ราคา ข้าวหอมนิล ของมูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงรังษีนภดล ยุคล 1 กิโลกรัม ราคา 100 บาท บรรจุสูญญากาศอย่างดีเก็บไว้ได้นาน ป้องกันแมลงและมอดเป็นอย่างดี สั่งซื้อจำนวน 20 ถุงขึ้นไป ได้รับแถม 1 ถุง และลดราคาเหลือถุงละ 90 บาท แถมบริการส่งฟรี(20 ถุงขึ้นไป) สนใจสั่งซื้อได้ที่ 081-3571859 Email:yatha22@hotmail.com ลักษณะพิเศษของข้าวเจ้าหอมนิล |
|
| |
ข้าวเจ้าหอมนิลเป็นข้าวที่ได้รับการคัดเลือก และพัฒนาจนได้ข้าวที่มีเมล็ดข้าวกล้องเรียวยาว สีม่วงเข้ม ข้าวกล้องเมื่อหุงสุกจะนุ่มเหนียว และมีกลิ่นหอม น่ารับประทาน ที่สำคัญคือ ข้าวกล้องมีโปรตีนสูงถึง 12.5% ปริมาณคาร์โบไฮเดรต 70% ปริมาณ amylose 16% และยังประกอบไปด้วย ธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง แคลเซียม และโพแทสเซียม ซึ่งสูงกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 (ตารางที่ 1) การศึกษาเอกลักษณ์ทางพันธุกรรมโดยใช้โมเลกุลเครื่องหมายชนิด microsatellite จำนวน 48 ตำแหน่ง มาทำการตรวจสอบ ชี้ให้เห็นว่า ข้าวเจ้าหอมนิลมีความแตกต่างจากข้าวพันธุ์ Hei Bao และ Xua Bue Huqที่เป็นข้าวเมล็ดสีดำของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จึงยืนยันได้ว่าข้าวทั้ง 3 ไม่ได้เป็นพันธุ์เดียวกัน
|
ลักษณะประจำพันธุ์ ข้าวเจ้าหอมนิลเป็นข้าวนาสวน ไม่ไวแสง สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี การแตกกอดี ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และแมลงโดยทั่วๆ ไป | |
ความสูงของต้น
สีของ ใบ/ลำต้น เมล็ดข้าวกล้องยาวประมาณ เปลือกหุ้มเมล็ดข้าว อายุการเก็บเกี่ยว ผลผลิตเฉลี่ย | 75 เซนติเมตร
เขียวเข้มอมม่วง 6.5 มม. มีสีม่วงดำ มีสีม่วงเข้ม 95-100 วัน 400-700 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานต่อโรคไหม้ (Blast) ทนทานต่อสภาพแล้ง (Drought) และดินเค็ม (Salinity) |
ปริมาณองค์ประกอบของสารอาหารในเมล็ด | |
ปริมาณ แป้งอะมัยโลส (Amylose) | 12% |
ปริมาณธาตุเหล็ก | 2-2.25 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม |
ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidamt) | 292 ไมโครโมลต่อกรัม |
น้ำมันรำข้าว | 18% |
เส้นใยจากรำข้าว | 10% |
ตารางที่ 1 คุณค่าทางโภชนาการของข้าวเจ้าหอมนิลเทียบ กับข้าวขาวดอกมะลิ 105 | ||
คุณค่าทางโภชนาการ | ข้าวเจ้าหอมนิล | ข้าวขาวดอกมะลิ 105 |
โปรตีน (%)
คาร์โบไฮเดรต (%) ธาตุเหล็ก (มก./100 ก) สังกะสี (มก./100 ก) แคลเซียม (มก./100 ก) โพแทสเซียม (มก./100 ก) ทองแดง (มก./100 ก) | 12.56
70.0 3.26 2.9 4.2 339.4 0.1 | 6.0
80.0 - - - - - |
ตารางที่ 2 ปริมาณวิตามินบางชนิดในข้าวและข้าวสาลี | |||
วิตามิน | ข้าวกล้อง | ข้าวขัดขาว | ข้าวสาลี |
B1 (มก./100 ก)
B2 (มก./100 ก) B3 (มก./100 ก) B6 (มก./100 ก) Folic acid (ไมโครกรัม/100 ก) | 0.34
0.05 4.7 0.62 20 | 0.07
0.03 1.6 0.04 16 | 0.57
0.12 7.4 0.36 78 |
ที่มา : Chrispeels, M.L. and E.S. David. 1994. Plants, Genes and Agriculture. Jones and Bartlett Publishers. London. England. 478 p.
ลักษณะทางโภชนาการ
ข้าวเจ้าหอมนิลเป็นข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยมีโปรตีนอยู่ในช่วงประมาณ 10-12.5 % มีปริมาณแป้งอะมัยโลสประมาณ 12-13% มีปริมาณสาร 2-acetyl-1-pyrroline ปานกลาง ร่วมกับสารหอมระเหยจำเพาะ พวก Cyclohexanone ในปริมาณมาก มีแคลเซียม 4.2 มิลลิกรัมต่อ100 กรัม ปริมาณธาตุเหล็กแปรปวนอยู่ระหว่าง 2.25- 3.25 มิลลิกรัมต่อ100 กรัม และธาตุสังกะสีประมาณ 2.9 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม
ข้าวเจ้าหอมนิลมีปริมาณสาร antioxidation สูงประมาณ 293 ไมโครโมลต่อกรัม ในส่วนของเยื่อหุ้มเมล็ดที่เป็นสีม่วงเข้มประกอบไปด้วยสาร anthocyanin, proanthocyanidin, bioflavonoids และวิตามิน E ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และสีผสมอาหารตามธรรมชาติ
ในส่วนของรำและจมูกข้าว มีวิตามิน E วิตามิน B และกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ในส่วนของรำมีน้ำมันรำข้าว 18% เป็นองค์ประกอบ ซึ่ง 80 % เป็นชนิด C18:1 และ C18:2 เหมือนกับน้ำมันที่ได้จากถั่วเหลืองและข้าวโพดและพบว่ามีสาร omega-3 ประมาณ 1-2 % รำข้าวของเจ้าหอมนิลมีปริมาณเส้นใย digestible fiber สูงถึง 10% จากข้อมูลทางโภชนาการนับได้ว่าข้าวเจ้าหอมนิลเป็นข้าวที่มีศักยภาพในการนำมาแปรรูปทางอุตสหกรรมอาหารสูง เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารจากแป้งข้าวเจ้าหอมนิล รวมทั้งขนมขบเคี้ยวต่าง
คุณประโยชน์ของสีม่วงในข้าวเจ้าหอมนิล
|
| |
|
ลักษณะทางกายภาพ
ข้าวเจ้าหอมนิล เป็นข้าวเจ้าสีดำ เมล็ดใส ที่ได้จากการคัดพันธ์กลายของข้าวเหนียวดำต้นเตี้ยจากจีน ข้าวเจ้าหอมนิลสูงประมาณ 60-75 เซนติเมตร มีอายุวันเก็บเกี่ยว 95-105 วัน มีการแตกกอดี ใบและลำต้นสีเขียวปนม่วง มีหูใบ โคนต้น ดอก และเมล็ดมีสีม่วงเข้ม ผลผลิตประมาณ 400-700 กิโลกรัม/ไร่ จากการศึกษาเอกลักษณ์พันธุกรรม โดยใช้ microsatellite จำนวน 48 ตำแหน่ง ชี้ให้เห็นว่า ข้าวเจ้าหอมนิลมีความแตกต่างข้าว Hei Bao และ Xua Bue Huq จากจีน ซึ่งมีปริมาณโปรตีนและธาตุเหล็กสูง แสดงให้เห็นว่า ข้าวทั้ง 3 ไม่ได้เป็นข้าวพันธุ์เดียวกัน
ข้าวเจ้าหอมนิลนับเป็นข้าวที่มีโภชนาการสูง เหนียวนุ่ม เมล็ดยาว และมีกลิ่นหอม ข้าวเจ้าหอมนิลมีโปรตีนอยู่ในช่วงประมาณ 10-12.5 % มีแคลเซียม 4.2 มิลลิกรัม/100 กรัม ธาตุเหล็กแปรปรวนระหว่าง 2.25-3.25 มิลิกรัม/ 100 กรัม และธาตุสังกะสีประมาณ 2.9 มิลลิกรัม
ข้าวเจ้าหอมนิลมีปริมาณแป้ง amylose ประมาณ 12-13 % ข้าวกล้องของข้าวเจ้าหอมนิลหุงสุก นุ่มมีกลิ่นหอมแบบข้าวเหนียวดำและข้าวหอม มีปริมาณสาร 2-acety-1-pyrroline ปานกลาง ร่วมกับสารหอมระเหยจำเพาะ เช่น Cyclohexanone ในปริมาณมาก
ข้าวเจ้าหอมนิลมีปริมาณ antioxidation สูงประมาณ 293 ไมโครโมล/กรัม มีน้ำมันรำข้าว 18 % ซึ่ง 80 % เป็นชนิด C18 : C18:2 และพบว่ามี omega-3 ประมาณ1-2 % รำข้าวเจ้าหอมนิล มีปริมาณ digestible fiber ถึง 10 % จากข้อมูลคุณภาพแป้ง และโภชนาการนับได้ว่าข้าวเจ้าหอมนิล เป็นข้าวที่มีศักยภาพในการแปรรูปทางอุตสาหกรรมอาหารสูง ในการทำ cracker หรือ cooky
ข้าวเจ้าหอมนิลยังมีความสามารถในการต้านทานโรคไหม้ และไหม้คอรวงระดับสูง ทนน้ำท่วมและทนแล้งระดับปานกลาง การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าหอมนิลระยะต่อมา ได้เข้าคู่ผสมกับข้าวหอมมะลิ 105 และได้ทำการเพาะเลี้ยงอับเรณู (anther culture) จากรุ่น F3 ควบคู่กับการทำ pedigree จนในที่สุดได้ลูกที่เป็น double haploid ที่มีเมล็ดสีม่วงหนึ่งสายพันธุ์คือ ข้าวเจ้าหอมนิล DH และลูกที่ได้จากากรคัดเลือก pedigree พันธุ์ใหม่คือ ข้าวเจ้าหอมนิล # 1 ซึ่งให้ผลผลิตสูงกว่า เมล็ดเรียวยาว และให้สีเมล็ดเข้มสม่ำเสมอตลอดปี ในคู่ผสมอื่น ๆ ก็ได้เน้นการปรับปรุงต้านทานแมลง เพิ่มผลผลิต และคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีข้าวที่มีโภชนาการเทียบเท่าข้าวเจ้าหอมนิลออกสู่ ผู้บริโภคต่อไป