วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2562

ผื่นแพ้ในเด็ก เกิดจากอะไรบ้าง และ ทำยังไงดี

บทความนี้มาจาก
รีวิวโดยทีมแพทย์และเภสัชกร HonestDocs วันที่ 01/02/2562


ผื่นแพ้ (Eczema หรือ Atopic dermatitis) เป็นโรคที่พบได้บ่อยและน่าท้อแท้ใจสำหรับทั้งคุณพ่อคุณแม่และคุณลูก โดยเฉพาะคุณลูก เพราะนอกจากจะไม่มีทางหายแล้วยังรักษาได้ยาก คุณพ่อคุณแม่มักได้รับคำแนะนำที่แตกต่างกันทำให้เข้าใจยากไปเกี่ยวกับการรักษาลูกของตัวเอง สาเหตุเกิดจากผิวหนังแห้งและสูญเสียความชุ่มชื้นได้ง่ายเพราะมีการสร้างเซราไมด์ (Ceramide) ที่ผิวหนังน้อยเกินไป


อาการของพื้นแพ้ในเด็ก เกิดจากอะไร


อาการหลักของผื่นแพ้ คือ ผื่นคันที่เห็น ซึ่งอาจมีสีแดง สัมผัสดูแล้วรู้สึกผิวหยาบหนาหรือระคายเคือง หรืออาจมีผิวลอกเป็นขุยและเยิ้มแฉะก็ได้ ผื่นชนิดนี้มักเริ่มแสดงอาการตั้งแต่ในวัยทารกและเป็นต่อเนื่องไปได้จนถึงอายุ 5 ปี แม้ว่าการรักษาจะช่วยควบคุมไม่ให้อาการกำเริบและหายไปได้ แต่ก็เพียงชั่วคราวเท่านั้น ผู้ป่วยมักจะกลับมามีอาการอีกเป็นครั้งคราว

ในการวินิจฉัยผื่นแพ้ของน้อง

ในการวินิจฉัยผื่นแพ้ทำได้โดยดูจากลักษณะของผื่นคันที่ตำแหน่งเฉพาะของโรค ได้แก่ หน้าผาก แก้ม แขนและขาในทารก และด้านในบริเวณรอยพับของข้อศอก เข่า และข้อเท้าในเด็กโต บางครั้งผื่นแพ้ก็ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นผื่นคันชนิดอื่น เช่น ผื่นแพ้สัมผัส ผดร้อน เซบเดิร์ม (Seborrheic dermatitis) และผื่นโรคสะเก็ดเงิน อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาที่เกิดผื่น ตำแหน่งที่มีผื่น และรูปแบบการกระจายตัวของผื่นจะช่วยให้กุมารแพทย์บอกได้ว่าผื่นนี้เป็นผื่นแพ้หรือเป็นผื่นชนิดอื่นๆ กันแน่

ในการป้องกันผื่นแพ้กำเริบต้องทำยังไง

พ่อแม่สามารถศึกษาความรู้พื้นฐานของการป้องกันผื่นแพ้กำเริบ ในช่วงเวลาที่ผื่นของลูกแย่ลง อันประกอบไปด้วย การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นผื่นแพ้ที่รู้อยู่แล้ว เช่น น้ำยาซักผ้า สบู่ ฟองสบู่ ไรฝุ่น อาหารที่แพ้ อากาศร้อนและเหงื่อ เสื้อผ้าขนสัตว์และใยสังเคราะห์ เป็นต้น นอกจากนี้การรักษาผิวของลูกให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอก็สำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากการระบุและหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นนั้นทำได้ยาก การให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการกำเริบของผื่นแพ้ โดยคุณควรอาบน้ำให้ลูกวันละหนึ่งหนด้วยน้ำที่อุ่นน้อยๆ และสบู่ที่อ่อนโยนต่อผิวและให้ความชุ่มชื้น หรืออะไรก็ตามที่ใช้แทนสารให้ความชุ่มชื้นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้เมื่อลูกเริ่มมีผิวแห้ง และทาให้ลูก 2-3 ครั้งต่อวัน
สารให้ความชุ่มชื้นที่ใช้ได้มีหลายชนิด ชนิดที่เป็นขี้ผึ้ง (ointment) จะดีที่สุด แต่หากสะดวกจะใช้วาสลีน หรือครีม ก็ใช้ได้เช่นกัน รวมทั้งครีมยาหรือโลชั่นยาชนิดปราศจากสเตียรอยด์ โดยเมื่อเลือกชนิดของสารให้ความชุ่มชื้น คุณอาจต้องลองใช้ดูก่อนหลายๆ ชนิด เพื่อหาว่าแบบไหนที่ดีที่สุดสำหรับลูกของคุณ 

การรักษาผื่นแพ้ในเด็กทำยังไงได้บ้าง

เมื่ออาการผื่นแพ้ของลูกกำเริบ การรักษาที่ใช้โดยทั่วไป คือ ยาแอนตี้ฮิสทามีนชนิดทา เช่น Chlorphenoxamine และยาเสตียรอยด์ชนิดทา มีตั้งแต่ครีม Hydrocortisone ที่หาซื้อได้ตามร้านขายยา ซึ่งมีฤทธิ์อ่อนมากจนอาจใช้ทาหน้าได้ ไปจนถึงยาระดับแรงปานกลางและแรงมากที่ต้องให้แพทย์สั่งใช้เท่านั้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะหลีกเลี่ยงการใช้ยาสเตียรอยด์ที่มีฤทธิ์รุนแรงมากในเด็ก และมักใช้กลุ่มที่แรงปานกลางมากกว่า เช่น Mometasone และ 0.02% Triamcinolone ซึ่งแม้แต่ยาเหล่านี้เองก็ยังมีผลข้างเคียงได้ เช่น ทำให้ผิวบางและมีรอยแตก หากใช้ที่เดิมเป็นระยะเวลานานๆ และยาเหล่านี้ควรใช้อย่างระมัดระวังโดยเฉพาะการใช้กับใบหน้าของเด็กหรือบริเวณจุดอับ เช่น ในผ้าอ้อม
นอกจากนี้ยังมียาชนิดใหม่ที่ปราศจากสเตียรอยด์ที่ประกอบด้วยสารสำคัญ เช่น Pimecrolimus และ Tacrolimus รวมไปถึงยาปรับภูมิคุ้มกันตัวใหม่ๆ ซึ่งอาจช่วยป้องกันการกำเริบของอาการได้ด้วย หากเริ่มใช้ตั้งแต่เห็นสัญญาณของอาการคันหรือผื่นแพ้ โดยให้ใช้ 2 ครั้งต่อวัน ทาให้ทั่วบริเวณที่มีผื่นแพ้ รวมถึงใบหน้า แต่พึงระวังไว้ว่ายาเหล่านี้ห้ามใช้ในเด็กที่อายุต่ำกว่าสองขวบ และมีคำเตือนเรื่องการใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเช่นกัน
 ยาต้านฮีสทามีน (Antihistamine) ชนิดรับประทาน ก็เป็นยาที่มักใช้เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาผื่นแพ้ โดยค่อนข้างมีประโยชน์หากอาการคันรบกวนการนอนของลูก เพราะจะช่วยให้หลับได้สบายยิ่งขึ้น หรือหากลูกเกาเมื่อมีอาการคัน พ่อแม่อาจใช้การประคบเย็นช่วยบรรเทาด้วยได้ ในกรณีของผื่นแพ้ที่รักษาได้ยากมาก อาจต้องใช้วิธีอื่นๆ ในการรักษา ซึ่งมีทั้งการทำแผลและการให้สเตียรอยด์กิน การใช้รังสียูวี และการใช้ยากดภูมิคุ้มกันอื่นๆ ซึ่งวิธีเหล่านี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.honestdocs.co

ไม่มีความคิดเห็น: