วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

ตำราสมุนไพรไทย โกฐพุงปลา

โกฐพุงปลา

ชื่ออื่น ๆ : กล้วยไม้(ภาคเหนือ)โกฐพุงปลา จุกโรหินี(ภาคกลาง) เถาพุงปลา(ระนอง-ตะวันออก) บวบลม(นครราชสีมา-อุบลราชธานี) นมตำไร(เขมร)

ชื่อสามัญ : -

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dischidia rafflesiana Wall.

วงศ์ : ASCLEPIADACEAE

ลักษณะทั่วไป

ต้น : เป็นพรรณไม้เลื้อย ที่มีลำต้นเป็นลำเถา และต้องอาศัยการยึดเกาะกับลำต้นไม้อื่น บริเวณลำต้นเป็นข้อมีรากออก

ใบ : ใบมี 2 อย่าง และมีลักษณะที่แตกต่างกันมาก ซึ่งจะอยู่ในต้นเดียวกัน ในอย่างแรกจะมีลักษณะคล้ายถุงปากแคบ แบนเป็นเหลี่ยม ใต้ท้องใบมีสีม่วง หลังใบเกลี้ยงเป็นสีเขียวหรือเหลือง ขนาดของใบกว้างประมาณ 2-2.5 ซม. ยาวประมาณ 5-12.5 ซม. อย่างที่ 2 เป็นใบธรรมดา มีลักษณะเป็นรูปค่อนข้างกลม ปลายใบแหลมมีติ่ง ผิวเนื้อใบเกลี้ยงใบหนาและอวบน้ำ ใบยาวประมาณ 1-2 ซม.

ดอก : ดอกออกเป็นช่อสั้น ช่อหนึ่งยาวประมาณ 3-15 มม. ลักษณะของดอกเป็นดอกขนาดเล้ก กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อ ท่อดอกป่องและเบี้ยวไปข้างหนึ่ง ปลายกลีบแยกออกเป็น .5 แฉก ที่ปลายท่อแต้มสีม่วง มีขนขึ้นประปรายอยู่ด้านนอก ด้านในเกลี้ยง กลีบรองกลีบดอกเป็นรูปรี หรือเป็นรูปไข่ ขอบกลีบดอกมีขน กลีบดอกกลม ยาวประมาร 1 มม. โคนดอกเชื่อมติดกันเล้กน้อย

ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝัก ยาวประมาณ 5-7.5 ซม. มีสีเหลืองแกมส้ม

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่มีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล้ด

ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก

สรรพคุณ : ใบ เป็นยาแก้โรคท้องเดิน ราก ใช้ปรุงเป็นยาฝาดสมานแก้ปวดเบ่ง แก้ท้แงร้วง แก้โรคบิด แก้อาเจียน เสมหะพิการ เมื่อนำมาบดหรือเคี้ยวผสมกับพลูเป็นยาแก้ไอ ถ้าใช้ภายนอกเป็นยาสมานแผล

ถิ่นที่อยู่ : เป็นพรรณไม้ที่มักพบตามป่าชายเลน ป่าแพะ และ ป่าเบญจพรรณ

หมายเหตุ : “จุกกะโรหินี โกฎฐ์พุงปลา (ไทย) กล้วยไม้ (พายัพ) บวบลม(โคราช-อุบล) พุงปลา (จันทบุรี-ตราด) เถาพุงปลา(ระยอง) กล้วยมุสัง(พังงา) จุรูหินี(ชุมพร) นมตำไร(เขมร).” In Siam. Plant Names,1948,p.p.192.,

พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม

ไม่มีความคิดเห็น: