เห็ดขี้ควาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Psilocybe cubensis Earle
ชื่อพ้อง Stropharia cubensis Earle
วงศ์ Strophariaceae
ชื่ออื่นๆ เห็ดขี้วัวขี้ควาย เห็ดเมา เห็ดโอสถลวงจิต magic mushroom golden tops
ลักษณะ เห็ดขี้ควาย เป็นเห็ดพิษซึ่งขึ้นอยู่บนมูลควาย พบได้ทั่วไปแทบทุกภาคของประเทศไทย ลักษณะของเห็ดขี้ควาย คือหมวกเห็ดเมื่อบานใหม่ๆ รูปคล้ายร่ม เมื่อบานเต็มที่จะโค้งขึ้น ตรงกลางเว้าตื้น ผิวสีฟางข้าวอมเหลือง กลางหมวกสีน้ำตาล อมเหลือง ครีบสีน้ำตาลดำ ใต้หมวกมีแอนนูลัสสีขาวนวลแผ่เป็นแผ่นบางห้อยติดกับก้าน (1)
เห็ดขี้ควาย เป็นเห็ดพิษซึ่งขึ้นอยู่บนมูลควาย พบได้ทั่วไปแทบทุกภาคของประเทศไทย ลักษณะของเห็ดขี้ควาย คือหมวกเห็ดเมื่อบานใหม่ๆ รูปคล้ายร่ม เมื่อบานเต็มที่จะโค้งขึ้น ตรงกลางเว้าตื้น ผิวสีฟางข้าวอมเหลือง กลางหมวกสีน้ำตาล อมเหลือง ครีบสีน้ำตาลดำ ใต้หมวกมีแอนนูลัสสีขาวนวลแผ่เป็นแผ่นบางห้อยติดกับก้าน (1)
ตัวอย่างผู้ป่วย
ใน ปี 2528 มีรายงานการนำเห็ดขี้ควายมารับประทานและเกิดอาการพิษ โดย โรงพยาบาลที่เกาะสมุยได้รับคนไข้ชาวต่างชาติซึ่งมีอาการมึนเมา คลื่นไส้ อาเจียน เนื่องจาก รับประทานเห็ดชนิดนี้ (2) นอกจากนี้ยังพบว่านักท่องเที่ยว บางกลุ่มที่มายัง เกาะสมุยและเกาะพงัน จะนิยมเสพหรือบริโภคเห็ดขี้ควาย ทำให้เกิดอาการมึนเมา (3)
สารที่ทำให้เกิดพิษ
สารพิษที่ทำให้เกิดอาการมึนเมาหรือประสาทหลอนในเห็ดขี้ควาย คือ psilocybin ซึ่งเมื่อเข้าไปใน
ร่างกายจะเปลี่ยนเป็น psilocin ซึ่งมีสูตรโครงสร้างคล้าย serotonin จึงไปรบกวนการทำงานของ serotonin (4) ขนาดของสาร psilocybin ที่ทำให้เกิดอาการพิษ คือ 3.5-12 มก. (หรือ 4-8 มก.) หรือรับประทานเห็ดแห้ง 1-4 กรัม ซึ่งจะเทียบเท่ากับเห็ด 15-20 ดอก (5)
อาการพิษ
ภายใน 10-30 นาที หลังจากรับประทานเห็ดเข้าไป จะมีอาการกระวนกระวาย เครียด มึนงง เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย และมักจะหาว กล้ามเนื้อกระตุก สั่น หนาวๆ ร้อนๆ แขนขาเคลื่อนไหวไม่ได้ ริมฝีปากชา คลื่นไส้ โดยทั่วไปไม่อาเจียน ภายใน 30-60 นาที จะมีอาการผิดปกติของตา เช่น เห็นเป็นสีต่างๆ ขณะที่ปิดตา ระบบการรับรู้เรื่องเวลาผิดไป มีอาการเคลิ้มฝัน และการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ เช่น รู้สึกเศร้า มีความรู้สึกเหมือนฝัน และเปลี่ยนบุคลิก ไม่มีสมาธิ และไม่สามารถแสดงความรู้สึกได้ถูกต้อง เหงื่อแตก หาว น้ำตาไหล หน้าแดง ม่านตาขยาย หัวใจเต้นแรง ใน 1-2 ชั่วโมง ความผิดปกติของตาจะเพิ่มมากขึ้น มีอาการฝันต่างๆ ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปใน 2-4 ชั่วโมง แต่บางรายอาการอาจจะนานถึง 6-8 ชั่วโมง อาการจะหายไปเองโดยไม่มีอาการค้าง นอกจากอาจมีอาการปวดหัวหรืออ่อนเพลีย มีน้อยมากที่พบอาการซิโซฟรีเนีย ในเด็กอาการที่พบมีม่านตาขยาย ไข้สูง โคม่า และมีอาการชัก
การรักษา
1. ให้ syrup of ipecac หรือล้างท้องภายใน 30 นาที หลังจากรับประทานเห็ดเข้าไป
2. เนื่องจากอาการพิษไม่รุนแรง โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องให้การรักษาพิเศษ ยกเว้นในเด็กควรระวังเรื่องไข้ โคม่า และชัก
3. ในผู้ป่วยที่มีอาการตื่นตระหนก สับสน อาจใช้วิธีปลอบใจเช่นเดียวกับคนเมากัญชา
4. อาจจำเป็นต้องให้ยาสงบประสาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น