วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554

You are what you eat... กินอะไรก็ได้อย่างนั้น

อาหารที่คุณแม่รับประทาน จะส่งผลต่อลูกน้อยของคุณผ่านทางน้ำนมแม่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องของรสชาติ   ลูกน้อยของคุณอาจยังไม่คุ้นเคยกับกลิ่นและรสชาติที่รุนแรงซึ่งอาจเป็นสิ่งที่คุณแม่ชื่นชอบ และ หากคุณดื่มคาเฟอีนหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ฤทธิ์ของคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์อาจส่งผลต่อลูกน้อยของคุณได้



อาหารที่คุณอาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยง
คุณแม่จำนวนมากพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าในช่วงให้นมลูก ควรจะหลีกเลี่ยงหรือจำกัดการรับประทานอาหารรสเผ็ด อาหารที่มีกลิ่นแรง และอาหารรสเปรี้ยวจัด ในความเป็นจริงแล้ว เด็กทุกคนล้วนมีความแตกต่างกัน ดังนั้น ควรสังเกตท่าทางการตอบสนองของลูกน้อยหลังให้นม อย่างไรก็ตาม อาหารและเครื่องดื่มบางอย่างต่อไปนี้อาจส่งผลต่อลูกน้อยของคุณได้

  • แกงต่างๆ ที่รสชาติเผ็ดร้อน อาหารประเภทนี้อาจทำให้คุณและลูกน้อยรู้สึกอึดอัดแน่นท้องและมีลมในกระเพาะ อาหารได้
     
  • คาเฟอีน อาจทำให้คุณรู้สึกกระปรี้กระเปร่าในขณะที่คุณกำลังง่วง แต่นั่นหมายความว่าลูกน้อยของคุณจะนอนไม่หลับด้วยเช่นกัน
     
  • ผลิตภัณฑ์นม หัวหอมใหญ่ กะหล่ำปลีและกะหล่ำดาว   ทั้งหมดนี้อาจทำให้ลูกน้อยของคุณท้องอืดแน่นเฟ้อและทำให้อาการร้องโคลิค แย่ลงไปกว่าเดิม


ลูกน้อยของคุณแพ้อาหารบางอย่างที่คุณรับประทานหรือไม่
หากลูกน้อยของคุณมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อหรือมีผื่นขึ้นหลังกินนม แสดงว่าลูกอาจแพ้ อาหารบางอย่างที่คุณรับประทานเข้าไป นมวัว ถั่วต่างๆ ข้าวสาลี ปลาและไข่ อาหารเหล่านี้เป็นเพียงอาหารบางส่วนที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ หากลูกน้อยมีอาการแพ้อาหาร คุณ แม่ต้องหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่คิดว่าอาจเป็นสาเหตุของการแพ้เป็นเวลา 2 – 3 วัน จากนั้น จึงค่อยให้ลูกลองรับประทานใหม่แล้วคอยสังเกตอาการของลูกน้อย อย่างไรก็ตาม หากสมาชิกในครอบครัวของคุณคนใดคนหนึ่งมีอาการแพ้ถั่ว ขอแนะนำว่าให้คุณหลีกเลี่ยงการรับประทานถั่วทุกชนิดทันที นอกจากนี้ การจดบันทึกเมนูอาหารที่รับประทานในแต่ละวันจะช่วยให้คุณแม่สามารถติดตามการตอบสนองของลูกน้อยหลังจากกินนมได้ง่ายยิ่งขึ้น


การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
พยายามหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงนี้ หรือหากคุณเพิ่งดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ต้องรอให้ผ่านไป 2 – 3 ชั่วโมงก่อนที่จะให้นมลูก เพื่อให้แอลกอฮอล์ถูกขับออกจากร่างกายของคุณเสียก่อน

การดื่มน้ำมากๆ (ประมาณ 12 แก้วต่อวัน) จะช่วยป้องกันร่างกายขาดน้ำและทำให้มีน้ำนมเพียงพอสำหรับลูกน้อยของคุณ

วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อตัวคุณและลูกน้อย


เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่คุณแม่จะต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์หลังตั้งครรภ์ เพื่อให้คุณแม่และลูกน้อยได้รับสารอาหารและพลังงานที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
 
ในช่วงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สารอาหารและพลังงานที่คุณแม่ได้รับจะถูกส่งผ่านไปยังลูกน้อยของคุณ ดังนั้น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นงานที่ทำให้คุณรู้สึกอ่อนเพลีย แต่ก็เป็นงานที่สำคัญอย่างยิ่ง และแม้ว่าคุณอาจจะไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่คุณเองก็ควรได้รับพลังงานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะคุณนอกจากจะต้องสาละวนอยู่กับการดูแลลูกน้อยคนใหม่ตลอดเวลา ยังเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายเริ่มซ่อมแซมตัวเองหลังจากที่คลอดลูกด้วย


คุณแม่ต้องได้รับพลังงานมากขึ้นแค่ไหนในช่วงให้นมลูก
ตารางด้านล่างนี้จะแสดงปริมาณพลังงานที่ร่างกายต้องการเพิ่มขึ้นในช่วงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้ร่างกายมีพลังงานเพียงพออยู่เสมอ




1 เดือน


2 เดือน


3 เดือน


4-6 เดือนต่อจากนี้


6 เดือนขึ้นไป


450 กิโลแคลอรี่


530 กิโลแคลอรี่


570 กิโลแคลอรี่


480-570* กิโลแคลอรี่


240-550* กิโลแคลอรี่


*ขึ้นอยู่กับว่าเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นหลักหรือไม่  
 
และเมื่อคุณเริ่มให้ลูกหย่านม คุณแม่ก็สามารถกลับไปรับประทานอาหารที่มีปริมาณพลังงานเท่าเดิมได้
 
หมายเหตุ: Thai RDI แนะนำให้คุณแม่ที่ให้นมลูกในช่วง 0-11 เดือนควรได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นอีก 500 กิโลแคลอรี่


การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอยู่เสมอ

โภชนาการที่ดีไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงปริมาณอาหารที่คุณแม่รับประทานเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับอาหารที่รับประทานอีกด้วย คุณแม่หลายท่าน ร่างกายจะขาดธาตุเหล็กเมื่อมีลูก ดังนั้น จึงควรรับประทานอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็กมากๆ เช่น  ผักใบเขียวหรือเนื้อแดง นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องรับประทานเมล็ดพืชไม่ขัดขาว ธัญพืช ผักและผลไม้ต่างๆ อีกด้วย และอาจทานอาหารประเภทโปรตีนและแคลเซียมเพิ่มขึ้นด้วยก็ได้ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพจะช่วยให้คุณแม่และลูกน้อยได้รับพลังงานที่เพียงพอต่อความต้องการ และคุณแม่ยังสามารถรับประทานอาหารว่างได้เหมือนเดิม

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554

จะตั้งครรภ์ได้หรือไม่หากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

คำตอบก็คือได้ เป็นเรื่องจริงที่ว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถือเป็นการคุมกำเนิดตามธรรมชาติเพราะฮอร์โมนที่สร้างน้ำนมนั้นช่วยป้องกันการตกไข่ และนั่นเป็นเหตุผลที่คุณแม่หลายคนไม่มีประจำเดือนในขณะที่ลูกยังกินนมแม่ อย่างไรก็ตาม นั่นไม่ได้เป็นการรับประกันแต่อย่างใด ดังนั้นคุณยังคงต้องคุมกำเนิดด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง

และอย่าคิดว่าการที่ยังไม่มีประจำเดือนนั้นจะทำให้คุณตั้งครรภ์ไม่ได้ เพราะร่างกายคุณจะสมบูรณ์พร้อมตั้งครรภ์ในช่วงสองสัปดาห์ก่อนที่จะมีประจำเดือนครั้งแรก เนื่องจากไม่มีการเตือนล่วงหน้าว่าเมื่อไหร่ที่คุณจะเริ่มมีประจำเดือนอีก จึงควรป้องกันไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัย


การใช้ยาคุมกำเนิดในช่วงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นวิธีที่ปลอดภัยหรือไม่ คุณอาจใช้วิธีการคุมกำเนิดได้เกือบทุกวิธีอย่างปลอดภัยในช่วงที่ลูกกินนมแม่ ยกเว้นวิธีการใช้ยาคุมกำเนิดเพราะจะส่งผลต่อการไหลของน้ำนม


จะปรึกษาใครได้บ้างเกี่ยวกับวิธีการคุมกำเนิด ประมาณหกถึงแปดสัปดาห์หลังจากคลอดลูก คุณจะต้องให้แพทย์ตรวจร่างกาย เป็นโอกาสดีที่คุณจะถามคำถามเกี่ยวกับการคุมกำเนิด หรือคุณอาจไปคลินิกวางแผนครอบครัวใกล้บ้านก็ได้

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การรักษาสมดุลของความสัมพันธ์ในครอบครัว


ในช่วง 2-3 เดือนแรก การดูแลลูกอาจจะเป็นงานที่คุณรู้สึกหนักใจมากกว่างานประจำเสียอีก ตามปกติคุณจะทุ่มเทเวลาและความสนใจที่ตัวลูก ทั้งการให้นมลูกและการเปลี่ยนผ้าอ้อม ( ไม่รวมถึงการกอดลูกอยู่เสมอ ) ความสัมพันธ์ของคุณกับสามีอาจสั่นคลอนได้ง่าย แต่การทำให้คุณทั้งสองคนมีความสุขนั้นมีหลายวิธี
วิธีการสร้างความสดใสให้ชีวิตคู่

ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับที่จะช่วยรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับสามีให้ราบรื่น :

  • พูดคุยกัน การบอกเล่าความรู้สึกของกันและกันจะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างคุณกับสามีได้ และควรพยายามพูดคุยกันเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับลูกบ้างเพื่อให้มีความสัมพันธ์ด้านอื่นด้วย
  • ให้สามีมีส่วนร่วม เพราะจะช่วยไม่ให้เขารู้สึกว่าถูกทอดทิ้งและยังช่วยลดแรงกดดันที่ตัวคุณอีกด้วย หลังจากที่ได้ตื่นเต้นมาด้วยกันตลอดระยะเวลา 9 เดือนของการตั้งครรภ์ สามีก็อยากจะมีส่วนร่วมในการดูแลลูกบ้าง แล้วทำไมถึงไม่ให้เขามาช่วยเลี้ยงลูกบ้างล่ะ หรือลองหาวิธีอื่นที่คุณพ่อสามารถช่วยได้
  • มีเวลาให้กันและกัน และทำอะไรด้วยกัน ไม่ว่าจะนั่งรับประทานอาหารกันสักมื้อ หรือเพียงกอดและหอมแก้ม เพราะไม่ได้มีเพียงลูกเท่านั้นที่รู้สึกอยากใกล้ชิดกับคุณ

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วิธีที่ทำให้ลูกเลิกอิจฉาน้อง


ขณะที่คุณกำลังรู้สึกตื่นเต้นที่จะได้พาลูกน้อยกลับบ้าน คนที่เป็นพี่อาจเห็นว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลง แม้ว่าคุณจะให้ลูกคนที่เป็นพี่ได้มีส่วนร่วมตั้งแต่ตั้งครรภ์ แต่ก็ยังคงเป็นเรื่องที่น่าตกใจเมื่อพบว่าเขาจะไม่ได้รับความสนใจทั้งหมดจากคุณอีกต่อไป เขาอาจรู้สึกราวกับว่าสมาชิกใหม่ของครอบครัวกำลังทำให้เขาเป็นส่วนเกิน ดังนั้น ให้บอกลูกว่าคุณรักเขาและเขาสำคัญสำหรับคุณเสมอ ทำให้เขาได้รู้สึกว่ามีส่วนร่วมในชีวิตใหม่ของน้องน้อย อาจให้เขาช่วยเลือกเสื้อผ้า เข็นรถเข็นเด็ก หรือซื้อของขวัญเตรียมให้น้อง

การแนะนำสมาชิกใหม่ในครอบครัว
ความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องอาจเปลี่ยนเป็นความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันฉันท์เพื่อน ในขณะที่ความสัมพันธ์แบบอื่นอาจจะแตกต่างกันไป แม้แต่เพื่อนที่รักกันที่สุดก็อาจทะเลาะกันก็ได้ ทั้งนี้ล้วนขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพของลูกๆ แต่การเตรียมความพร้อมให้ลูกเพื่อต้อนรับสมาชิกใหม่สามารถสร้างความสัมพันธ์ให้เหนียวแน่นได้ตั้งแต่เริ่มต้น

  •  อาจเป็นเรื่องยากสำหรับลูกวัยกำลังหัดเดินที่จะเข้าใจทุกเรื่องที่ไม่ได้มีผลต่อเขาโดยตรง ดังนั้นเมื่อคุณแนะนำสมาชิกใหม่ให้ลูกวัยหัดเดินได้รู้จัก ให้อธิบายสิ่งดีๆ ที่จะเกิดขึ้นสำหรับเขาเมื่อมีน้องชายหรือน้องสาวเพิ่มเข้ามา
  • พวกพี่ๆ อาจเพลิดเพลินกับการได้รับการแนะนำตัวว่าเป็น ‘ พี่ใหญ่ ’ และได้รับหน้าที่สำหรับเด็กโตให้ช่วยเลี้ยงน้อง

ใช้เวลากับลูกๆ

สิ่งสำคัญก็คือคุณหรือสามีต้องให้เวลากับลูกอย่างเต็มที่ จริงๆ แล้ว สามีของคุณน่าจะมีวันพิเศษพาลูกๆ ออกไปนอกบ้านซึ่งจะทำให้พวกเขารู้สึกพิเศษ และหากลูกเริ่มทำตัวเหมือนเด็กวัยแบเบาะ ให้เตือนลูกว่ามีเรื่องสนุกๆ ที่พวกเขาสามารถทำได้เพราะโตแล้ว ก็เหมือนกับเรื่องอื่นๆ ที่คุณต้องจัดการกับลูกๆ ให้ระลึกไว้เสมอว่าจงอดทน และ ทำวันนี้ให้ดีที่สุด


แม้ว่าอาจใช้เวลาบ้างในการทำความคุ้นเคยกับสมาชิกใหม่ของครอบครัว แต่การสร้างความสัมพันธ์ไม่ใช่เรื่องยากเสมอไปและในไม่ช้าลูกคนที่เป็นพี่ก็จะรู้สึกชอบที่มีเพื่อนเล่นด้วย

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สัญญาณบ่งบอกความรู้สึกซึมเศร้าหลังคลอด


โดยทั่วไป ความรู้สึกซึมเศร้าหลังคลอด (Postnatal Depression) จะเกิดขึ้นในช่วงหกสัปดาห์แรกหลังคลอดลูก แต่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาจนกว่าลูกของคุณจะถึงวัยเตาะแตะ และมีแนวโน้มที่จะประสบภาวะเช่นนี้มากขึ้นหากคุณหรือคนในครอบครัวของคุณมีประวัติการซึมเศร้า
 
ความรู้สึกเช่นนี้จะมีผลกับบุคคลต่างๆ ในรูปแบบที่แตกต่างกัน แต่มีอาการบางอย่างที่คุณอาจสังเกตได้เช่น
 
  • ตื่นตระหนกหรือหวั่นกลัว
  • รู้สึกกังวลอยู่ตลอดเวลาเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยของตัวคุณเองและคนรอบข้าง
  • รู้สึกว่าคุณเป็นแม่หรือเป็นคนที่ไม่ดี
  • รู้สึกหมดหวังตลอดเวลา
  • ร้องไห้บ่อยๆ โดยไม่มีสาเหตุที่แท้จริง
  • อยากนอนอยู่ตลอดเวลาแต่ไม่เคยรู้สึกว่าได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • หลับยาก
  • รู้สึกเหมือนกับว่าคุณต้องทำเป็น ‘ ไม่กลัว ’ ต่อหน้าคนอื่นๆ
  • ไม่สามารถพูดถึงการคลอดลูกได้หรือพูดเรื่องนี้ไม่หยุดเพราะรู้สึกว่าควบคุมไม่ได้
  • รู้สึกว่าชีวิตไม่มีค่าตั้งแต่คลอดลูก
  • รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า
  • คิดว่าคุณไม่ผูกพันกับลูกหรือไม่มีความรู้สึกใดๆ กับลูก
  • รู้สึกว่าตัวเองไม่สบายเช่น เจ็บหน้าอก หายใจติดขัด ปวดศีรษะ วิงเวียน เจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ และแน่นท้อง
  • ไม่รับรู้เรื่องเวลาและไม่สามารถบอกความแตกต่างระหว่างสองสามนาทีกับสองสามชั่วโมง 
สิ่งที่ควรทำหากคิดว่าคุณมีอาการซึมเศร้าหลังคลอด

หากคุณรู้สึกว่ามีอาการซึมเศร้าหลังคลอด ให้ปรึกษาสูติแพทย์หรือกุมารแพทย์ถึงอาการเหล่านี้ พวกเขาสามารถช่วยคุณได้ดีที่สุด นอกจากนี้ เราก็มีคำแนะนำเบื้องต้น ที่จะช่วยให้คุณผ่อนคลายจากอาการซึมเศร้า ดังนี้

  • อย่าเก็บความรู้สึกของคุณไว้ พูดคุยกับสามี เพื่อนสนิท ญาติ หรือคุณแม่คนอื่นๆ บ้าง เกี่ยวกับสิ่งที่คุณกำลังเผชิญอยู่
  • อย่าพยายามทำสิ่งต่างๆ มากเกินไปในแต่ละวัน
  • ยอมรับความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง
  • หาเวลาพักผ่อน
  • อย่ารู้สึกผิดที่คุณรู้สึกซึมเศร้า

วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อาการหดหู่หลังคลอด


เป็นรูปแบบหนึ่งที่พบบ่อยของอาการซึมเศร้าหลังคลอด โชคดีที่ภาวะนี้ถือว่ามีความรุนแรงน้อยที่สุด โดยคุณไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อรักษา อาการหดหู่หลังคลอดจะเกิดขึ้นหลังคลอด ซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ในช่วงวันที่ 3 -10 หลังคลอด ตามปกติ คุณจะรู้สึกอยากร้องไห้และหงุดหงิด ถึงแม้จะยังไม่มีใครสามารถบอกสาเหตุได้แน่ชัด แต่อาการนี้ อาจเกิดจากฮอร์โมนในช่วงตั้งครรภ์และความรู้สึกผิดหวังหลังการคลอด นอกจากนี้ เมื่อทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งใหม่ เป็นธรรมดาที่คุณแม่หลายท่านจะรู้สึกเหมือนกับว่าไม่สามารถจัดการเรื่องต่างๆ ได้เลย และจากการที่คุณแม่ต้องประสบภาวะการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกายและอารมณ์เช่นนี้ จึงไม่น่าแปลกใจเลย ที่คุณแม่จะร้องไห้

 
ระยะเวลาของอาการจะนานแค่ไหน

อาการหดหู่ไม่ควรจะนานเกิน2 -3 วัน การพักผ่อนมากๆ และการได้รับกำลังใจจากครอบครัวและเพื่อนฝูงเป็นสิ่งที่ทำให้คุณผ่านพ้นภาวะนี้ไปได้ แต่หากคุณยังคงรู้สึกหดหู่หลังจากผ่านไป 10 วัน ควรปรึกษาสูติแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์ทันที

คนใกล้ชิดและคนรักจะช่วยคุณได้อย่างไร

การรับฟังและอ้อมกอดอันอบอุ่นจะช่วยบรรเทาความรู้สึกหดหู่ได้อย่างที่คุณอาจนึกไม่ถึง คุณต้องการกำลังใจและความอดทนอย่างมากจากสามี ครอบครัว และเพื่อนฝูง ดังนั้น เอ่ยปากขอให้คนรอบข้างช่วยเหลือได้เลยหากพวกเขายินดี แม้ว่าจะเป็นเพียงการแวะมาพูดคุยที่บ้านเท่านั้นก็ตาม สิ่งสำคัญก็คือคุณต้องเข้าใจว่าคุณแม่หลายคนก็มีปัญหาเช่นเดียวกับคุณ ไม่ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติอะไร และสามารถช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้ภายใน 2-3 วัน หากคนรอบข้างยินดีช่วยคุณ 

วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เหตุใดคุณจึงต้องการ ‘ เวลาส่วนตัว


มีเหตุผลต่างๆ มากมายที่คุณควรมี ‘เวลาส่วนตัว’
  • การได้พักจากการเป็นคุณแม่สักชั่วโมงหนึ่งจะช่วยให้คุณได้เติมพลังอย่างแท้จริง
  • คุณจะมีโอกาสได้ทำสิ่งต่างๆ ที่คุณเคยชอบก่อนที่คุณจะมีลูก !
  • การใช้เวลาพบปะพูดคุยกับผู้ใหญ่คนอื่นๆ อาจเป็นช่วงเวลาที่มีประโยชน์มาก บางครั้งการสนทนากับคนเหล่านั้นบ้างอาจดีกว่าการที่ต้องคุยกับลูกตลอดทั้งวั น!
  • เวลาพักสักเล็กน้อยสามารถทำให้คุณกลับไปดูแลลูกได้อย่างสดชื่นและกระฉับกระเฉง

ดังนั้นจึงควรให้เพื่อนๆ และครอบครัวทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น จัดสรรเวลาที่คุณมีและทำสิ่งที่ต้องการหรืออยากทำจริงๆ ตั้งแต่การแช่ตัวในอ่างอาบน้ำเงียบๆ สักระยะหนึ่ง ออกกำลังกาย หรือไม่ก็ปรนนิบัติตัวเอง สิ่งที่สำคัญคือคุณต้องมีเวลาพักบ้าง


พบปะพูดคุยกับคุณแม่และคนอื่นๆ

โดยทั่วไปการได้พูดคุยกับคนที่อยู่ในสถานการณ์เดียวกันมักจะเป็นประโยชน์ คุณสามารถบอกเล่าเรื่องราวที่กังวล หรือเรื่องอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับลูก ให้กันและกันฟังได้อย่างสบายใจ ดังนั้นพยายามพบปะผู้คนใหม่ๆ บ้าง ไม่ยากอย่างที่คุณคิด เพราะ ปัจจุบันมีสถานที่ที่คุณสามารถสนทนากับคุณแม่คนอื่นๆ ได้หลายแห่งด้วยกัน เช่น :

ลองมองหากลุ่มแม่และลูก เช่น กลุ่มเด็กที่เรียนว่ายน้ำหรือเล่นดนตรี หรือกลุ่มคุณแม่หลังคลอด วิธีการเหล่านี้เป็นวิธีที่สนุกเพื่อให้ลูกของคุณกระตือรือร้น ทำให้คุณได้ออกนอกบ้านบ้าง และได้พบปะกับผู้ปกครองคนอื่นๆ ในเมืองและหมู่บ้านต่างๆ มักมีกลุ่มแม่และเด็กในละแวกนั้น ซึ่งอาสาสมัครจะรวมกลุ่มในศูนย์กลางของชุมชนหรือพื้นที่ประชุมในหมู่บ้าน หรืออาจดูว่าในพื้นที่ที่คุณอยู่นั้นมีโครงการให้ความรู้และคำแนะนำเรื่องการเลี้ยงดูเด็กหรือไม่ เพียงแค่คุณไปเข้าร่วมโครงการ

  •  พูดคุยกับคุณแม่คนอื่นๆ ที่คุณพบในชั้นเรียนเตรียมเป็นคุณแม่หรือหอพักฟื้นหลังคลอด และคุณแม่คนอื่นก็น่าจะเพลิดเพลินกับการพูดคุยกันด้วย.
  • ต้องการพบบุคคลอื่นๆ ที่รู้ดีว่าคุณกำลังอยู่ในสภาวะใดหรือไม่ เพื่อนบ้านของดูเม็กซ์จะคอยเป็นที่ปรึกษาเมื่อคุณต้องการ คุณจะพบคุณแม่คนใหม่ที่เป็นแม่พร้อมๆ กับคุณ มีลูกวัยเดียวกับคุณ หรืออยู่ในละแวกบ้านของคุณ และ ห้องสนทนาสำหรับคุณแม่และว่าที่คุณแม่ของดูเม็กซ์ เป็นที่ที่คุณจะได้พูดคุยหากคุณออกจากบ้านไม่ได้และบรรดาคุณแม่ในห้องสนทนามักจะมีประสบการณ์ต่างๆ ที่จะมาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องการเป็นแม่ ตั้งแต่เคล็ดลับประจำวันที่เป็นประโยชน์ไปจนถึงการให้กำลังใจอย่างเป็นมิตร

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เคล็ดลับเพื่อช่วยให้คุณได้นอนหลับมากขึ้น

  • หากคุณสามารถกำหนดกิจวัตรประจำวัน บางอย่างซึ่งทำให้ลูกหลับเป็นเวลาในช่วงกลางวันและตัวคุณเองก็มีโอกาสได้พักผ่อนด้วย ก็จะช่วยขจัดปัญหาการอดนอนไปได้มาก เลือกเวลาที่เหมาะสมที่สุดทั้งสำหรับตัวคุณและลูก โดยอาจเป็นเวลาหลังมื้อนมตอนกลางวันและกำหนดเป็น ‘ช่วงเวลาของการนอน’ หรือเวลาที่เงียบสงบ
  • คุณแม่หลายคนพบว่าการจดจำงานเล็กๆ น้อยๆ ที่ต้องทำมักทำให้หลับไม่ลง ดังนั้นเคล็ดลับก็คือให้จดสิ่งต่างๆ ไว้ในกระดาษเพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องจดจำงานเหล่านั้นก่อนจะงีบหลับ
  •   เวลานอนอันสุขสงบที่เป็นกิจวัตรของลูกน้อยเป็นสิ่งจำเป็นและได้ผลอย่างไม่น่าเชื่อ พยายามทำจิตใจและอารมณ์ให้สงบอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงก่อนนอน เวลานอนที่เป็นกิจวัตรหมายถึงคุณจะมีเวลาให้ตัวเองได้พักผ่อน โดยรู้ว่าลูกน้อยก็นอนหลับสบายอยู่ในเตียง
  • เมื่อใดก็ตามที่ลูกร้องหาคุณกลางดึก การหรี่ไฟในห้องให้มืดสลัวจะทำให้คุณหลับได้ง่ายขึ้นเมื่อกลับไปที่เตียง
  • ให้สามีผลัดกันดูแลลูกในช่วงเช้าของวันหยุดสุดสัปดาห์ และคุณหรือสามีนอนพักวันเสาร์ ส่วนอีกคนหนึ่งก็นอนตอนเช้าวันอาทิตย์ หวังว่าทั้งคุณและสามีคงจะได้อยู่เลี้ยงดูลูกช่วงกลางคืนบ้างไม่ว่าจะเป็นเวลานานเพียงใดก็ตาม


เคล็ดลับเพื่อช่วยขจัดความเหนื่อยล้า

ทำตัวให้กระฉับกระเฉงในระหว่างวัน:
ถึงแม้ว่าการหลับตามปกติของหนูน้อยจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่คุณทั้งสองยังต้องตื่นตัวอยู่ในเวลากลางวัน การออกกำลังกาย ตามปกติ จะช่วยให้คุณมีพลังมากขึ้น และทำให้คุณหลับได้ง่ายขึ้นหรือได้งีบหลับในเวลาสั้นๆ
คุณไม่จำเป็นต้องไปฟิตเนส แค่ออกไปสูดอากาศบริสุทธิ์ก็ช่วยได้แล้ว ดังนั้นจึงควรแวะเวียนไปหาเพื่อน พาลูกนั่งรถเข็นไปเดินเล่นนอกบ้าน หรืออะไรก็ตามที่จะทำให้คุณรู้สึกหายเหนื่อยในช่วงเย็น และหากคุณอยากรู้สึกกระปรี้กระเปร่า ลองอาบน้ำด้วยน้ำเย็น ใช้น้ำมันอโรมาเธอราปีหรือเทียนหอมดูบ้าง
 
การรับประทานอาหารเพื่อเพิ่มพลังงาน:
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และอาหารที่อยู่ท้อง เช่น พาสต้าแบบโฮลวีตหรือผลไม้ที่จะไม่ทำให้คุณรู้สึกสดชื่นภายในพริบตาแต่เฉื่อยชาหลังจากนั้น และดื่มน้ำมากๆ !

มองโลกในแง่ดี:

หากคุณรู้สึกเหนื่อยและแย่ ให้ท่องให้ขึ้นใจอยู่เสมอว่าสักวันก็จะสิ้นสุดลง กอดลูกและจำไว้ว่าเขามีค่ามากเพียงใด

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ข้อแนะนำคุณแม่มือใหม่

เป็นเรื่องธรรมดาที่คุณอาจรู้สึกอิ่มเอมใจในช่วงเริ่มต้น คุณแม่ควรจำไว้ว่า ทุกอย่างจะง่ายขึ้นเมื่อคุณเริ่มคุ้นเคยกับ กิจวัตรประจำวันของลูกน้อย ดังนั้นในช่วงสัปดาห์แรกๆ คุณควรให้ความสนใจที่ลูกและตัวคุณเองเป็นสำคัญ อย่าพยายามทำอะไรมากเกินไป ควรขอให้คนอื่นช่วยแบ่งเบาบ้าง ไม่ต้องอาย แล้วคุณจะรู้ว่าจริงๆแล้ว หลายๆคนเต็มใจที่จะช่วยเหลือคุณเสมอ


ขอคำแนะนำ หากต้องการคำแนะนำ คุณควรปรึกษาสามี ครอบครัว เพื่อนฝูง พยาบาลเยี่ยมเยียน หรือแพทย์ พวกเขาก็พร้อมให้คำแนะนำคุณเต็มที่ นอกจากนี้ ปัจจุบัน คุณแม่หลายท่านพบว่า ห้องสนทนาต่างๆในเว็บไซต์ก็ยังเป็นที่ที่ให้คำแนะนำ ให้ความช่วยเหลือ และเคล็ดลับที่เป็นประโยชน์ต่างๆ มากมายต่อคุณแม่มือใหม่อีกด้วย นอกจากนี้ การทำความรู้จักกับกลุ่มแม่มือใหม่ในละแวกบ้านของคุณก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะจะช่วยให้คุณได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และได้พูดคุยกับคุณแม่ท่านอื่นที่อาจจะอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน และนั่นจะทำให้คุณไม่รู้สึกโดดเดี่ยว เพราะคุณแม่ท่านอื่นๆนั้น ก็มีความรู้สึกคล้ายๆ กัน กับคุณนั่นเอง
 

มั่นใจในสัญชาตญาณของแม่

คุณไม่จำเป็นต้องคอยกังวลจนเกินไปว่าคุณทำทุกอย่างถูกหรือเปล่า ตราบใดที่คุณใช้สามัญสำนึกของความเป็นแม่ รับรองว่าสิ่งที่คุณทำลงไปจะได้ผลดีแน่นอน นอกจากนี้ เราสามารถช่วยคุณได้ด้วยการให้คำแนะนำในเชิงปฏิบัติแก่คุณแม่ในเรื่องต่างๆ เช่น วิธีการอุ้มลูกน้อย การให้นม วิธีเปลี่ยนผ้าอ้อม ตลอดจน เคล็ดลับและคำแนะนำอีกมากมายที่นำไปใช้ได้จริง

เปิดโอกาสให้คนอื่นช่วยเหลือ
อย่าพยายามทำทุกอย่างด้วยตนเองคนเดียว ควรยอมให้เพื่อนฝูงหรือครอบครัวช่วยคุณบ้าง มีหลายคนที่เต็มใจจะให้ความช่วยเหลือ เพียงแต่พวกเขาอาจไม่รู้ว่าจะช่วยคุณได้อย่างไร ดังนั้นอย่าเกรงใจที่จะบอกให้พวกเขารู้ ลองดูตัวอย่างคำแนะนำในการขอความช่วยเหลือจากคนอื่น ดังนี้ :

  • แทนที่คุณจะคอยวิ่งวุ่นหาน้ำชา กาแฟ และขนมมาต้อนรับสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนสนิทที่แวะมาเยี่ยม ก็เพียงแต่บอกให้พวกเขาทราบว่าครัวอยู่ตรงไหน และขอให้พวกเขาช่วยเสียบกาน้ำร้อนสำหรับชง ชา/ กาแฟเองตามสบาย ถ้าโชคดี พวกเขาอาจลงมือทำอาหารกลางวันอร่อยๆ ให้คุณทานด้วยซ้ำ

  • คุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย และเพื่อนฝูงของคุณบางคนที่รักเด็ก มักจะอยากอุ้มอยากกอดทารกน้อยจนทนไม่ไหว ควรใช้โอกาสนี้ในการปล่อยให้พวกเขาได้ใช้เวลาอยู่กับทารกน้อยและเพลิดเพลินกับการทำความรู้จักสมาชิกคนใหม่ในครอบครัว

  • การไปช้อปปิ้งกับทารกน้อยอาจไม่ใช่เรื่องน่าสนุกนัก รู้อย่างนี้แล้ว ทำไมคุณไม่ลองขอให้คนอื่นช่วยซื้อของที่จำเป็นมาให้สักสองสามอย่างล่ะ เวลาที่พวกเขาไปซูเปอร์มาร์เก็ตหรือเข้าเมือง

อย่าลืมดูแลตัวเองด้วย

คุณแม่ส่วนใหญ่มักลืมไปว่าการดูแลทารกแรกเกิดนั้นต้องใช้พลังอย่างมาก ดังนั้นคุณ จึงควรใส่ใจดูแลตัวเองด้วยเช่นกัน อย่างน้อยๆ คุณแม่จำเป็นต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเพื่อเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อมรับมือกับความ