วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552

รักหัวใจ ใส่ใจโคเลสเตอรอล

โปรโมชั่น ครบ 1 ปี รับของแจกฟรี
http://kasidit-herbal.blogspot.com


ใน ปัจจุบันพบว่า การป่วยด้วยโรคเบาหวานเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญมาก ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจจนมีบางคน กล่าวว่า การเป็นโรคเบาหวาน เป็นเสมือนหนึ่งว่า ได้มีโรคหลอดเลือดหัวใจด้วยแล้ว

ท่าน อาจมีเพื่อน ญาติ คนรู้จักในสังคม ที่จากไปอย่างกะทันหัน เนื่องมาจากโรคหัวใจ หลายๆ คนจากไปในวัยที่ยังทำงาน ทำประโยชน์ ให้ครอบครัวและสังคม จากสถิติจากกระทรวงสาธารณสุข ล่าสุดระบุว่า สาเหตุการเสียชีวิตสูงสุด 3 อันดับแรก ในคนไทย คือ อุบัติเหตุ มะเร็ง และโรคหัวใจ เป็นเช่นนี้ต่อเนื่องมาหลายปี โรคหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจตีบและตัน เป็นโรคที่เคยพบน้อยในอดีต

กลับ กลายเป็นโรคที่พบบ่อยมากในปัจจุบัน ทั้งๆ ที่พันธุกรรมในคนไทยไม่ได้เปลี่ยนแปลง นั่นแสดงให้เห็นว่า สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีไขมันสูงเป้นปัจจัยสำคัญมากในการส่งเสริมมให้ เกิดโรคนี้

หัวใจเป็นอวัยวะที่มีความมหัศจรรย์ เริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต นับว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญ และแข็งแรงมาก หัวใจจะทำงานได้เป็นปกติต้องอาศัยการทำงานที่เป็นระบบของไฟฟ้าหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ และลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจก็เช่นเดียวกันกับกล้ามเนื้ออื่นๆ ที่ต้องการออกซิเจน และอาหารจากเลือดมาหล่อเลี้ยงเพื่อให้บีบตัวต่อไปได้ หลอดเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ประกอบด้วยหลอดเลือดแดง 2 เส้น เรียกว่า โคโรนารี่ด้านขวา 1 เส้น และด้านซ้าย 1 เส้น ซึ่งจะแตกแขนงออกเป็น 2 เส้นใหญ่ นอกจากนั้น แล้วแต่ละเส้น ยังส่งแขนงย่อยๆ ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจอีกด้วย ดังนั้นหากหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจเหล่านี้เกิดการตีบ หรืออุดตัน ก็จะนำไปสู่ โรคหัวใจขาดเลือด ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวได้ไม่ดี กล้ามเนื้อหัวใจตาย ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือเสียชีวิตกะทันหัน

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด

หลอดเลือดหัวใจก็เป้นอวัยวะหนึ่งที่เกิดการเสื่อมไปตามอายุอย่างไรก็ตาม นอกจากอายุแล้ว ยังมีปัจจัยอีกหลายปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้เร็วขึ้นและ รุนแรงขึ้น ปัจจัยเหล่านี้เรียกว่า ปัจจัยเสี่ยง พบว่ายิ่งมีปัจจัยเสี่ยงหลายข้อ โอกาสเสี่ยงที่สำคัญต่อโรคหัวใจขาดเลือดจะยิ่งมากขึ้นหลายเท่า ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหัวใจขาดเลือด ได้แก่


อายุ


เพศ ชาย ทั้งนี้เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง ช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด แต่เมื่อผู้หญิงหมดประจำเดือน ไม่ว่าโดยธรรมชาติ หรือไม่มีรังไข่ ก็ทำให้โอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือดสูงขึ้นใกล้เคียงกับเพศชาย


ประวัติในครอบครัวที่เป็นโรคนี้ รวมทั้งพันธุกรรม


การสูบบุหรี่


ความดันโลหิตสูง


เบาหวาน


ไขมันโคเลสเตอรอล ชนิดร้าย (แอล-ดี-แอล) ต่ำ


โรคอ้วน ซึ่งมักจะทำให้เกิดเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมทั้งไขมันโคเลสเตอรอลชนิด ดี ต่ำ


ขาดการออกกำลังกาย

ไขมันโคเลสเตอรอลกับโรคหัวใจขาดเลือด ในร่างกายของคนเรา มีไขมันหลายชนิด ที่สำคัญ ได้แก่


ไขมันโคเลสเตอรอลเป็น ไขมันที่มีประโยชน์เป็นส่วนประกอบของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์สมอง แต่หากมีไขมันโคเลสเตอรอลมากเกินไป ไขมันเหล่านี้จะไปสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย เช่น หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดที่ไต ไม่เว้นแม้แต่อวัยวะเพศ เมื่อการตีบตันของหลอดเลือด ก็ทำให้อวัยวะนี้ขาดเลือดไปเลี้ยง เกิดอาการต่างๆ ตามมา เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจ รวมไปถึงการหย่อยสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย เรายังอาจแบ่งไขมันโคเลสเตอรอล ได้ย่อยๆ อีก ที่สำคัญ 2 ชนิด คือ



1.

โคเลสเตอรอล ชนิดร้าย หรือ แอล-ดี-แอล (Low Density Lipoprotein Cholesterol, LDL-C) เป็นตัวที่มีบทบาทสำคัญในการสะสมในผนังของหลอดเลือดแดง ไขมันชนิดนี้ร่างการสร้างขึ้นเองส่วนหนึ่ง และมาจากอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันจากสัตว์



2.

โคเลสเตอรอล ชนิดดี หรือ เอช-ดี-แอล (High Density Lipoprotein Cholesterol, HDL-C) ไขมันชนิดนี้จะช่วยในการขนถ่ายโคเลสเตอรอลที่สะสมอยู่ออกมาทำลายจึงช่วย ป้องกันโรคหัวใจหลอดเลือด ดังนั้นหากยิ่งสูงจะยิ่งเป็นผลดี ไขมันนี้ร่างกายสร้างขึ้นเอง และจะสูงขึ้นในผู้ที่ออกกำลังแบบแอโรบิค อย่างสม่ำเสมอ


ไขมันไตรกลีเซอไรด์ เป็น ไขมันอีกชนิดหนึ่งที่มาจากอาหารร่วมกับร่างกายสร้างขึ้นที่ตับ ไตรกลีเซอไรด์เป็นแหล่งพลังงานสำคัญของร่างกาย โดยอาหารพวกแป้งและน้ำตาล รวมทั้งโปรตีนที่เหลือใช้ จะถูกเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ และถูกเก็บสะสมไว้ที่ชั้นไขมัน เพื่อเป้นพลังงานสำรอง ไขมันชนิดนี้ปัจจุบันมีข้อมูลบ่งชี้ว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ขาดเลือดเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่อ้วน เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และมีระดับ เอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอลต่ำ

ไขมันสูง สูงเท่าไร จึงเป็นอันตราย

เป็นคำถามที่ได้ยินเสมอว่า สูงขนาดไหน จึงเป็นอันตราย ต้องเข้าใจก่อนว่า ความจริงแล้วตัวไขมันในเลือดที่สูงนั้น ไม่ได้ทำให้เกิดอาการ อาการต่างๆ เป็นผลมาจากการตีบตันของหลอดเลือดแดง ซึ่งต้องอาศัยเวลาหลายปี การสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือดแดงนี้ เริ่มพบตั้งแต่ในวัยรุ่นแล้ว ผู้ที่เสียชีวิตกะทันหันก็ไม่ได้เกิดจากไขมันลอยไปอุดตันหลอดเลือด จากข้อมูลการศึกษาต่างๆ พบว่าระดับไขมัน โคเลสเตอรอลมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดแน่นอน และหากไขมันโคเลสเตอรอล (รวม) มากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร อัตราเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้นมาก จากข้อมูลต่างๆ จึงกำหนดค่าของไขมันในเลือดไว้ดังนี้

โคเลสเตอรอล (รวม) (Total Cholesterol)

ระดับที่เหมาะสม น้อยกว่า

200 มก.ต่อดล.

เริ่มสูง คือ

200-239 มก.ต่อดล.

สูงคือมากกว่า

240 มก.ต่อดล.



แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอล (LDL-Cholesterol)

ระดับที่เหมาะสม น้อยกว่า

130 มก.ต่อดล.

เริ่มสูง คือ

130-160 มก.ต่อดล.

สูง คือ มากกว่า

160 มก.ต่อดล.

สูงมาก คือ มากกว่า

190 มก.ต่อดล.



สำหรับ แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอล ในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด หรือเป็นเบาหวาน ควรให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 มก.ต่อดล. จะช่วยลดปัญหาแทรกซ้อนทางหลอดเลือดลงได้

เอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอล (HDL-Cholesterol)

ระดับที่เหมาะสม มากกว่า 40 มก.ต่อดล.
สูง (เป็นผลดี) มากกว่า 60 มก.ต่อดล.

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides)

ระดับเหมาะสม น้อยกว่า 150 มก.ต่อดล.

เราจะป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดได้อย่างไร

โรคหัวใจขาดเลือดเกิดจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสื่อมตามอายุจึงไม่สามารถป้องกันโรคนี้ได้ 100% แต่จากการศึกษาต่างๆ ล้วนยืนยันว่า การลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ลง สามารถช่วยชะลอการดำเนินโรค และช่วยลดปัญหาแทรกซ้อนทางหลอดเลือดลงได้แน่นอน ตัวอย่างเช่น


เลิก บุหรี่ ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี โอกาสเสี่ยงที่เคยมีจะลดลง จนใกล้เคียงผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ยังช่วยลดโอกาสเกิดมะเร็งปอด และถุงลมโป่งพองอีกด้วย


ตรวจ เลือดเพื่อหาระดับไขมันในเลือดอย่างละเอียด หากพบว่าไขมันสูงมากกว่าคำที่แนะนำ ให้ควบคุมอาหารโดยการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันจากสัตว์ ร่วมกับการออกกำลังกาย หากไม่ได้ผลควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาการใช้ยา ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงหลายข้อ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาเร็วขึ้น จากการศึกษาพบว่า หากลดไขมันโคเลสเตอรอลลง 1% สามารถลดอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือดได้ 2% สำหรับผู้ที่มีโรคหัวใจขาดเลือดเกิดขึ้นแล้ว การลดไขมันโคเลสเตอรอลลงมาต่ำมากๆ เช่น แอล-ดี-แอล ต่ำกว่า 100 มก.ต่อดล. จะช่วยลดโอกาสเกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตันซ้ำ รวมทั้งปัญหาแทรกซ้อนจากหลอดเลือดสมองตีบลงได้


หากมีความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน ท่านจำเป็นต้องควบคุมโรคให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีที่สุด


ควบ คุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่อ้วนออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน อย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยเผาผลาญไขมันและลดน้ำหนักแล้ว ยังทำให้ไขมัน เอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอลสูงขึ้นด้วย ซึ่งเป็นผลดีต่อหัวใจ


ฝึกสมาธิ ทำจิตใจให้ผ่องใส ไม่เครียด

บทสรุป

ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโรคหัวใจขาดเลือดแพงมาก การป้องกันโรคเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากกว่าการรักษา โรคหัวใจขาดเลือดมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ บางปัจจัยไม่สามาระเปลี่ยนแปลงได้ เช่น อายุ เพศ พันธุกรรม แต่หลายปัจจัยสามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง ไม่สูบบุหรี่ หันมาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยชะลอ หรือลดปัญหาแทรกซ้อนจากโรคหัวใจลงได้ ดังนั้นหากท่าน รักหัวใจของท่าน หรือของคนข้างเคียง กรุณาใส่ใจโคเลสเตอรอลสักนิด ซึ่งต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้

ไม่มีความคิดเห็น: