วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

พืชมีพิษ ดอกดึงหัวขวาน

ดองดึงหัวขวาน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gloriosa superba L.
วงศ์ : Liliaceae
ชื่อท้องถิ่น : ก้ามปู คมขวาน ดองดึง ดาวดึงส์
บ้องขวาน ฟันมหา มะขาโก้ง
Climbing lily, Super lily
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้เถา มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอาฟริกา แต่ได้ นำมาปลูกในเอเชียเขตร้อนทั่วๆ ไป มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงยาว สีเขียวมัน ปลายใบม้วนเข้าและม้วนลง เพื่อช่วยในการเกี่ยว พันกับหลักหรือต้นไม้ ดอกเดี่ยวใหญ่ กลีบดอกบิดเป็นคลื่น เมื่อเริ่มออกดอกจะมีสีเหลืองอ่อน ปลายกลีบสีแดง สีจะเข้มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อดอกแก่ มีกลีบดอก 6 กลีบ ผลมี ลักษณะเป็นฝัก เมื่อฝักแก่จะแตก เห็นเมล็ดสีส้ม ภายในมีหัวเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน

อกสีเหลืองออกส้มแดงสวยงาม หัวมีลักษณะเหมือนหัวขวาน แต่ในความสวยงามนั้นแฝงไว้ด้วยพิษมากมาย ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้น คือต้นดองดึงหัวขวาน ดองดึงเป็นพืชที่ออกดอกในฤดูฝน ดอกสวยงามมาก เมื่อออก
ดอกผลแล้วต้นจะตาย ส่วนหัวใต้ดินก็จะแตกเป็นต้นใหม่ต่อไปในปีถัดไป บางคนนิยมปลูกดองดึง เนื่องจากสวยงาม แต่ว่าต้องระมัดระวังเพราะในส่วนของเหง้าและเมล็ดจะมีสาร alkaloid ที่เรียกว่า colchicine สูง ซึ่ง colchicine ทำให้เกิดพิษและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ (1)

ตัวอย่างผู้ป่วย

หญิงอายุ 28 ปี รับประทานหัวดองดึงเป็นอาหารเพราะเข้าใจว่าเป็นกลอย มีอาการอาเจียน ท้องเสีย หลังจากรับประทานไปได้ 2-3 ชั่วโมง เข้าโรงพยาบาลในวันต่อมา มีอาการขาดน้ำและความดันต่ำวัดไม่ได้ มีไข้ อาเจียนและท้องเสีย หัวใจเต้นเร็ว วันที่ 4 หายใจไม่ได้ หัวใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด (2)
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2529 ได้มีข่างลงในหนังสือพิมพ์ว่ามีผู้เสียชีวิต เนื่องจากรับประทานหัวดองดึงเข้าไปถึง 3 ราย เพราะเข้าใจผิดคิดว่าหัวดองดึงเป็นสมุนไพรที่สามารถใช้รักษาอาการท้องอืด เฟ้อและปวดเมื่อยตามร่างกายได้ จึงนำไปต้มและนำมารับประทานคนละ 1 แก้ว เกิดอาการอาเจียนอย่างรุนแรงและเสียชีวิตในวัน
รุ่งขึ้น (3)
คนไข้ เพศหญิง อายุ 21 ปี รับประทานหัวดองดึงต้มขนาด 125 มิลลิกรัม ซึ่งมี colchicine 350 มิลลิกรัม หลังจากรับประทานไปได้ 2 ชั่วโมง ก็เริ่มอาเจียน จากนั้น 8 ชั่วโมงต่อมาก็ถ่ายท้องอย่างแรงเป็นน้ำและท้องเสียตลอดทั้งคืน โดยอาเจียน 25 ครั้ง และถ่ายท้อง 20 ครั้งในคืนนั้นไปโรงพยาบาล เนื่องจากคนไข้มีอาการหมดสติ ขาดน้ำ อัตราการเต้นของหัวใจ 122 ครั้งต่อนาที และความดันโลหิต 95/70 ม.ม. ปรอท อัตราการหายใจ 18 ครั้งต่อนาที แพทย์จึงให้น้ำเกลือ หลังให้น้ำเกลือแล้วผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ความดันโลหิตเพิ่มเป็น 100/70 ม.ม. ปรอท และอัตราการเต้นของหัวใจลดลงเหลือ 110 ครั้ง/นาที แต่เช้าวันต่อมาคนไข้หมดสติ
อีกครั้งหนึ่ง วัดความดันโลหิตไม่ได้จึงให้ hydrocortisone hemisuccinate, methoxamine และ noradrenaline 2 วัน หลังจากเข้าโรงพยาบาล คนไข้มีอาการเลือดออกในตาซ้าย และประจำเดือนซึ่งหมดไปในวันที่รับประทานหัวดองดึง กลับมีใหม่อีก 20 วัน ปริมาณเม็ดเลือดขาว 5,000/c.m.m 12 วันหลังจากเข้าโรงพยาบาลก็มีอาการผมร่วง ในวันที่ 23 ผมร่วงหมด 2 เดือนต่อมา จึงเริ่มมีผมงอกใหม่ แต่ยาวอย่างช้าๆ ซึ่งภายในเวลา 5 เดือนยาวได้เพียง 2-3 นิ้ว เท่านั้น (4)
มีรายงานผู้ที่รับประทานหัวดองดึงและเสียชีวิต 8 ราย ในประเทศศรีลังกา (5)
มีรายงานอาการพิษของผู้ที่ได้รับสาร colchicine จากหัวดองดึง ว่าผู้ป่วยจะมีอาการไตวายเฉียบพลัน ลำไส้อักเสบ ระบบไหลเวียนโลหิตผิดปกติ คลื่นหัวใจผิดปกติจนวัดไม่ได้ (6-8)
ชาวเผ่า EWE รับประทานใบดองดึง 1.613 กิโลกรัม ทำให้เสียชีวิต (9)
เมื่อให้หนูกินสารสัดด้วยน้ำในขนาด 10 กรัมต่อกิโลกรัม พบว่าเป็นพิษ (10)
มีรายงานพบการเสียชีวิตในเด็กที่ได้รับ colchicine ในขนาด 7-11 มิลลิกรัม (11)

สารที่ทำให้เกิดพิษ

สารที่ทำให้เกิดพิษของต้นดองดึงนั้น คือสารในกลุ่ม alkaloid ซึ่งประกอบด้วย colchicine และอนุพันธ์ เช่น N-formyl-N-deacetylcochicine, 3-desmethyl colchicine เป็นต้น ซึ่งพบได้ในทุกส่วนของต้นดองดึง แต่จะพบมากในเหง้าและเมล็ด (12-13)

สูตรโครงสร้าง Colchicine

ปรกติ colchicine ใช้เป็นยาแผนปัจจุบันในการรักษาโรคไขข้ออักเสบเฉียบพลัน (acute gouty arthritis) แต่ไม่ใช่ยาแก้ปวด และไม่สามารถใช้รักษาอาการปวดอื่น colchicine ไปขัดขวางการเคลื่อนที่ ของเม็ดเลือดขาวชนิด granulocyte ไม่ให้ไปที่บริเวณอักเสบ ทำให้เอนไซม์ที่ทำให้อักเสบและ lactic acid ลดลง ซึ่งเป็นผลให้ลดการอักเสบ และ colchicine ไประงับการหลั่ง glycoprotein ซึ่งทำให้ไขข้ออักเสบ ขนาดที่ใช้ในการรักษามีขนาดน้อยมาก คือ 1 มิลลิกรัม ในครั้งแรก แล้วตามด้วย 0.5-1.2 มิลลิกรัม ทุก 1-2 ชั่วโมง ควรหยุดยาทันทีเมื่ออาการปวดหายไป ขนาดที่ใช้ทั้งหมดไม่ควรเกิน 4-10 มิลลิกรัม เนื่องจาก colchicine มีพิษสูงไม่ควรให้ซ้ำภายใน 3 วัน อาจให้โดยวิธีฉีดก็ได้ โดยฉีดให้ในขนาด 2 มิลลิกรัม ถ้าใช้ในการป้องกันการเกิดอาการปวดหรืออักเสบ อย่างเฉียบพลัน ให้ใช้ในขนาด 0.5 มิลลิกรัม 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ อย่างสูงไม่เกิน 1.8 มิลลิกรัมต่อวัน นอกจาก มีประโยชน์ทางยาแล้วได้มีผู้รายงาน ฤทธิ์ข้างเคียงของ colchicine คือ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และปวดท้อง เมื่อมีอาการดังที่กล่าวมาน ี้ต้องหยุดให้ยา เพราะอาจเกิดพิษเพิ่มขึ้นเนื่องจากระยะเวลา ในการออกฤทธิ์และ พิษแตกต่างกันมาก ในแต่ละคน (3)

อาการเมื่อได้รับพิษ

เมื่อรับประทานหัวดองดึง หรือสารสกัดจากส่วนต่างๆ ของต้นดองดึง ภายใน 2-6 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะเริ่ม
มีอาการร้อนในปาก คอ หลอดลมตีบ อาการกลืนไม่ลง กระหายน้ำ ปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน ชีพจรเต้นเร็ว
(90-100 ครั้งต่อนาที) ความดันโลหิตลดลง (70-50 ม.ม. ปรอท หรือ 60-40 ม.ม. ปรอท) เมื่อตรวจคลื่นหัวใจด้วย Electrocardiogram (ECG) จะพบว่าหัวใจเต้นช้าผิดปกติ และอาจมีอาการชักเกร็ง เหงื่อออก เกร็ดเลือดต่ำ มีเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น ถ้าการรักษาและช่วยชีวิตไว้ได้ทัน อาการจะกลับสู่ปกติภายใน 5-10 วัน แต่มีบางรายเสียชีวิตเนื่องจากการหายใจและหัวใจล้มเหลว ขนาดที่ทำให้เสียชีวิตคือ 7 มิลลิกรัม บางครั้งมีอาการดีขึ้นแล้วแต่อาจมีอาการกลับ เป็นมากขึ้นอีกและ เสียชีวิตได้ เนื่องจากการขับถ่าย colchicine ช้า เมื่อรับประทาน colchicine เข้าไปจะถูกดูดซึมเข้าสู่ กระแสเลือด อย่างรวดเร็ว และจะมีปริมาณ colchicine สูงสุดเมื่อได้รับไปประมาณ 0.5-2 ชั่วโมง ซึ่ง colchicine จะเข้าไปอยู่ที่ลำไส้เป็นปริมาณสูงโดยผ่านทางน้ำดีและน้ำย่อย ดังนั้นจะเห็นได้ว่า อาการพิษจะทำลายลำไส้มาก (12-13)

การรักษา

ต้องรีบพยายามล้างท้อง และรักษาปริมาณ electrolyte ให้สมดุลย์ เพื่อป้องกันการช๊อค อาจจำเป็น
ต้องให้ meperidine (50-100 มิลลิกรัม) ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (IM) หรือให้ meperidine ร่วมกับ atropine เพื่อลดอาการปวดท้องอย่างรุนแรง และควรมีเครื่องช่วยหายใจในกรณีที่เกิดการอัมพาตของกล้ามเนื้อ ภาวะการหายใจล้มเหลวหรือช็อค (12-13)

ไม่มีความคิดเห็น: