วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

เมื่อกำหนดคลอดมาถึง

อาการ

อาการไม่รุนแรง

เป็นธรรมดาที่จะเกิดอาการปวดและเจ็บระหว่างตั้งครรภ์ แต่ไม่จำเป็นที่คุณแม่จะต้องกล้ำกลืนความเจ็บปวดไว้ มีหลายวิธีที่จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้น และควรปรึกษาแพทย์หากเป็นกังวล

อาการไม่รุนแรง

ปวดหลัง

  • ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาในช่วงตั้งครรภ์จะทำหน้าที่คลายและยืดเส้นเอ็นต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมร่างกายสำหรับการคลอด
  • ผลจากฮอร์โมนทำให้หลังและสะโพกต้องรับภาระหนักขึ้น
การบรรเทา
  • นวด
  • ออกกำลังกายเสริมความแข็งแรงกล้ามเนื้อหลัง (ปรึกษานักกายภาพบำบัด)
  • เลิกสวมรองเท้าส้นสูง
  • นอกบนฟูกที่ไม่ยุบตัว
  • ระมัดระวังเวลายกของ
  • คอยปรับท่านั่งที่เหมาะสม นั่งในท่าหลังตรงให้ลำคอและแผ่นหลังเป็นแนวเดียวกัน
  • พยายามพักผ่อนให้มากที่สุดเมื่อเริ่มท้องแก่
  • ปรึกษานักกายภาพบำบัดเพื่อลดปัญหาปวดหลัง

ท้องผูก

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและทารกที่เริ่มโตขึ้นทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ช้าลง และอาจทำให้ท้องผูกได้
การบรรเทา
  • รับประทานอาหารอุดมด้วยกากใย เช่น ข้าว ขนมปังและพาสตาที่ผ่านการขัดสีน้อย ผักผลไม้ อาหารเช้าจำพวกธัญญพืช ถั่ว
  • ดื่มน้ำและน้ำผลไม้มากๆ

เหน็บชา

อาจเกิดอาการปวดเหน็บบริเวณน่องหรือเท้าอย่างฉับพลัน โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน
การบรรเทา
  • ออกกำลังกายเบาๆ ช่วยฟื้นฟูการไหลเวียนเลือด
  • เมื่อเป็นเหน็บให้นวดคลึงบริเวณที่เกิดอาการจะช่วยคลายปวด

หน้ามืด/วิงเวียน

เนื่องจากครรภ์จำเป็นต้องอาศัยเลือดปริมาณมากเข้าไปหล่อเลี้ยงจึงอาจทำให้เกิดอาการหน้ามืดวิงเวียนได้เป็นปกติ
การบรรเทา
  • พยายามอยู่ในที่เย็น
  • หลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานาน
  • หากเริ่มมีอาการหน้ามืดให้เปลี่ยนท่านอนตะแคง
  • อย่าผลุนลุกขึ้นจากท่านั่ง

ปวดแสบหน้าอก

อาการปวดแสบหน้าอกเกิดจากของกรดในกระเพาะไหลย้อนขึ้นมาทางหลอดอาหาร มักเกิดขึ้นเมื่ออยู่ในท่านอนหรือหลังรับประทานอาหารบางอย่าง และอาจทำให้นอนไม่หลับ
การบรรเทา
  • ปรึกษาเภสัชกรเพื่อขอรับยาหรือปรึกษาเพื่อรับการรักษากับแพทย์
  • เตรียมหมอนหนุนหลังขณะนอน
  • ดื่มนมหนึ่งแก้วสัก 1-2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน และอย่ารับประทานอาหารอะไรอีกหลังจากนั้น
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้มีอาการ และอย่าเข้านอนทันทีหลังรับประทานอาหาร

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวารคือ การมีหลอดเลือดขอดโป่งพองรอบทวารหนักซึ่งอาจเกิดจากแรงดันในท้อง
บางครั้งอาจมีเลือดออก รู้สึกคันหรือเจ็บ และอาจทำให้ถ่ายลำบาก
อาการมักดีขึ้นหลังคลอด
การบรรเทา
  • รับประทานอาหารอุดมด้วยกากใย เช่น ขนมปังและพาสตาที่ผ่านการขัดสีน้อย ผักผลไม้ อาหารเช้าธัญพืช ถั่ว
  • ดื่มน้ำและน้ำผลไม้มากๆ
  • ปรึกษาแนวทางการรักษาจากแพทย์

บวมที่ข้อเท้า เท้า นิ้ว

ข้อเท้า เท้า และนิ้วมักบวมขึ้นเล็กน้อยในช่วงตั้งครรภ์จากการที่ร่างกายกักเก็บน้ำไว้มากกว่าปกติ  โดยมักพบในช่วง
หัวค่ำ
อากาศร้อน
ยืนติดต่อกันเป็นเวลานาน
การบรรเทา
  • หลีกเลี่ยงยืนติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • สวมรองเท้าใส่สบาย
  • ยกเท้าให้สูงไว้เท่าที่จะทำได้ ลองพักผ่อนในท่านอนวันละหนึ่งชั่วโมงโดยยกเท้าให้สูงกว่าศีรษะ
  • ลองฝึกการบริหารเท้าตามวิธีด้านล่าง

การบริหารเท้าเพื่อลดข้อเท้าบวม

สามารถทำได้ทั้งในท่านั่งหรือท่ายืน ซึ่งจะช่วยการไหลเวียนเลือด รวมทั้งลดการบวมที่ข้อเท้าและเหน็บชาที่น่องขา
เหยียดเท้าขึ้นลงสลับกัน 30 ครั้ง
หมุนข้อเท้า 8 ครั้งสลับกับหมุนทวนทิศทางอีก 8 ครั้ง

อ่อนเพลีย

เป็นธรรมดาที่จะรู้สึกอ่อนเพลียโดยเฉพาะในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ รวมทั้งเมื่อเริ่มท้องแก่
การบรรเทา
  • ดูแลเรื่องอาหารและน้ำ
  • พักผ่อนให้มากที่สุด
  • ขอความช่วยเหลือจากเพื่อน ครอบครัว และเพื่อนร่วมงาน  

อาการที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม

หากคุณแม่กังวลหรือพบอาการดังต่อไปนี้ ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที
  • เป็นลมหน้ามืดบ่อย
  • ไข้
  • ปวดท้องรุนแรง
  • บวมที่หน้า มือ และรอบดวงตา
  • ตาพร่า
  • ปวดศีรษะรุนแรง
  • น้ำหนักขึ้นพรวดพราดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • เลือดออกจากช่องคลอด
  • อาเจียนรุนแรง
  • ปวดขณะมีปัสสาวะ
  • กระหายน้ำทั้งที่ปัสสาวะน้อยหรือไม่มีปัสสาวะ
  • เด็กไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยลงหลังสัปดาห์ที่ 22 (น้อยกว่าวันละ 10-12 ครั้ง)
  • คันอย่างรุนแรงที่บริเวณท้อง มือ และฝ่าเท้า
  • เกิดกระแทกบริเวณท้อง

ครรภ์เป็นพิษ

ครรภ์เป็นพิษหมายถึงอะไร
ครรภ์เป็นพิษเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเฉพาะระหว่างตั้งครรภ์หรือหลังคลอดทำให้ความดันเลือดของแม่สูงขึ้น รวมทั้งมีไข่ขาวในปัสสาวะ (รั่วจากไต)  และบวมน้ำ ภาวะครรภ์เป็นพิษพบในอัตราส่วน 1 ต่อ 14 ซึ่งมักพบหลังสัปดาห์ที่ 20 ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องรักษา การตรวจร่างกายตามนัดก็อาจเพียงพอ อัตราการเกิดภาวะชักจากครรภ์เป็นพิษในผู้ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษอยู่ที่ราว 1 ต่อ 100  และมักพบในช่วง 3 เดือนก่อนคลอด หรือหลังคลอด 48 ชั่วโมง ภาวะชักจากครรภ์เป็นพิษเป็นอาการชักประเภทหนึ่งซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำตัวอย่างปัสสาวะติดมาทุกครั้งที่นัดตรวจครรภ์
อาการ
  • ภาวะครรภ์เป็นพิษในช่วงเริ่มเป็นไม่มีอาการแสดง
  • ความดันเลือดสูงอาจเป็นสัญญาณชี้ครรภ์เป็นพิษ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจครรภ์ตามนัดทุกครั้ง
  • ปัสสาวะมีไข่ขาว (มีโปรตีนปะปนอยู่ในปัสสาวะ) ตาพร่า ปวดศีรษะ
  • เมื่อเริ่มรุนแรงขึ้นคุณอาจมีอาการดังนี้
  • ปวดศีรษะหรือเวียนศีรษะอย่างรุนแรง
  • ปัญหาการมองเห็น เช่น ตาพร่า หรือเห็นแสงกะพริบ
  • ปวดท้องส่วนบน
  • อาเจียน
  • เกิดอาการบวมที่เท้า ข้อเท้า ใบหน้า และมืออย่างฉับพลัน น้ำหนักตัวเพิ่มจากอาการบวมน้ำ
  • หากพบว่ามีอาการดังกล่าวให้รีบพบแพทย์ทันที
การรักษา
  • เน้นการลดความดันเลือด โดยมักรักษาด้วยยาและนอนพักยังโรงพยาบาล
  • แพทย์จะพยายามควบคุมอาการให้คงที่จนถึงสัปดาห์ที่ 36 เพื่อลดความเสี่ยงในการคลอด

เลือดออกจากช่องคลอด

แม้เลือดออกจากช่องคลอดจะดูน่าวิตก แต่ก็อาจไม่เป็นอันตรายต่อทารกเสมอไป

ขณะท้องอ่อน

เลือดออกในระยะนี้อาจเป็นสัญญาณของท้องนอกมดลูกหรือแท้ง
หากพบเลือดออกให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที

หลัง 5 เดือน
หากมีเลือดออกให้รีบปรึกษาแพทย์ การพบเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ควรถือเป็นปัญหาสำคัญ

แท้ง

การแท้งหมายถึง การตั้งครรภ์เกิดล้มเหลวก่อน 24 สัปดาห์ อย่างไรก็ดีผู้หญิงที่เคยแท้งส่วนใหญ่มักสามารถกลับมามีลูกได้อีกครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น: