เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่คุณแม่จะต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์หลังตั้งครรภ์
เพื่อให้คุณแม่และลูกน้อยได้รับสารอาหารและพลังงานที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
ในช่วงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สารอาหารและพลังงานที่คุณแม่ได้รับจะถูกส่งผ่านไปยังลูกน้อยของคุณ ดังนั้น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นงานที่ทำให้คุณรู้สึกอ่อนเพลีย แต่ก็เป็นงานที่สำคัญอย่างยิ่ง และแม้ว่าคุณอาจจะไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่คุณเองก็ควรได้รับพลังงานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะคุณนอกจากจะต้องสาละวนอยู่กับการดูแลลูกน้อยคนใหม่ตลอดเวลา ยังเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายเริ่มซ่อมแซมตัวเองหลังจากที่คลอดลูกด้วย
ในช่วงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สารอาหารและพลังงานที่คุณแม่ได้รับจะถูกส่งผ่านไปยังลูกน้อยของคุณ ดังนั้น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นงานที่ทำให้คุณรู้สึกอ่อนเพลีย แต่ก็เป็นงานที่สำคัญอย่างยิ่ง และแม้ว่าคุณอาจจะไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่คุณเองก็ควรได้รับพลังงานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะคุณนอกจากจะต้องสาละวนอยู่กับการดูแลลูกน้อยคนใหม่ตลอดเวลา ยังเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายเริ่มซ่อมแซมตัวเองหลังจากที่คลอดลูกด้วย
คุณแม่ต้องได้รับพลังงานมากขึ้นแค่ไหนในช่วงให้นมลูก
ตารางด้านล่างนี้จะแสดงปริมาณพลังงานที่ร่างกายต้องการเพิ่มขึ้นในช่วงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้ร่างกายมีพลังงานเพียงพออยู่เสมอ
1 เดือน |
2 เดือน |
3 เดือน |
4-6 เดือนต่อจากนี้ |
6 เดือนขึ้นไป |
450 กิโลแคลอรี่ |
530 กิโลแคลอรี่ |
570 กิโลแคลอรี่ |
480-570* กิโลแคลอรี่ |
240-550* กิโลแคลอรี่ |
*ขึ้นอยู่กับว่าเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นหลักหรือไม่
และเมื่อคุณเริ่มให้ลูกหย่านม คุณแม่ก็สามารถกลับไปรับประทานอาหารที่มีปริมาณพลังงานเท่าเดิมได้
หมายเหตุ: Thai RDI แนะนำให้คุณแม่ที่ให้นมลูกในช่วง 0-11 เดือนควรได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นอีก 500 กิโลแคลอรี่
การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอยู่เสมอ
โภชนาการที่ดีไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงปริมาณอาหารที่คุณแม่รับประทานเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับอาหารที่รับประทานอีกด้วย คุณแม่หลายท่าน ร่างกายจะขาดธาตุเหล็กเมื่อมีลูก ดังนั้น จึงควรรับประทานอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็กมากๆ เช่น ผักใบเขียวหรือเนื้อแดง นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องรับประทานเมล็ดพืชไม่ขัดขาว ธัญพืช ผักและผลไม้ต่างๆ อีกด้วย และอาจทานอาหารประเภทโปรตีนและแคลเซียมเพิ่มขึ้นด้วยก็ได้ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพจะช่วยให้คุณแม่และลูกน้อยได้รับพลังงานที่เพียงพอต่อความต้องการ และคุณแม่ยังสามารถรับประทานอาหารว่างได้เหมือนเดิม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น