วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ชิคุนกุนย่า โรคร้าย ที่มาจากยุงลาย (ภาค 2)

โปรโมชั่น ครบ 1 ปี รับของแจกฟรี
http://kasidit-herbal.blogspot.com





เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก กระทรวงสาธารณสุข , thaimuslim.com , bangkokhealth.com, thairath.co.th

เมื่อเร็วๆ นี้เราคงได้ยินข่าวว่าเกิดการแพร่ระบาดของ "โรคชิคุนกุนยา" ใน แถบจังหวัดชายแดนภาคใต้ จนลุกลามไปเกือบทั่วทั้งประเทศแล้วนั้น ทำให้หลายคนแปลกใจไม่น้อยว่า นี่คือโรคประหลาดสายพันธุ์ใหม่อะไรหรือเปล่า วันนี้กระปุกดอทคอมจึงอาสาคลายข้อสงสัย ด้วยการนำความรู้เกี่ยวกับ "โรคชิคุนกุนยา" มาบอกต่อกันค่ะ…



โลชั่นป้องกันยุง และ บำรุงผิว ผลิตจากสมุนไพร 100%
ราคา 30 บาท
ประโยชน์
ทาป้องกันยุงกัด และ ทาแก้คันจากยุงกัน แก้อาการแพ้จากสิ่งต่างๆ
และช่วยบำรุงผิว ทาทุก ๆ 2 ชั่วโมง สำหรับป้องกันยุง

เด็ก 2 ขวบขึ้นไปทาได้คะ ไม่มีอาการแพ้(สารแพ้เกิดจากน้ำหอม และ สารกันบูด)

ส่วนประกอบ
ตะไคร้หอม, กระเพาแดง, เสลดพังพอน, ว่านน้ำ, ไพรสด, และน้ำมันจมูกข้าว

สนใจซื้อติดต่อ 081-357-1859
Email: yatha22@hotmail.com

"ชิคุนกุนยา" คืออะไร
"โรคชิคุนกุนยา" (Chikungunya) หรือ "โรคไข้ปวดข้อยุงลาย" ไม่ใช่โรคใหม่อะไรหรอกค่ะ แต่เป็นโรคที่อุบัติขึ้นมานานแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ.1955 (พ.ศ.2498) โดยมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปแอฟริกา ก่อนจะแพร่ระบาดไปหลายๆ ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งผู้ที่บรรยายลักษณะของโรคชิคุนกุนยาเป็นคนแรกคือ Marion Robinson และ W.H.R. Lumsden ในปี ค.ศ.1955 (พ.ศ.2498) ซึ่งก่อนหน้านั้น 3 ปี เกิดมีการระบาดของโรคในดินแดนที่ราบสูงมากอนดี พรมแดนระหว่างประเทศโมแซมบิก และแทนซาเนียในปัจจุบัน จากนั้นก็พบการระบาดของเชื้อชิคุนกุนยาเป็นครั้งคราวในทวีปแอฟริกา เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การแพร่เชื้อโรคชิคุนกุนยาในทวีปแอฟริกานั้น มี 2 วงจร คือ "วงจรชนบท" คน-ยุง-ลิง ซึ่งมีลิงบาร์บูน เป็นโฮสต์ โดยมีการระบาดเล็กๆ เป็นครั้งคราว ก่อนที่คนจะนำเชื้อชนิดนี้ออกมาสู่ชุมชนเมือง ทำให้เกิด "วงจรในเมือง" คน-ยุง กลายเป็นการแพร่ระบาดจากคนสู่คน โดยมียุงเป็นพาหะนั่นเอง
ส่วนการแพร่เชื้อชิคุนกุนยาในทวีปเอเชียต่างจากในทวีปแอฟริกา เนื่องจากวงจรที่พบคือ "วงจรในเมือง" มียุงลายเป็นพาหะนำเชื้อติดต่อไปสู่คนได้ รูปแบบคล้ายคลึงกับโรคติดเชื้อที่นำโดยยุงลายอื่นๆ ซึ่งอุบัติการของโรคเป็นไปตามการแพร่กระจาย และความชุกชุมของยุงลาย โดยเกิดการแพร่ระบาดในทวีปเอเชียครั้งแรกที่เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย ในปี ค.ศ.1963 (พ.ศ.2506) จากนั้นพบการระบาดเป็นครั้งคราว จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2005 – ค.ศ.2006 (พ.ศ.2548 – พ.ศ.2549) พบการระบาดใหญ่ที่หมู่เกาะทางตอนใต้ของอินเดีย มีผู้เสียชีวิต 237 ราย และประชากรหนึ่งในสามติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา
ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ.2006 (พ.ศ.2549) พบการระบาดของไวรัสชิคุนกุนยาในประเทศปากีสถาน ต่อมาในเดือนมกราคม ค.ศ. 2008 (พ.ศ.2551) พบการระบาดในประเทศสิงคโปร์ พบผู้ป่วย 10 ราย โดยทางการสิงคโปร์ได้ออกมาตราการเฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิด ทางด้านประเทศมาเลเซียพบการระบาดของโรคชิคุนกุนยาในเดือนกันยายน ค.ศ.2008 (พ.ศ.2551) มีผู้ป่วย 1,975 ราย กว่าครึ่งอาศัยอยู่ในรัฐยะโฮร์ ส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่มาจากประเทศอินเดีย และคนมาลาเซียที่เดินทางไปท่องเที่ยวประเทศอินเดีย


ในประเทศไทยพบมีการระบาดของโรคชิคุนกุนยา 7 ครั้ง ดังนี้
- ในปี พ.ศ.2531 (ค.ศ.1988)พบการระบาดที่จังหวัดสุรินทร์
- ในปี พ.ศ.2534 (ค.ศ.1991) พบการระบาดที่จังหวัดขอนแก่น และปราจีนบุรี
- ในปี พ.ศ. 2536 (ค.ศ.1993) มีการระบาด 3 ครั้งที่จังหวัดเลย นครศรีธรรมราช และหนองคาย
- ในปี พ.ศ.2551 (ค.ศ.2008) พบการระบาดที่จังหวัดนราธิวาส รายงานผู้ป่วยที่ตำบลละหาร อำเภอยี่งอ
ตั้งแต่เดือนกันยายน 2551 ถึงวันที่ 12 ตุลาคม 2551 พบรายงานผู้ป่วยรวมทั้งหมด 170 ราย ใน 2 จังหวัด คือนราธิวาส ใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอยี่งอ 99 ราย อำเภอเจาะไอร้อง 9 ราย และอำเภอแว้ง 44 ราย และพบที่ อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี จำนวน 18 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
- ในปี พ.ศ. 2552(ค.ศ.2009) การแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาพบในจังหวัดพัทลุง
โดยสำรวจพบผู้ป่วยครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือระหว่าง 25-34 ปี อาชีพที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือกลุ่มเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และอาชีพรับจ้าง อำเภอที่พบผู้ป่วยมากสุดคืออำเภอป่าพะยอม อำเภอกงหรา อำเภอเขาชัยสน และอำเภอเมือง ตามลำดับ โดยผู้ป่วยทั้งหมดได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลอำเภอนั้น ผู้ป่วยทุกรายอยู่ในอาการปลอดภัย นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้นหลังมีผู้ป่วยเดินทางกลับ จากรับจ้างกรีดยางพาราจากจังหวัดใกล้เคียง ทั้ง นี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 พบผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาสะสมจำนวน 20,541 ราย ใน 23 จังหวัด ยังไม่พบผู้เสียชีวิต โดยพบผู้ป่วยจาก 7 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี ตรัง พัทลุง ยะลา นราธิวาส และสตูล
ที่มาของชื่อไวรัสชิคุนกุนยา
ชื่อของเชื้อไวรัสชิคุนกุนยานั้น มาจากคำในภาษา Makonde ซึ่งเป็นภาษาของชนพื้นเมืองในแอฟริกาที่อาศัยอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของ ประเทศแทนซาเนีย และทางตอนเหนือของประเทศโมแซมบิก โดยรากศัพท์พื้นเมืองเดิมเรียกว่า kungunvala ซึ่งมีความหมายเป็นภาษาอังกฤษว่า "That which bends up" สอดคล้องกับลักษณะอาการปวดข้อของโรคนี้
สาเหตุของโรคชิคุนกุนยา
โรคชิคุนกุนยาเกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) ซึ่งเป็น RNA Virus จัดอยู่ใน genus alphavirus และ family Togaviridae ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ ดังนั้นจึงมักพบการระบาดในช่วงฤดูฝนที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะกับการเพาะพันธุ์ ของยุงลาย ซึ่งเมื่อประชากรยุงเพิ่มขึ้น ทำให้มีการติดเชื้อในยุงลายมากขึ้น โดยพบโรคนี้ได้ในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งต่างจากไข้เลือดออก และหัดเยอรมันที่ส่วนมากพบในผู้อายุน้อยกว่า 15 ปี


การติดต่อของโรคชิคุนกุนยา
การติดต่อของโรคชิคุนกุนยาเกิดขึ้นเมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วย ที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสนั้นจะไปเพิ่มจำนวนมากขึ้นในตัวยุง และเมื่อยุงนั้นไปกัดคนอื่นต่อ ก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้เกิดการติดเชื้อโรคชิคุนกุนยาได้ ทั้งนี้ โรคชิคุนกุนยามีระยะฟักตัว 1-12 วัน แต่ช่วง 2-3 วันจะพบบ่อยที่สุด ส่วนในช่วงวันที่ 2-4 วัน จะเป็นช่วงที่มีไข้สูง มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก และสามารถติดต่อกันได้หากมียุงลายมากัดผู้ป่วยในช่วงนี้ และนำเชื้อไปแพร่ยังผู้อื่นต่อ

อาการของโรคชิคุนกุนยา
ผู้ที่เป็นโรคชิคุนกุนยาจะมีไข้สูงอย่างฉับพลัน ร่วมกับอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกหรือข้อ ปวดกระบอกตา หรือมีเลือดออกตามผิวหนัง และอาจมีอาการคันร่วมด้วย ซึ่งดูเผินๆ คล้ายกับโรคไข้เลือดออก หรือหัดเยอรมัน แต่จะไม่มีอาการรุนแรงจนถึงขั้นช็อก หรือเลือดออกมากเช่นโรคไข้เลือดออก
อย่าง ไรก็ตาม โรคชิคุนกุนยาสามารถเป็นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่ผู้ใหญ่จะมีอาการรุนแรงกว่า คือมักจะมีอาการปวดข้อทั้งข้อมือ ข้อเท้า และเป็นข้ออักเสบตามมาด้วย ซึ่งมักจะเปลี่ยนตำแหน่งที่ปวดไปเรื่อยๆ บางครั้งมีอาการรุนแรงมากจนขยับข้อไม่ได้ แต่จะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ หรือบางคนอาจจะปวดเรื้อรังอยู่เป็นเดือนหรือเป็นปีก็ได้ และไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงช็อกจนเสียชีวิต


การรักษาและป้องกันโรคชิคุนกุนยา
ทุกวันนี้ยังไม่มีวัคซีนสำหรับการรักษาและป้องกันโรคชิคุนกุนยา ดังนั้นการรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการ เช่น หากเป็นไข้ก็ให้ยาลดไข้ หรือหากปวดข้อก็ให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น แต่ล่าสุดได้มีผลการศึกษาวิจัยพบว่า ยาคลอโรควิน (Chloroquin) สามารถบรรเทาอาการที่เกิดจากโรคชิคุนกุนยาได้ผลดีเช่นกัน ทั้งนี้ วิธีที่จะสามารถป้องกันโรคชิคุนกุนยาได้ดีที่สุดก็คือ การกำจัดยุงลายอันเป็นตัวพาหะนำโรค โดยต้องหมั่นตรวจดูแหล่งน้ำภายในบ้าน เช่น บ่อ กะละมัง ชาม โอ่งน้ำ ตุ่ม ฯลฯ ควรหาฝาปิดให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงมาวางไข่ หรือให้ใส่ทรายอะเบทในอัตรา 1 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร ลงไปในน้ำก็จะสามารถป้องกันการวางไข่ของยุงลายได้ รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาฉีดพ่นหมอกควันตามอาคารบ้านเรือนที่ มีแหล่งน้ำขังอยู่ เพื่อเป็นการป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลาย

นอกจากนี้ ตัวเราเองก็ต้องป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยการทายากันยุง หรือใช้สารไล่ยุง และสวมเสื้อผ้าที่ป้องกันไม่ให้ยุงกัด รวมทั้งยังต้องเฝ้าสังเกตอาการของคนรอบข้างว่ามีอาการใกล้เคียงกับโรคชิคุ นกุนยาหรือไม่ หากมีอาการคล้ายเคียงหรือต้องสงสัยให้รีบพาไปพบแพทย์โดยเร็ว

จะเห็นว่าแม้โรคชิคุนกุนยาจะไม่ทำอันตรายถึงชีวิต แต่ก็ทำให้คนป่วยได้รับความทุกข์ทรมาน และความรำคาญใจจากอาการปวดได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงควรป้องกัน และเตรียมพร้อมรับมือกับโรคชิคุนกุนยาไว้ก่อนจะดีที่สุดค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น: