วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562

ลูกมีผื่นคันเป็น ๆ หาย ๆ อาจจะแพ้โปรตีนนมวัว

โดย น.อ.หญิง พญ. ศศวรรณ ชินรัตนพิสิทธิ์
กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้ หัวหน้าศูนย์โรคภูมิแพ้ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช


1. ลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัวบ่อยๆ คงเพราะผิวหนังยังบอบบางทายาแก้อาการก็หาย

ผื่นผิวหนังอักเสบ มีอาการคันที่เป็นๆ หายๆ ลักษณะผื่นเป็นเรื้อรัง เมื่อได้รับการรักษาโดยแพทย์ แต่ยังไม่หายขาด มีโอกาสสูงที่จะเป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ (atopic dermatitis) เป็นโรคผิวหนังอักเสบ เรื้อรังที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก เชื่อว่าเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน โดยพันธุกรรมทำให้หน้าที่ป้องกันเชื้อโรคของผิวหนังผิดปกติ ร่วมกับมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อสารก่อภูมิแพ้ที่ผิดปกติ ได้แก่ อาหาร โดยเฉพาะ ที่พบบ่อยในเด็กเล็ก คือ นมวัว ไข่ ถั่วเหลือง แป้งสาลี ส่วนสารก่อภูมิแพ้อื่นๆ เช่น ไรฝุ่น และแมลงสาบ มีรายงานในกลุ่มทารกและเด็กเล็กที่ เป็นโรคผื่นผิวหนังอักเสบที่มีความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมากนั้น มักมีการแพ้อาหารร่วมด้วย



อาการแพ้โปรตีนนมวัวพบได้บ่อยในเด็กวัยทารก อาจเกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กยังทำ หน้าที่ได้ไม่ดี หรือทำหน้าที่ผิดปกติ มีปฏิกิริยาต่อโปรตีนในนมวัว โดยอาการส่วนใหญ่จะเกิดภายใน 1 สัปดาห์หลังได้รับนมวัว อาจแสดงอาการได้หลายระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบผิวหนัง เช่น ผื่นแพ้                 ระบบทางเดินอาหาร เช่น อุจจาระร่วง หรือมีมูกเลือด และระบบทางเดินหายใจ เช่น หายใจครืดคราด จาม ไอ มีน้ำมูก เด็กส่วนใหญ่จะมีอาการแสดงมากกว่า 1 ระบบ บางคนแสดงอาการแพ้ภายในเวลาประมาณ 30 นาทีหลังกินนมวัว โดยอาจมีอาการคือ ผิวหนังเป็นผื่นลมพิษ ไอ หอบหืด น้ำมูกไหล อาเจียน ซึ่งเป็นจุดเริ่ม ต้นที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ในเด็กทารก




     การจะรู้ได้ว่าผื่นคันของลูกเกิดจากอาการแพ้โปรตีนนนมวัวหรือไม่นั้น คุณแม่อาจทดสอบและ ลองสังเกตอาการลูกเองก่อน โดยการให้ลูกงดนมวัวประมาณ 1- 2 สัปดาห์ หากอาการผื่นคันหายไป หลังจากนั้นลองให้ลูกกินนมวัวอีกครั้ง ถ้าผื่นกลับมาเป็นอีกก็เป็นไปได้ว่าอาจเเพ้นมวัว หากสงสัยว่าลูก มีอาการเเพ้นมวัวควรพาลูกไปพบกุมารแพทย์โรคภูมิแพ้เพื่อวินิจฉัยอีกครั้งเพื่อความแม่นยำ โดยการซัก ประวัติของเด็กและพ่อแม่ ตรวจร่างกาย และอาจทำการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (skin prick test) หรือการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม

     หากพบว่าผื่นคันของลูกเกิดจากอาการแพ้โปรตีนนมวัวจริงๆ แพทย์จะพิจารณาถึงแนวทางการ รักษา โดยการแนะนำให้เด็กกินนมแม่ดีที่สุด โดยแม่ต้องงดนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัว แต่หากเด็ก ไม่ได้กินนมแม่ แพทย์จะแนะนำให้เด็กกินนมสูตรพิเศษ สำหรับรักษาอาการแพ้โปรตีนนมวัวชนิด Extensively Hydrolyzed Formula คือนมที่ผ่านการย่อยโปรตีนอย่างละเอียด ทำให้มีโปรตีนขนาดเล็ก ไม่กระตุ้น ให้เกิดอาการแพ้ นมสูตรนี้มี 2 ชนิด คือ สูตรโปรตีนเวย์ และสูตรโปรตีนเคซีนที่มีการเสริมจุลินทรีย์สุขภาพ LGG ที่มีงานวิจัยรองรับว่าช่วยให้เด็กหายขาดจากอาการแพ้โปรตีนนมวัว และกลับมาดื่มนมสูตรปกติได้เร็ว หรือนมถั่วเหลือง (ในเด็กที่อายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป และไม่แพ้นมถั่วเหลือง) ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือเด็กที่แพ้นมวัวรุนแรง อาจให้กินนมสูตรกรดอะมิโน (Amino Acid ) และรักษาอาการแพ้ ที่เกิดขึ้น ด้วยยาที่เหมาะสม



เป็นความเชื่อที่ผิด อันที่จริงเด็กเล็กที่มีอาการคัดแน่นจมูก น้ำมูกใส จาม และคันจมูกบ่อยๆ ลักษณะเรื้อรัง โดยไม่มีไข้ อาการเหล่านี้ไม่ใช่หวัด ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และให้การรักษาที่เหมาะสม จากอาการข้างต้นอาจเป็นโรคเยื่อบุจมูกอักเสบ และถ้าไม่มีไข้ มีอาการเรื้อรัง มีโอกาสที่จะเป็น โรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) โรคนี้พบได้ทุกอายุ ผู้ป่วยเด็กร้อยละ 20 เริ่มมีอาการภายในอายุ 2-3 ปี ร้อยละ 40 มีอาการใน 6 ปีแรกและอีกร้อยละ 30 เริ่มมีอาการในช่วงวัยรุ่น แต่พบว่าโอกาสการเกิดโรคนี้ในขวบปีแรกเพิ่มขึ้นในเด็กที่ได้รับอาหารเสริมเร็ว เช่น นมวัว ไข่ แม่สูบบุหรี่ การสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ เช่น รังแคสัตว์เลี้ยง ไรฝุ่น ดังนั้นในเด็กเล็กถ้ามีอาการทางระบบหายใจที่เรื้อรัง ควรนึกถึงเรื่องการแพ้อาหาร โดยเฉพาะ อย่างยิ่งคือ นมวัว


       การแพ้โปรตีนนมวัว อาจแสดงได้หลายระบบ ทั้งระบบผิวหนัง ระบบทางเดินอาหาร และระบบ ทางเดินหายใจ ซึ่งจะแสดงอาการหายใจครืดคราด มีน้ำมูก มีเสมหะ ไอ จาม คล้ายๆ กับเป็นหวัด ทำให้ พ่อแม่เข้าใจผิดได้ เด็กส่วนใหญ่จะมีอาการแสดงมากกว่า 1 ระบบ การวินิจฉัยโดยทั่วไป อาจจะใช้การ ทดสอบทางผิวหนัง (skin prick test) ซึ่งเป็นการตรวจที่มีความน่าเชื่อถือ หรือการตรวจ IgE ที่จำเพาะต่อ นมวัว วิธีนี้มีความไวน้อยกว่าการทดสอบทางผิวหนัง หากการตรวจให้ผลบวก การแปลผลเหมือนการ ทดสอบทางผิวหนัง แต่เด็กที่มีภาวะภูมิไวต่อนมวัว ไม่ได้บ่งบอกว่าเขาแพ้นมวัวจริง วิธีการวินิจฉัยอาการแพ้โปรตีนนมวัวที่แน่นอนคือการงดนมวัว ในกรณีที่เด็กอาการดีขึ้นหลังจากการงดอาหารที่มีโปรตีนนมวัว เป็นการยืนยันว่าอาการของเด็กเกิดจากการแพ้โปรตีนนมวัวจริง

อาการแพ้โปรตีนนมวัวนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบว่าถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกจะมีความเสี่ยงสูง ต่อการแพ้โปรตีนนมวัวด้วย อาการแพ้โปรตีนนมวัวส่วนใหญ่สามารถรักษาให้หายได้ เมื่อได้รับการดูแล รักษาอย่างเหมาะสม

การแพ้โปรตีนนมวัวสามารถเกิดได้ทั้งในเด็กที่กินนมผงดัดแปลงสำหรับทารกแรกเกิด และเด็กที่กินนมแม่อย่างเดียว เพราะถ้าแม่ที่ให้นมลูกแล้วดื่มนมวัวหรือกินอาหารที่มีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์จากนมวัว จะมีโปรตีนนมวัวผสมออกมาในน้ำนมแม่ทำให้เด็กแพ้โปรตีนนมวัวในนมแม่ได้
การรักษาโรคนี้ มีแนวทางปฏิบัติคือ งดนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัวเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในกรณีที่เด็กกินนมแม่แต่แพ้นมวัว แนะนำให้แม่หลีกเลี่ยงการกินนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัว ในกรณีที่ไม่ได้กินนมแม่ แนะนำให้เด็กกินนมสูตรพิเศษสำหรับรักษาอาการแพ้โปรตีนนมวัวชนิด Extensively Hydrolyzed Formula ที่มีกระบวนการย่อยให้โปรตีนมีขนาดเล็ก ไม่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ ในเด็กที่แพ้ไม่รุนแรงมาก หรือนมสูตรกรดอะมิโน หรือนมถั่วเหลือง (ในเด็กที่อายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป และไม่แพ้นมถั่วเหลือง) จะช่วยให้เด็กอาการดีขึ้นได้

 3. เมื่อลูกแพ้โปรตีนนมวัว ให้กินนมผงสูตรโปรตีนที่ย่อยบางส่วนแทนนมสูตรปกติได้

เป็นความเชื่อที่ผิดค่ะ การรักษาเด็กที่มีอาการแพ้โปรตีนนมวัว ควรให้นมสูตรโปรตีนย่อยอย่าง ละเอียด หรือ Extensively Hydrolyzed Formula ซึ่งโปรตีนในนมจะถูกย่อยจนได้เป็นโมเลกุลขนาดเล็ก และบางส่วนอาจถูกย่อยจนเป็นกรดอะมิโน ทำให้ไม่กระตุ้นอาการแพ้ ซึ่งเป็นสูตรที่มีการกำหนดโดย สถาบันกุมารแพทย์อเมริกัน (American Academy of Pediatrics) ว่าเมื่อนำมาใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการแพ้ โปรตีนนมวัวแล้ว จะต้องไม่เกิดอาการแพ้ร้อยละ 95 ของผู้ป่วย เนื่องจากนมสูตรโปรตีนย่อยอย่างละเอียด Extensively Hydrolyzed Formula มีคุณสมบัติเป็น Hypoallergenic Formula ประกอบด้วยโปรตีนสาย สั้น และมีปริมาณโปรตีนขนาดใหญ่ (β-lactoglobulin) น้อยมาก จึงไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และสามารถ นำมารักษาผู้ป่วยที่มีภาวะแพ้โปรตีนนมวัวได้ โดยนมสูตรโปรตีนย่อยอย่างละเอียด Extensively Hydrolyzed Formula มี 2 ชนิด คือชนิดโปรตีนเคซีน และชนิดโปรตีนเวย์ย่อยละเอียด โดยชนิดโปรตีนเคซีนย่อยละเอียด ในปัจจุบันมีการเสริมจุลินทรีย์สุขภาพ LGG ที่มีงานวิจัยยืนยันว่าใช้รักษาอาการแพ้โปรตีนนมวัวให้หายขาดได้ ทำให้เด็กสามารถกลับมาดื่มนมสูตรปกติได้เร็ว ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


ส่วนนมผงสูตรโปรตีนที่ย่อยบางส่วน (Partially Hydrolyzed Formula) มีโปรตีนน้ำหนักโมเลกุล ใหญ่จำนวนมาก ซึ่งยังสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ในเด็กที่มีภาวะแพ้โปรตีนนมวัวได้ถึงร้อยละ 30-40 จึงไม่เหมาะในการรักษาเด็กที่มีอาการแพ้โปรตีนนมวัว เพราะเสี่ยงต่อการที่เด็กยังคงมีอาการแพ้อยู่


ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.enfababy.com

ไม่มีความคิดเห็น: