วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

แผนรายการอาหาร

บทนำ

เราเข้าใจดีว่าคุณมีหลายเรื่องที่ต้องใส่ใจเมื่อเริ่มให้ลูกทานอาหารเสริม เราจึงได้เตรียมแผนรายการอาหรสำหรับหนึ่งสัปดาห์ซึ่งอัดแน่นไปด้วยสูตรอาหารเปี่ยมคุณค่าทางโภชนาการสำหรับลูกน้อยไว้เป็นตัวช่วยของคุณ เพียงคุณกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับอายุและความต้องการพิเศษก็จะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นสูตรรายการอาหารสำหรับหนึ่งสัปดาห์ซึ่งสามารถดาวน์โหลดหรือสั่งพิมพ์จากหน้าจอ

จำแนกระยะโดยคร่าวตามกลุ่มอายุ:
ระยะที่ 1 – จนถึง 7 เดือน
ระยะที่ 2 – 7-9 เดือน
ระยะที่ 3 – 9-12 เดือน
ระยะที่ 4 – ตั้งแต่หนึ่งขวบ
แผนรายการอาหารนี้พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยการค้นหาสูตรอาหารแปลกใหม่สำหรับนำไปปรุงให้ลูกรับประทานในช่วงการเริ่มให้อาหารเสริมตามวัย เราพยายามอย่างยิ่งที่จะรวบรวมสูตรอาหารให้มากที่สุดสำหรับทุกระยะ อย่างไรก็ดีอาหารบางสูตรอาจครองใจเจ้าตัวน้อยได้หลายเดือนเพียงปรับเนื้อสัมผัสของอาหารให้เหมาะสมกับระยะ คุณสามารถติดตามรายละเอียดสูตรอาหารทั้งหมดของแผนรายการอาหารได้จากหัวข้อสูตรอาหาร

เรายังได้ติดตั้งคำสั่งสำหรับช่วยเลือกสูตรอาหารที่ปราศจากส่วนผสมจำเพาะบางตัว โดยคุณสามารถเลือกตัดสูตรอาหารที่มีส่วนผสมของนม ไข่ หรือกลูเตน รวมทั้งเลือกสูตรอาหารมังสวิรัติสำหรับลูกได้อีกด้วย
นอกจากนี้คุณยังสามารถเลือกสูตรอาหารอื่นแทนสูตรประจำวันที่แนะนำเพื่อช่วยให้แผนการเข้าครัวของคุณราบรื่นและสอดคล้องกับความต้องการของลูก
คุณยังอาจปรับเปลี่ยนสูตรอาหารที่บ้านโดยใช้สูตรอาหารแนะนำนี้เป็นตัวอย่างเพื่อให้มั่นใจได้ว่าลูกจะได้รับประทานอาหารที่หลากหลายตลอดทั้งสัปดาห์

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเริ่มให้อาหารเสริมตามวัยและระยะการให้อาหารเสริมตามวัยมดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อ การให้อาหารเสริมตามวัย 

อาหารพิเศษ

อาหารมังสวิรัติ
คุณสามารถให้ลูกรับประทานอาหารมังสวิรัติซึ่งดีต่อสุขภาพและคุณค่าสารอาหารครบถ้วนเพียงแต่มีข้อควรพิจารณาเล็กน้อย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อ การให้อาหารเสริมตามวัยด้วยอาหารมังสวิรัติ
  • ธาตุเหล็กที่พบในอาหารอื่นนอกจากเนื้อสัตว์นั้นดูดซับได้ยากกว่าธาตุเหล็กจากเนื้อและปลา ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้ลูกได้รับอาหารมังสวิรัติธาตุเหล็กสูง (เช่น เลนทิลและเมล็ดพืช) อย่างน้อยวันละ 2 ส่วน
  • อย่าลืมเพิ่มผักผลไม้วิตามินซีสูงในอาหารของลูก เพราะวิตามินซีจะช่วยให้ลำไส้ดูดซับธาตุเหล็กจากอาหารที่รับประทานไปพร้อมกันได้ดีขึ้น

อาหารปราศจากไข่ นม และกลูเตน
แผนรายการอาหารของเรายังได้ร่วมสูตรอาหารหลากหลายที่ปราศจากส่วนผสมดังกล่าว อย่างไรก็ดียังมีอาหารอีกหลายสูตรที่สามารถนำมาใช้ได้โดยปรับเปลี่ยนส่วนผสม เช่น
  • ใช้นมชนิดพิเศษของลูกแทนนมวัว นมแพะ และนมแกะ
  • ใช้โยเกิร์ตถั่วเหลืองแทนโยเกิร์ตที่ระบุในสูตรอาหาร
  • เปลี่ยนพาสตา แป้งสาลี และขนมปังเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากกลูเตน

ควรปรึกษากับนักโภชนาการหากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความต้องการด้านโภชนาการของลูก

ระยะที่ 1

สูตรอาหารสำหรับระยะที่ 1 ในแผนรายการอาหาร เหมาะสำหรับทารกที่เริ่มอาหารเสริมตามวัยแล้ว 1-2 สัปดาห์และรับประทานอาหารแข็งวันละ 2 มื้อ หากต้องการทราบข้อมูลแนวทางปฏิบัติในช่วงเริ่มการให้อาหารเสริมตามวัย รวมถึงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้อาหารเสริมตามวัยในระยะที่ 1 สามารถติดตามได้จากคำแนะนำ  ระยะที่ 1  ในหัวข้อการให้อาหารเสริมตามวัย

ระยะที่ 2

ลูกเริ่มพร้อมสำหรับอาหารที่มีเนื้อสัมผัสและรสชาดที่หลากหลายมากขึ้น รวมทั้งอาจถือช้อนตักอาหารรับประทานเองได้แล้ว สูตรอาหารในแผนรายการอาหารเน้นให้เด็กรับประทานอาหารที่มีเนื้อสัมผัสหลากหลายยิ่งขึ้น รวมทั้งอาหารรสดีอีกหลายรายการที่สามารถรับประทานคู่กับอาหารประเภทหยิบกิน

หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้อาหารเสริมตามวัยในระยะที่ 2 สามารถติดตามได้จากคำแนะนำ  ระยะที่ 2  ในหัวข้อการให้อาหารเสริมตามวัย

ระยะที่ 3

ลูกเริ่มสามารถรับประทานอาหารสับที่มีหน้าตาคล้ายอาหารของผู้ใหญ่และลิ้มลองรสชาดแปลกใหม่ ซึ่งสูตรอาหารในแผนรายการอาหารเน้นให้เด็กได้รับประทานอาหารที่เหมาะสมกับพัฒนาการ

หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้อาหารเสริมตามวัยในระยะที่ 3 สามารถติดตามได้จากคำแนะนำ  ระยะที่ 3  ในหัวข้อการให้อาหารเสริมตามวัย

ระยะที่ 4

ถึงตอนนี้ลูกพร้อมแล้วที่จะรับประทานอาหารครอบครัวโดยต้องอาศัยความช่วยเหลือเล็กน้อย และเป็นเวลาที่ทั้งครอบครัวจะได้อิ่มอร่อยกับสูตรอาหารจากแผนรายการอาหาร

หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้อาหารเสริมตามวัยในระยะที่ 4 สามารถติดตามได้จากคำแนะนำ  ระยะที่ 4 ในหัวข้อการให้อาหารเสริมตามวัย

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

ข้อควรระวังอาหารสำหรับทารก

โภชนาการเป็นสิ่งสำคัญ

ข้อควรตระหนักด้านโภชนาการสำหรับทารก

ตรวจสอบปริมาณเกลือและน้ำตาล

ทารกที่ยังไม่ครบขวบไม่ควรรับประทานอาหารที่เติมเกลือหรือน้ำตาล
  • คุณแม่ควรพยายามหลีกเลี่ยงการเติมเกลือหรือน้ำตาลในอาหารแม้ลูกครบหนึ่งขวบแล้ว
  • ตรวจสอบปริมาณเกลือและน้ำตาลจากฉลากอาหารทุกครั้งก่อนซื้อ
  • ปรุงรสด้วยเครื่องเทศ มะนาวและมะเขือเทศบดแทนการเติมเกลือลงไปในอาหาร
  • พยายามจำกัดปริมาณน้ำตาลในขนมอบโดยใช้ผลไม้บด ผลไม้อบแห้ง หรือวัตถุดิบอื่น เช่น อบเชยและมะพร้าวแทนน้ำตาล

อย่าขาดธาตุเหล็ก

ภาวะเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นโรคทางโภชนาการซึ่งพบบ่อยที่สุดในทารกและเด็กเล็ก จึงจำเป็นที่พ่อแม่จะต้องใส่ใจเป็นพิเศษกับปริมาณธาตุเหล็กที่ลูกได้รับ
  • ผลสำรวจชี้ว่ากว่าร้อยละ 80 ของเด็กวัยหนึ่งขวบครึ่งถึงสี่ขวบครึ่งได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอกับความต้องการในแต่ละวัน (Gregory JR, Collins Dl et al. National Diet and Nutrition Survey: Children aged 1½-4½  years. London HMSO, 1995)
  • ธาตุเหล็กที่ทารกนำมาใช้ในช่วง 6 เดือนแรกส่วนใหญ่ได้จากการสะสมไว้ระหว่างอยู่ในครรภ์ รวมทั้งธาตุเหล็กที่ได้จากนมแม่และนมผง
  • ธาตุเหล็กที่ทารกสะสมไว้จะลดลงในช่วง 4-6 เดือน ขณะที่ธาตุเหล็กซึ่งได้จากนมก็เริ่มไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งเสริมอาหารธาตุเหล็กแก่ทารกหลังครบ 6 เดือน
  • ธาตุเหล็กจากเนื้อแดงจะดูดซับได้ง่ายที่สุด ดังนั้นจึงควรให้ลูกได้รับประทานเนื้อแดงเป็นประจำเพื่อให้เขาได้รับธาตุเหล็กเพียงพอกับความต้องการ
  • ธาตุเหล็กจากอาหารประเภทอื่นไม่สามารถดูดซับได้ง่าย
  • ควรให้ลูกได้รับวิตามินซี (จากผักผลไม้สด) ระหว่างมื้ออาหารเพื่อช่วยการดูดซับธาตุเหล็ก
  • อาหารอุดมด้วยธาตุเหล็กยังรวมถึงอาหารเช้าธัญพืชเสริมธาตุเหล็ก ผลไม้อบแห้ง (สามารถนำมาแช่น้ำให้คืนตัวและบดละเอียด) ถั่ว เลนทิลและถั่วลูกไก่ รวมถึงผักใบเขียว เช่น บรอคโคลีและผักโขม

วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

การเลือกขวดนมและจุกนมที่เหมาะสม

  • ขวดนม 4 ขวด
  • จุกนม 4 ชิ้น
  • แปรงล้างขวดนมและจุกนม
  • คีมจับของร้อน
  • อุปกรณ์ฆ่าเชื้อ
  • คีมจับจุกนม

ขวดนม

ขนาด
  • ขวดนมส่วนใหญ่จุได้ถึง 8 ออนซ์ หรือ 240มิลลิลิตร
  • ขวดนมขนาดเล็ก (จุได้ 4ออนซ์หรือ 120มิลลิลิตร) มักเหมาะสำหรับ:
  • ทารกแรกคลอด (เนื่องจากดูดนมคราวละน้อย)
  • น้ำนมแม่ที่บีบสำรองไว้
 ขวดนมชนิดพิเศษ
  • ขวดนมลดโคลิค  ขวดนมชนิดนี้มีช่องทางระบายอากาศ ท่อ หรือถุงยุบตัวได้เพื่อลดปริมาณอากาศที่ลูกอาจดูดเข้าไป
  • ขวดนมย่อยสลายได้  เป็นขวดนมชนิดใช้ครั้งเดียว เหมาะสำหรับใช้เมื่อ อยู่นอกบ้าน

จุกนม

จุกนมแต่ละชนิด
  • จุกนมลดโคลิก (หรือจุกนมหลายอัตราการไหล)ช่วยลดปริมาณอากาศที่ลูกอาจดูดเข้าไป
  • จุกนมเสริมสุขภาพปากและฟัน ช่วยเสริมพัฒนาการที่ดีของฟันและช่องปาก
  • จุกนมหลอกเหมาะสำหรับทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่สลับนมผง
อัตราการไหล
หมายถึงความเร็วที่น้ำนมไหลออกจากขวด ซึ่งจะมีผลตามขนาดของรูบนหัวจุกนม
  • ช้า – เหมาะสำหรับทารกแรกเกิด
  • ปานกลาง – เหมาะสำหรับทารกอายุ 3-6 เดือน
  • เร็ว – เหมาะสำหรับทารกอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป
  • หลายอัตรา – การไหลของนมจะขึ้นอยู่กับการดูดนมของเด็ก และเหมาะสำหรับเด็กที่จำเป็นต้องได้อาหารพิเศษ
  • ตรวจสอบความเร็วที่น้ำนมไหลจากขวดว่าเหมาะสมกับลูกหรือไม่
  • หากรูใหญ่เกินไปจะทำให้น้ำนมไหลออกมาอย่างรวดเร็ว เด็กอาจสำลัก แน่นท้อง และมีอาการโคลิค
  • หากรูเล็กเกินไปจะทำให้เด็กต้องออกแรงดูดมากขึ้น อาจทำให้เด็กอ่อนเพลีย โมโห แน่นท้อง และหิวได้
ควรใช้จุกนมซิลิโคนหรือจุกนมยาง
  • จุกนมซิลิโคนมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า
  • จุกนมยางมีความอ่อนนุ่มและใกล้เคียงกับหัวนมมากกว่า แต่ไม่เหมาะสำหรับเด็กที่แพ้ยาง
  • จุกนมยางมีกลิ่นที่อาจทำให้เด็กปฏิเสธ ลองนำไปต้มในน้ำนมนาน 3 นาทีจะช่วยลดกลิ่นลงได้
ควรเลือกจุกนมทรงกลมหรือทรงคล้ายหัวนมแม่
  • ยังไม่พบหลักฐานว่าจุกนมแบบใดให้ผลดีกว่าจุกนมแบบอื่น ควรเลือกจุกนมทรงที่ลูกชอบ

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

น้ำนมแม่และกระบวนการสร้างน้ำนม

กระบวนการสร้างน้ำนมแม่

...ในช่วงตั้งครรภ์
ภายหลังเดือนที่ 6 เต้านมจะเริ่มสร้างน้ำนมเหลืองซึ่งเป็นของเหลวรวบรวมไว้ด้วยสารอาหารที่จำเป็นทุกอย่างสำหรับทารกแรกคลอด ไม่ต้องวิตกหากยังมีน้ำนมไหลออกมาน้อย แม่อาจเตรียมแผ่นซับน้ำนมเผื่อไว้ใกล้มือ
...หลังคลอด 1-2 วัน
เต้านมจะยังคงสร้างน้ำนมเหลืองต่อหลังคลอด และอาจใช้เวลา 2-3 วันจึงจะมีน้ำนมแม่ไหลออกมา
น้ำนมเหลือง เป็นของเหลวสีจางซึ่งมีโปรตีนและภูมิคุ้มกันสูงและยังช่วยทารกถ่ายขี้เทา (อุจจาระเหนียวสีดำที่ถ่ายในช่วง 1-2 วันแรก) ไม่ต้องกังวลหากน้ำนมไหลเพียงครั้งละน้อย หากแม่คอยให้ทารกดูดนมทุกครั้งที่แสดงอาการหิวนมก็จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างน้ำนมแม่ และทารกจะได้สารอาหารครบถ้วนตามความต้องการ
...หลังคลอด 2-4 วัน
เต้านมจะเริ่มใหญ่ขึ้นเนื่องจากเริ่มมีการสร้างน้ำนมแม่ น้ำนมแม่จะมีลักษณะขาวข้นกว่าน้ำนมเหลือง โดยน้ำนมแม่ประกอบด้วย
  • ‘น้ำนมส่วนหน้า' เป็นน้ำนมที่ไหลออกมาก่อนเพื่อบรรเทาความกระหายน้ำของทารก
  • ‘น้ำนมส่วนหลัง' เป็นน้ำนมที่ไหลออกมาภายหลัง น้ำนมส่วนนี้มีไขมันสูงเพื่อช่วยให้ทารกอิ่มท้อง
จำเป็นที่แม่จะต้องให้ทารกดูดนมจนกว่าจะพอใจ เพื่อให้ทารกได้รับสารอาหารและน้ำอย่างครบถ้วน

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

วิธีการและเหตุผลที่ต้องไล่ลมให้ทารก

เหตุผล

  • อากาศอาจเข้าไปจุกอยู่ในท้องลูกขณะดูดนม ซึ่งอาจทำให้ลูกอึดอัดไม่สบายตัวและดูดนมได้ไม่มากเท่าที่ควร หากลูกได้รับนมแม่ไม่เพียงพออาจทำให้นอนไม่หลับ และหากให้นมทั้งที่ยังจุกเสียดก็อาจทำให้ลูกปวดท้องได้
  • เด็กบางคนอาจไม่เคยมีปัญหาเรื่องลมในท้อง แต่บางคนอาจแน่นท้องทุกครั้งหลังดูดนม

ควรทำเมื่อใด

  • โดยมากมักต้องไล่ลมในช่วงครึ่งทางของการให้นม และทำอีกครั้งหลังให้นมเสร็จ
  • การไล่ลมก่อนให้นมอาจช่วยบรรเทาอาการได้หากเด็กมีอาการแน่นท้องมากหรือแหวะนมออกมามากหลังให้นม 
  • อากาศอาจไหลย้อนลงไปในท้องระหว่างที่ร้องไห้และทำให้เด็กแน่นท้องได้

ทำได้อย่างไร

สามารถทำได้ 2 ท่า ได้แก่
  • ท่าพาดไหล่
  • ท่านั่งตัก โดยใช้มือข้างหนึ่งประคองหลังและอีกข้างคอยรองใต้คาง
  1. จัดลูกให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม
  2. ค่อยๆ ลูบหลังจนกว่าลูกจะเรอออกมา ให้ทำอย่างใจเย็นเพราะอาจต้องใช้เวลาบ้าง
  3. ลองให้นมลูกอีกครั้ง
เมื่อเรอลมออกมาแล้วเด็กจะท้องว่างและอาจต้องการนมเพิ่ม

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

วิธีให้นมลูกด้วยนมแม่

รายละเอียดตั้งแต่การให้นมจนถึงการไล่ลม

ควรเริ่มอย่างไร

ยิ่งเริ่มให้นมเร็วก็ยิ่งดี แม่อาจต้องช่วยฝึกฝนกันเล็กน้อยแต่ทารกนั้นมีสัญชาติญาณดูดนมแม่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด เมื่อแม่เริ่มคุ้นเคยก็จะรู้สึกการให้นมแม่สะดวกขึ้นมาก

วิธีให้นมแม่

1.ล้างมือและอยู่ในท่าที่สบาย
  • นั่งหลังตรงให้หน้าตักราบ
  • เตรียมหมอนอิงไว้พิงหลัง (อาจไม่ต้องใช้)
  • วางหมอนไว้บนตักเพื่อให้ลูกอยู่ใกล้กับเต้านม (อาจไม่ต้องใช้)
  • เตรียมน้ำดื่ม 1 แก้ว
2.ปรับท่าอุ้มลูกให้หน้าท้องแม่และลูกสัมผัสกัน
หากดูดนมจากเต้าข้างซ้าย
  • ช้อนก้นลูกด้วยแขนข้างขวา
  • ใช้มือซ้ายประคองลำคอและช่วงไหล่ของลูก
หากดูดนมจากเต้าข้างขวา
  • ช้อนก้นลูกด้วยแขนข้างซ้าย
  • ใช้มือขวาประคองลำคอและช่วงไหล่ของลูก
3.ยกตัวลูกมาที่เต้านม
  • ให้จมูกลูกอยู่ชิดกับหัวนม
  • ให้ศีรษะลูกสามารถเอนไปด้านหลังเล็กน้อย
4.สอดหัวนมเข้าปากลูกอย่างนุ่มนวล
  • ลูกควรอ้าปากให้กว้างพอจนงับถึงลานหัวนมซึ่งเป็นวงสีคล้ำอยู่รอบหัวนม
5.กระชับลูกกับหน้าอกเพื่อให้เด็กอมหัวนมได้ลึก
ริมฝีปากล่างและคางของลูกจะแนบกับเต้านม
6.ลูกจะต้องอมหัวนมและลานนมด้านล่างไว้ในปาก
คางของลูกควรแนบกับเต้านม
  • ลูกควรอมเต้านมไว้เต็มปาก
  • ลูกควรอมลานนมด้านล่างจนเกือบมิดโดยเหลือลานนมด้านบนเผยอนอกริมฝีปาก
  • ลูกควรหายใจสะดวก
  • แม่อาจต้องคอยประคองเต้านม
7.แม่จะรู้สึกจี๊ดที่เต้านม
เป็นความรู้สึกเมื่อน้ำนมแม่ไหลออกมา แม่จะเห็นขากรรไกรเด็กเคลื่อนไหวและได้ยินเสียงกลืนของลูก เมื่อน้ำนมไหลออกมามากขึ้นแม่อาจรู้สึกเจ็บ ร้อน หรือรู้สึกเหมือนถูกแทงที่เต้านม
8.ให้ลูกดูดนมไปจนกว่าจะพอใจ
หากลูกดูดนมจนหมดเต้าข้างหนึ่งแล้ว (สังเกตได้จากลูกมีอาการกระสับกระส่ายและเต้านมเริ่มนิ่มลง) ให้สลับไปที่เต้านมอีกข้าง
9.‘ไล่ลม' หรือ ‘ไล่เรอ' ให้ลูก
ควรไล่ลมหลังจากลูกดูดนมอิ่มแล้ว (ลูกจะแสดงอาการผละจากเต้านมหรือหลับหลังจากที่อิ่มแล้ว)
คลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการไล่ลมเด็ก
10.ให้นมแม่ซ้ำอีกครั้ง
หลังจากไล่ฟองอากาศในท้องออกไปแล้วเด็กอาจต้องการดูดนมเพิ่มอีก

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกหิวนม

  • แม่จะรู้สึกจี๊ดที่หน้าอก ซึ่งแสดงว่าน้ำนมกำลังไหล
  • ลูกขยับขากรรไกร (ใบหูของลูกจะขยับตามขากรรไกร)
  • ได้ยินเสียงลูกกลืน
  • แม่ควรรู้สึกผ่อนคลาย การให้นมไม่ควรรู้สึกเหมือนเป็นด่านทดสอบความอดทน
ไม่ต้องกังวลหากรู้สึกผิดปกติ สอดนิ้วเข้าปากเพื่อให้ลูกหยุดดูดนม และให้ลูกอมหัวนมใหม่

เหตุใดยังคงปวดประจำเดือนในช่วงให้นม

อาการปวดเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก อาการนี้เกิดจากการกระตุ้นของฮอร์โมนที่หลั่งออกมาขณะให้นม ทำให้แม่มักรู้สึกปวดมากขึ้นระหว่างที่กำลังให้นม

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

โภชนาการที่ดีระหว่างตั้งครรภ์


  • ไม่จำเป็นต้องกินเผื่อถึงสอง!เพราะแม่จำเป็นต้องได้รับแคลอรีเพิ่มเฉพาะในช่วงสามเดือนสุดท้ายเท่านั้น การรับประทานอาหารให้หลากหลายและถูกหลักโภชนาการจะช่วยให้แม่และลูกได้รับสารอาหารครบถ้วน
  • พยายามรับประทานอาหารและเครื่องดื่มให้หลากหลาย ได้แก่
อาหารจำพวกแป้ง เช่น ข้าว ขนมปัง พาสตา มันฝรั่ง โดยควรเลือกชนิดที่ผ่านการขัดสีน้อย
ผักและผลไม้หลายชนิดอย่างน้อยวันละ 5 ส่วน รับประทานได้ทั้งของสด แช่แข็ง บรรจุกระป๋อง อบแห้ง หรือน้ำคั้น
นมพาสเจอร์ไรส์อย่างน้อยวันละแก้ว หรือรับประทานผลิตภัณฑ์จากนม เช่น เนยแข็งและโยเกิร์ตให้มากขึ้นเพื่อเสริมแคลเซียมให้เพียงพอกับความต้องการ
อาหารโปรตีนสูง เช่น เนื้อไม่ติดมันไก่ ปลา ไข่ปรุงสุก หรือเมล็ดพืชจำพวกถั่วหรือเลนทิล
ปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ส่วน แต่ควรพยายามจำกัดการรับประทานปลาไขมันสูงไม่ให้เกินสัปดาห์ละ 2 ส่วน
ใยอาหาร เช่น ข้าว ขนมปัง พาสตา และข้าวที่ผ่านการขัดสีน้อย เมล็ดพืช ผักและผลไม้
อาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก เช่น เนื้อแดง เมล็ดพืช ขนมปังผ่านการขัดสีน้อย ผักสีเขียว อาหารเช้าธัญพืช และผลไม้อบแห้ง ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานตับแม้เป็นแหล่งของธาตุเหล็ก เมื่อรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงควรรับประทานผักผลไม้หรือดื่มนมไปพร้อมกัน วิตามินซีในอาหารเหล่านี้จะช่วยให้ร่างกายดูดซับธาตุเหล็กได้ดีขึ้น
ดื่มน้ำให้เพียงพอ ทั้งน้ำเปล่าหรือน้ำผลไม้
เสริมกรดโฟลิกวันละ 400 ไมโครกรัมจนกระทั่งสัปดาห์ที่ 12 และควรรับประทานอาหารที่มีโฟเลตสูง เช่น ผักใบเขียว ข้าวกล้อง ขนมปัง และอาหารเช้าธัญพืชสูตรเสริมธาตุอาหาร

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

  • เนยแข็งบางชนิด โดยเฉพาะเนยชนิดอ่อน เช่น กามองแบร์และบรี เนยจากนมแพะ (โดยเฉพาะเนยชอฟ) และเนยแข็งบ่มด้วยราซึ่งมีส่วนผสมของแบคทีเรียลิสเตอเรียอันอาจเป็นอันตรายต่อทารก
  • ไข่ดิบหรือสุกไม่ทั่วถึง ต้องรับประทานไข่สุกทั้งไข่แดงและไข่ขาวเพื่อป้องกันเชื้อซาลโมเนลลา
  • เนื้อดิบหรือสุกไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะเนื้อไก่หรือผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากเนื้อบด (เช่น ไส้กรอก หรือเบอร์เกอร์)  ต้องปรุงเนื้อให้สุกและรับประทานขณะยังร้อน และก่อนจะรับประทานต้องดูด้วยว่าสุกถึงเนื้อในหรือไม่
    • หากเก็บเนื้อดิบในตู้เย็นให้เก็บเนื้อไว้ชั้นล่างเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำจากเนื้อหยดลงบนอาหารอื่น
    • ควรล้างมือหลังหยิบจับเนื้อดิบเพื่อป้องกันการปนเปื้อนกับอาหารอื่น
  • อาหารที่อาจปนเปื้อนเชื้อพยาธิ เช่น หอยนางรมดิบ หรือสัตว์น้ำมีเปลือก
  • ลดการบริโภคอาหารไขมันและน้ำตาลสูง เช่น ขนมปังกรอบหรือเค้ก และหันมารับประทานแซนด์วิช ซุป ผลไม้ และโยเกิร์ตไขมันต่ำแทน
  • หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปที่ปรุงไม่สุก ให้อุ่นอาหารจนสุกทั่วถึง

เหล้า

  • เหล้าเป็นอันตรายต่อทารกและควรหลีกเลี่ยง

คาเฟอีน

  • ผลของคาเฟอีนที่แม่ได้รับจะส่งไปถึงทารกด้วย เพราะฉะนั้นควรจำกัดปริมาณคาเฟอีนไม่เกินวันละ 200 มิลลิกรัม
  • กาแฟสำเร็จรูปหนึ่งแก้วใหญ่มีคาเฟอีน 100 มิลลิกรัม
  • กาแฟคั่วหนึ่งแก้วใหญ่มีคาเฟอีน 140 มิลลิกรัม
  • กาแฟหนึ่งถ้วยมีคาเฟอีน 75 มิลลิกรัม
  • ชาหนึ่งแก้วใหญ่มีคาเฟอีน 75 มิลลิกรัม
  • ชาหนึ่งถ้วยมีคาเฟอีน 50 มิลลิกรัม
  • โคลาหนึ่งกระป๋องมีคาเฟอีน 40 มิลลิกรัม
  • ช็อคโกแลตแท่งขนาด 50 กรัมมีคาเฟอีน 50 มิลลิกรัม
  • ขนมรสช็อคโกแลต/กาแฟหนึ่งชิ้นมีคาเฟอีน  30 มิลลิกรัม

ไขมันที่เป็นประโยชน์

  • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน เช่น โอเมกา 3 และ 6 ซึ่งช่วยพัฒนาการทางสมองและระบบประสาทส่วนกลางของทารก
  • ควรรับประทานปลาไขมันสูงซึ่งมีกรดไขมันโอเมกา 3 สัปดาห์ละครั้ง แต่ไม่ควรรับประทานเกินสัปดาห์ละ 2 ส่วน
  • ปลาไขมันสูงได้แก่ ปลาซาร์ดีน ปลาเฮอร์ริง ปลาแมคเคอเรล และปลาทูนาสด (ทูนากระป๋องไม่มีโอเมกา 3)
  • หากไม่ชอบรับประทานปลา สามารถหันมาใช้น้ำมันคาโนลาหรือน้ำมันปอป่านในการปรุงอาหาร หรือรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโอเมกา 3 (นอกเหนือจากน้ำมันตับปลา)
  • โอเมกา 6 ยังพบในน้ำมันพืช เช่น น้ำมันดอกทานตะวัน รวมถึงน้ำมันพืชไขมันต่ำ

กรดโฟลิก

  • กรดโฟลิกมีส่วนช่วยกระบวนการสร้างเลือดที่จำเป็นระหว่างตั้งครรภ์
  • การได้รับกรดโฟลิก (หรือโฟเลต) ไม่เพียงพอในช่วงเริ่มตั้งครรภ์อาจส่งผลต่อความผิดปกติของท่อประสาท เช่น ให้โรคกระดูกสันหลังไม่ปิด
  • โฟเลตพบในผักใบเขียว เช่น บรอคโคลี กะหล่ำดาว ถั่วเขียว ถั่ว
  • รับประทานอาหารเช้าธัญพืชเสริมธาตุอาหารหนึ่งถ้วยจะช่วยให้ได้กรดโฟลิกราวหนึ่งในสามหรือครึ่งหนึ่งของปริมาณความต้องการในแต่ละวัน
  • อาหารอื่นที่มีโฟเลตสูงประกอบด้วย สารสกัดจากยีสต์ ส้ม นม โยเกิร์ต ขนมปัง และมันฝรั่ง

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

สัมผัสการเคลื่อนไหวของทารก

สิ่งที่จะเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์

16-20 สัปดาห์

  • แม่ที่เคยมีลูกมาก่อนมักสัมผัสการดิ้นครั้งแรกของทารกราวสัปดาห์ที่ 16-18
  • แม่ท้องลูกคนแรกมักสัมผัสการดิ้นของทารกราวสัปดาห์ที่ 18-20 เนื่องจากยังไม่สามารถแยกแยะความรู้สึกได้
  • แม่มักรู้สึกคล้ายมีอะไรกระพืออยู่ในท้อง หรือคล้ายมีฟองอากาศเคลื่อนอยู่ในท้อง

20-26 สัปดาห์

  • การดิ้นของลูกจะรู้สึกได้ชัดขึ้น เด็กจะเริ่มต่อย เตะ หรือพลิกตัว
  • แม่จะเริ่มชินกับการดิ้นและกิจวัตรของทารก
  • แม่อาจสังเกตได้ถึงการดิ้นที่เป็นจังหวะ หรือการสะอึกของทารก
  • ทารกอาจผวาหากมีเสียงดังลั่น
  • ทารกบางคนอาจกระฉับกระเฉงเป็นพิเศษ และทารกทุกคนจะมีช่วงเวลาพักผ่อนสลับกับเคลื่อนไหว

27-40 สัปดาห์

  • ทารกจะดิ้นมากที่สุดในช่วงสัปดาห์ที่ 26-32
  • บางครั้งทารกอาจดิ้นแรงจนแม่หายใจไม่ออกไปชั่วขณะ
  • ทารกจะดิ้นช้าลงเมื่อเริ่มโตจนคับรก
  • ทารกส่วนใหญ่จะกลับหัวลงในช่วงใกล้คลอด ทำให้แม่รู้สึกจุกเมื่อถูกทารกเตะบริเวณชายโครง

ควรแจ้งผดุงครรภ์เมื่อใด

  • แจ้งแพทย์หรือผดุงครรภ์หากกิจวัตรการดิ้นของลูกเริ่มเปลี่ยนไป
  • ตัดสินใจจากสัญชาติญาณ เพราะแม่เป็นผู้ที่รู้จักลูกของตัวเองดีที่สุด

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

วางแผนการคลอด จะวางแผนอย่างไร

สมุดวางแผนการคลอดเป็นบันทึกสิ่งที่คุณแม่ต้องการให้เกิดขึ้นในช่วงคลอดลูกหรือหลังคลอด
  • ห้องคลอดออกมีแบบฟอร์มให้กรอก หรืออาจเขียนในสมุดฝากครรภ์ก็ได้
  • ปรึกษากับสามีและพิจารณาทางเลือกแต่ละข้ออย่างถี่ถ้วน
  • ปรึกษากับผดุงครรภ์ เจ้าหน้าที่จะช่วยตอบข้อซักถามทุกอย่าง
  • การวางแผนการคลอดต้องพิจารณาร่วมกับประวัติสุขภาพของแม่ รวมถึงอุปกรณ์และเครื่องมือที่มีใช้ในห้องคลอด

ข้อมูลที่ควรระบุ

  • สถานที่คลอดบุตร
  • ผู้ที่จะอยู่ร่วมระหว่างการคลอด
  • วิธีการตรวจสอบสุขภาพทารก (ติดเซนเซอร์หรือใช้อุปกรณ์)
  • ต้องการที่จะยังเคลื่อนไหวได้
  • อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ เช่น เก้าอี้ปรับสภาพได้ หรือเสื่อรอง
  • วิธีการระงับปวด
  • ต้องการคลอดในน้ำหรือไม่
  • ความเห็นต่อการตัดขยายปากช่องคลอด (กรีดผิวหนังบริเวณฝีเย็บ)
  • ท่าที่จะใช้คลอดบุตร
  • มีความจำเป็นใดเป็นพิเศษ เช่น จำเป็นต้องรับประทานอาหารต่างจากปกติ
  • ต้องการอุ้มลูกทันทีที่คลอดหรือให้ทำความสะอาดตัวเด็กก่อน
  • ให้ใครตัดสายสะดือ
  • ต้องการให้ทารกได้วิตามินเคหลังคลอดหรือไม่ (ช่วยป้องกันปัญหาลิ่มเลือด)
  • จะให้นมลูกอย่างไร
การเจ็บครรภ์และคลอดบุตรนั้นกะเกณฑ์กันไม่ได้และอาจไม่ตรงตามแผนเสมอไป พยายามปล่อยวางและอย่าผิดหวังจนเกินไปหากไม่สามารถปฏิบัติตามแผนการคลอดที่วางไว้

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

ทำไมนมเเม่ถึงดีที่สุด

นมแม่ดีที่สุด

เหตุใดนมแม่จึงเป็นก้าวแรกที่อันสำคัญที่สุดของทารก?

เหตุใดนมแม่จึงดีที่สุด?

  • นมแม่มีโปรตีนและสารอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสมตามความต้องการของเด็ก
  • นมแม่มีภูมิคุ้มกันช่วยต่อต้านเชื้อโรค
  • นมแม่ช่วยลดความเสี่ยงหอบหืด ผิวหนังอักเสบ และโรคภูมิแพ้อื่น
  • นมแม่สะอาด
  • นมแม่ย่อยง่าย
  • นมแม่มีอุณหภูมิกำลังดี และพร้อมเสมอเมื่อทารกต้องการ
  • นมแม่ช่วยลดปัญหาให้นมมากเกินความต้องการของทารก
  • นมแม่ไม่เสียค่าใช้จ่าย

นมแม่ยังดีต่อสุขภาพของแม่ด้วย

  • การให้นมแม่ช่วยกระชับสายสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก
  • นมแม่ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านมก่อนวัยทอง
  • นมแม่ช่วยให้มดลูกเข้าอู่และป้องกันภาวะเลือดออกหลังคลอด
  • นมแม่สะดวก เพราะเป็นนมพร้อมดื่มและไม่ต้องเสียเวลาไปนึ่งขวดนม

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2555

นอนหลับพักผ่อน แม่จำเป็นต้องพักผ่อนให้เพียงพอ

นอนหลับพักผ่อน

แม่จำเป็นต้องพักผ่อนให้เพียงพอ

เป็นเรื่องธรรมดาที่แม่ท้องจะประสบปัญหาหลับยาก โดยเฉพาะในช่วงสามเดือนสุดท้ายซึ่งท้องเริ่มขยายใหญ่ขึ้น
ไม่ต้องวิตกหากมีภาวะหลับยาก ปัญหานี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อทารก

การแก้ไข

  • ออกกำลังกายเบาๆ ระหว่างวัน
  • การพักผ่อนระหว่างวันจะช่วยคลายความเหนื่อยล้า
  • เปลี่ยนกิจกรรมก่อนนอนจากการเฝ้าหน้าจอและหันมาอ่านหนังสือ ฟังเพลงเบาสบาย หรือแช่น้ำอุ่นสักพัก
  • ดื่มนมร้อนก่อนเข้านอน
  • นอนตะแคงโดยเสริมหมอนหนุนหลัง รองใต้ท้อง และหนุนไว้ระหว่างเข่า
  • เทคนิคการผ่อนคลายอาจช่วยได้ ลองขอคำแนะนำจากคอร์สเตรียมการคลอด

การพักผ่อนหลังคลอด

  • อย่าลืมว่าตารางเวลานอนของคุณอาจเปลี่ยนชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ
  • หาเวลานอนให้มากที่สุด พยายามนอนเมื่อโอกาสอำนวยไม่ว่าเวลาใดก็ตาม
  • หลีกเลี่ยงทำงานบ้านทั้งที่กำลังเคลิ้มหลับ สิ่งสำคัญกว่าคือการพักผ่อนให้เพียงพอ
  • อย่าเกรงใจหากต้องขออาศัยความช่วยเหลือจากเพื่อน พยายามขอความช่วยเหลือจากสามี ครอบครัว และเพื่อนเท่าที่จะทำได้
  • อาจขอให้สามีผลัดเวรให้นมลูกตอนกลางคืนบ้าง หากเลี้ยงด้วยนมแม่ก็ให้ปั๊มนมสำรองไว้ก่อนในช่วงกลางวัน
  • จะเป็นการดีหากจะมีใครมาช่วยดูแลเด็กสัก 2-3 ชั่วโมงเพื่อให้คุณมีเวลาผ่อนคลายบ้าง

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

เมื่อกำหนดคลอดมาถึง

อาการ

อาการไม่รุนแรง

เป็นธรรมดาที่จะเกิดอาการปวดและเจ็บระหว่างตั้งครรภ์ แต่ไม่จำเป็นที่คุณแม่จะต้องกล้ำกลืนความเจ็บปวดไว้ มีหลายวิธีที่จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้น และควรปรึกษาแพทย์หากเป็นกังวล

อาการไม่รุนแรง

ปวดหลัง

  • ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาในช่วงตั้งครรภ์จะทำหน้าที่คลายและยืดเส้นเอ็นต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมร่างกายสำหรับการคลอด
  • ผลจากฮอร์โมนทำให้หลังและสะโพกต้องรับภาระหนักขึ้น
การบรรเทา
  • นวด
  • ออกกำลังกายเสริมความแข็งแรงกล้ามเนื้อหลัง (ปรึกษานักกายภาพบำบัด)
  • เลิกสวมรองเท้าส้นสูง
  • นอกบนฟูกที่ไม่ยุบตัว
  • ระมัดระวังเวลายกของ
  • คอยปรับท่านั่งที่เหมาะสม นั่งในท่าหลังตรงให้ลำคอและแผ่นหลังเป็นแนวเดียวกัน
  • พยายามพักผ่อนให้มากที่สุดเมื่อเริ่มท้องแก่
  • ปรึกษานักกายภาพบำบัดเพื่อลดปัญหาปวดหลัง

ท้องผูก

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและทารกที่เริ่มโตขึ้นทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ช้าลง และอาจทำให้ท้องผูกได้
การบรรเทา
  • รับประทานอาหารอุดมด้วยกากใย เช่น ข้าว ขนมปังและพาสตาที่ผ่านการขัดสีน้อย ผักผลไม้ อาหารเช้าจำพวกธัญญพืช ถั่ว
  • ดื่มน้ำและน้ำผลไม้มากๆ

เหน็บชา

อาจเกิดอาการปวดเหน็บบริเวณน่องหรือเท้าอย่างฉับพลัน โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน
การบรรเทา
  • ออกกำลังกายเบาๆ ช่วยฟื้นฟูการไหลเวียนเลือด
  • เมื่อเป็นเหน็บให้นวดคลึงบริเวณที่เกิดอาการจะช่วยคลายปวด

หน้ามืด/วิงเวียน

เนื่องจากครรภ์จำเป็นต้องอาศัยเลือดปริมาณมากเข้าไปหล่อเลี้ยงจึงอาจทำให้เกิดอาการหน้ามืดวิงเวียนได้เป็นปกติ
การบรรเทา
  • พยายามอยู่ในที่เย็น
  • หลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานาน
  • หากเริ่มมีอาการหน้ามืดให้เปลี่ยนท่านอนตะแคง
  • อย่าผลุนลุกขึ้นจากท่านั่ง

ปวดแสบหน้าอก

อาการปวดแสบหน้าอกเกิดจากของกรดในกระเพาะไหลย้อนขึ้นมาทางหลอดอาหาร มักเกิดขึ้นเมื่ออยู่ในท่านอนหรือหลังรับประทานอาหารบางอย่าง และอาจทำให้นอนไม่หลับ
การบรรเทา
  • ปรึกษาเภสัชกรเพื่อขอรับยาหรือปรึกษาเพื่อรับการรักษากับแพทย์
  • เตรียมหมอนหนุนหลังขณะนอน
  • ดื่มนมหนึ่งแก้วสัก 1-2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน และอย่ารับประทานอาหารอะไรอีกหลังจากนั้น
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้มีอาการ และอย่าเข้านอนทันทีหลังรับประทานอาหาร

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวารคือ การมีหลอดเลือดขอดโป่งพองรอบทวารหนักซึ่งอาจเกิดจากแรงดันในท้อง
บางครั้งอาจมีเลือดออก รู้สึกคันหรือเจ็บ และอาจทำให้ถ่ายลำบาก
อาการมักดีขึ้นหลังคลอด
การบรรเทา
  • รับประทานอาหารอุดมด้วยกากใย เช่น ขนมปังและพาสตาที่ผ่านการขัดสีน้อย ผักผลไม้ อาหารเช้าธัญพืช ถั่ว
  • ดื่มน้ำและน้ำผลไม้มากๆ
  • ปรึกษาแนวทางการรักษาจากแพทย์

บวมที่ข้อเท้า เท้า นิ้ว

ข้อเท้า เท้า และนิ้วมักบวมขึ้นเล็กน้อยในช่วงตั้งครรภ์จากการที่ร่างกายกักเก็บน้ำไว้มากกว่าปกติ  โดยมักพบในช่วง
หัวค่ำ
อากาศร้อน
ยืนติดต่อกันเป็นเวลานาน
การบรรเทา
  • หลีกเลี่ยงยืนติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • สวมรองเท้าใส่สบาย
  • ยกเท้าให้สูงไว้เท่าที่จะทำได้ ลองพักผ่อนในท่านอนวันละหนึ่งชั่วโมงโดยยกเท้าให้สูงกว่าศีรษะ
  • ลองฝึกการบริหารเท้าตามวิธีด้านล่าง

การบริหารเท้าเพื่อลดข้อเท้าบวม

สามารถทำได้ทั้งในท่านั่งหรือท่ายืน ซึ่งจะช่วยการไหลเวียนเลือด รวมทั้งลดการบวมที่ข้อเท้าและเหน็บชาที่น่องขา
เหยียดเท้าขึ้นลงสลับกัน 30 ครั้ง
หมุนข้อเท้า 8 ครั้งสลับกับหมุนทวนทิศทางอีก 8 ครั้ง

อ่อนเพลีย

เป็นธรรมดาที่จะรู้สึกอ่อนเพลียโดยเฉพาะในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ รวมทั้งเมื่อเริ่มท้องแก่
การบรรเทา
  • ดูแลเรื่องอาหารและน้ำ
  • พักผ่อนให้มากที่สุด
  • ขอความช่วยเหลือจากเพื่อน ครอบครัว และเพื่อนร่วมงาน  

อาการที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม

หากคุณแม่กังวลหรือพบอาการดังต่อไปนี้ ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที
  • เป็นลมหน้ามืดบ่อย
  • ไข้
  • ปวดท้องรุนแรง
  • บวมที่หน้า มือ และรอบดวงตา
  • ตาพร่า
  • ปวดศีรษะรุนแรง
  • น้ำหนักขึ้นพรวดพราดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • เลือดออกจากช่องคลอด
  • อาเจียนรุนแรง
  • ปวดขณะมีปัสสาวะ
  • กระหายน้ำทั้งที่ปัสสาวะน้อยหรือไม่มีปัสสาวะ
  • เด็กไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยลงหลังสัปดาห์ที่ 22 (น้อยกว่าวันละ 10-12 ครั้ง)
  • คันอย่างรุนแรงที่บริเวณท้อง มือ และฝ่าเท้า
  • เกิดกระแทกบริเวณท้อง

ครรภ์เป็นพิษ

ครรภ์เป็นพิษหมายถึงอะไร
ครรภ์เป็นพิษเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเฉพาะระหว่างตั้งครรภ์หรือหลังคลอดทำให้ความดันเลือดของแม่สูงขึ้น รวมทั้งมีไข่ขาวในปัสสาวะ (รั่วจากไต)  และบวมน้ำ ภาวะครรภ์เป็นพิษพบในอัตราส่วน 1 ต่อ 14 ซึ่งมักพบหลังสัปดาห์ที่ 20 ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องรักษา การตรวจร่างกายตามนัดก็อาจเพียงพอ อัตราการเกิดภาวะชักจากครรภ์เป็นพิษในผู้ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษอยู่ที่ราว 1 ต่อ 100  และมักพบในช่วง 3 เดือนก่อนคลอด หรือหลังคลอด 48 ชั่วโมง ภาวะชักจากครรภ์เป็นพิษเป็นอาการชักประเภทหนึ่งซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำตัวอย่างปัสสาวะติดมาทุกครั้งที่นัดตรวจครรภ์
อาการ
  • ภาวะครรภ์เป็นพิษในช่วงเริ่มเป็นไม่มีอาการแสดง
  • ความดันเลือดสูงอาจเป็นสัญญาณชี้ครรภ์เป็นพิษ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจครรภ์ตามนัดทุกครั้ง
  • ปัสสาวะมีไข่ขาว (มีโปรตีนปะปนอยู่ในปัสสาวะ) ตาพร่า ปวดศีรษะ
  • เมื่อเริ่มรุนแรงขึ้นคุณอาจมีอาการดังนี้
  • ปวดศีรษะหรือเวียนศีรษะอย่างรุนแรง
  • ปัญหาการมองเห็น เช่น ตาพร่า หรือเห็นแสงกะพริบ
  • ปวดท้องส่วนบน
  • อาเจียน
  • เกิดอาการบวมที่เท้า ข้อเท้า ใบหน้า และมืออย่างฉับพลัน น้ำหนักตัวเพิ่มจากอาการบวมน้ำ
  • หากพบว่ามีอาการดังกล่าวให้รีบพบแพทย์ทันที
การรักษา
  • เน้นการลดความดันเลือด โดยมักรักษาด้วยยาและนอนพักยังโรงพยาบาล
  • แพทย์จะพยายามควบคุมอาการให้คงที่จนถึงสัปดาห์ที่ 36 เพื่อลดความเสี่ยงในการคลอด

เลือดออกจากช่องคลอด

แม้เลือดออกจากช่องคลอดจะดูน่าวิตก แต่ก็อาจไม่เป็นอันตรายต่อทารกเสมอไป

ขณะท้องอ่อน

เลือดออกในระยะนี้อาจเป็นสัญญาณของท้องนอกมดลูกหรือแท้ง
หากพบเลือดออกให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที

หลัง 5 เดือน
หากมีเลือดออกให้รีบปรึกษาแพทย์ การพบเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ควรถือเป็นปัญหาสำคัญ

แท้ง

การแท้งหมายถึง การตั้งครรภ์เกิดล้มเหลวก่อน 24 สัปดาห์ อย่างไรก็ดีผู้หญิงที่เคยแท้งส่วนใหญ่มักสามารถกลับมามีลูกได้อีกครั้ง

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

เมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์

หลังพบว่าตั้งครรภ์

นัดหมายกับแพทย์ประจำตัว

แพทย์จะให้คำแนะนำ ตอบคำถามเบื้องต้น และกำหนด ‘ตารางนัดตรวจครรภ์' ซึ่งพยาบาลผดุงครรภจะนัดตรวจเมื่ออายุครรภ์ได้ราว 8-12 สัปดาห์

บอกเล่าข่าวดี

 การบอกให้เพื่อนและครอบครัวทราบว่าคุณแม่กำลังมีน้องนับเป็นความสนุกที่สุดอย่างหนึ่งของการตั้งครรภ์ บางคนอาจรอให้ถึง 12 สัปดาห์ หรือจนกว่าหลังการสแกนครั้งแรก แต่บางคนก็อาจบอกทุกคนตั้งแต่รู้ตัว ขึ้นอยู่กับคุณแล้วล่ะ

เรียนรู้

อินเตอร์เน็ตและหนังสือจะเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีอย่างยิ่งสำหรับการเตรียมดูแลครรภ์ ซึ่งจะช่วยให้คุณทราบ พัฒนาการของทารกในครรภ์ แต่ละสัปดาห์ สิ่งที่กำลังจะพบเจอและแนวทางรับมือ การเข้าคอร์สเตรียมพร้อมการคลอดเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยให้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกับคุณแม่คนอื่น

ดูแลตัวเอง

พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีคุณค่า และออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยให้คุณมีสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรง

เปิดรับความช่วยเหลือ

การพูดคุยกับเพื่อน ครอบครัว และผู้เชี่ยวชาญเป็นสิ่งสำคัญ พวกเขาจะช่วยคลายข้อสงสัยและความกังวล และหากทำได้ก็ควรผูกมิตรกับแม่ท้องคนอื่นที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงและมีกำหนดคลอดช่วงเดียวกันเพื่อร่วมแบ่งปันประสบการณ์

มองโลกในแง่ดี

มีความสุขกับการตั้งครรภ์ให้เต็มที่ เพราะช่วงเวลานี้จะอยู่กับคุณเพียง 9 เดือนเท่านั้น

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

มหัศจรรย์เเห่งความผูกผันถักถอสายใยรักผ่านการให้นมลูกน้อย

1.ให้ความใกล้ชิด ด้วยการอุ้มลูกน้อยไว้กับอก และกอดไว้เบาๆ
2. ถ่ายทอดความอบอุ่น ด้วยการอุ้มลูกน้อยแนบข้างลำตัว ใช้หมอนรองตัวลูกน้อยไว้
3. ประสานสายใยความผูกพัน ด้วยการสบสายตากับลูกน้อย ขณะที่คุณแม่ที่ให้นมขวด
4. เพิ่มความสะดวก ด้วยการใช้หมอนนุ่มๆ รองตัวลูกน้อยไว้ ขณะให้นมลูก
5. ดูแลให้ลูกน้อยสดชื่น สบายท้อง ด้วยการให้นมในปริมาณที่เหมาะสม

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

อาบน้ำให้ลูกสื่อสัมผัสที่อบอุ่น

เมื่อลูกน้อยร้องไห้ไม่หยุด ใบหน้าเริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดงก่ำ ตัวเกร็ง บิดงอ อาการร้องไห้เช่นนี้อาจเกิดจาก ความไม่สบายตัวจากความไม่คุ้นเคยที่ต้องออกมาอยู่โลกภายนอก วิธีรับมือกับอาการนี้ เพียงสร้างบรรยากาศ จำลองเหมือนในครรภ์แม่ให้ลูกน้อย โดยการอุ้มเจ้าตัวน้อย นั่งบนเก้าอี้โยก โยกช้าๆ อย่างสม่ำเสมอ การเคลื่อนไหวแบบนี้ จะช่วยให้ลูกได้ความรู้สึกคุ้นเคยเหมือนตอนอยู่ในครรภ์แม่ ลูกก็จะหยุดร้อง และหลับสบายอย่าง ต่อเนื่องและยาวนาน

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

ลมในท้องศัตรูที่แฝงอยู่ในลูกน้อย

เริ่มต้นด้วยการให้ลูกน้อยนั่งตัวตรง แล้วใช้มือลูบและตบที่หลังลูกเบาๆ จากนั้นคุณแม่อุ้มลูกน้อย ให้อยู่ในระดับบ่า พร้อมลูบหลังลูกน้อยอย่างเบามือ ต่อจากนั้น คุณแม่ให้ลูกน้อยนั่งตัวตรง จับบริเวณหลังและคอ โยกตัวลูกเบาๆ ให้เป็นวงกลม จากนั้นให้คุณแม่อุ้มลูกน้อยในท่ายืน โดยให้ตัวลูกอยู่ในระดับบ่า จากนั้นก็ลูบหรือตบหลังลูกน้อย เบาๆ เพียงเท่านี้ ลมในท้องที่คอยสร้างความรำคาญให้เจ้าตัวเล็กก็จะหายไป ให้ลุกน้อยสบายท้อง อารมณ์ดี

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

กลวิธีดูแลง่ายๆยามลูกน้อยไม่สบายตัว

กลวิธีง่ายๆ ในการดูแล ยามลูกน้อยมีอาการไม่สบายตัว คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้สบายๆ ดังนี้

1. เมื่อลูกน้อยเริ่มมีอาการงอแง ไม่สบายตัว คุณพ่อคุณแม่ควรถอดเสื้อผ้าเนื้อหนาออก และอาบน้ำลูกน้อย เพื่อลดอุณหภูมิร่างกาย ให้รู้สึกสบายตัวขึ้น

2. เพื่อป้องกันความเปียกชื้นและลดปัญหาผดผื่นซึ่งอาจกลับมาสร้างความไม่สบายตัวให้ลูกน้อยอีก ควรป้องกันด้วยการทาแป้งเด็ก สูตรอ่อนโยน เพื่อให้ลูกน้อยสบายตัว อารมณ์ดีได้ตลอดทั้งวัน

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

จัดห้องอย่างไรให้เหมาะกับเจ้าตัวเล็ก

 นอกจากเรื่องการเลี้ยงดูแล้ว เรื่องห้องนอนของลูกน้อยก็เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่เป็นกังวล ไม่ว่าจะเป็นจะให้เด็กนอนในห้องแอร์หรือห้องพัดลมดี สำหรับเรื่องอุณหภูมินี้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเป็นห่วง เด็กๆ ควรได้รับรู้การเปลี่ยนแปลงของอากาศเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ เพื่อให้ร่างกายได้ปรับอุณหภูมิบ้าง สำหรับบางบ้านที่ติดแอร์อยู่แล้ว ก็ควรปรับอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส หากบ้านท่านมีอากาศถ่ายเทสะดวก ก็ไม่จำเป็นต้องติดแอร์ เพียงเปิดพัดลมเบาๆ ช่วยระบายอากาศเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว ส่วนเรื่องเสียงรบกวนนั้น เด็กเกิดใหม่มักไม่ค่อยมีปัญหา แต่ไม่ควรมีเสียงดังเกินไป และไม่ควรให้ห้องลูกน้อยอยู่ใกล้ห้องรับแขก เพราะแขกอาจนำเชื้อโรคมาติดลูกน้อยก็เป็นได้ และสุดท้าย การทำความสะอาดห้อง ห้องนอนเด็กควรทำความสะอาดสม่ำเสมอ เพราะถ้าห้องสกปรก อาจจะนำพาสัตว์มาในห้อง เช่น หนูและมด ซึ่งอาจจะเข้ามาทำร้ายเจ้าตัวเล็กของคุณได้ และที่สำคัญ เวลาที่ทำความสะอาด ไม่ควรให้เด็กอยู่ในห้องนั้น เพราะเด็กจะหายใจเอาฝุ่นเข้าไป หรือถ้าไม่มีห้องอื่นให้เด็กไปพัก คุณพ่อคุณแม่ควรทำความสะอาดด้วยวิธีใช้ผ้าชุบน้ำถูห้องดีกว่าการกวาดให้ฝุ่นฟุ้ง เพียงเท่านี้ การจัดห้องให้เหมาะกับสมาชิกใหม่ในครอบครัวก็จะไม่ยากเกินไปแล้ว

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

งอแงโยเยจงหายไป

เมื่อลูกน้อยร้องไห้ไม่หยุด ใบหน้าเริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดงก่ำ ตัวเกร็ง บิดงอ อาการร้องไห้เช่นนี้อาจเกิดจาก ความไม่สบายตัวจากความไม่คุ้นเคยที่ต้องออกมาอยู่โลกภายนอก วิธีรับมือกับอาการนี้ เพียงสร้างบรรยากาศ จำลองเหมือนในครรภ์แม่ให้ลูกน้อย โดยการอุ้มเจ้าตัวน้อย นั่งบนเก้าอี้โยก โยกช้าๆ อย่างสม่ำเสมอ การเคลื่อนไหวแบบนี้ จะช่วยให้ลูกได้ความรู้สึกคุ้นเคยเหมือนตอนอยู่ในครรภ์แม่ ลูกก็จะหยุดร้อง และหลับสบายอย่าง ต่อเนื่องและยาวนาน

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

10เคล็ดลับเพื่อลูกผิวสวยไร้ผื่น

  1. เลือกผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อผิวบอบบางของลูก เช่น สบู่ แป้ง ควรเลือกแบบ Hypoallergenic
    ที่ผ่านการทดสอบแล้วว่าอ่อนโยนและไม่ระคายเคืองต่อผิวลูก
  2. ป้องกันลูกเป็นผื่นอักเสบ หรือเชื้อราจากความอับชื้นตามซอกต่างๆ ได้โดยซับด้วยผ้านุ่มๆหลังอาบน้ำ
    หรืออาจจะทาแป้งเพื่อดูดซับความชื้น และช่วยลดการเสียดสีให้กับลูกได้ค่ะ
  3. ป้องกันผื่นผ้าอ้อม ถ้าต้องการใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปให้แก่ลูก ควรเลือกชนิดที่มีเจลดูดซับปัสสาวะ
    ได้พอเหมาะ และทำด้วยวัสดุที่ระบายอากาศได้ดี ไม่ใช้ชนิดที่ทำด้วยพลาสติก
  4. หากลูกมีผิวแห้งเนื่องจากพันธุกรรม ลูกจะแพ้สิ่งที่มากระตุ้นได้ง่าย มีผื่นเม็ดเล็กๆ สีแดงและแสบคัน
    คุณแม่ควรดูแลผิวลูกให้มีความชุ่มชื้นอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหอมฉุน ไม่ว่าจะเป็น
    สบู่ แป้ง ฯลฯ เพื่อป้องกันผื่นจากภูมิแพ้ผิวหนังค่ะ
  5. หากจะอาบน้ำอุ่นให้ลูก ไม่ควรผสมอุ่นจนเกินไปเพราะจะทำให้ลูกผิวแห้ง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของผื่นคัน
  6. หากคุณแม่ซื้อเสื้อผ้าใหม่ให้ลูก อย่าลืมนำมาทำความสะอาดก่อนให้ลูกใส่ เพื่อกำจัดฝุ่น
    หรือสารเคมีที่ติดมากับตัวผ้าเพราะอาจทำให้ลูกเกิดผื่นคันได้
  7. หากลูกน้ำลายไหลย้อย ควรเลือกผ้าเช็ดน้ำลายที่เป็นผ้าฝ้าย 100% และควรเปลี่ยนผ้าเช็ดน้ำลาย
    ให้ลูกบ่อยๆ เพื่อป้องกันอาการระคายเคืองที่ผิวบริเวณแก้ม คาง และหน้าอก จากการแพ้น้ำลาย
    อีกทั้งไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
  8. ต่อมเหงื่อของเด็กเล็กยังทำงานไม่สมบูรณ์ ช่วงอากาศร้อนจึงเกิดผดผื่นได้ง่ายคุณแม่ควรใช้ผ้าชุบน้ำ
    เช็ดระบายความร้อนตามข้อพับและซอกต่างๆ หรืออาบน้ำให้ลูกเพื่อระบายความร้อน
    อาจจะทาแป้งเพื่อลดความเปียกชื้นก็ได้
  9. ป้องกันไม่ให้ลูกถูกแมลงกัดต่อย เพราะจะเกิดตุ่มแดงคัน แต่ถ้าลูกมีอาการ อาจใช้คาลาไมน์
    หรือยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ เช่น ว่านหางจระเข้ ใบพลู ช่วยลดอาการคันได้
  10. คุณแม่ควรตัดเล็บลูกให้สั้นอยู่เสมอ หรืออาจใส่ถุงมือให้ลูก เพราะหากเล็บของลูกไปเกา
    ถูกบริเวณผดผื่น อาจทำให้เป็นแผลถลอกและเกิดการติดเชื้อลุกลามได้ค่ะ แล้วก็ทาแป้งเพื่อให้ลูก
    รู้สึกแห้งสบายตัว คิดว่าถ้าหากผิวลูกไม่ร้อนและอับชื้นคงจะลดการเกิดผดผื่นได้”

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

ผื่นคุกคามเจ้าตัวน้อย

ลูกชายเป็นผื่นตั้งแต่แรกเกิดเลยค่ะ เป็นเม็ดแดงๆ เนื้อตัวลูก
ไม่เรียบเนียนจับแล้วสากๆ เป็นตุ่มทีแรก ก็คิดว่าไม่ใช่ความผิดปกติ
เพราะเห็นผู้ใหญ่บอกว่าเด็กแรกเกิดจะเป็นแบบนี้ แต่เขาเป็นอยู่
ประมาณ 3 เดือน และเริ่มสังเกตว่าผิวลูกมีผดผื่นมากขึ้น โดยเฉพาะ
ตามข้อพับและซอกต่างๆ ก็กังวลและคิดว่าไม่ปกติจึงพาไปหาคุณหมอ
แล้วก็พบว่าเกิดจากความร้อนและความอับชื้นค่ะ

   ตั้งแต่นั้นก็เลยระวังเรื่องความร้อนและความอับชื้นเป็นพิเศษ หลังอาบน้ำเพื่อระบายความร้อนจากผิวหนัง
ก็จะเช็ดตัวให้แห้ง แล้วก็ทาแป้งเพื่อให้ลูกรู้สึกแห้งสบายตัว คิดว่าถ้าหากผิวลูกไม่ร้อนและอับชื้นคงจะลด
การเกิดผดผื่นได้”

คุณชุลีกร สุรังษี
ผื่นบริเวณผ้าอ้อม

“ตอนลูกอายุประมาณ 4-5 เดือน เขาเคยเป็นผื่นในบริเวณผ้าอ้อมค่ะ ช่วงที่ลาคลอด 3 เดือน
ดูแลลูกอย่างใกล้ชิดค่ะเลยไม่มีปัญหา เพราะ เราจะคิดอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะเรื่องของการเกิดผื่น
จากความอับชื้น ของผ้าอ้อม และการทำความสะอาด เพราะรู้ว่าผิวลูกมีความอ่อนบาง

แต่พอกลับมาทำงานก็ต้องให้คนอื่นดูแลแทนในช่วงกลางวัน ซึ่งย่อมทำได้ไม่ดีเท่าคุณแม่ทำเอง
ก็เลยทำให้เกิดความอับชื้นจนลูกเป็นผื่นค่ะ

พอเกิดผื่นขึ้นมาก็เริ่มจากลูกงอแงผิดปกติ ดูไม่สบายตัว เราก็แปลกใจ เพราะเขาเป็นเด็กที่ไม่ค่อยงอแง
จึงถอดเสื้อผ้าลูกออกเพื่อดูว่ามีมดหรือแมลงมากัดหรือเปล่า ปรากฏว่ามีผื่นแดงมากๆ ที่ขาหนีบ เลยคิดว่าคง
เป็นเพราะใส่ผ้าอ้อมนานจนเกิดความอับชื้น และเป็นผื่น

ตอนนั้นดูแลด้วยการพยายามไม่ให้ผิวลูกอับชื้น หลังอาบน้ำหรือเปลี่ยนผ้าอ้อมก็จะเช็ดผิวลูกให้แห้ง
โดยเฉพาะบริเวณขาหนีบ หมั่นทาแป้งเพื่อลดความอับชื้น จนอาการผื่นหายไปค่ะ

ทุกวันนี้จะใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวของลูก ทั้งผลิตภัณฑ์ ซักผ้า สบู่ แป้ง
โดยเฉพาะแป้งจะเลือกชนิดที่ไม่ผสมน้ำหอมฉุน และเลือกที่เป็นสูตร hypoallergenic ซึ่งผ่านการทดสอบ
ทางการแพทย์แล้วว่าไม่ก่อให้เกิดการแพ้ และปลอดภัยต่อผิวบอบบางของลูกค่ะ”

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

พัฒนาการของลูกที่ดีเริ่มที่พ่อแม่

แรกเกิด-1 ขวบ ลูกจะชอบทำเสียงแปลกๆ บางคนอาจเริ่มหัดเดิน คลานได้คล่อง คุณพ่อคุณแม่ช่วยฝึกการเดินของลูกให้เชี่ยวชาญขึ้น โดยเรียกให้ลูกเดินไปหาหรือใช้ของเล่นหลอกล่อ

2 ขวบ ลูกเริ่มเดินเป็นจังหวะได้ดีและมั่นคง กวาดตาไปรอบๆ ขณะเดิน ชอบฟังนิทาน เปิดหนังสือได้ทีละหน้า จึงควรเปิดโอกาสให้ลูกได้สำรวจโลกที่กว้างขึ้นสำหรับเขาอย่างเต็มที่

3 ขวบ ทรงตัวได้ดี ใช้มือได้ดี ช่างพูด ชอบของเล่นที่ใช้มือ ชอบวาดรูป ควรเสริมพัฒนาการลูกโดยหัดให้ช่วยเหลือตัวเอง เช่น ใส่เสื้อผ้าแบบง่ายๆ ช่วยงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ

4 ขวบ ใช้กรรไกรตัดกระดาษได้ดี จับดินสอได้ดี พูดประโยคยาวๆ ได้มากขึ้น ชอบเล่นปีนป่าย กินอาหารได้เอง ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้เล่นอย่างเต็มที่ เช่น เล่นปีนป่ายได้ในที่ปลอดภัย

5-6 ขวบ ชอบส่งเสียงดัง ชอบเล่นนอกบ้าน ชอบระบายสีด้วยนิ้วมือ ปั้นดินเหนียว แปรงฟันได้เอง ใส่และถอดเสื้อผ้าได้เอง ควรพาลูกออกไปเล่นนอกบ้านบ้างเพื่อให้ลูกได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ มากขึ้น

แต่การออกไปเล่นนอกบ้าน ย่อมทำให้ผิวของลูกมีโอกาสได้พบกับสิ่งที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองได้มากขึ้น จึงต้องหมั่นดูแลสุขภาพผิวลูกให้ดีค่ะ เพราะผิวพรรณดีบ่งบอกถึงความมีสุขภาพดี และแน่นอนว่าการที่ลูกน้อยมีสุขภาพดี ก็ย่อมเรียนรู้ได้ดีด้วย

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

เพิ่มความฉลาดของลูกน้อยด้วยการอ่านนิทาน

 เด็กในวัยแรกเกิดจนถึง 3 ขวบ เป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ สมองของเขาพร้อมที่จะเรียนรู้และรับเอาข้อมูลทุกๆ อย่างเข้าไป ทุกสิ่งทุกอย่างจึงล้วนมีผลกระทบต่อสมองและอนาคตของลูก การเล่าเรื่องราวหรือนิทาน ต่างๆ ด้วยความรัก จะช่วยกระตุ้นเซลล์สมอง ระบบการทำงานด้านการฟัง รวมถึงเป็นการเปิดโลกจินตนาการ ทำให้ลูกได้ฝึกพัฒนาการทางสมองที่ดีกว่าเด็กในวัยเดียวกัน นอกจากนั้นการอ่านนิทานหรือเล่าเรื่องราวในอดีตของพ่อแม่ให้ลูกฟัง ยังเป็นการสร้างความผูกพันกันภายในครอบครัว ยิ่งพ่อแม่ช่วยกันเล่านิทานให้ลูก ก็จะยิ่งสร้างความผูกพันทั้ง พ่อ แม่ ลูก ไปในเวลาเดียวกัน ความ สุขที่มีพ่อแม่อยู่ใกล้ๆ ลูกจะซึมซับและสามารถรับรู้ถึงความรักและความห่วงใยของพ่อแม่ นอกจากนั้นการอ่านนิทานให้ลูกฟัง ลูกของเราจะสามารถพัฒนาทักษะต่างๆ ได้เร็วกว่า เช่น ทักษะการใช้มือ และสมาธิ

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

น้ำนมเเม่เป็นสิ่งมหัศจรรย์ใกล้ตัวที่สุด พร้อมสูตรอาหารเพิ่มน้ำนมแม่สำหรับคุณแม่ลูกอ่อน

 นมแม่เป็น “สุดยอดแหล่งอาหาร” ที่แสนประหยัด ให้คุณค่าทางโภชนาการ มีสารอาหารครบถ้วนในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มีอาหารชนิดอื่นมาทดแทนได้ และปราศจากสิ่งปลอมปนที่อาจเป็นอันตรายสำหรับลูกน้อยอีกด้วย ในน้ำนมแม่ยังมีสารที่ให้ภูมิคุ้มกันร่างกาย เปรียบเหมือนวัคซีนธรรมชาติที่ป้องกันลูกไม่ให้เจ็บป่วยในขณะที่ร่างกายลูกยังสร้างภูมิคุ้มกันได้ไม่เต็มที่ เด็กที่กินนมเป็นประจำสมองจะพัฒนาได้ดีและจะมี IQ สูงกว่าเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่ และจะมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ที่สมบูรณ์ เพราะการที่แม่อุ้มลูกแนบกับอกนั้น เป็นการถ่ายทอดความรักและความอ่อนโยนที่จะทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะได้ผลสูงสุดเมื่อให้เด็กกินนมแม่อย่างเดียวต่อเนื่อง จนกระทั่งครบ 6 เดือน

เรื่องหน้ารู้ของน้ำนมแม่

การวัดระดับ IQ ในผู้ใหญ่ที่ดื่มนมแม่ตั้งแต่เกิด กับ ผู้ใหญ่ที่ไม่ดื่มน้ำนมแม่

1. กินน้ำนมแม่ 1 เดือน มีระดับ IQ อยู่ที่ 99.4
2. กินน้ำนมแม่ 2-3 เดือน  มีระดับ IQ อยู่ที่ 101.7
3. กินน้ำนมแม่ 4-6 เดือน  มีระดับ IQ อยู่ที่ 102.3
4. กินน้ำนมแม่ 7-9 เดือน  มีระดับ IQ อยู่ที่ 104

ข้อมูล จากหนังสือรักลูก : ขอบคุณ หนังสือ รักลูก   

สำหรับการเพิ่มน้ำนมแม่มีได้หลายทาง เช่น การกินอาหารเพื่อเพิ่มน้ำนมแม่ หรือ การอบตัวอยู่ไฟ เพื่อ
ช่วยให้น้ำนมแม่ออกเยอะ และน้ำนมมีคุณภาพ



สิ่งที่ต้องเตรียม
1 เห็ดเผาะ 200  กรัม  ล้างให้สะอาด หั่น หรือ ไม่หั่น ก็ได้
2 น้ำเปล่า 4 ถ้วย น้ำกรอง
3 คนอร์ซุปก้อนรสไก่ 1 ก้อน
4 ฟักทองปอกเปลือกหั่นชิ้นพอดีคำ 40 กรัม  (สารอาหารและเพิ่มน้ำนม)
5 ข้าวโพดอ่อนหั่นชิ้นพอดีคำ 30 กรัม ล้างให้สะอาด 
6 บวบปอกเปลือกหั่นชิ้นพอดีคำ 50 กรัม (สารอาหารและเพิ่มน้ำนม)
7 เห็ดฟางผ่าครึ่ง 30 กรัม
8 กุ้งขาว หรือ กุ้งก้ามกาม แกะเปลือก เด็ดหัวผ่าหลัง เอาไว้แต่หาง  5 ตัว
9 ใบแมงลัก 15 กรัม (สารอาหารและเพิ่มน้ำนม)


1 พริกไทยเม็ด                          3/4 ช้อนชา
2 หัวหอมแดงซอยหยาบ           1/2 ช้อนชา
3 กะปิ                                         1   1/2  ช้อนโต๊ะ
4 กุ้งแห้งป่นอย่างดี                     1 ถ้วยตวง
5 น้ำเปล่า                                    5 ถ้วยตวง
6 น้ำปลา                                     17 กรัม

ขอขอบคุณสูตร ผสมพริกแกงจาก เว็บตำรับอาหารไทย


วิธีทำ
1 โขลกเครื่องแกงทั้งหมดให้เข้ากัน พอแหลก หรือ ใส่เครื่อปั่น
2 ล้างเห็ดเผาะให้สะอาด 2 ครั้ง พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ
3 ตั้งหม้อต้มน้ำบนไฟกลางพอเดือดใส่เครื่องแกงที่โขลกไว้ และ ซุปก้อนรสไก่ คนจน
ละลายเข้ากันดี
4 พอน้ำเดือดอีกครั้งใส่ฟักทอง เห็ดเผาะ และ ข้าวโพดอ่อนต้มจนใกล้สุก
จึงใส่ผักที่สุกง่าย บวบ เห็ดฟาง และ กุ้ง ตามลงไปต้มต่อ จนส่วนผสมทั้งหมดสุกหมด
5  ใส่ใบแมงลัก แล้วปิดไฟทันที ตักใส่ชามทานได้ค่ะ


ขอขอบคุณสูตร ผสมพริกแกงจาก เว็บตำรับอาหารไทย
รูปภาพจาก เว็บข่าวหน้ารู้



วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

เทคนิคกล่อมเด็กให้หลับง่ายา

วัยเด็กต้องการพัฒนาการที่ดีสมวัย สิ่งสำคัญคือการพักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ
บางเวลาสภาพแวดล้อมและอากาศอาจทำให้ลูกน้อยไม่สบายตัวมีเทคนิคกล่อมเด็ก
มากมายมาฝากให้คุณพ่อและคุณแม่คลายความกังวลใจ ลูกน้องจะได้หลับง่ายกว่าเดิม

 ควบคุมระดับเสียงในบ้าน ไม่ให้มีเสียงดังจนเกินไป เปิดเพลงกล่อมเด็กเบาๆซึ่งเป็นการกล่อมเด็กให้นอนได้ดีไม่น้อย
การให้ความรักความอบอุ่นกับลูกน้อย ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้เด็กคุ้นเคยกับคุณพ่อคุณแม่
ลูบบนร่างกายของเด็ก บริเวณท้ายทอย บริเวณหน้าผากจะช่วยให้เด็กนอนหลับได้เร็วขึ้น
ไกวเปล ช่วยทำให้เด็กนอนหลับได้ง่ายโดยเพิ่มตัวช่วยด้วยการแขวนโมบายไว้ด้านบน
หยดน้ำหอมที่คุณแม่ใช้เป็นประจำ ที่มุมของผ้าห่มของเด็กจะช่วยให้เด็กหลับได้ เพราะเด็กจะรู้สึกถึงความอบอุ่นเหมือนคุณแม่อยู่ใกล้ๆตลอดเวลา
เหน็บชายผ้าห่มให้รัดตัวเด็ก จะช่วยให้เด็กรู้สึกอบอุ่นเหมือนกับอยู่ในครรภ์มารดาวิธีนี้ช่วยให้เด็กนอนหลับได้อย่างยาวนาน


วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

เมนูอาหารสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย


เมนูอาหารสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย
รู้จักอาหารแต่ละช่วงวัย ปรุงด้วยความเอาใจใส่จากคุณแม่มือโปร

สิ่งสำคัญที่ช่วยให้เจ้าตัวน้อยเติบโตแข็งแรง และช่วยเสริมสร้างพัฒนาการลูกทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ที่สุดแสน จะเพอร์เฟคท์ ก็ไม่พ้นการดูแลด้านอาหารการกิน และการมอบความรักความห่วงใยให้เขา
อย่างเต็มที่ตั้งแต่ แรกคลอดนะคะ คุณแม่หลายๆ ท่านที่กำลังเผชิญหน้ากับการเลี้ยงลูกคนแรก
 อาจจะเกิดความกังวลใจมากกว่า คุณแม่ที่มีเจ้าตัวน้อยมากกว่าหนึ่งคนแล้ว แต่ไม่ว่าจะยังไง
 คุณแม่ทุกท่านก็สามารถเป็นคุณแม่มือโปรเลี้ยงลูก แบบโปรเฟสชันนอลได้เช่นกัน ถ้าทราบเคล็ดลับ
การเลือกสิ่งที่ดีและเหมาะสมให้กับลูกค่ะ

"น้ำนมแม่ คือสุดยอดของอาหารที่มีคุณค่ามากที่สุดของเด็กแรกเกิด"
ก็เพราะว่าในน้ำนมแม่มีคุณค่าจำเพาะท่นมอื่นเทียบค่าไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นสารอาหารที่มากกว่า 200 ชนิด
มีเซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มสารในระบบภูมิคุ้มกัน ฮอร์โมน สารคัดหลั่งของแม่ที่ดีต่อสุขภาพของลูกน้อย

น้ำนมแม่ : เหมาะสำหรับวัยแรกเกิด - 3 เดือน

มีการศึกษาพบว่า เด็กที่ได้รับน้ำนมแม่ ส่วนใหญ่มีสุขภาพจิตแจ่มใส มีพัฒนาการด้านอาร์มณ์ดี
เพราะการดื่มน้ำนมแม่ทำให้ได้รับการใกล้ชิด ความอบอุ่นจากอ้อมอกของแม่ ได้รับการตอบสนองอย่าง
นุ่มนวล ทำให้รู้สึกอบอุ่นกว่าเด็กที่ดื่มนมผง หรือ นมผสม ด้วยเหตุผลหลัก ๆ นี้เอง
ทำให้องค์การอนามัยโลก WHO ได้ประกาศส่งเสริมให้เด็กทารกดื่มนมแม่เพียงอย่างเดียว
ตั้่งแต่แรกเกิด จนถึง 6 เดือน และ หลังจากนั้น ก็สามารถ ดื่มน้ำนมแม่ควบคู่ไปกับอาหารเสริม
 ตามวัยจนถึง 1-2 ปี

อาหารสำหรับเพิ่มน้ำนมแม่
การอยู่ด้วยตนเองเพื่อเพิ่มน้ำนมแม่
กระโจมอบตัวอยู่ไฟ เพื่อกระชับสัดส่วน และ เพิ่มน้ำนม แม่


ประโยชน์ ของน้ำนมแม่ กับ ลูกน้อย

   สารอาหารมากมายในน้ำนมแม่ ส่งผลด้านบวก มากมายหลัก ๆ สารอาหารที่ดีต่อสุขภาพของลูกน้อยได้แก่
1.  เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค สร้างจุลินทรีย์บนผิวหนัง ทำให้ลำไส้ทำงานได้ดี มีสารนิวคลีโอไทด์ ช่วยให้เยื่อบุ
ลำไส้เจริญเติบโตเร็ว มี T-Lymphocyte จับเชื่อโรคที่มาเกาะ เยื่อบุผิว ลดอัตราเสี่ยงเสียชีวิตจาก โรคติดเชื่อ
ทางระบบทางเดินหายใจและโรค ท้องร่วง

2. ลดโอกาส เป็นภูมิแพ้ให้กับ ลูกน้อยที่กินนมแม่ ทั้งภูมิแพ้ผิวหนัง หอบ หืด ลดความเสี่ยงเป็นเบาหวาน

3. เสริมการเรียนรู้ ให้พลังเซลล์สมองทำงานเต็มศักยภาพ มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวโมเลกุลสายยาวเพื่อการเจริญ
ของเนื้อเยื่อประสาทและจอประสาทตา

ประโยชน์ของน้ำนมแม่กับตัวคุณแม่

1. ช่วยป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดบุตร ทำให้มดลูกเข้าอู่ไว้ สุขภาพพื้นตัวได้เร็วขึ้น
2. ทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้อย่างรวดเร็ว เพราะเผาผลาญไขมันที่สะสมในระยะตั้งครรภ์ได้ดี
3. ลดความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน เพราะทารก ดูดสารอาหารผ่านน้ำนมแม่
4. ลดความเสี่ยงจากโรคกระดูกพรุน
5. ลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งรังไข่ ชนิดเยื่อบุผิว มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และ มะเร็งเต้านม



อาหารเหลว: เหมาะสำหรับวัย 1-2 ปี

การจะเสิร์ฟอาหารเหลวให้ลูก ต้องให้แน่ใจก่อนนะคะว่าลูกสามารถนั่งหลังตรงได้แล้ว เพื่อป้องกันการ สำลักค่ะ
แต่เด็กๆ บางรายสามารถนั่งได้ก่อนวัย 1 ปี คุณแม่ก็สามารถเลือกอาหารเหลวสลับกับ น้ำนมแม่ก็ได้นะคะ เด็กวัยนี้
เริ่มมีฟันขึ้นแล้ว การให้อาหารเหลว ไม่ได้เป็นการฝึกเคี้ยว แต่เพื่อให้ลูกได้สัมผัสเนื้ออาหาร นอกจาก
 การดื่มน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียว โดยคุณแม่สามารถเลือกเมนูมากมาย มาปรุงโดยการบดละเอียดแล้วใส่
คุณค่าสารอาหารให้ครบถ้วน อย่างเช่น โจ๊กอุ่นๆ เสิร์ฟพร้อมผัก และหมูบดละเอียด กล้วยบด เพิ่มคุณค่า
 ทางโปรตีนให้กับลูกนะคะ และเพิ่มคุณค่าอื่นๆ ด้วยปลาบด ละเอียด เพื่อให้ลูกได้สารอาหารโอเมก้า 3
 และโปแตสเซี่ยม และยังเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญอีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถเสิร์ฟโยเกิร์ต แต่ต้องเป็นรส ธรรมชาตินะคะ ในช่วงวัยนี้ไม่ควรให้ลูกน้อยทาน อาหารที่มีรสหวานจัด รวมถึงน้ำผัก ผลไม้ เพื่อให้ลูกได้รับ สารอาหารครบห้าหมู่ตลอดวัน และคุณแม่เองก็ได้ฝึกปรุงอาหารแปลกใหม่ในแต่ละวัน เรียกได้ว่าคุณลูกอิ่มท้อง คุณแม่อิ่มใจเลยล่ะค่ะ

อาหารชิ้นฝึกเคี้ยว: เหมาะสำหรับวัย 2-3 ปีขึ้นไป

ตอนนี้ฟันของลูกเริ่มขึ้นให้เห็นชัดแล้วนะคะ คุณแม่สามารเริ่มปรุงอาหารโดยหั่นชิ้นเล็กๆ ให้ลูกได้ฝึก
เคี้ยวและ กลืนได้แล้ว แต่ต้องเป็นอาหารนุ่มๆ เคี้ยวง่ายๆ และควรเน้นสารอาหารให้ครบทุกหมู่
 โดยเน้นหนักที่โปรตีน และปรุงไขมันในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ในเด็กค่ะ
 และวัยนี้เขาจะเริ่มหัดถือ ช้อนส้อมเองได้แล้ว คุณแม่ลองปล่อยให้เขาได้ทานอาหารเอง
โดยกระตุ้นความน่าสนใจในการทานด้วยการ ชวนลูกปรุงอาหาร ให้เจ้าตัวน้อยเป็นลูกมือน้อยๆ
ในครัว ช่วยหยิบจับและแนะนำว่าอาหารแต่ละชนิดมี ประโยชน์ยังไง ช่วยสร้างบรรยากาศ 
ที่ดีให้เขารู้สึกอยากทานได้ง่ายขึ้น และเมื่อถึงเวลาเสิร์ฟ ก็ให้เขาลองเล่น ตกแต่งจานอาหารด้วยตัวเอง
 เช่น ใช้แครอท หรือผักชิ้นเล็กๆ วางเป็นหน้าการ์ตูนอมยิ้ม แล้วจัดที่นั่ง ให้ลูกได้ทานอาหารพร้อมกับ
คนในครอบครัว เพื่อเขาจะได้รู้สึกมีส่วนร่วม และทานอาหารไปพร้อมๆ กับผู้ใหญ่ ในบ้านได้ฝึกเรียนรู้
พฤติกรรมการทาน จากคุณแม่และคุณพ่อ และรู้สึกถึงความอบอุ่นที่อยู่กันพร้อมหน้า พร้อมตาด้วยค่ะ
 รู้เคล็ดลับอย่างนี้แล้วก็หมดกังวลเรื่องการครีเอทเมนูอร่อยๆ สำหรับลูกในแต่ละช่วงวัยกันแล้วนะคะ
 และนอกจากการเตรียมอาหารที่เหมาะสมให้ลูกแล้ว ควรให้ลูกได้ทานอาหารให้ครบสามมื้อ
 โดยเฉพาะมื้อเช้า ที่พลาดไม่ได้ เพราะเป็นมื้อสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการเด็กได้เป็นอย่างดี
เลยค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

พัฒนาการลูกน้อยแต่ละช่วงวัย


พัฒนาการลูกน้อยแต่ละช่วงวัย
รู้ทันพัฒนาการเด็กวัยแรกคลอด เสริมสร้างเจ้าตัวเล็กให้เติบโตแข็งแรง

รับมือกับเจ้าตัวน้อยตั้งแต่วัยแรกคลอดจนเติบโตอาจจะดูไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากจนต้องทำให้คุณแม่มือโปร ต้องกังวลใจนะคะ ถ้าหากเราทำความเข้าใจว่าพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัย ก็จะช่วยให้คุณแม่สามารถเลือก กิจกรรม เมนูอาหาร และให้ความรักและความเอาใจใส่ที่เหมาะสมได้ตั้งแต่แรกคลอดเลยค่ะ ถ้าอย่างนั้น มาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันเลยว่า เด็กแต่ละช่วงวัย เขาต้องการอะไรกันบ้างนะคะ

วัยแรกคลอด (ช่วงอายุ 0-1 ปี)

ช่วง 1-3 เดือนแรก จะเป็นช่วงพัฒนากล้ามเนื้อศีรษะ ลูกจะค่อยๆ เริ่มขยับศีรษะได้เองโดยไม่ต้องช่วยเหลือ สามารถยิ้ม ส่งเสียงคราง ให้คุณแม่ชื่นใจได้แล้วนะคะ และพอช่วง 4-6 เดือน เขาก็จะเริ่มขยับมือและเท้า เริ่มหยิบสิ่งของเข้าปาก ฟันก็เริ่มขึ้น เริ่มลุกขึ้นนั่ง และช่วง 7-9 เดือน ก็จะเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้เป็นคำๆ ตามที่ได้ยิน สามารถที่จะถือสิ่งของเล็กๆ หรือเริ่มยืนหรือเดินโดยยึดเกาะราวหรือขอบโต๊ะไว้ด้วย และช่วง 10-12 เดือน เขาเริ่มเข้าใจคำถาม ตอบสนองคุณแม่ได้ดีขึ้น ซึ่งพัฒนาการในช่วงขวบปีแรกนี้ ลูกจะเติบโตขึ้นได้อย่างสมบูณ์ และแข็งแรงก็ด้วยความรัก ความเอาใจใส่ ของคุณแม่ และการให้ลูกได้ทานอาหารที่มีคุณค่าสารอาหารที่ ครบถ้วน เพราะวัยแรกคลอดถือเป็นจุดเริ่มต้น ของการเติบโต เพื่อให้ร่างกายของลูกมีพัฒนาการเติบโตแข็งแรง ได้อย่างเต็มที่ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือน้ำนมแม่ค่ะ และนอกจากอาหาร คุณแม่ยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการ ลูกน้อยด้วยของเล่นต่างๆ ได้ด้วยนะคะ

นอกจากดูแลพัฒนาการทางร่างกายแล้ว การดูแลวัยเด็กให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอยู่เสมอเพื่อป้องกัน ให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บในเด็กเล็ก และหมั่นสังเกตอาการต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น การเกิดผดในเด็ก ผื่นคันจากอากาศร้อน หรือผื่น ผ้าอ้อม เพราะต่อมเหงื่อและผิวของเด็กวัยแรกคลอดยังทำงานไม่สมบูรณ์และ แข็งแรงพอ จึงมีโอกาสเกิดผดผื่นได้ง่ายๆ บ่อยครั้งที่ลูก ร้องไห้งอแงเพราะรู้สึกไม่สบายตัว โดยเฉพาะอากาศ ร้อนๆ ในเมืองไทย ทำให้มีโอกาสเกิดการอุดตันของการระบายเหงื่อบริเวณข้อพับ ผิวหนังใต้ผ้าอ้อม ซึ่งเป็นอาการยอดฮิตของการเกิดผดผื่นในเด็กทารก โดยสามารถปกป้องด้วยการทาแป้งเด็กที่อ่อนโยนต่อผิวลูก บริเวณที่อาจเกิดผดได้ง่ายๆ และพยายามอย่าให้เขาเกาเพราะอาจกลายเป็นแผลได้ แต่หากสังเกตเห็นการ อักเสบ ผดแดง ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

วัยหัดคลาน (ช่วงอายุ 1-2 ปี)

ผ่านช่วงขวบปีแรกมาได้แล้ว คุณแม่มือโปรก็สบายใจได้ระดับหนึ่งแล้วนะคะ เพราะว่านั่นเป็นช่วงที่จะเรียกว่า ยากที่สุดก็ได้ เนื่องจากลูกเล็กยังไม่เข้าใจภาษาของเรา แต่พอเข้าสู่วัยหัดคลาน ลูกเริ่มเข้าใจคำพูดบางคำ แต่อาจจะยังพูดไม่ได้ หรือพูดเป็นคำๆ แต่เขาจะเข้าใจความหมายเวลาที่คุณแม่พูดหรือแสดงท่าทาง เด็กวัยนี้ ต้องการการดูแลมากเป็นพิเศษนะคะ คุณแม่ควรให้ความใกล้ชิด เอาใจใส่ และใช้เวลาอยู่กับลูกให้มากๆ โดยอาจเลือกกิจกรรมที่สามารถร่วมสนุกกันได้ทั้งครอบครัว หรือชวนลูกๆ ของเพื่อนคุณแม่ที่มีวัยใกล้เคียงกัน แล้วปล่อยให้พวกเขาได้เล่นด้วยโดยสังเกตการณ์อยู่ห่างๆ ก็ได้นะคะ เด็กวัยนี้ จะเชื่อฟังคุณแม่เพราะเขายังไม่รู้ ว่าอะไรทำได้หรือทำไม่ได้ แต่ยังไงก็พยายามอย่า “ห้าม” มากจนเกินไป ลองปล่อยให้ลูกได้ลองเล่นอะไรแปลกๆ ใหม่ๆ ดูบ้าง คุณแม่อาจจะปล่อยเขาเล่นกับสัตว์เลี้ยง ลงไปวิ่งเล่นบนสนามหญ้า หรือช่วยคุณแม่ปลูกต้นไม้บ้าง นอกจากจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางความคิด ยังช่วยสร้างเสริมภูมิต้านทานของลูกด้วยค่ะ

วัยหัดพูด (ช่วงอายุ 2-3 ปี)

ช่วงเวลานี้แหละค่ะที่คุณแม่จะไม่เหงา พูดคนเดียวอีกต่อไปแล้ว เพราะเจ้าตัวเล็กจะเริ่มส่งเสียงพูดเป็นคำยาวๆ หรือบางทีเป็นประโยคเลยก็มี เพื่อช่วยให้ลูกได้ฝึกพูดได้คล่องก่อนเข้าโรงเรียนอนุบาล คุณแม่เองก็อย่าลืมฝึกคุย กับลูกอยู่บ่อยๆ นะคะ บางครั้งอาจพูดบางอย่าง เพื่อให้ลูกตั้งคำถามกลับมา หรือถามคำถามเขาให้เขาได้คิด และตอบ ไม่ว่าจะเป็นคำถามหรือคำตอบว่าอะไร รับรองว่าเรียกรอยยิ้มจากคุณแม่และทุกคนในบ้านได้แน่ๆ และการพูดคุยกันบ่อยๆ ก็ยังช่วยฝึพัฒนาการพูด ทักษะการคิด ช่วยให้เขากล้าเสนอความคิดเห็นและกล้า แสดงออกได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ นอกจากนี้ เด็กวัยนี้ต้องการการใช้พลังงานและการเสริมสร้างพัฒนาการทาง ร่างกายที่เหมาะสม การเลือกกีฬาง่ายๆ ก็จะช่วยให้ลูกได้ใช้กล้ามเนื้อแขนขาได้เป็นอย่างดีด้วย โดยคุณแม่ อาจจะชวนลูกน้อยไปจ๊อกกิ้งรอบหมู่บ้าน หรือให้เขาปั่นจักรยานสามขาตามขณะที่เราเดินออกกำลัง นอกจาก จะช่วยฝึกพัฒนาการด้านร่างกายแล้ว ยังช่วยให้คุณแม่ได้ใช้เวลาดีๆ กับลูก เพิ่มความอบอุ่นและให้เขา สัมผัสได้ถึงความห่วงใยของคุณแม่ด้วยค่ะ

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

ลูกน้อยเป็น “ผด” หรือเป็น “ผื่น” กันแน่

ผดผื่น ปัญหาของเจ้าตัวน้อยที่คุณแม่ต้องบอกว่าหนีไม่พ้นกันเลยทีเดียว ผดผื่นเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เจ้าตัวน้อยงอแงเพราะไม่สบายตัว หากเป็นนานๆ อาจกลายเป็นโรคผิวหนังเรื้อรังได้ ซึ่งอาจทำให้ลูกน้อยของคุณเครียด และอาจส่งผลต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของลูกน้อย แต่คุณแม่รู้หรือไม่ว่า “ผด” กับ “ผื่น” นั้นต่างกันอย่างไร วันนี้แคร์ก็เลยอยากนำความรู้เกี่ยวกับผดผื่นมาให้คุณแม่ได้อ่านกันค่ะ

โดยทั่วไปแล้วเรามักเรียกเจ้าตุ่มแดงๆ หรือผื่นแดงๆ ที่เกิดบนผิวรวมกันเป็นคำเดียวว่า “ผดผื่น” แต่ความจริงแล้ว “ผด” กับ “ผื่น” มีความแตกต่างที่สามารถแยกออกได้ด้วยตาเปล่า และเกิดจากสาเหตุที่ต่างกัน หากคุณแม่ไม่ทราบว่าเจ้าตุ่มแดงๆ บนผิวของลูกน้อยเป็นผดหรือผื่น คุณแม่ก็อาจจะรักษาหรือหลีกเลี่ยงอย่างไม่ถูกต้อง หรือเกาไม่ถูกที่คันนั่นเอง ถ้าอย่างนั้นแล้วเรามาดูกันนะคะว่า “ผด” กับ “ผื่น” ต่างกันอย่างไร มีสาเหตุ และป้องกันได้อย่างไร่

เรื่องของผด (Prickly Heat)

ผดเด็กเกิดจากการอุดตันของต่อมเหงื่อ ยิ่งหน้าร้อนแบบนี้ เจ้าตัวน้อยอาจเกิดผดขึ้นได้ง่ายๆ เนื่องจากร่างกาย ต้องการ ระบายความร้อน แต่ไม่สามารถขับเหงื่อออกมาได้ ทำให้เกิดผด ซึ่ง “ผด” แบ่งได้เป็น 3 ชนิดคือ

1) ผดใส ลักษณะเป็นตุ่มใสขนาดเล็ก มักจะเกิดบริเวณข้อพับต่างๆ เกิดจากการอุดตันของเหงื่อบริเวณผิวหนังชั้นบนสุด
2) ผดแดง เป็นผดที่เกิดได้บ่อยที่สุด มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ เป็นหย่อมๆ มักเกิดที่หน้าผาก โดยเฉพาะถ้าลูกน้อยผมปกหน้าผดแดงจะขึ้นได้ง่าย บริเวณหลังก็มักจะพบผดแดงเช่นกัน โดยปกติมักจะมีอาการคัน หากเกิดขึ้นที่ใบหน้า บางคนเรียกว่า “ผดสิว”
3) ผดลึก เป็นตุ่มสีขาวๆ ออกจะแข็งๆ สักหน่อย ที่เรียกว่าผดลึกเนื่องจากเกิดจากการอุดตันของเหงื่อในผิวหนังส่วนที่ลึกลงไป พบได้บ่อยบริเวณแขน ขา และลำตัว

ผดทั้งสามชนิดเกิดจากสาเหตุหลักๆ คือ อากาศร้อนนั่นเอง ยิ่งหากคุณแม่ชอบแต่งตัวให้ลูกเยอะๆ ด้วยเสื้อผ้าที่หนาๆ ก็ยิ่งทำให้เกิดผดได้ง่าย ความอับชื้น ความเปียกชื้น ก็เป็นอีกสาเหตุของการเกิดผด ดังนั้นการเลือกเสื้อผ้าให้ลูกน้อยควรเป็นเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้เป็นอย่างดี เพื่อป้องกันความอับชื้น การใช้แป้งทาตัวเป็นการช่วยลดการเกิดผดได้

เรามารู้จัก “ผื่น” หรือ Rash กันบ้างดีกว่า

ผื่น มักเริ่มจากการเป็นตุ่มแดงๆ หากเกา ผื่นอาจจะนูนหนาขึ้น และอาจจะลามเป็นวงกว้าง จนกลายเป็นหนองหรือผิวหนังอักเสบ ผื่นมักเกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งมากระตุ้น เกิดได้จากอาการแพ้ทั้งทางกรรมพันธุ์และสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ผื่นยังเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ผื่นแพ้ยา ผื่นผ้าอ้อม ผื่นแพ้กลากน้ำนม ผื่นแพ้จากยุงกัด อากาศร้อน หรือผื่นผิวหนัง อาการผื่นแพ้ที่พบมากในเด็ก ก็คือผื่นผ้าอ้อม โดยเกิดอาการระคายเคืองบริเวณ ที่ใส่ผ้าอ้อม เกิดจากการสะสมของเหงื่อหรือปัสสาวะของลูกน้อย ทำให้เกิดความเปียกชื้น เกิดอาการระคายเคือง และทำให้เกิดผื่นในที่สุด อาการผื่นมักจะหายไปเองภายใน 3-7 วัน ทั้งนี้ คุณแม่เองสามารถช่วยดูแล ในเบื้องต้นได้ เริ่มจากสังเกตว่าลูกแพ้เนื่องจากอะไร และพยายามงดใช้สิ่งนั้นๆ เช่น แพ้ผ้าอ้อม แพ้น้ำยาซักเสื้อผ้า และพยายามป้องกันไม่ให้ลูกเกา เพื่อป้องกันการ อักเสบหรือแผลติดเชื้อ และดูแลผิวลูกให้มีความชุ่มชื่นสม่ำเสมอ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิว แต่หากผ่านไปหนึ่งสัปดาห์แล้วพบว่าอาการยังไม่ดีขึ้น หรือมีแววว่าผื่นเริ่มจะลุกลาม คุณแม่ควรพาลูกน้อยไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงทันทีค่ะ

เอาล่ะค่ะ ตอนนี้คุณแม่ก็คงจะเริ่มแยกออกแล้วใช่ไหมค่ะ ว่าอะไรคือผด อะไรคือผื่น หากคุณแม่สังเกตเห็นตุ่มขึ้นตามตัวลูก ก็ค่อยๆ พิจารณาดูว่าเป็นผดหรือผื่น ลองสังเกตดูว่าน่าจะเกิดจากสาเหตุใด หากเกิดขึ้นจากความเปียกชื้น หรืออากาศร้อนอับชื้น คุณแม่ก็สามารถดูแลลูกน้อย ด้วยตัวเองได้ โดยนอกจากเลือกเสื้อผ้าที่สวมใส่สบายไม่สร้างความอับชื้น การเลือกผลิตภัณฑ์ สำหรับเด็กที่มีความอ่อนโยนต่อผิวก็มีความสำคัญ เพราะผิวเด็กบอบบาง และต่อมเหงื่อยังทำงานไม่เต็มที่ แคร์ขอแนะนำให้คุณแม่เลือกสบู่อาบน้ำที่อ่อนละมุน ไม่มีน้ำหอม และ ไม่เหนียวเหนอะหนะ มีส่วนผสมของไฮโปอัลเลอเจนิก ที่ไม่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือระคายเคือง หลังอาบน้ำก็เช็ดตัวให้สะอาด หรือคอยซับด้วยผ้านุ่มๆ ทาแป้งเพื่อ ดูดความอับชื้น โดยเลือกแป้งเด็กที่มีส่วนผสมของฮายขมิ้นเพื่อช่วยลดผดผื่นเด็กทารก ที่เกิดจากความเปียกชื้น นะคะ

การทำหมันหญิง

น่ารู้! การทำหมันหญิง

การทำหมันหญิงอีกหนึ่งเรื่องที่คุณแม่หลายๆ ท่านควรศึกษารวมถึงคุณผู้หญิงทุกคนด้วยค่ะ วันนี้เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) ก็มีเรื่อง การทำหมันหญิง มาฝากคุณแม่และคุณผู้หญิงทั้งหลายอีกด้วยค่ะ เพราะเรื่อง การทำหมันหญิง นั้นเอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) เชื่อว่า มีคุณแม่หลายๆ ท่านที่คิดจะคุมกำเนิดหลังจากคลอดลูกแล้ว ยิ่งคุณแม่ที่มีบุตรหรือลูกหลายคนยิ่งคิดไปไกลถึงการคุมกำเนิดแบบถาวรกันด้วยใช่ไหมล่ะค่ะ วันนี้เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) เลยขอพาคุณแม่หลายๆ ท่านมาทำความรู้จักกับ การทำหมันหญิง ซึ่งจะแบ่งเป็น การทำหมันเปียก กับ การทำหมันแห้ง แล้วอย่างไหนดีล่ะค่ะที่คุณแม่เลือกจะใช้ในการคุมกำเนิด จะอย่างไรก็ดีใน การทำหมันหญิง นั้นก็ควรจะศึกษาและไตร่ตรองให้ถ้วนถี่กันซะก่อนด้วยนะค่ะ นั้นมาทำความรู้จักกับ การทำหมันหญิง กันเลยค่ะ

การทำหมันหญิง

- การทำหมัน คือ

การผูกหรือตัดท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้าง เพื่อป้องกันการปฏิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิค่ะ การทำหมันสามารถทำได้ 2 ช่วง คือ ในช่วงหลังคลอดหรือที่เรียกกันว่า “หมันเปียก” และในช่วงที่ไม่มีการตั้งครรภ์ หรือที่เรียกกันว่า “หมันแห้ง”



- การทำหมันเปียก

สามารถทำได้ขณะผ่าตัดคลอดบุตรหรือหลังคลอดตามวิธีธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะทำในระยะ 24-48 ชม. หลังคลอด ซึ่งในช่วงเวลาหลังคลอดนั้นมดลูกยังมีขนาดใหญ่ง่ายต่อการผ่าตัดมากกว่าการทำหมันแห้ง ในกรณีที่คลอดธรรมชาติแผลผ่าตัดทำหมันจะอยู่ที่บริเวณสะดือหรือต่ำกว่าเล็กน้อยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับส่วนยอดของมดลุกที่คลำได้ คุณหมอจะใช้เครื่องมือเข้าไปเกี่ยวท่อนำไข่ขึ้นมาเหนือแผลด้านนอกของช่องท้องใช้เข็มเย็บและผูกท่อนำไข่ที่ละข้างและตัดท่อนำไข่ช่วงกลางออก 2-3 ซม. หลังจากนั้นจะเย็บปิดช่องท้องคุณแม่และสามารถกลับบ้านได้ หากดูอาการแล้วไม่มีภาวะแทรกซ้อนส่วนคุณแม่ที่ผ่าตัดคลอดอยู่แล้วคุณหมอสามารถทำหมันไปพร้อม ๆ กันได้เลยไม่ต้องเปิดแผลใหม่บริเวณใต้สะดือ หลังการผ่าตัดทำหมันการปฎิบัติตัวของคุณแม่ไม่มีอะไรแตกต่างไปจากการปฎิบัติตัวหลังคลอดทั่วไปคะ

 

- การทำหมันแห้ง

ส่วนคุณแม่ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์และปรึกษากับคุณพ่อแล้วว่าจะไม่มีลูกอีกอยากจะทำหมันแห้งสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

1. การผ่าท้อง (Laparotomy)

ในกรณีหมันแห้ง มดลูกจะมีขนาดเล็กอยู่ลึกในอุ้งเชิงกรานคุณหมอจะเปิดแผลเล็กๆ บริเวณเหนือหัวหน่าวประมาณ 3-4 ซม. และใช้เครื่องมือสอดผ่านเข้าทางปากมดลูก (ผ่านช่องคลอด) เพื่อดันและยกมดลูกให้สูงขึ้นมาจนชิดผนังหน้าท้อง ทำให้สามารถใช้เครื่องมือจับท่อนำไข่ได้ง่ายหรือเรียกว่า Mini Laparotomy ค่ะ

2. การใช้กล้องส่องผ่านทางหน้าท้อง (Laparoscopy)

ทำโดยใช้กล้องเล็กๆ ขนาดโตกว่าดินสอดำเล็กน้อยสอดผ่านหน้าท้องบริเวณใกล้สะดือและสอดเครื่องมือที่จะทำให้ท่อนำไข่ตันเข้าไปทางกล้องนี้ หรืออาจจะเจาะผ่านทางหน้าท้องอีกรูหนึ่งซึ่งแผลจะเล็กมากค่ะ

อย่างไรก็ตามหลังการทำหมันมีบางกรณีซึ่งน้อยมากๆ ที่กลับมาต่อท่อนำไข่กันได้ใหม่ อาจมีการตั้งครรภ์ หรือตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ นอกจากนั้นการทำหมันไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลการดูแลคุณแม่จาก modernmom ขอขอบคุณรูปภาพจากอินเตอร์เน็ต

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

การเลือกขนาดผ้าอ้อมให้เหมาะสม

  • คุณแม่ครับ หรือ คุณแม่คับ! อยู่ที่คุณเลือก
    สำหรับการเลือกผ้าอ้อม ควรเลือกที่มีขนาดเหมาะสมพอดีกับตัวลูกน้อย เพราะการใส่ผ้าอ้อมที่คับ หรือหลวมจนเกินไป ก็ไม่ดี
    ต่อลูกน้อยทั้งนั้น ผ้าอ้อมที่คับเกินไป อาจจะทำให้ลูกน้อยรู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว และงอแงได้ตลอดทั้งวัน หรือหากสวมใส่ผ้าอ้อม
    ที่หลวมเกินไป อาจเกิดปัญหาซึมเปื้อนได้ง่าย ลูกน้อยจึงเฉอะแฉะ ไม่สบายตัว วันนี้จึงขอแนะนำเคล็ดลับง่ายๆ ในการเลือกผ้าอ้อม
    ให้เหมาะสมกับลูกน้อยมาฝาก ที่ไม่ว่าคุณแม่มือใหม่ หรือมือเก่า ก็ไม่ควรพลาด
  • ลูกน้อยมีความสุขทั้งวันเพราะคุณแม่เลือก พอดี พอดี
    ขั้นตอนง่ายๆ เพียงใช้เกณฑ์น้ำหนักตัวของลูกน้อยเทียบกับเกณฑ์น้ำหนักที่ระบุข้างห่อสินค้า เพื่อเลือกขนาดผ้าอ้อมให้ตรงกับ
    น้ำหนักของลูก นอกจากนั้นแล้วคุณแม่ควรสังเกตการเปลี่ยนแปลงสรีระของลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่าผ้าอ้อมเริ่มรัด
    เห็นเป็นรอยแดง หรือรอยยางยืดที่ขอบเอว ขอบขา หรือติดเทปลำบาก ก็ควรปรับขนาดของผ้าอ้อมให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้พอดีกับ
    ขนาดขอบขา และเอวของลูกน้อย เท่านี้คุณแม่ก็สามารถเลือกผ้าอ้อมได้เหมาะสมกับลูกน้อยแล้วล่ะ
    เสริมอีกนิด สำหรับการเลือกผ้าอ้อมที่นอกเหนือจากขนาดที่พอดีแล้ว ควรคำนึงถึงคุณภาพของผ้าอ้อม พร้อมสวมใส่สบาย
    ระบายความอับชื้นได้ดี ทั้งนี้ก็เพื่อให้คุณแม่ และคุณลูกได้มีความสุขด้วยกันตลอดทั้งวัน

วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

ปัญหารั่วซึม ของผ้าอ้อม

  • มีปัญหารั่วซึม ลูกน้อยจึงซึมทั้งวัน
    ถ้าคุณแม่กำลังเผชิญกับปัญหาผ้าอ้อมที่มักเกิดการรั่วซึมที่บริเวณขอบเอว ขอบขา และด้านข้างอยู่เสมอๆ ปัญหานี้แก้ไม่ยาก
    แต่ต้องใช้การสังเกตนิดหน่อยเพราะปัญหาการรั่วซึมเกิดได้จากหลายสาเหตุ จึงขอแนะนำให้คุณแม่สังเกตสิ่งต่อไปนี้
  • 1. การใช้ผ้าอ้อมต่อชิ้นยาวนานจนเกินไป
    การใช้ผ้าอ้อมยาวนานจนเกินไปก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดการรั่วซึมได้ ดังนั้นคุณแม่จึงควรเปลี่ยนผ้าอ้อมเพื่อป้องกันไม่ให้
    เกิดความเปียกชื้นและเพื่อความสบายตัวของลูกน้อย
  • 2. ขนาดผ้าอ้อมที่ใหญ่เกินไปหรือติดเทปไม่กระชับ
    ผ้าอ้อมที่หลวมเกินไป อาจเกิดจากการที่คุณแม่เลือกขนาดผ้าอ้อมไม่พอดีกับสรีระของลูกน้อย หรือ การติดเทปกาวที่ไม่กระชับ
    จึงทำให้เกิดช่องว่างบริเวณรอบเอวและขอบขา จนเป็นสาเหตุให้ปัสสาวะซึมผ่านไปได้ง่ายและเกิดปัญหารั่วซึม  
  • เชื่อได้เลยว่า ถ้าทำตามทั้งสองข้อนี้คุณแม่และลูกน้อยจะไม่มีปัญหาเรื่องการรั่วซึมมากวนใจอีกต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555

ปัญหาผดผื่นหลังการใช้ผ้าอ้อม

  • บอกลา...ความเปียกชื้น
    หมดกังวลเรื่องผดผื่น
    คุณแม่ทราบหรือเปล่า..ว่าปัญหาผดผื่น และรอยแดงจากผ้าอ้อมที่ทำให้ความสุขของลูกน้อยลดลง นั้นมีสาเหตุมาจากสิ่งใกล้ๆ
    ตัวเราคือ ความเปียกชื้นซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่คอยรังแกลูกน้อยของเรา
    วันนี้เราจึงนำวิธีแก้ปัญหารอยแดงจากผ้าอ้อม และปัญหาผดผื่นที่ก้นลูกน้อยมาฝากคุณแม่ที่กำลังประสบปัญหาและกังวลใจ
  • พบปัญหา ควรหยุดใช้ก่อน
    เริ่มแรกให้คุณแม่หยุดใช้ผ้าอ้อมจนกว่าผดผื่น และรอยแดงที่ก้นลูกน้อยจะหายสนิท แล้วค่อยกลับมาใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปอีกครั้ง
  • เปลี่ยนบ่อยๆ หนูสบายตัวจัง
    นอกจากนี้คุณแม่ไม่ควรใช้ผ้าอ้อมต่อชิ้นยาวนานจนเกินไปและควรเปลี่ยนผ้าอ้อมทันทีเมื่อลูกน้อยถ่ายอุจจาระ
  • ปัญหาอาจอยู่รอบๆ ตัว
    หากหยุดใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป แล้วอาการผดผื่น และรอยแดงไม่ลดลง แสดงว่าอาการแพ้อาจจะไม่ได้เกิดจากผ้าอ้อมสำเร็จรูป
    ดังนั้นคุณแม่อาจจะลองสังเกตและพิจารณาผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ใช้กับลูกน้อยในขณะนั้น
  • คุณหมอ คือ อัศวินแก้ปัญหา
    และหากอาการผดผื่น และรอยแดงยังไม่ลดลง หรือเป็นมากขึ้นจนน่ากลัว ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอาการได้อย่างตรงจุด