วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

รู้จักกับไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ของโลก A-2009 H1N1

27เม.ย. ที่ผ่านมาสำนักข่าวต่างประเทศต่างพากันรายงานว่าที่กรุงเม็กซิโก ซิตีเมืองหลวงของประเทศเม็กซิโก ได้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ คือไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ สายพันธุ์H1N1หรือที่เรียกว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่2009ซึ่งหลังจากที่ได้แพร่ระบาดเข้าสู่สหรัฐอเมริการและแคนนาดาแล้วจึงได้กระจายไปสู่ภูมิภาคอื่นทั่วโลกอย่างรวดเร็ว

โดยองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้เพิ่มระดับเตือนภัยการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้เป็นระดับ 5 ซึ่งเป็นขั้นที่ตรวจพบว่ามีการแพร่เชื้อจากคนสู่คนในอย่างน้อย 2 ประเทศในภูมิภาคเดียวกัน หรือการติดเชื้อข้ามประเทศ เมื่อวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา

ล่าสุดเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 52 องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศยกระดับการเตือนภัยไข้หวัดใหญ่ 2009 จากระดับ 5 เป็นระดับ 6 หรือระดับสูงสุดแล้ว เนื่องจากเริ่มต้นแพร่ระบาดไปทั่วโลกแล้ว อีกทั้งยอดผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯ ยุโรป อเมริกาใต้ ออสเตรเลีย เอเชีย และภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลกก็พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 41 ปีที่มีการประกาศเตือนภัยไข้หวัดใหญ่ระบาดกว้างขวางทั่วโลก

นอกจากนี้องค์การอนามัยยังประกาศให้เรียกชื่อโรคนี้อย่างเป็นทางการว่า โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดA H1N1 แทนการเรียกว่า ไข้หวัดหมูเช่นเดียวกับที่ก่อนหน้านี้สหรัฐ เรียกไข้หวัดสายพันธุ์ดังกล่าวว่า ไข้หวัดใหญ่ 2009 H1N1 เพื่อแก้ความเข้าใจผิดที่ว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้เกิดจากหมู

รู้จักกับไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ของโลก

ดร.แนนซี่ ค็อกซ์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยไข้หวัดใหญ่ ศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐ กล่าวว่า ไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ชนิด A H1N1 นี้ มีลักษณะพันธุกรรมหรือยีน ที่ประกอบด้วยเชื้อไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์รวมอยู่ด้วยกัน ได้แก่ เชื้อไข้หวัดใหญ่ในมนุษย์ เชื้อไข้หวัดนกที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ และ เชื้อไข้หวัดหมูที่พบบ่อยในทวีปยุโรปและเอเชีย

โดยสันนิษฐานเบื้องต้นว่า เชื้อไข้หวัดพันธุ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม หรือ Antigenetic Shift โดยมีหมูที่เป็นพาหะนำโรค โดยการถูกเชื้อไวรัสไข้หวัดนก ไข้หวัดหมู และไข้หวัดใหญ่ เข้าไปอยู่ในตัว ต่อมาเซลล์ในตัวหมูถูกไวรัสตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปโจมตี ทำให้หน่วยพันธุกรรมไวรัสดังกล่าวผสมปนเปกันระหว่างการแบ่งตัว กลายเป็นเชื้อพันธุ์ใหม่ขึ้นมา

ขณะเดียวกัน ก็มีรายงานว่า นายเอเดรียน กิบส์ ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยพัฒนายาต้านไวรัส ทามิฟลู ของบริษัทโรช และเป็นผู้ศึกษาวิวัฒนาการของเชื้อโรคมาเป็นเวลานานถึง 40 ปี เป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์รายแรกๆที่วิเคราะห์ส่วนประกอบทางด้านพันธุกรรมเปิดเผยว่า เขาตั้งใจที่จะตีพิมพ์รายงานที่มีข้อมูลบ่งชี้ว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ จากไข่ที่นักวิทยาศาสตร์ใช้เพาะไวรัสและบริษัทยาได้นำไปใช้เพื่อผลิตวัคซีนก็เป็นได้

โดยนายกิบส์กล่าวว่า การชี้เบาะแสของต้นตอไวรัสอาจจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ทำความเข้าใจไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้ดีขึ้น ทั้งในเรื่องของการแพร่เชื้อและสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย ซึ่งขณะนี้องค์การอนามัยโลกอยู่ในระหว่างการพิจารณารายงานฉบับนี้

หมูไม่เกี่ยว
น.พ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผอ.สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดใหม่นี้ว่า แม้จะมีเชื้อตั้งต้นมาจากหมู แต่ระยะแพร่ระบาดคือ ติดต่อจากคนสู่คน ดังนั้นการบริโภคผลิตภัณฑ์จากหมูไม่มีอันตรายแต่อย่างใด
ทั้งนี้หากเปรียบเทียบกับ “ไข้หวัดนก” ที่เคยแพร่ระบาดในอดีต ซึ่งเป็นเชื้อที่ติดต่อจากสัตว์ปีกสู่คนได้นั้น จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ผู้ได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์นี้ มีอัตราเสียชีวิตร้อยละ 5-7 ซึ่งถือว่ายังน้อยกว่าอัตราของผู้เสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไข้หวัดนก

ข้อมูลที่น่าสนใจ
1. ปัจจุบันมีเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่จำนวนมากในโลกและมีวัคซีนที่สามารถฉีดยาป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โดยแต่ละปีวัคซีนที่นำมาใช้เป็นไปตามเชื้อไวรัสที่น่าจะมีผลกระทบมากในปีนั้นๆ
2. ไวรัส H1N1 หรือไวรัสของไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่นี้ เป็นไวรัสที่ติดเชื้อได้อย่างรวดเร็วและยังไม่มีวัคซีนป้องกัน
3. ปัจจุบันยังไม่มีอันตรายที่น่าวิตกจนเกินไป โดยที่ผ่านมาผู้ที่ได้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 จะมีความรุนแรงต่อร่างกายน้อย น.พ. Belinda Ostrowsky จากศูนย์การแพทย์ Montefiore นิวยอร์ค กล่าวว่า มีผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดชนิดนี้ เพียงเล็กน้อยในสหรัฐฯ หากเทียบกับยอดผู้เสียชีวิตด้วยไข้หวัดตามฤดูกาลประมาณ 2,000 คน จากทุกปี
ด้านกระทรวงสาธารณะสุขของไทย ระบุว่า เชื้อดังกล่าวไม่มีความรุนแรงมาก โดยมีอัตราการเสียชีวิตน้อยกว่า 1% มีโอกาสหายเองได้เกิน 90 % และในส่วนที่ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล 5-10% นั้น เนื่องจากมีโรคประจำตัว
4. ผู้ติดเชื้อมีสุขภาพแข็งแรงและอาการไม่รุนแรง สามารถรักษาหายได้ด้วยภูมิต้านทานของร่างกาย ทั้งนี้หากเป็นผู้สูงอายุหรือเด็กจะมีความเสี่ยงมากกว่า

แหล่งที่มา
http://www.chaoprayanews.com/

ไม่มีความคิดเห็น: