ข้อมูลโภชนาการเด็กวัยเตาะแตะ (อายุ 1-3 ปี) และเด็กเล็ก (อายุ 3-5 ปี)
เด็กในวัยกำลังโตต้องการพลังงาน (แคลอรี) และสารอาหารอื่นในปริมาณมากเพื่อที่จะมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี- มีหลักฐานว่าเด็กอายุต่ำกว่า
5 ขวบอาจได้รับอาหารที่ไม่เหมาะสม โดยเป็นอาหารที่
- หวานจัดจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพฟัน
- มีวิตามินและแร่ธาตุต่ำ เช่น วิตามินเอและดี รวมทั้งธาตุเหล็กและสังกะสี
- การให้เด็กรับประทนอาหารครบทุกหมู่จะช่วยให้เด็กได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอตามความต้องการ
อาหารสำหรับเด็กวัยเตาะแตะ
- เมื่อลูกก้าวพ้นจากวัยทารกเข้าสู่วัยหัดเดินก็พร้อมแล้วที่จะรับประทานอาหารครอบครัว แต่ในช่วงแรกอาจยังต้องฉีกอาหารให้เป็นชิ้นเล็กเสียก่อน
- จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรุงอาหารให้เหมาะสำหรับเด็กรับประทาน โดยจำกัดปริมาณเกลือ น้ำตาล เครื่องปรุงรสเผ็ดจัดให้น้อยที่สุด
- นมยังคงเป็นส่วนสำคัญในอาหารสำหรับเด็กวัยเตาะแตะ แต่เด็กวัยนี้จะมีความต้องการนมลดลงเหลือวันละประมาณ 350 มิลลิลิตร หรือเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์จากนม 2-3 ส่วนบริโภค
- หากลูกได้รับประทานอาหารที่หลากหลายและมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนก็สามารถให้เด็กดื่มนมวัวไขมันเต็มส่วนเป็นเครื่องดื่มหลักภายหลังเด็กอายุครบหนึ่งขวบ
- หากลูกรับประทานได้น้อยก็อาจเสริมด้วยนมสูตรสำหรับเด็กวัยเตาะแตะ เพื่อช่วยให้เด็กได้รับสารอาหารครบถ้วนในแต่ละวัน
- ลูกควรรับประทานอาหารแต่ละหมู่ได้หลากหลาย โดยควรให้เด็กได้รับประทาน
- อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตวันละ 4 ส่วนบริโภค
- อาหารผลิตภัณฑ์นมวันละ 2-3 ส่วนบริโภค (รวมถึงนม)
- เนื้อสัตว์หรืออาหารทดแทนเนื้อสัตว์วันละ 1-2 ส่วนบริโภค
- ผักและผลไม้วันละ 5 ส่วนบริโภค
ความต้องการด้านโภชนาการของเด็กวัยเตาะแตะและเด็กเล็ก
พลังงาน- เด็กวัยเตาะแตะและเด็กเล็กจำเป็นต้องใช้พลังงาน (แคลอรี) ในการทำกิจกรรม รวมถึงนำไปสนับสนุนการเติบโตและพัฒนาการที่ดี
- ร่างกายได้รับพลังงานส่วนใหญ่จากไขมันและคาร์โบไฮเดรต และบางส่วนได้รับจากโปรตีน
- โปรตีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับกระบวนการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ รวมทั้งสร้างเอนไซม์ที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการของร่างกาย
- เด็กมีความต้องการโปรตีนสูงกว่าผู้ใหญ่
ไขมัน
- ไขมันบางตัวมีความจำเป็น และเป็นแหล่งของกรดไขมันที่ร่างกายต้องการ
- ไขมันในอาหารยังเป็นแหล่งของวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามินเอ ดี และอี
- เด็กจำเป็นต้องได้รับไขมันมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากร่างกายต้องการพลังงานสำหรับการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการตามวัย อย่างไรก็ดีสำหรับเด็กตั้งแต่ 5 ขวบขึ้นไปควรรับประทานไขมันไม่เกินร้อยละ 35 ของพลังงานที่ได้จากอาหาร
- กรดไขมันโอเมกา 3 พบในปลาไขมันสูง ดังนั้นจึงควรรับประทานให้ได้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
คาร์โบไฮเดรต
- คาร์โบไฮเดรตได้จากอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล
- แป้งเป็นส่วนประกอบหลักในซีเรียล เมล็ดพืช ธัญพืช และผักกินหัว
- ในช่วง 5 ขวบเด็กควรได้รับคาร์โบไฮเดรตในสัดส่วนร้อยละ 40 ของพลังงานที่ได้จากอาหาร
- เด็กเล็กไม่จำเป็นต้องได้พลังงานจากของหวาน รวมทั้งควรจำกัดการอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาลและน้ำผึ้ง
ใยอาหาร
- ใยอาหารเป็นส่วนประกอบในซีเรียลและผัก ใยอาหารซึ่งจะเปลี่ยนสภาพเป็นกากอาหารในลำไส้เล็กจะช่วยป้องกันท้องผูกและความผิดปกติของลำไส้
- ใยอาหารอาจทำให้ลูกอิ่มเร็วและทำให้รับประทานอาหารอื่นได้น้อย ดังนั้นจึงไม่ควรให้รับประทานมากเกินไป
วิตามินและแร่ธาตุ
- วิตามินเป็นสารประกอบอินทรีย์เชิงซ้อนซึ่งร่างกายต้องการในปริมาณน้อย แต่ก็มีบทบาทสำคัญในหลายกระบวนการของร่างกาย
- แร่ธาตุเป็นสารประกอบอนินทรีย์อันมีบทบาทหลายอย่าง
- อาหารแต่ละอย่างมีวิตามินและแร่ธาตุแตกต่างกัน การรับประทานอาหารที่หลากหลายจะช่วยให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนเพียงพอกับความต้องการ
- ควรตระหนักถึงข้อมูลสำคัญด้านโภชนาการ เช่น ความสำคัญของธาตุเหล็กและการเสริมวิตามิน คลิกที่นี่ เพื่อติดตามข้อมูลเพิ่มเติมในหัวข้อ ‘โภชนาการเป็นสิ่งสำคัญ'
ช่วย ให้เด็กเล็กมีโภชนาการที่ดี
- เด็กเล็กจำเป็นต้องรับประทานอาหารแต่ละหมู่ให้หลากหลายเพื่อให้ได้สารอาหารเพียงพอตามความต้องการ
- ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับประทานอาหารแต่ละหมู่ให้หลากหลายโดย คลิกที่นี่ เพื่อนำท่านไปสู่หัวข้อ ‘รับประทานอาหาร 5 หมู่'
- นมสำหรับเด็กวัยเตาะแตะเป็นนมสูตรพิเศษที่พัฒนาขึ้นให้สอดคล้องกับความต้องการสารอาหารของเด็ก รวมทั้งยังได้เสริมธาตุเหล็ก วิตามิน และแร่ธาตุที่สำคัญ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับเสริมโภชนาการในเด็กเล็ก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น