วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

พัฒนาการลูกน้อยแต่ละช่วงวัย


พัฒนาการลูกน้อยแต่ละช่วงวัย
รู้ทันพัฒนาการเด็กวัยแรกคลอด เสริมสร้างเจ้าตัวเล็กให้เติบโตแข็งแรง

รับมือกับเจ้าตัวน้อยตั้งแต่วัยแรกคลอดจนเติบโตอาจจะดูไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากจนต้องทำให้คุณแม่มือโปร ต้องกังวลใจนะคะ ถ้าหากเราทำความเข้าใจว่าพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัย ก็จะช่วยให้คุณแม่สามารถเลือก กิจกรรม เมนูอาหาร และให้ความรักและความเอาใจใส่ที่เหมาะสมได้ตั้งแต่แรกคลอดเลยค่ะ ถ้าอย่างนั้น มาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันเลยว่า เด็กแต่ละช่วงวัย เขาต้องการอะไรกันบ้างนะคะ

วัยแรกคลอด (ช่วงอายุ 0-1 ปี)

ช่วง 1-3 เดือนแรก จะเป็นช่วงพัฒนากล้ามเนื้อศีรษะ ลูกจะค่อยๆ เริ่มขยับศีรษะได้เองโดยไม่ต้องช่วยเหลือ สามารถยิ้ม ส่งเสียงคราง ให้คุณแม่ชื่นใจได้แล้วนะคะ และพอช่วง 4-6 เดือน เขาก็จะเริ่มขยับมือและเท้า เริ่มหยิบสิ่งของเข้าปาก ฟันก็เริ่มขึ้น เริ่มลุกขึ้นนั่ง และช่วง 7-9 เดือน ก็จะเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้เป็นคำๆ ตามที่ได้ยิน สามารถที่จะถือสิ่งของเล็กๆ หรือเริ่มยืนหรือเดินโดยยึดเกาะราวหรือขอบโต๊ะไว้ด้วย และช่วง 10-12 เดือน เขาเริ่มเข้าใจคำถาม ตอบสนองคุณแม่ได้ดีขึ้น ซึ่งพัฒนาการในช่วงขวบปีแรกนี้ ลูกจะเติบโตขึ้นได้อย่างสมบูณ์ และแข็งแรงก็ด้วยความรัก ความเอาใจใส่ ของคุณแม่ และการให้ลูกได้ทานอาหารที่มีคุณค่าสารอาหารที่ ครบถ้วน เพราะวัยแรกคลอดถือเป็นจุดเริ่มต้น ของการเติบโต เพื่อให้ร่างกายของลูกมีพัฒนาการเติบโตแข็งแรง ได้อย่างเต็มที่ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือน้ำนมแม่ค่ะ และนอกจากอาหาร คุณแม่ยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการ ลูกน้อยด้วยของเล่นต่างๆ ได้ด้วยนะคะ

นอกจากดูแลพัฒนาการทางร่างกายแล้ว การดูแลวัยเด็กให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอยู่เสมอเพื่อป้องกัน ให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บในเด็กเล็ก และหมั่นสังเกตอาการต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น การเกิดผดในเด็ก ผื่นคันจากอากาศร้อน หรือผื่น ผ้าอ้อม เพราะต่อมเหงื่อและผิวของเด็กวัยแรกคลอดยังทำงานไม่สมบูรณ์และ แข็งแรงพอ จึงมีโอกาสเกิดผดผื่นได้ง่ายๆ บ่อยครั้งที่ลูก ร้องไห้งอแงเพราะรู้สึกไม่สบายตัว โดยเฉพาะอากาศ ร้อนๆ ในเมืองไทย ทำให้มีโอกาสเกิดการอุดตันของการระบายเหงื่อบริเวณข้อพับ ผิวหนังใต้ผ้าอ้อม ซึ่งเป็นอาการยอดฮิตของการเกิดผดผื่นในเด็กทารก โดยสามารถปกป้องด้วยการทาแป้งเด็กที่อ่อนโยนต่อผิวลูก บริเวณที่อาจเกิดผดได้ง่ายๆ และพยายามอย่าให้เขาเกาเพราะอาจกลายเป็นแผลได้ แต่หากสังเกตเห็นการ อักเสบ ผดแดง ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

วัยหัดคลาน (ช่วงอายุ 1-2 ปี)

ผ่านช่วงขวบปีแรกมาได้แล้ว คุณแม่มือโปรก็สบายใจได้ระดับหนึ่งแล้วนะคะ เพราะว่านั่นเป็นช่วงที่จะเรียกว่า ยากที่สุดก็ได้ เนื่องจากลูกเล็กยังไม่เข้าใจภาษาของเรา แต่พอเข้าสู่วัยหัดคลาน ลูกเริ่มเข้าใจคำพูดบางคำ แต่อาจจะยังพูดไม่ได้ หรือพูดเป็นคำๆ แต่เขาจะเข้าใจความหมายเวลาที่คุณแม่พูดหรือแสดงท่าทาง เด็กวัยนี้ ต้องการการดูแลมากเป็นพิเศษนะคะ คุณแม่ควรให้ความใกล้ชิด เอาใจใส่ และใช้เวลาอยู่กับลูกให้มากๆ โดยอาจเลือกกิจกรรมที่สามารถร่วมสนุกกันได้ทั้งครอบครัว หรือชวนลูกๆ ของเพื่อนคุณแม่ที่มีวัยใกล้เคียงกัน แล้วปล่อยให้พวกเขาได้เล่นด้วยโดยสังเกตการณ์อยู่ห่างๆ ก็ได้นะคะ เด็กวัยนี้ จะเชื่อฟังคุณแม่เพราะเขายังไม่รู้ ว่าอะไรทำได้หรือทำไม่ได้ แต่ยังไงก็พยายามอย่า “ห้าม” มากจนเกินไป ลองปล่อยให้ลูกได้ลองเล่นอะไรแปลกๆ ใหม่ๆ ดูบ้าง คุณแม่อาจจะปล่อยเขาเล่นกับสัตว์เลี้ยง ลงไปวิ่งเล่นบนสนามหญ้า หรือช่วยคุณแม่ปลูกต้นไม้บ้าง นอกจากจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางความคิด ยังช่วยสร้างเสริมภูมิต้านทานของลูกด้วยค่ะ

วัยหัดพูด (ช่วงอายุ 2-3 ปี)

ช่วงเวลานี้แหละค่ะที่คุณแม่จะไม่เหงา พูดคนเดียวอีกต่อไปแล้ว เพราะเจ้าตัวเล็กจะเริ่มส่งเสียงพูดเป็นคำยาวๆ หรือบางทีเป็นประโยคเลยก็มี เพื่อช่วยให้ลูกได้ฝึกพูดได้คล่องก่อนเข้าโรงเรียนอนุบาล คุณแม่เองก็อย่าลืมฝึกคุย กับลูกอยู่บ่อยๆ นะคะ บางครั้งอาจพูดบางอย่าง เพื่อให้ลูกตั้งคำถามกลับมา หรือถามคำถามเขาให้เขาได้คิด และตอบ ไม่ว่าจะเป็นคำถามหรือคำตอบว่าอะไร รับรองว่าเรียกรอยยิ้มจากคุณแม่และทุกคนในบ้านได้แน่ๆ และการพูดคุยกันบ่อยๆ ก็ยังช่วยฝึพัฒนาการพูด ทักษะการคิด ช่วยให้เขากล้าเสนอความคิดเห็นและกล้า แสดงออกได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ นอกจากนี้ เด็กวัยนี้ต้องการการใช้พลังงานและการเสริมสร้างพัฒนาการทาง ร่างกายที่เหมาะสม การเลือกกีฬาง่ายๆ ก็จะช่วยให้ลูกได้ใช้กล้ามเนื้อแขนขาได้เป็นอย่างดีด้วย โดยคุณแม่ อาจจะชวนลูกน้อยไปจ๊อกกิ้งรอบหมู่บ้าน หรือให้เขาปั่นจักรยานสามขาตามขณะที่เราเดินออกกำลัง นอกจาก จะช่วยฝึกพัฒนาการด้านร่างกายแล้ว ยังช่วยให้คุณแม่ได้ใช้เวลาดีๆ กับลูก เพิ่มความอบอุ่นและให้เขา สัมผัสได้ถึงความห่วงใยของคุณแม่ด้วยค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น: