วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

วิธีให้นมลูกด้วยนมแม่

รายละเอียดตั้งแต่การให้นมจนถึงการไล่ลม

ควรเริ่มอย่างไร

ยิ่งเริ่มให้นมเร็วก็ยิ่งดี แม่อาจต้องช่วยฝึกฝนกันเล็กน้อยแต่ทารกนั้นมีสัญชาติญาณดูดนมแม่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด เมื่อแม่เริ่มคุ้นเคยก็จะรู้สึกการให้นมแม่สะดวกขึ้นมาก

วิธีให้นมแม่

1.ล้างมือและอยู่ในท่าที่สบาย
  • นั่งหลังตรงให้หน้าตักราบ
  • เตรียมหมอนอิงไว้พิงหลัง (อาจไม่ต้องใช้)
  • วางหมอนไว้บนตักเพื่อให้ลูกอยู่ใกล้กับเต้านม (อาจไม่ต้องใช้)
  • เตรียมน้ำดื่ม 1 แก้ว
2.ปรับท่าอุ้มลูกให้หน้าท้องแม่และลูกสัมผัสกัน
หากดูดนมจากเต้าข้างซ้าย
  • ช้อนก้นลูกด้วยแขนข้างขวา
  • ใช้มือซ้ายประคองลำคอและช่วงไหล่ของลูก
หากดูดนมจากเต้าข้างขวา
  • ช้อนก้นลูกด้วยแขนข้างซ้าย
  • ใช้มือขวาประคองลำคอและช่วงไหล่ของลูก
3.ยกตัวลูกมาที่เต้านม
  • ให้จมูกลูกอยู่ชิดกับหัวนม
  • ให้ศีรษะลูกสามารถเอนไปด้านหลังเล็กน้อย
4.สอดหัวนมเข้าปากลูกอย่างนุ่มนวล
  • ลูกควรอ้าปากให้กว้างพอจนงับถึงลานหัวนมซึ่งเป็นวงสีคล้ำอยู่รอบหัวนม
5.กระชับลูกกับหน้าอกเพื่อให้เด็กอมหัวนมได้ลึก
ริมฝีปากล่างและคางของลูกจะแนบกับเต้านม
6.ลูกจะต้องอมหัวนมและลานนมด้านล่างไว้ในปาก
คางของลูกควรแนบกับเต้านม
  • ลูกควรอมเต้านมไว้เต็มปาก
  • ลูกควรอมลานนมด้านล่างจนเกือบมิดโดยเหลือลานนมด้านบนเผยอนอกริมฝีปาก
  • ลูกควรหายใจสะดวก
  • แม่อาจต้องคอยประคองเต้านม
7.แม่จะรู้สึกจี๊ดที่เต้านม
เป็นความรู้สึกเมื่อน้ำนมแม่ไหลออกมา แม่จะเห็นขากรรไกรเด็กเคลื่อนไหวและได้ยินเสียงกลืนของลูก เมื่อน้ำนมไหลออกมามากขึ้นแม่อาจรู้สึกเจ็บ ร้อน หรือรู้สึกเหมือนถูกแทงที่เต้านม
8.ให้ลูกดูดนมไปจนกว่าจะพอใจ
หากลูกดูดนมจนหมดเต้าข้างหนึ่งแล้ว (สังเกตได้จากลูกมีอาการกระสับกระส่ายและเต้านมเริ่มนิ่มลง) ให้สลับไปที่เต้านมอีกข้าง
9.‘ไล่ลม' หรือ ‘ไล่เรอ' ให้ลูก
ควรไล่ลมหลังจากลูกดูดนมอิ่มแล้ว (ลูกจะแสดงอาการผละจากเต้านมหรือหลับหลังจากที่อิ่มแล้ว)
คลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการไล่ลมเด็ก
10.ให้นมแม่ซ้ำอีกครั้ง
หลังจากไล่ฟองอากาศในท้องออกไปแล้วเด็กอาจต้องการดูดนมเพิ่มอีก

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกหิวนม

  • แม่จะรู้สึกจี๊ดที่หน้าอก ซึ่งแสดงว่าน้ำนมกำลังไหล
  • ลูกขยับขากรรไกร (ใบหูของลูกจะขยับตามขากรรไกร)
  • ได้ยินเสียงลูกกลืน
  • แม่ควรรู้สึกผ่อนคลาย การให้นมไม่ควรรู้สึกเหมือนเป็นด่านทดสอบความอดทน
ไม่ต้องกังวลหากรู้สึกผิดปกติ สอดนิ้วเข้าปากเพื่อให้ลูกหยุดดูดนม และให้ลูกอมหัวนมใหม่

เหตุใดยังคงปวดประจำเดือนในช่วงให้นม

อาการปวดเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก อาการนี้เกิดจากการกระตุ้นของฮอร์โมนที่หลั่งออกมาขณะให้นม ทำให้แม่มักรู้สึกปวดมากขึ้นระหว่างที่กำลังให้นม

ไม่มีความคิดเห็น: