ในขณะที่ตั้งครรภ์ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมากขึ้นเป็นพิเศษเพื่อคลายกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ให้เอื้ออำนวยต่อการเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ ซึ่งผลพวงจากกลไกนั้นทำให้ลิ้นปิดเปิดที่บริเวณทางเข้าของกระเพาะอาหารคลายตัวไปด้วย ส่งผลให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับ เนื่องจากว่ากล้ามเนื้อทุกส่วนผ่อนคลายมากกว่าปกติ จึงทำให้อาหารเคลื่อนตัวผ่านระบบย่อยอาหารยากขึ้นตามไปด้วย และในขณะที่ครรภ์ของคุณมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ความดันในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ มากขึ้น
ถึงแม้ว่าอาการแสบร้อนที่หน้าอกระหว่างตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่คุณแม่ไม่ชอบใจนัก แต่อย่างน้อยอาการนี้ก็มีผลดีต่อลูกน้อยในครรภ์อยู่บ้าง เนื่องจากว่า อาหารที่คุณแม่รับประทานเข้าไปต้องใช้เวลาในการเคลื่อนผ่านระบบย่อยอาหารนานขึ้น ซึ่ง ทำให้ลูกน้อยของคุณมีโอกาสได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่
วิธีบรรเทาอาการแสบร้อนที่หน้าอก
หากคุณมีอาการแสบร้อนที่หน้าอกระหว่างตั้งครรภ์ วิธีการต่อไปนี้อาจช่วยให้อาการของคุณทุเลาลงได้:
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเผ็ดจัด ไขมันสูงหรือรับประทานอาหารมากจนเกินไป
- ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีปริมาณคาเฟอีนสูงในช่วงตั้งครรภ์ เนื่องจากจะทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่หน้าอกได้เช่นกัน ดังนั้น ระหว่างตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มอย่างเช่น กาแฟ จะเป็นการดีที่สุด
- เลิกดื่มน้ำผลไม้รสเปรี้ยว แต่อย่าลืมรับประทานอาหารที่มีกากใยจากแหล่งอื่นแทน เช่น ขนมปัง โฮลเกรน ข้าวกล้อง อาหารเช้าที่ทำจากธัญพืชไม่ขัดขาวและพืชผักผลไม้ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นแหล่งอาหารที่อุดมด้วยกากใย
- เลิกหรือพยายามรับประทานช็อกโกแลตให้น้อยลง
- รับประทานอาหารครั้งละน้อย แต่รับประทานบ่อยขึ้นและอย่ารับประทานอาหารใกล้เวลานอนจนเกินไปนัก
- ดื่มน้ำสองแก้วก่อนถึงเวลารับประทานอาหารเพื่อช่วยในการย่อย
- เคี้ยวหมากฝรั่งหลังรับประทานอาหารเพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำลาย ซึ่งจะช่วยปรับสมดุลของกรดในกระเพาะอาหาร
- การดื่มนมก่อนนอนก็สามารถช่วยบรรเทาอาการได้
- คุณแม่สมาชิกดูเม็กซ์แนะนำต่อๆกันมาเป็นเวลาช้านานว่าชาเปปเปอร์มินต์และกระเทียมสด (ไม่ใช่รับประทานด้วยกันนะคะ) สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ ลองรับประทานกระเทียมชนิดแคปซูลแทน หากคุณไม่ชอบกลิ่นกระเทียมสด
- การใช้หมอนหนุนรองเพิ่มเล็กน้อยเวลานอนเพื่อให้หัวยกสูงขึ้นสามารถช่วยป้องกันอาการแสบร้อนที่หน้าอกได้เช่นกัน
- ประการสุดท้าย แพทย์อาจสั่งยาลดกรดให้แก่คุณ ยาบางชนิดที่มีจำหน่ายตามร้านขายยาอาจไม่ควรใช้ระหว่างตั้งครรภ์ ดังนั้น ควรปรึกษาสูติแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น