื่อง ยุงลาย

รอบรู้เรื่อง......ยุงลาย

พาหะนำโรคไข้เลือดออก


ยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกเป็นแมลงจำพวกหนึ่งที่สำคัญมีอยู่ 2 ชนิด คือ ยุงลายบ้านและ ยุงลายสวน ยุงลายเป็นยุงที่มีขนาดปานกลาง วงจรชีวิตของยุงลายประกอบด้วยระยะต่างๆ 4 ระยะ ได้แก่ ระยะไข่, ระยะตัวอ่อนหรือลูกน้ำ, ระยะดักแด้หรือตัวโม่ง, และ ระยะตัวเต็มวัยหรือตัวยุง ทั้ง 4 ระยะมีความ แตกต่างกันทั้งรูปร่างลักษณะและการดำรงชีวิต ลักษณะสำคัญทั่วไปของยุงลาย คือ

ระยะตัวเต็มวัย (ตัวยุง)

1. ร่างกายอ่อนนุ่ม เปราะบาง แบ่งเป็น 3 ส่วนแยกออกจากกันเห็นได้ชัดเจนคือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ลำตัวยาวประมาณ 4-6 มม. มีเกล็ดสีดำสลับขาวตามลำตัวรวมทั้งส่วนหัวและส่วนอกด้วย

2. มีขา 6 ขาอยู่ที่ส่วนอก ขามีสีดำสลับขาวเป็นปล้องๆ ที่ขาหลังบริเวณปลายปล้องสุดท้ายมีสีขาวตลอด

3. มีปีกที่เห็นได้ชัดเจน 2 ปีกอยู่บริเวณส่วนอก ลักษณะของปีกบางใส มีเกล็ดเล็กๆบนเส้นปีก ลักษณะของเกล็ดแคบ ยาว บนขอบหลังของปีกมีเกล็ดเล็กๆเป็นชายครุย นอกจากนี้ที่ส่วนอกยังมีอวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวอยู่ใกล้กับปีก

4. มีปากยาวมาก ลักษณะปากเป็นแบบแทงดูด

5. เส้นหนวดประกอบด้วยปล้องสั้นๆ 14-15 ปล้อง ที่รอยต่อระหว่างปล้องมีขนขึ้นอยู่โดยรอบ ในยุงตัวผู้เส้นขนเหล่านี้ยาวมาก (ใช้รับคลื่นเสียงที่เกิดจากการขยับปีกของยุงตัวเมีย) มองดูคล้ายพู่ขนนก ส่วนในยุงตัวเมียเส้นขนที่รอยต่อระหว่างปล้องจะสั้นกว่าและมีจำนวนน้อยกว่า ลักษณะของหนวดยุงจึงใช้ในการจำแนกเพศของยุงได้ง่าย

ยุงลายบ้าน ยุงลายสวน


ระยะไข่
ไข่ยุงลายมีลักษณะรีคล้ายกระสวย เมื่อวางออกมาใหม่ๆจะมีสีขาวนวล ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและดำสนิทภายใน 24 ชั่วโมง

ระยะลูกน้ำ
ไม่มีขา ส่วนอกมีขนาดใหญ่กว่าส่วนหัว ส่วนท้องยาวเรียวประกอบด้วยปล้อง 10 ปล้อง มีท่อหายใจอยู่บนปล้องที่ 8 และมีกลุ่มขน 1 กลุ่มอยู่บนท่อหายใจนั้น

ระยะตัวโม่ง
ไม่มีขา มีอวัยวะสำหรับหายใจอยู่บนด้านหลัง (บริเวณที่เป็นส่วนหัวรวมกับส่วนอก)






ที่มา : สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ไข้เลือดออก ภัยร้ายจากยุง

ไข้เลือดออก...ภัยร้ายจากยุง

ป้องกันได้ง่าย...อย่าให้ถูกกัด

โรคไข้เลือดออก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งและมียุงลายเป็นพาหะนำโรค มักพบในเด็กอายุ 5-10 ปี ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันจำหน่าย

สาเหตุ

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย (Aedes aegyti) ตัวเมีย บินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไวรัสแดงกีจะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ในน้ำสะอาดที่อยู่นิ่งๆ ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อระบายน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ฯลฯ


อาการ

ระยะไข้สูง

มีอาการไข้ขึ้นสูง 2-7 วัน เบื่ออาหาร อาเจียนออกมามีสีน้ำตาลปนอยู่ ปวดศีรษะไข้ขึ้นสูง 38-40 °c ปวดท้อง ปวดกล้ามเนื้อ วันที่ 2-3 ผู้ป่วยมักซึมลงหน้าแดง ตัวแดง อาจมีผื่น หรือจุดเลือดออกตามผิวหนัง 60-90% ตรวจพบตับโต การตรวจ Tourigust test ให้ผลบวก

ระยะวิกฤติ (ระยะช็อคและเลือดออก)

ไข้ลด (ประมาณวันที่ 3-6 ของโรค) อาการทรุดลงเข้าสู่ภาวะช็อค เริ่มมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตตก อาเจียนมาก ปวดท้อง บางรายซึมมากขึ้น ปัสสาวะน้อย อาจมีเลือดออกในกระเพาะ ถ้าไม่มีอาการแทรกซ้อนและได้รับการรักษาทันและถูกต้องระยะนี้จะกินเวลา 24-48 ชัวโมง แล้วเข้าสู่ระยะฟื้น

ระยะฟื้น

อาการทั่วไปดีขึ้น ความดันโลหิตและชีพจรกลับเป็นปกติ ปัสสาวะออกมากขึ้น ตับที่โตจะลดขนาดลงภายใน 1-2 สัปดาห์ เริ่มรับประทานอาหารได้ มักมีผื่นแดงที่ขา ปลายเท้า ปลายมือ และมีอาการคัน


การรักษา

ผู้ป่วยที่ไม่อาเจียนให้ดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่มาก ๆ วิธีสังเกตว่าดื่มน้ำพอหรือไม่ ให้ดูปัสสาวะ ควรมีสีใส ควรพบแพทย์เป็นระยะ ๆ ตามนัด เพื่อเฝ้าดูอาการที่อาจเป็นอันตรายอย่างใกล้ชิด
ถ้าอาเจียนมาก ซึม เพลียมาก มีอาการของช็อคและมีอาการเลือดออก ควรรับการรักษาในโรงพยาบาลและดูแลใกล้ชิด เพื่อรักษาได้ทันท่วงที หรือหากมีอาการแทรกซ้อนอื่น เช่น ตับอักเสบรุนแรง ตับวาย สมองอักเสบ ควรรับการรักษาในโรงพยาบาล ให้ยาแก้ไข้พาราเซตามอล แต่ห้ามใช้แอสไพรินเพราะจะทำให้ระคายกระเพาะ มีโอกาสมีเลือดออกทางกระเพาะง่าย และทำให้การทำงานหาเกล็ดเลือดผิดปกติ
วัคซีนยังอยู่ในขั้นทดลองเท่านั้น ยังไม่มีจำหน่ายให้ใช้

วิธีป้องกัน

- พยายามไม่ให้ยุงกัด

- ปราบและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ซึ่งชอบวางไข่ในน้ำสะอาดที่อยู่นิ่งๆ ตามภาชนะต่างๆ ที่มีน้ำขัง

- ผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกไม่ควรให้ถูกยุงกัดภายใน 5 วันแรกของโรค เพราะผู้ป่วยยังมีไวรัสอยู่ในเลือดทำให้แพร่เชื้อไปให้คนอื่นได้

- รายงานคนไข้ไปที่โรงพยาบาลหรือสาธารณสุขจังหวัด เพื่อส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงบริเวณนั้นและควบคุมโรคก่อนที่จะมีการระบาดเพิ่ม





ที่มา: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ชิคุนกุนย่า ไวรัสสายพันธ์ใหม่ จาก ยุงลาย

“ชิคุนกุนยา” ไวรัสสายพันธ์ใหม่แพร่จากยุงลาย
ชี้ไม่มียารักษาแค่ประคับประคองตามอาการเท่านั้น


โลชั่นป้องกันยุง และ บำรุงผิว ผลิตจากสมุนไพร 100%
ราคา 30 บาท
ประโยชน์
ทาป้องกันยุงกัด และ ทาแก้คันจากยุงกัน แก้อาการแพ้จากสิ่งต่างๆ
และช่วยบำรุงผิว ทาทุก ๆ 2 ชั่วโมง สำหรับป้องกันยุง

เด็ก 2 ขวบขึ้นไปทาได้คะ ไม่มีอาการแพ้(สารแพ้เกิดจากน้ำหอม และ สารกันบูด)

ส่วนประกอบ
ตะไคร้หอม, กระเพาแดง, เสลดพังพอน, ว่านน้ำ, ไพรสด, และน้ำมันจมูกข้าว

สนใจซื้อติดต่อ 081-357-1859
Email: yatha22@hotmail.com




ระบาดอีกแล้ว!!! โรคที่มาพร้อมกับยุง.... เมื่อบอกอย่างนี้หลายคนคงนึกถึงโรคไข้เลือดออก ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ไข้มาเลเรีย ที่มียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค แต่ที่น่าตกใจเพราะตอนนี้ไม่ได้มีเพียงแค่นี้เท่านั้นแต่กลับมีโรคที่มีชื่อแปลกๆ ว่า “ชิคุนกุยา” มาทำความรำคาญและแพร่ระบาดหนักอยู่ในภาคใต้ของประเทศเราอยู่

สถานการณ์ล่าสุด!!! หลังจากพบผู้ป่วยที่มีอาการเหมือนติดเชื้อไวรัสชิคุกุนยา ใน 2 จังหวัดภาคใต้ คือจังหวัดนราธิวาสและปัตตานี ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค เร่งส่งเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งทีมเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบพื้นที่และเฝ้าระวังโรคดังกล่าวอย่างใกล้ชิดเพื่อหาทางยุติการแพร่ระบาดของโรคนี้

... เชื่อได้เลยว่าหลายคนยังคงไม่คุ้นหูกับโรคชิคุนกุนยา ไม่รู้ว่ามันเป็นโรคอะไร???? บ้างก็แตกตื่นคิดว่าเป็นโรคสายพันธ์ใหม่ แต่จริงๆ แล้วโรคนี้มีมานานแล้ว โดยถิ่นกำเนิดแรกของมันอยู่ที่ทวีปอาฟริกา และแพร่ระบาดไปหลายประเทศๆ ทั่วโลก หนึ่งในนั้นก็รวมประเทศไทยของเราด้วย ซึ่งตรวจพบโรคชิคุนกุนยาครั้งแรกพร้อมกับที่มีไข้เลือดออกระบาดและเป็นครั้งแรกในทวีปเอเชีย

น.พ.หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ออกมาบอกถึงโรคดังกล่าวว่า “ชิคุนกุนยา” เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ส่วนใหญ่แล้วในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่ ซึ่งอาการที่เด่นชัดในผู้ใหญ่คืออาการปวดข้อ ซึ่งอาจพบข้ออักเสบได้ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ (migratory polyarthritis) อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ อาการจะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงช็อก ซึ่งแตกต่างจากโรคไข้เลือดออก ที่อาจพบ tourniquet test ให้ผลบวก และจุดเลือดออก (petichiae) บริเวณผิวหนังได้

สาเหตุการติดต่อ!! โรคนี้ติดต่อกันได้โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุงและเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลายเมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัดทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้

ระยะการฟักตัว!!! โดยทั่วไปจะมีการฟักตัวประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน ระยะติดต่อคือระยะไข้สูงประมาณวันที่ 2-4 ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก สำหรับอาการและอาการแสดง ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน ร่วมกับอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกหรือข้อ ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา หรือมีเลือดออกตามผิวหนัง และอาจมีอาการคันร่วมด้วย พบตาแดง แต่ไม่ค่อยพบจุดเลือดออกในตาขาว

แม้อาการนำของโรคชิคุนกุนยา จะคล้ายโรคไข้เลือดออกหรือหัดเยอรมัน แต่ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นช็อก หรือเลือดออกมาก โรคชิคุนกุนยาพบมากในฤดูฝน และทุกกลุ่มอายุ ซึ่งต่างจากโรคไข้เลือดออกและหัดเยอรมันที่มักพบในผู้อายุน้อยกว่า 15 ปี

ดูแล้วเหมือนมันอาจจะไม่ค่อยรุนแรงเหมือนโรคไข้เลือดออกสักเท่าไหร่ แต่ถึงแม้มันจะไม่สามารถคร่าชีวิตคนเราไปได้ แต่เราก็ควรที่จะระมัดระวังเอาไว้ โดยเฉพาะลูกเด็กเล็กแดงที่อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคได้ง่าย อีกทั้งช่วงนี้ฝนตกบ่อยทำให้มีน้ำขัง เหมาะแก่การเจริญเติบโตของยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคอีกด้วย

ส่วนวิธีป้องกันนั้น!!! ถึงแม้ทุกวันนี้ยังไม่ยาหรือวัคซีนตัวใดที่ใช้รักษาได้โดยตรงทั้งโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา ดังนั้นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ ถ้ามีไข้สูง ก็ให้ยาลดไข้ หรือลดอาการปวดข้อ และพักผ่อนให้เพียงพอก็สามารถบรรเทาอาการไปได้ แต่อย่างไรก็ตามการป้องกันการแพร่พันธุ์ของยุงเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ต้องหมั่นตรวจดูที่เก็บกักน้ำ ไม่ว่าจะเป็น บ่อ กะละมัง เพราะเป็นแหล่งที่ยุงออกไข่ จึงจำเป็นต้องมีฝาปิด ที่ใดที่จำเป็นต้องมีน้ำขังอยู่ก็ให้ใส่ทรายอะเบทลงไปเพื่อป้องกันการวางไข่ และควรเลี้ยงปลาในอ่างที่ปลูกต้นไม้ หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เพราะปลาจะกินลูกน้ำเป็นอาหาร

แต่นอกเหนือจากการป้องกันการแพร่พันธ์ของยุงแล้ว ตัวเราเองก็ต้องป้องกันตัวเราไม่ให้ถูกยุงกัดด้วย ควรติดมุ้งลวดในบ้าน หรือทายากันยุงขณะทำงานและออกนอกบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงกัดตอนกลางวัน และที่สำคัญต้องเฝ้าสังเกตคนในบ้านว่ามีไข้และอาการคล้ายกับโรคชิคุนกุนยาหรือไม่ หากมีก็ให้รีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน

ถึงแม้ว่าวันนี้ โรคชิคุนกุนยาจะเป็นโรคใหม่ที่มีชื่อไม่คุ้นหูนัก แต่หากปล่อยให้แพร่ระบาดไปสู่วงกว้างอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและเศรษฐกิจได้ ... วันนี้เพียงป้องกันยุงลาย นอกจากจะป้องกันไข้เลือดออกแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคชิคุนกุนยาได้ด้วยนะค่ะ

สบู่ดำ เปลี่ยนวิกฤต น้ำมันนรก เป็น ทองคำ

วิกฤต เปลี่ยนน้ำมันนรกเป็นทองคำ ข้อมูลจาก ดร.สุดารัตน์ หอมหวล เมื่อวันที่ 20 กย. 51





สบู่ดำ” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Jatropha curcas L. เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ไม้ยางพารา (Euphorbiaceae)
เดิมเป็นพืชพื้นเมืองของอเมริกาใต้ ชาวโปรตุเกสนำเข้ามาในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อรับซื้อเมล็ดไปคัดบีบเอาน้ำมันทำสบู่ เพราะมีฟองอันเป็นลักษณะพิเศษ ที่ได้ชื่อว่า “สบู่ดำ” เพราะมีฟองใช้ทำสบู่ และเปลือกเมล็ดสีดำ



สบู่ดำ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 15 ฟุต ใบมีหยักเล็กน้อย 3-5 หยัก ขนาดกว้าง 5-8 นิ้ว ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองปนเขียว มีขน ทั้งดอกตัวผู้ และตัวเมียปนกันเป็นกลุ่มออกจากลำต้น ผลสีเขียวรูปไข่ ยาวประมาณ 1 นิ้ว เมื่อผลแก่ เปลือกจะแห้งแตกออกเป็น 3 เสี่ยง แต่ละเสี่ยงมีเมล็ดสีดำ การขยายพันธุ์ทำได้โดยใช้เมล็ด หรือปักชำ ทุกส่วนของต้น ใบ ผล และเมล็ด มีสารพิษกรด Hydrocyanic (หรือกาซไซยาไนด์) เหมือนกับมันสำปะหลัง และมีกลิ่นเหม็นเขียว จึงใช้ปลูกเป็นรั้วธรรมชาติ สัตว์จะไม่เข้าไปทำลายพืชผล เพราะยางจากต้นสบู่ดำเป็นอันตรายต่อสัตว์ นอกจากนี้เมล็ดสบู่ดำ ยังมีสารพิษเรียกว่า “curcin” จัดเป็น toxic albumin หากกินเข้าไป โดยเฉพาะในเด็กที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ เก็บเมล็ดมากิน อาการจะเกิดเมื่อรับประทานตั้งแต่ 1-20 เมล็ด ทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารอย่างรุนแรง และมีอาการท้องเดินเหมือนสลอด นอกจากนี้ยังพบสารพิษกลุ่ม phorbal ester มีฤทธิ์เป็น tumor promoter ทำให้เกิดเนื้องอก และเม็ดเลือดแดงแตก และยังมีสารพิษ saponin อีกด้วย ในเมล็ดมีน้ำมัน 55% หรือมากกว่า ได้รับฉายาว่า “น้ำมันนรก” เดิมใช้เป็นยาถ่าย แต่เนื่องจากมีพิษสูง และอาการถ่ายท้องรุนแรง จึงเลิกใช้


ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง แม้แต่น้ำมันก๊าดก็หาซื้อได้ลำบากมากชาวบ้านจึงได้นำเอาเมล็ดสบู่ดำมาตำละเอียด กรอกใส่กระบอกไม้ไผ่ ใช้เส้นด้ายดิบเป็นไส้จุดแทนเทียนไขได้อย่างดี ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมานี้ประเทศไทย และทั่วโลกประสบปัญหาวิกฤตการณ์น้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะน้ำมันดีเซลในภาคการเกษตร รัฐบาลจึงส่งเสริมให้มีการผลิต และใช้ไบโอดีเซลที่เป็นผลผลิตการเกษตรทดแทนน้ำมันดิบที่ต้องนำเข้า สบู่ดำได้รับการวิจัยว่าเป็นไบโอดีเซลที่เป็นพลังงานทดแทนที่ดี เนื่องจากมีคุณสมบัติทางเชื้อเพลิงใกล้เคียงกับดีเซลหลายประการ ใช้เดินเครื่องยนต์ที่ให้การเผาไหม้สมบูรณ์ สะอาด ไม่พบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในการเผาไหม้ และไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

นอกจากประโยชน์ด้านไบโอดีเซลแล้ว มีการศึกษาวิจัยเพื่อหาสารที่มีฤทธิ์เป็นยารักษาโรคจากส่วนต่างๆของสบู่ดำ และพบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่น่าสนใจสรุปได้ดังนี้



1. ฤทธิ์ยับยั้งอาการท้องเดิน
จากการทดลองในหนูขาว ที่ทำให้เกิดอาการท้องเดินด้วยน้ำมันละหุ่ง พบว่าสารสกัด methanol จากรากของสบู่ดำ แสดงฤทธิ์ยับยั้งอาการท้องเดิน โดยขนาดของสารสกัดที่ให้ผลอย่างมีนัยสำคัญคือ 100-400 mg/kg คาดว่ากลไกการออกฤทธิ์เกิดจากการยับยั้งการสร้าง prostaglandin และฤทธิ์ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็ก ซึ่งฤทธิ์นี้ตรงข้ามกับส่วนเมล็ดที่ทำให้เกิดอาการท้องเดิน

2. ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อบิด
สารสกัด butanol จากใบ ยับยั้งการเจริญของเชื้อ Entamoeba histolytica ในหลอดทดลอง โดยมีค่า MAC (minimal amoebic concentration) 21 ug/ml โดยออกฤทธิ์ได้ปานกลางเมื่อเทียบกับสารมาตรฐาน metronidazole และสารสกัดนี้ยังมีฤทธิ์ยับยั้งการหดตัวของลำไส้หนู ที่ถูกกระตุ้นด้วย acetylcholine โดยมีค่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้ง 90.45% โดยเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน papaverine และ atropine sulfate ที่มีค่าการยับยั้ง 100%


3. ฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV
สารสกัด methanol จากใบ และสารสกัดน้ำจากกิ่ง ออกฤทธิ์ดีในการปกป้องเซลล์จากเชื้อ HIV virus โดยมีฤทธิ์ยับยั้งการเกิด cytopathic effect (การเปลี่ยนแปลงของ host cell เนื่องจากติดเชื้อไวรัส) มีค่า IC50 = 9 และ 24 ug/ml ตามลำดับ, ค่า SI (selectivity index; CC50/IC50= 5.8 และ 41.7 ug/ml ตามลำดับ) ดังนั้นสารสกัดน้ำจากส่วนกิ่ง จึงมีความเป็นพิษต่อเซลล์ปกติต่ำกว่า และออกฤทธิ์ดี จากการแยกสารสำคัญจากส่วนกิ่งพบว่าสารที่ออกฤทธิ์คือ 5,7-dimethoxy coumarin และ 6,7- dimethoxy coumarin แต่สารทั้งสองมีฤทธิ์น้อยกว่าสารสกัดเริ่มต้น


สิทธิบัตรสบู่ดำ
ในประเทศไทยมีการจดสิทธิบัตรประเภทการประดิษฐ์ของ “การใช้สารสกัดจากสมุนไพรสบู่ดำ (Jatropha curcas L.) เป็นยารักษาโรคติดเชื้อเอชไอวี และโรคเอดส์” โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (วันที่ประกาศโฆษณา 17 ต.ค. 2543) โดยมีบทสรุปการประดิษฐ์ ที่ให้ไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ดังต่อไปนี้


บทสรุปการประดิษฐ์
สารสกัดจากใบสบู่ดำ (Jatropha curcas L.) ด้วย ethyl alcohol พบว่ามีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อไวรัสเอชไอวี ต้านเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพลกซ์ ต้านเชื้อราฉวยโอกาส และสามารถกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาวของคนได้ จากผลการทดสอบพิษกึ่งเรื้อรังของสารสกัดสบู่ดำในหนูขาวพบว่า สารสกัดสบู่ดำในขนาด 5mg/kg เทียบเท่ากับขนาดที่ใช้ในคน 250 มิลลิกรัมต่อวัน ไม่ทำให้เกิดพิษที่ร้ายแรงใดๆแก่หนูขาว มีความปลอดภัยค่อนข้างสูงมาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับยา zidovudine หรือ AZT ที่ใช้กันมากในปัจจุบัน ดังนั้นสารสกัดสบู่ดำ จัดเป็นยาใหม่ที่สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี และโรคเอดส์ได้



นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยของสบู่ดำอีกมากมายอาทิ เช่น สาร Curcusone B (diterpenoid) มีฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการ metastasis ในระดับที่ไม่เกิดพิษต่อเซลล์, การทดสอบแบบ invitro มีฤทธิ์เป็น DNA intercalation จึงอาจนำไปพัฒนายากลุ่ม anticancerได้
เพราะวิกฤติด้านพลังงาน และวิกฤติด้านยารักษาโรคเอดส์ จึงทำให้สบู่ดำน่าสนใจทั้งในแง่การผลิตไบโอดีเซล และศักยภาพในด้านการวิจัยยารักษาโรคใหม่ๆ ที่อาจก่อให้เกิดคุณประโยชน์อย่างมหาศาลแก่มนุษยชาติต่อไปในอนาคตดังนั้นที่บอกว่าพืชพิษชนิดนี้มีมูลค่าไม่ต่างจากทองคำก็ไม่น่าเป็นคำกล่าวที่เกินจริง ใช่ไหมคะ

อย่างไรก็ดีการนำสบู่ดำมาใช้คงต้องรอผลการวิจัย และการทดสอบความปลอดภัยด้านอื่นๆต่อไปนะคะ บทความนี้เป็นเพียงความคืบหน้าของข้อมูลการวิจัยนะคะ ยังมิได้เป็นข้อมูลที่ประชาชนจะสามารถนำไปใช้ได้เองค่ะ


เอกสารอ้างอิง

1. รักษ์ พฤกษชาติ. การปลูก และพัฒนาสบู่ดำเพื่อทดแทนน้ำมันดีเซล. กรุงเทพมหานคร: นีออนบุ๊คมีเดีย; 2549.
2. ผู้อ่าน ถึงผู้อ่าน. จุลสารข้อมูลสมุนไพร. 2528; 2(3):1-2
3. ชำนาญ ฉัตรแก้ว. บทนำ “สบู่ดำ”. ใน ชำนาญ ฉัตรแก้ว บก. สบู่ดำ พืชพลังงาน., กรุงเทพมหานคร: ฟันนี่ พลับบลิชชิ่ง; 2549. หน้า 1-11.
4.ประโยชน์ ตันติเจริญยศ. ประโยชน์ด้านอื่นๆของต้นสบู่ดำ. ใน ชำนาญ ฉัตรแก้ว บก. สบู่ดำ พืชพลังงาน., กรุงเทพมหานคร: ฟันนี่ พลับบลิชชิ่ง; 2549. หน้า 93-99.
5. Mujumdar AM, Upadhye AS , Misar AV. Studies on antidiarrhoeal activity of Jatropha curcas root extract in albino mice. J Ethnopharmacol. 2000; 70: 183-7.
6. Tona L, Kambu K, Ngimbi N, Mesia K, Penge O, Lusakibanza M, et al. Antiamoebic and spasmolytic activities of extracts from some antidiarrhoeal traditional preparations used in Kinshasa, Congo. Phytomedicine. 2000; 7(1): 31-8.
7. Matsuse IT, Lim YA, Hattori M, Correa M, Gupta MP. A search for antiviral properties in Panamanian medicinal plants. The effects on HIV and its essential enzymes. J Ethnopharmacol. 1999; 64: 15-22.
8. กรมทรัพย์สินทางปัญญา. 2543;[2 หน้า]. Available at: http://61.19.225.222:8085/PAT/search-pat-qry10.do . Accessed Feb 14, 2007.
9. Muangman S, Thippornwong M, Tohtong R. Anti-metastatic effects of curcusone B, a diterpene from Jatropha curcas. In vivo. 2005; 19(1): 265-8.
10. Gupta MP, Monge A. Karikas GA, Cerain AL, Solis PN, Trujillo ELM, et al. Screening of Panamanian medicinal plants for brine shrimp toxicity, crown gall tumor inhibition, cytotoxicity and DNA intercalation. Int J Pharmacog. 1996; 34(1): 19-27.



ขอขอบคุณ web:http://www.oknation.net/ ที่เอื้อเพื่อข้อมูลคะ

ประโยชน์ ของ แป๊ะก๊วย ช่วยเรื่องความจำเสื่อม (Ginkgo)

โปรโมชั่น ครบ 1 ปี รับของแจกฟรี
http://kasidit-herbal.blogspot.com


แป๊ะก๊วย ช่วยเรื่องความจำเสื่อมได้จริงหรือ?


ข้อมูลจาก ดร. สุดารัตน์ หอมหวล

แป๊ะก๊วย (Ginkgo) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า : Gingko biloba L. (วงศ์ Ginkgoaceae)

องค์ประกอบสำคัญ ในใบแป๊ะก๊วยมีสารประกอบทางเคมีมากมาย แต่สารออกฤทธิ์ที่สำคัญมีอยู่ 2 กลุ่มด้วยกันคือ
1. สารกลุ่มเทอร์ปีนอยด์ ประกอบด้วยสาร sesquiterpene ได้แก่ ไบโลบาไลด์ (bilobalide) และ
ไดเทอร์ปีนคีโตน5 ชนิดรวมเรียกว่า “กิงโกไลด์” (ginkgolides) ได้แก่ ginkgolides A, B, C, J และ M

2. สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ในแป๊ะก๊วยมี flavonoid มากกว่า 30 ชนิด โดยเฉพาะ flavonoid glycoside โดยมีส่วน aglycone เป็นฟลาโวนอยด์หลัก 2 ชนิดคือ quercetin และ kaemferol เช่น quercetin-3-rhamnoside, kaemferol-3-rhamnoside, quercetin-3-rutinoside ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ในใบยังมีสารจำพวก biflavonoids หลายชนิด เช่น amentoflavone, bilobetin, ginkgetin, iso-ginkgetin ซึ่งเป็นสารที่พบ
เฉพาะในใบแป๊ะก๊วยเท่านั้น

สารสกัดใบแป๊ะก๊วยใน monograph ของเยอรมันมีชื่อว่า Ginkgo biloba leaf extract
สารสกัดนี้มี flavone glycoside 22-27%, terpene lactone 5-7% (โดยมี ginkgolides A, B และ C ประมาณ 2.8-3.4%, และ bilobalide ประมาณ 2.6-3.2%) และ ginkgolic acid ต่ำกว่า 5 mg/kg
(สารนี้ก่อให้เกิดอาการแพ้) โดยสารสกัดดังกล่าวนี้มีคือทางการค้าว่า EGb761 ซึ่งเป็นสารสกัดใบแป๊ะก๊วยจากประเทศเยอรมันที่นิยมนำมาใช้ในการศึกษาทางคลินิก

ข้อมูลการศึกษาวิจัย

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

1.ฤทธิ์ในการรักษาอาการผิดปกติในสมอง-ฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดขยายตัว จากการศึกษาพบว่าสารพวก flavonoid ในสารสกัดแป๊ะก๊วยมีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดขยายตัว เนื่องจากไปกระตุ้นการสร้าง prostacyclin และกระตุ้นการหลั่ง nitric oxide ซึ่งมีผลทำให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อหลอดเลือด - ฤทธิ์เพิ่มการไหลเวียนเลือดในสมอง สารสกัดแป๊ะก๊วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดที่สมองของหนูขาวได้ เนื่องจากฤทธิ์ต้าน platelet aggregating factor (PAF) และความสามารถในการยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด-ฤทธิ์เพิ่มความจำ การให้สารสกัดแป๊ะก๊วยในหนูถีบจักรสามารถกระตุ้นการ uptake ของ choline ที่ hippocampus และลดการสูญเสียของ muscarinic receptor และ alpha-2-adrenoreceptor ที่มักจะพบได้เมื่อมีอายุมากขึ้น

2.ผลต่อการทรงตัว และการได้ยิน สารสกัดแป๊ะก๊วยสามารถเพิ่มการเกิด action potential ของเส้นประสาท cochlea ในหนูตะเภาได้ หลังการถูกทำลาย และสารสกัดสามารถทำให้การทรงตัวดีขึ้น หลังการฉีดสารสกัดแก่หนูขาวที่ vestibular nucleus ด้านหนึ่งถูกทำลายไป

การศึกษาทางคลินิก

1.ผลในการรักษาอาการ cerebral insufficiency อาการ cerebral insufficiency ประกอบด้วยอาการต่อไปนี้คือ ไม่มีสมาธิ, ความจำเสื่อม, งุนงง, ไม่มีแรง, เหนื่อย, สมรรถภาพทางกายลดลง อาการซึมเศร้า วิตกกังวล มึนงง หูอื้อ และปวดศรีษะ ผลการศึกษาพบว่าอาการโดยรวมดีขึ้น และพบว่าทำให้ความจำระยะสั้น (shorterm memory) ดีขึ้น ผลในการใช้รักษาอาการความจำเสื่อม (dementia) รวมทั้ง อัลไซเมอร์ พบว่าทำให้ cognitive performance และ social function ดีขึ้น อาการความจำเสื่อมในระดับอ่อนถึง ปานกลางพบว่าทำให้ความจำบางส่วนพัฒนาขึ้น

2.ผลในการรักษาโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน พบว่าสารสกัดสามารถรักษาโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (จะมีอาการคือขาดเลือดไปเลี้ยงปลายมือปลายเท้า)

3.ผลการรักษาอาการเวียนศรีษะ และหูอื้อ พบว่าการใช้รักษาอาการเวียนศรีษะดีขึ้น แต่อาการหูอื้อผลยังไม่แน่นอน
ขนาดที่ใช้

สำหรับผลิตภัณฑ์จากสารสกัดใบนี้ บางประเทศจำหน่ายในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แต่ในบางประเทศ (เช่นไทย) ก็มีจำหน่ายในรูปของยา• รับประทานวันละ 120-240 mg แบ่งให้วันละ 2-3 ครั้ง สำหรับช่วยรักษาอาการ cerebral insufficiency ให้ยาติดต่อกัน 8 อาทิตย์ แต่ไม่เกิน 3 เดือน• รับประทานวันละ 120-240 mg แบ่งให้วันละ 2-3 ครั้ง สำหรับช่วยรักษาอาการเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน และอาการงุนงง มีเสียงในหู ให้ยาติดต่อกัน 6-8 อาทิตย์
ข้อควรระวังในการใช้

1. ระวังการใช้ในผู้ที่มีประวัติความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด ผู้ที่มีประวัติการชัก และสตรีมีครรรภ์

2. ในรายที่รับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานควรหยุดรับประทานก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเลือดแข็งตัวช้า

3. ไม่ควรใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด

วิธีเลือกใช้แป๊ะก๊วย

ปัจจุบันแป๊ะก๊วย ที่มีจำหน่ายทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศมี 2 รูปแบบ คือจำหน่ายในรูปยา และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กรณีเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ต้องทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นไม่ใช่ยา จึงไม่มีสรรพคุณใดๆในการป้องกัน บำบัด รักษาโรคได้ เนื่องจากปริมาณที่กำหนดให้ใช้ไม่ถึงขนาดที่ใช้ในการป้องกัน หรือบำบัดรักษาโรคเนื่องจากความหมายของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร คือผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานโดยตรง นอกเหนือจากการรับประทานอาหารหลักตามปกติ และไม่ใช่ผลิตภัณฑ์อาหารทั่วไป หรืออาหารที่บริโภคเป็นอาหารหลักในแต่ละมื้อ” มักอยู่ในลักษณะเป็นเม็ด แคปซูล ผง เกล็ด ของเหลว และลักษณะอื่น และมีจุดมุ่งหมายสำหรับบุคคลทั่วไป ที่มีสุขภาพปกติ (มิใช่สำหรับผู้ป่วย) โดยอาจมีส่วนประกอบของอาหารต่างๆเหล่านี้เข้าไป ได้แก่ วิตามิน เกลือแร่ กรดอะมิโน หรือสมุนไพร” หรือหมายถึง “สารอาหาร (dietary substance) ที่ใช้ใส่ในอาหารเพื่อเพิ่มการบริโภคสารนั้น” หรือหมายถึง “สารเข้มข้น (concentrate), metabolite, องค์ประกอบ (constituent) , สารสกัด (extract) หรือส่วนผสมของสิ่งที่กล่าวข้างต้นรวมกัน และต้องมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการวินิจฉัย รักษา หรือป้องกันโรคใดๆ บนฉลากด้วยเสมอ

หลักการเลือกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

1.พิจาณาข้อมูลทางวิชาการ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้น ว่ามีการศึกษาวิจัยมากพอ และสรรพคุณที่กล่าวไว้ มีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุน โดยพิจารณาถึงวิธีการศึกษาวิจัย เป็นการวิจัยในหลอดทดลอง ในสัตว์ทดลอง ในคนปกติ หรือคนป่วย ทั้งนี้เพราะการศึกษาในสัตว์ทดลองแต่ละสายพันธุ์อาจให้ผลแตกต่างจากในคน การศึกษาที่น่าเชื่อถือควรมีการศึกษาในคน โดยมีกลุ่มควบคุมเพื่อเปรียบเทียบผล ผลการศึกษาควรมีนัยสำคัญทางสถิติ
2.พิจารณาถึงความปลอดภัยในการใช้ ว่ามีอาการข้างเคียง ที่อาจเกิดขึ้นว่ามีความรุนแรงหรือไม่ มีความปลอดภัยหรือไม่ หากต้องใช้ร่วมกับยาเดิมที่ใช้อยู่ จึงควรปรึกษาแพทย์ประจำตัว หากต้องรับประทานยาอื่นร่วมด้วย ควรติดตามรายงานเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่มี และผลิตภัณฑ์ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัย และความเป็นพิษที่ดีพอ
3.ผลิตภัณฑ์นั้นได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว ซึ่งจะได้รับการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ และผลข้างเคียงในระดับหนึ่ง ดังนั้นหากผลิตภัณฑ์มีส่วนประกอบของสารที่ไม่รู้จักมาก่อน ควรตรวจสอบการได้รับอนุญาต จาก อ.ย.ก่อน
4. รูปแบบบของผลิตภัณฑ์ใช้ได้สะดวกหรือไม่ หากการศึกษาวิจัย ทำในรูปแบบ ฉีด ฝัง ทา ซึ่งไม่สามารถใช้ในชีวิตประจำวัน การนำมาผลิตขายในรูปแบอื่น อาจไม่ให้ผลเช่นเดียวกัน และขนาดที่รับประทานมากน้อยแค่ไหน เพราะบางครั้งขนาดที่ใช้รับประทานสูงมาก (ในการศึกษาวิจัย) ซึ่งอาจสูงกว่าขนาดที่วางจำหน่าย ซึ่งเป็นการใช้ในลักษณะเป็นยามากกว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาข้อมูลต่อไปนี้ด้วยคือ
1.มีจำนวนคนใช้ หรือบริโภคผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมากเพียงพอ แล้วระยะหนึ่ง
2.พิจารณาคุณประโยชน์ที่ได้รับ กับราคาว่าเหมาะสมกันหรือไม่

กรณีเลือกใช้เป็นยาเนื่องจากมีผลิตภัณฑ์แป๊ะก๊วยจำหน่ายหลากหลาย การนำมาใช้เพื่อผลในการเพิ่มความจำของผู้สูงอายุนั้น ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้ผ่านการ standardize ตัวยาสำคัญ (หาปริมาณตัวยา หรือกลุ่มสารสำคัญ)แล้วว่ามีปริมาณเพียงพอที่จะออกฤทธิ์ โดยอาจเป็นรูปสารสกัดจากใบ หรือสารสกัดกึ่งบริสุทธิ์ ก็ได้ แต่ต้องผ่านการ standardization ให้มีสาระสำคัญต่อไปนี้คือกิงโกไลด์ ginkgolides A, B และ C ประมาณ 2.8-3.4%, และ ไบโลบาไลด์ (bilobalide) ประมาณ 2.6-3.2% จึงจะมีผลต่อการเพิ่มความจำ
เอกสารอ้างอิง
1. Coates PM, Blackman MR, CraggGM, Levine M Moss J, White JD. Encyclopedia of Dietary Supplements. Marcel Dekker: USA, 2005
2. McDermott J. Complementary and Alternative Medicine. In Berardi RR, et al, eds. Handbook of Nonprescription Drugs. An Interactive Approach to self care. 14th ed. McGraw-Hill Inc: USA, 2004.
3. สุดารัตน์ หอมหวล. เอกสารประกอบการสอนเรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Dietary Supplement Products), รายวิชา 1503 312 เภสัชเวท 2 สำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 3 คณะเภสัช ศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2551.
4. นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์. ความก้าวหน้าทางเภสัชวิทยา ของยา และอาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุ. ไทยมิตรการพิมพ์, กรุงเทพมหานคร, 2540
ขอขอบคุณ ข้อความจาก web : http://www.oknation.net/

ชามะรุม ทั้ง 5 (แบบซอง10 ซอง) 30 บาท ขายส่ง 25 บาท

โปรโมชั่น ครบ 1 ปี รับของแจกฟรี
http://kasidit-herbal.blogspot.com


ใบมะรุมบดชนิดแคปซูล ขายส่ง 130 บาท ขายปลีก 150 บาท จำนวน 122 เม็ด


ชามะรุมมีกลิ่นหอมหวานอ่อนๆ มีส่วนช่วยให้นอนหลับสบาย ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่า "ชาใบมะรุม" ใช้แก้ไขปัญหาโรคปากนกกระจอก หอบหืด อาการปวดหูและปวดศรีษะ ช่วยบำรุงสายตา ระบบทางเดินอาหาร และช่วยระบายกาก และสำหรับผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งซึ่งได้รับการบำบัดรักษาด้วยการฉายรังสี การดื่มน้ำมะรุม ( ชามะรุม ) จะมีส่วนช่วยลดการแพ้รังสี ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น และมีร่างกายแข็งแรง


ประกอบด้วย
1. ใบมะรุม มีแคลเซียมสูง เสร้มสร้างกระดูกและฟัน ใช้ถอนพิษไข้ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
ขับปัสสาวะ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต
2. ดอกมะรุม แก้ไขหัวลม เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ ฆ่าเชื่อแบคทีเรีย ป้องกันมะเร็ง
3. รากมะรุม แก้อาการบวม บำรุงธาตุไฟ รักษาโรคหัวใจ รักษาโรคไขข้อ
4. เมล็ดมะรุม ปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้บวม แก้ปวดตามข้อ
5. กิ่งมะรุม รสร้อน ขับลมในลำไส้ ทำให้ผายลม หรือ เรอ คุมธาตุอ่อนๆ
ป้องกันมะเร็ง เคี้ยวกินซ่วยย่อยอาหาร

ประโยชน์ของใบมะรุม
มีไวตามินซี มากกว่าส้ม 7 เท่า
มีแคลเซียม มากกว่านม 4 เท่า
มีไวตามินเอ มากกว่าแครอท 4 เท่า
มีโปรแตสเสี่ยม มากกว่ากล้วย 3 เท่า
มีโปรตีน มากกว่านม 2 เท่า

มีใบมะรุมบดอัดเม็ดขายด้วยนะคะ

สนใจสั่งซื้อได้ที่ 081-3571859

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

โสม (Ginseng)

โสม (Ginseng)

โสม เป็นสมุนไพรที่ใช้กันในแถบเอเชียมานานกว่า 2,000 ปีแล้ว
เดิมมีถิ่นกำเนิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เกาหลี และไซบีเรีย
ในตำรับเภสัชของจีน ได้กล่าวถึงสรรพคุณของรากโสมว่าช่วยทำให้
อวัยวะภายในเป็นปกติ สงบ ไม่มีอารมณ์หวั่นไหว ฟุ้งซ่าน ทำให้สุขภาพดี
ทำให้ตาแจ่มใส จิตใจแช่มชื่น เพิ่มความฉลาด ในประเทศไทย
มีผู้นิยมรับประทานเป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง นับเป็นสมุนไพรที่มีราคาแพง
โสมที่มีการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมี และนำมาใช้กัน มากที่สุดมี 2 ชนิด
คือ โสมเอเชีย ซึ่งนิยมเรียกว่า โสมจีน หรือโสมเกาหลีนั่นเอง และอีกชนิดคือ
โสมอเมริกัน โดยเฉพาะในประเทศจีน ความต้องการของตลาดสูงมาก และมีการปลูกมาก
เนื่องจากเชื่อว่าการเกิดโรคต่างๆ มีสาเหตุจากความไม่สมดุลของของหยิน และหยาง
และการใช้โสมสามารถปรับสมดุลร่างกายได้ ในประเทศจีนมีการใช้โสมทั้ง 2 ชนิด
สำหรับโสมอเมริกัน มีสมบัติเป็นยาเย็น (yin) และโสมจีนมีสมบัติเป็นหยาง (yang)
หรือยาร้อน ปกติโสมเป็นพืชที่เจริญเติบโตช้า มีความสูงของต้นเพียง 60-80 เซนติเมตรเท่านั้น
และต้องรอนานถึง 6 ปี จึงจะได้รากโสมที่มีสารสำคัญทางยาในปริมาณสูงสุด
เรามารู้จักโสม และสรรพคุณที่มีผลการวิจัยรับรองกันดีกว่าค่ะ
1. โสมเกาหลี หรือโสมคน (Korean ginseng)
เนื่องจากรูปร่างของราก ที่มีลักษณะคล้ายคน มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Panax ginseng C.A.Meyer
จัดอยู่ในวงศ์ Araliaceae คำว่า “panax” มาจาก “panacea” แปลว่า “รักษาได้สารพัดโรค” โสมชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน แล้วมีการนำไปศึกษาทดลองปลูกในเกาหลี และญี่ปุ่น จนประสบความสำเร็จในเชิงการค้า ถ้าปลูก และส่งออกจากประเทศจีน มักเรียกว่า “โสมจีน (Chinese ginseng)” ที่ปลูก และส่งออกจากประเทศเกาหลีมักเรียกว่า “โสมเกาหลี (Korean ginseng)” เมื่อปลูกจนมีอายุครบ 6 ปี จึงจะมีตัวยาสำคัญสูงสุด โสมที่ขายในตลาดทั่วไปรวมทั้งประเทศไทย มีอยู่ 2 ชนิด คือโสมขาว และโสมแดง, โสมแดง (red ginseng) คือโสมที่ผ่านไอน้ำอุณหภูมิประมาณ 100 องศาเซลเซียส เพื่อฆ่าเอนไซม์ และเชื้อรา ความร้อนทำให้ได้สารที่มีลักษณะคล้ายคาราเมลที่ผิวชั้นนอก (epidermis) ของราก ทำให้ได้รากโสมที่มีสีแดงอมน้ำตาล และมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาดีกว่าโสมขาว และราคาแพงกว่า ส่วนโสมขาว (white ginseng) ได้จากการนำรากโสมมาล้างน้ำให้สะอาด และตากแดดให้แห้ง จะมีสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลเข้ม
โสมเกาหลี หรือโสมคน

2. โสมอเมริกา (American ginseng)

มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Panax quinquefolium L. เป็นไม้ป่าในแถบตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกา พบครั้งแรกที่ประเทศแคนาดา ในอเมริกาเหนือ มีการใช้ทั้งในรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องดื่ม และชาชง ชาวจีนนำมาปลูก และใช้เช่นเดียวกับโสมเกาหลี
ต้นโสมอเมริกา

องค์ประกอบสำคัญ
สารเคมีสำคัญที่พบในรากโสมเกาหลี และโสมอเมริกัน มีหลายชนิด แต่ที่สำคัญในการออกฤทธิ์ คือสารกลุ่มไทรเทอร์ปีนอยด์ซาโปนิน (triterpenoid saponin) ชนิด dammarane type ซึ่งรวมเรียกว่ามีจินเซโนไซด์ (ginsenoside) ซึ่งมีนิวเคลียส 2 ชนิดคือ protopanaxadiol และ protopanaxatrial นิวเคลียสทั้ง 2 ชนิดจะจับกับน้ำตาล ชนิด และจำนวนต่างๆกัน ซึ่งปัจจุบันค้นพบจินเซโนไซด์ ประมาณมากกว่า 30 ชนิด โดยพบว่ามีจินเซโนไซด์ จำนวน 8 ชนิด ที่มีความสำคัญคือ จินเซโนไซด์ Rb1, Rb2, Rc, Rd, Re, Rf, Rg1และ Rg2 โดยชนิดที่พบมากที่สุดคือ Rb1, Rb2, Re และ Rg1ในรากโสมอเมริกันจะมีจินเซโนไซด์ต่ำกว่าในรากโสมเกาหลี นอกจากนี้ในรากโสมยังมีสารกลุ่มอื่นๆ เช่น น้ำตาล, แป้ง, น้ำมันหอมระเหย สารจำพวกสเตอรรอล มาตรฐานสารสกัด ในเภสัชตำรับของเอมริกา (USP) ได้กำหนดว่าสารสกัดโสมเกาหลีที่ได้มาตรฐาน เมื่อนำรากโสมมาสกัดควรได้สารสกัดในอัตราส่วนของ โสมที่ใช้ต่อสารสกัดที่ได้อยู่ระหว่าง 3:1 ถึง 7:1 และควรมีจินเซโนไซด์ (Rb1, Rb2, Rc, Rd, Re, Rg1)ไม่ต่ำกว่า 3% ด้วย จึงจะถือว่าได้มาตรฐานตามที่กำหนด ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีประสิทธิภาพเมื่อนำไปใช้นั่นเอง ดังนั้นหากมีโสมที่คุณภาพดีอยู่ในมือแล้ว ก็กินรากแห้งเพียง 2 กรัม ต่อวัน ก็จะได้รับจินเซโนไซด์ในระดับมาตรฐานแล้วปัจจุบันมีการทำโสมสกัด (G115) เป็นโสมสกัดมาตรฐานมี จินเซโนไซด์ 8 ชนิดความเข้มข้น 4% เป็นต้น

ข้อมูลการศึกษาวิจัย
จากรายงานการทดลอง พบว่าโสมมีคุณสมบัติเป็น “adaptogen” ซึ่งหมายถึง ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับภาวะกดดัน และ เป็นยาบำรุงทั้งร่างกาย อย่างไรก็ตามพบว่าจินเซโนไซด์ บางตัวมีฤทธิ์ต้านกัน เช่น จินเซโนไซด์ Rg มีฤทธิ์เพิ่มความดันโลหิต และกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง แต่ จินเซโนไซด์ Rb มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต และกดระบบประสาท เป็นต้นจากการศึกษาวิจัยพบว่าโสมมีสรรพคุณที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง ที่สำคัญๆ ได้แก่
1) เพิ่มสมรรถนะในการทำงานของร่างกายให้สูงขึ้น เนื่องจากโสมมีสรรพคุณในการต้านความเมื่อยล้า (antifatigue effect) จากกลไกร่วมกันหลายอย่าง เช่น การเพิ่มการดูดซึมออกซิเจนของผนังเซล เซลจึงสามารถสร้างพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนั้นโสมยังช่วยปรับการเต้นของหัวใจ ให้กลับสู่ภาวะปกติเร็วขึ้น ร่างกายจึงเหนื่อยช้าลง มีความอดทนต่อการทำงานมากขึ้น ซึ่งช่วยทำให้ผู้สูงอายุมีสมรรถภาพการทำงานของร่างกายดีขึ้น และช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยในระหว่างพักฟื้น
ให้หายเจ็บป่วย เป็นปกติได้เร็วขึ้น และเป็นสาเหตุที่ทำให้เชื่อกันว่าโสมมีสรรพคุณกระตุ้นสมรรถนะทางเพศ ทั้งนี้มีรายงานว่าโสมมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดด้วย
2) คุณสมบัติต่อต้านความเครียด (antistress effect) โดยจะช่วยปรับร่างกาย และจิตใจ ให้ทนต่อความกดดันจากภายนอก โดยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนที่มีผลป้องกัน และลดความเครียดจากต่อมใต้สมอง และช่วยคลายความวิตกกังวล
3) กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง มีผลให้รู้สึกมีชีวิตชีวา กระปรี้กระเปร่า โดยไม่ทำให้เกิดการอ่อนเพลีย หรืออ่อนล้าตามมา เหมือนยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางอื่นๆ โดยพบว่าซาโปนินจากโสมเมื่อให้ในขนาดน้อยๆ จะมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง แต่เมื่อให้ในขนาดสูงๆจะมีฤทธิ์กดประสาท ดังนั้นควรรับประทานในขนาดที่พอเหมาะนะคะ มิเช่นนั้นอาจได้ผลตรงกันข้าม
4) เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน โดยมีผลกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแบบไม่เฉพาะเจาะจง มีรายงานว่าเพิ่มเม็ดเลือดขาวบางชนิดจึงเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอม
5) มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยมีฤทธิ์กระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งอินซูลิน มาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ
6) ชะลอความแก่ เนื่องจากโสมมีฤทธิ์ทำลายอนุมูลอิสระของออกซิเจนที่เกิดจากการทำลายไขมัน (lipid oxidation) อนุมูลอิสระนี้มีอนุภาพทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ ให้เสื่อมสลายลงก่อนเวลาอันควร ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลทำให้เกิด “ชราภาพ (aging)” เนื่องจากผลของโสมในการปรับสภาพร่างกาย และจิตใจให้ทนต่อความกดดัน เชื่อว่าช่วยเสริมฤทธิ์กันทำให้โสมมีสรรพคุณ “ชะลอความชรา” ได้ขนาดที่ใช้ 0.5-2 กรัม/วัน (รากแห้ง) ควรใช้ในขนาดที่แนะนำนะคะ เพราะการใช้มากเกินไป อาจได้ผลที่ตรงกันข้าม และมีรายงานว่าการใช้ในขนาดสูงเกินไป ทำให้เส้นเลือดแดงในสมองอักเสบได้

ข้อควรระวังในการใช้
1.ไม่ควรใช้ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานๆ ควรใช้เป็นช่วงๆ คือนาน 1-2 เดือน แล้วหยุด 1-2 เดือน แล้วเริ่มใหม่
2.ควรทานโสมก่อนอาหาร 3 ชั่วโมง และไม่ควรทานพร้อมวิตามินซี หรือผลไม้รสเปรี้ยว
3.อาจพบอาการข้างเคียงถ้าใช้ในขนาดสูงกว่าที่แนะนำ เช่นความดันโลหิตสูง ตื่นเต้น กระวนกระวาย ท้องเสีย เป็นผื่นที่ผิวหนัง นอนไม่หลับ ซึ่งเรียกว่า “ginseng abuse syndrome
4.ระวังการใช้ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง เบาหวาน ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด
5.ควรระวังการใช้ร่วมกับยาลดน้ำตาลในเลือด เนื่องจากอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป เนื่องจากโสมมีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดด้วย ดังนั้นในผู้ป่วยเบาหวาน ควรกินโสมพร้อมอาหาร แต่ควรปรึกษาแพทย์ของท่านก่อนการใช้โสมจะดีกว่า
6.ระวังการใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น warfarin เนื่องจากยาทั้งสองอาจเสริมฤทธิ์กัน มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด
7.ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ให้นมบุตร และในเด็ก เนื่องจากไม่มีข้อมูลด้านประสิทธิภาพ และความปลอดภัยใน
มนุษย์ประเมินผล : จากการศึกษาพบว่าโสมเกาหลี และโสมอเมริกันเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการรักษาโรคต่างๆได้ แต่การทดลองทางคลินิกยังไม่มากพอ และผลบางอย่างยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่ แต่ก็มีการศึกษากันมากพอสมควรกว่าสมุนไพรอื่นๆ ซึ่งพบว่าฤทธิ์เกี่ยวกับการเพิ่มภูมิคุ้มกัน และต้านการล้า หรือภาวะเครียดนั้นเป็นฤทธิ์ที่ค่อนข้างเด่นชัดกว่าฤทธิ์อื่นๆ อย่างไรก็ตามควรเปรียบเทียบราคากับผลที่ได้รับด้วยว่าคุ้มกันหรือไม่ค่ะสำหรับโสมชนิดอื่นๆ ที่อยู่ในตระกูลโสม มีอีกมากมายเลยค่ะ แต่ว่าข้อมูลการศึกษาวิจัยยังไม่เพียงพอ จึงยังไม่ได้แนะนำให้ใช้รับประทานได้อย่างปลอดภัยค่ะ ควรรอผลการวิจัยด้านต่างๆก่อน อาทิเช่นโสมจีน หรือ Sanchi Ginseng เป็นรากของ P. notoginseng Burk. (P. wangianus Sun.) เป็นโสมที่เพาะปลูกในประเทศจีน มณฑลยูนนาน และกวางสี และบางส่วนของประเทศเวียดนาม ใช้ในตำรายาจีนเพื่อห้ามเลือด แก้ฟกบวม โสมญี่ปุ่น (Japanese Chitkusetsu Ginseng) เป็นโสมที่มาจาก P. pseudoginseng Wall. subsp. Japonicus Hara (P. japonicus C.A. Meyer) ในญี่ปุ่นใช้แทนโสมเกาหลี, ใช้แก้ปวดเกร็งท้องโสมฮิมาลายัน ได้จาก P. pseudoginseng subsp. Himalaicus Hara ขึ้นทั่วไปในธรรมชาติที่เนปาล และมณฑลฮิมาลายันตะวันออกโสม Zhuzishen ได้จาก P. pseudoginseng var. major (Burk) C.Y. Wu et K.M. Feng (P. major (Burk.) Ting) พบในแถบตะวันตกของประเทศจีน ทั้ง โสมฮิมาลายัน และ โสม Zhuzishen ใช้ตำรายาจีนเช่นเดียวกันค่ะโสมไซบีเรีย คือรากของ Acanthopanax senticosus (Eleutherococcus senticosus) ใช้ตำรายาจีน

ต้นโสมไซบีเรีย

เอกสารอ้างอิง
1.Christensen LP. Chapter 1 Ginsenosides: Chemistry, Biosynthesis, Analysis and Potential Health effects. Advances in Food and Nutrition Research 2008, 55, 1-99.
2.Vuksan V, Sung M-K, Sievenpiper JL, et al. Korean and red ginseng (Panax ginseng) improves glucose and insulin regulation in well control, type 2 diabetes: results of a randomized, double-blind, placebo-controlled study of efficacy and safety. Nutrition, Metabolism and Cardiovascular Diseases, 2008, 18(1), 46-56.
3. Coates PM, Blackman MR, CraggGM, Levine M Moss J, White JD. Encyclopedia of Dietary Supplements. Marcel Dekker: USA, 2005
4. McDermott J. Complementary and Alternative Medicine. In Berardi RR, et al, eds. Handbook of Nonprescription Drugs. An Interactive Approach to self care. 14th ed. McGraw-Hill Inc: USA, 2004.5.
นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์. ความก้าวหน้าทางเภสัชวิทยา ของยา และอาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุ. ไทยมิตรการพิมพ์, กรุงเทพมหานคร, 2540
ภาพประกอบ : จากอินเตอร์เนต
ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก : http://www.oknation.net/

Thai Herbal ball (Luk pra kob) ลูกประคบ



This organic herbal poultice is make in Thailand. It is an aide to the body as an anti-inflammatory, anti-spasmodic, soothes muscle aches & pains, increases circulation, encourages lymphatic drainage and is a tonic (tightens weak connective tissue and strengthens blood vessels). It has many medicinal quality organic herbs: dried lemongrass, dried turmeric, dried Thai ginger, dried camphor, dried tamarind leaves and menthol. It is steamed to release the healing properties of the herbs. You can use the Peppermint/Mandarin Orange oil after using the poultice to make a massage treatment complete. The oil is also organic and is in a carrier oil base of almond oil, rice bran oil and wheatgerm oilOrganic .


Application : To reduce tendon and joint sweling and muscle pain. Massage the herbal ball on the

boby and neck to stimulate blood flow nerve stimulation and to relax your body.


Direction : Steam herbal ball 5-10 min or spray water then put in the Microwave 1-2 min.

Massage on painful parts of the body, swollen joints, or muscles.


Have sizes: 200 g.