โปรโมชั่น ครบ 1 ปี รับของแจกฟรี
http://kasidit-herbal.blogspot.com
โรคปวดหลัง เป็นอาการที่พบได้บ่อย รองลงมาจาก โรคปวดหัว ประมาณร้อยละ 90 ของคนทั่วไป จะต้องเคยปวดหลังในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 3 ซึ่งคิดเป็นจำนวนไม่น้อย ที่มาพบแพทย์ด้วยปัญหาการปวดหลัง
สาเหตุของโรคปวดหลัง
1. | ความผิดปกติของกระดูกสันหลังโดยกำเนิด เช่น กระดูกและข้อต่ออาจจะผิดรูป หรือมีการเชื่อมต่อ หรือไม่เชื่อมต่อเป็นบางจุด ทำให้เกิดความไม่สมดุลของกระดูกสันหลัง | |||||||
2. | เนื้องอก การวินิจฉัยเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งต้องอาศัยการตรวจพิเศษ เช่น CT Scan, MRI การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ระดับแคลเซียม ฟอสฟอรัส และอัลคาไลน์ ฟอสฟาแตสในเลือด เป็นต้น มะเร็งกระดูก เช่น มะเร็งไขกระดูก (Multiple Myeloma) ซึ่งเป็นมะเร็งกระดูกที่พบได้บ่อย สามารถตรวจได้จากระดับโปรตีนเฉพาะในเลือด และในปัสสาวะ การตรวจด้วยรังสีธรรมดาจะพบความผิดปกติ เมื่อมีเนื้องอกเข้าไปในกระดูกมากกว่าร้อยละ 30 | |||||||
3. | การบาดเจ็บต่อสันหลัง การ ปวดหลังจากการยกของหนัก หรือภายหลังอุบัติเหตุ อาจจะเป็นเพียงหลังยอก หรือกล้ามเนื้อมีการยืดหรือฉีกขาด ซึ่งสามารถหายได้เอง แต่ในบางรายอาจเกิดจากกระดูกมีการหักทรุดหรือเคลื่น ซึ่งจำเป็นต้องใช้ภาพรังสีในการตรวจวินิจฉัย | |||||||
4. | กระดูกพรุน (Osteoporosis) พบมากในหญิงหลังหมดประจำเดือน ภาพถ่ายรังสีจะพบว่ากระดูกบาง และมีการหักทรุดของกระดูกสันหลังในหลายๆ ระดับ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังเรื้อรังและตัวเตี้ยลง การวินิจฉัยกระดูกพรุนร่วมกับกระดูกสันหลังหักทรุด จะต้องแยกออกจากมะเร็งของกระดูกสันหลัง ซึ่งบางครั้งจะวินิจฉัยแยกกันได้ยาก ถ้าสงสัยจะต้องตรวจรังสีพิเศษ เช่น MRI การรักษากระดูกพรุน ได้แก่ การให้ฮอร์โมนเอสโทรเจน วิตามินดี ฟลูออไรด์ ฮอร์โมนแคลซิโตนิน การออกกำลังกาย และการได้อาหารที่มีแคลเซียมสูง เป็นต้น | |||||||
5. | การอักเสบของกระดูกสันหลัง เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบ แบบปล้องไม้ไผ่ (Ankylosing Spondylitis) ส่วนใหญ่หาสาเหตุไม่ได้ อาจเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ การตรวจวินิจฉัยส่วนใหญ่ใช้ภาพถ่ายรังสี ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังเรื้อรังและอาจจะหลังแข็ง | |||||||
6. | โรคกระดูกหลังเสื่อม พบว่าร้อยละ 90 ของวัยที่เกิน 40 ปี จะมีการเสื่อมของกระดูกสันหลังเกิดขึ้น ปัจจัยที่มีผลต่อการเสื่อมของกระดูกสันหลัง ได้แก่ การออกกำลังกาย ท่าทางที่ไม่เหมาะสม น้ำหนักตัวมาก การยกของหนักเกินกำลัง การตั้งครรภ์ การสูบบุหรี่ ซึ่งพบว่า การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุทำให้กระดูกพรุน และหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้น โดยเป็นผลจากออกซิเจนเข้าไปหล่อเลี้ยง หมอนรองกระดูกและกระดูกลดลง | |||||||
7. | การติดเชื้อของกระดูกสันหลัง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
| |||||||
8. | เส้นเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง ทำให้เกิดอาการปวดหลัง คล้ายคลึงกับหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน หรือเนื้องอกได้ ซึ่งแยกกัน โดยผู้ป่วยอาจจะมีอาการขาเย็น คลำได้จากก้อนที่เต้นตามชีพจรจากหน้าท้อง การวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง และให้การรักษาอย่างเร่งด่วนเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเส้นเลือดแดงที่โป่งพองอาจจะแตก ทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตได้ | |||||||
9. | โรคในช่องท้อง โรคของระบบทางเดินปัสสาวะ โรคระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี อาจจะมีอาการปวดร้าวไปที่หลัง โดยทั่วไป แพทย์สามารถวินิจฉัยได้จากประวัติการตรวจร่างกาย การตรวจปัสสาวะ การตรวจทางรังสี และอื่นๆ |
การรักษาโรคปวดหลัง
1. | การรักษาแบบอนุรักษ์ คือ การรักษาโดยการไม่ผ่่าตัด ซึ่งได้ผลมากกว่าร้อยละ 90 การรักษาโดยวิธีนี้ เริ่มตั้งแต่การแนะนำและให้ความรู้ เพื่อให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยง สาเหตุที่เป็นอันตรายต่อกระดูกสันหลัง การนอนพัก การให้ยาลดการอักเสบ การให้ความร้อนเฉพาะที่ การบริหาร และการออกกำลังกาย การใส่เสื้อเกราะ เป็นต้น | ||||||||||||||||
2. | การรักษาโดยการผ่าตัด ในกลุ่มที่ไม่ได้ผลจากการรักษาโดยวิธีอนุรักษ์ แพทย์จึงจะพิจารณารักษาด้วยการผ่่าตัด ซึ่งโดยทั่วไป จะรอดูผลการรักษาด้วยวิธีอนุรักษ์ประมาณ 1-2 เดือน ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะต้องไม่มีอาการเลวลง ในระหว่างที่รักษาด้วยวิธีอนุรักษ์ | ||||||||||||||||
ชนิดของการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น
|
อาการ ปวดหลัง เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อย ผู้ป่วยไม่ควรลังเลที่จะพบและปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะในกรณีที่มีอาการปวดหลังมาก หรือปวดหลังเรื้อรัง เพราะด้วยวิทยาการและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี จะช่วยให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัย และรักษาอย่างได้ผล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น