วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552

รู้จักไตวาย ก่อนจะสายไป

แต่ โอกาสที่แต่ละคน จะได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไตไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องรอไตจากผู้เสียชีวิต อันเนื่องมาจากสมองตายเท่านั้น และต้องรีบผ่าตัดภายในเวลาจำกัด ก่อนที่เซลล์ต่างๆ ของไตจะตายไป นี่จึงเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้เกิดการขโมยไต

อาการแรกเริ่มไตวายเรื้อรัง

ไตเป็นอวัยวะที่มีขนาดกำปั้นของผู้เป็นเจ้าของ รูปร่างคล้ายถั่วแดงอยู่ด้านหลังทั้ง 2 ข้างของลำตัว ในแนวระดับของกระดูกซี่โครงล่าง หรือเหนือระดับสะดือ มีหน้าที่ ขับถ่ายของเสีย อันเกิดจากการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีน, ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ และควบคุมการทำงานของฮอร์โมน ดังนั้นหากไตมีความบกพร่อง หน้าที่การขจัดของเสีย และดูแลความสมดุลก็จะบกพร่องไปด้วย ซึ่งผู้ป่วยบางรายจะมีอาการบ่งชี้ แต่บางรายกว่าจะแสดงอาการก็อยู่ในระยะรุนแรงแล้ว

โรค ไตมีอยู่ 8 ชนิด แต่ที่รุนแรงก็คือไตวายเรื้อรัง โดยอาการแรกที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ ซึ่งขณะนั้นผู้ป่วยยังไม่รู้ว่าตัวเองเป็นไตวาย คือ อาการอ่อนเพลีย ซึมๆ มึนงง นอนไม่หลับ คันตามร่างกาย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ความรู้สึกรับรสของลิ้นเปลี่ยนไป น้ำหนักลด ชาปลายมือปลายเท้า รู้สึกหนาวง่าย ปวดแสบปวดร้อนบริเวณเท้า ปวดศีรษะ เป็นต้น
แต่อาการเหล่านี้ยังไม่ใช่อาการเฉพาะของโรคไตเพราะอาจพบในโรคอื่นๆ ได้

อาการเตือนที่สำคัญ 6 อย่างที่ทำให้นึกถึงโรคไตคือ

การเปลี่ยนแปลงของการขับถ่ายปัสสาวะ เช่นปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ปัสสาวะออกน้อยลง
มีอาการแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะสะดุดหรือมีเศษนิ่วปนออกมา
ปัสสาวะมีเลือดปน ปัสสาวะมีสีน้ำล้างเนื้อหรือปัสสาวะเป็นฟอง
การบวมของใบหน้า เท้า และท้อง
อาการปวดเอวหรือหลังด้านข้าง (ไม่ต่ำกว่าเอวหรือไม่อยู่กลางหลัง)
ความดันโลหิตสูง

แต่ ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็มีบางคนที่เป็นไตวาย แต่ไม่แสดงอาการเหล่านี้ จึงต้องอาศัยการตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัย อย่างไรก็ตาม โรคไตวายเรื้อรัง มักเป็นผลแทรกซ้อนจากปัญหาสุขภาพอื่นๆ จากการศึกษาพบว่ากว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง มีสาเหตุมาจากความดันโลหิตสูงและเบาหวาน นอกจากนี้ยังพบสาเหตุอื่นๆ อีก คือ เกาต์ เอสแอลอี ภาวะหัวใจวาย กรวยไตอักเสบเรื้อรัง รวมถึงการแพ้ยา

ควบคุมอาหารก่อนไตเสื่อมสภาพ

ในผู้ป่วยไตวายที่ยังสูญเสียสภาพไตไม่มาก จะต้องพยายามชะลอการเสื่อมของไตให้มากที่สุด ดังนี้

จำกัด อาหารที่มีโซเดียมมาก ได้แก่ อาหารที่รสเค็ม ทั้งเกลือ น้ำปลา ซอส หรือพวกดองเค็ม ดองเปรี้ยว หรือที่มีรสหวานจัด และจำกัดอาหารที่มีโปรตีนและโปแตสเซียม ได้แก่ พวกเนื้อสัตว์ต่างๆ เครื่องในสัตว์ ไข่ นม พวกผัก หัวผักกาดสีแสด ผักชี ผักที่มีใบสีเขียวเข้ม ถั่ว ผลไม้แห้งทุกชนิด เช่นลูกเกด ลูกพรุน และกากน้ำตาล ช็อคโกแล็ต มะพร้าวขูด (คำว่าจำกัดหมายถึงให้กินแต่น้อย ประมาณ 20-25 กรัมต่อวัน)

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นไตวายขั้นรุนแรง จะต้องจำกัดปริมาณน้ำดื่มในแต่ละวัน ให้เหมาะสมตามวิธีการคำนวณง่ายๆ คือ

ปริมาณน้ำดื่มแต่ละวัน = ปริมาณปัสสาวะของเมื่อวาน + 500 มิลลิลิตร

รักษาด้วยยา เช่น ยาลดความดัน ยาจับฟอสฟอรัส หรือยารักษาความเป็นกรดในเลือด เป็นต้น
ไม่ ทำงานหนัก หรือเล่นกีฬาหักโหม อาบน้ำทุกวันโดยใช้สบู่อ่อน ทาผิวหนังด้วยน้ำมันหรือครีม เพื่อลดอาการผิวแห้งและคัน ตัดเล็บให้สั้น ทำความสะอาดปากและฟันบ่อยๆ เพื่อลดการติดเชื้อ

หากผู้ป่วยมีอาการถึงระยะสุดท้ายจะต้องล้างไต โดยการฟอกเลือดจากเครื่องไตเทียม หรือผ่าตัดเปลี่ยนไต

กันดีกว่าแก้

การบริโภคอาหารตามแนวทางชีวจิต ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้เราห่างไกลโรคร้ายนี้ได้ รวมทั้งยังได้ความอร่อย และทำให้ภูมิชีวิตเราทำงานได้ดีขึ้นด้วย

การ ทานอาหารชีวจิตง่ายๆ ก็คือ ไม่กินแป้งที่ขัดขาว งดเนื้อสัตว์ที่ย่อยยาก ได้แก่ เนื้อ หมู ไก่ แล้วหันมาทานโปรตีนที่ได้จากพืช และทานผลไม้เป็นอาหารยามว่าง แทนที่จะเป็นขนมกรุบกรอบทั่วไป นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่จะขาดไม่ได้ คือ หมั่นออกกำลังกายและทำจิตใจให้สงบ แจ่มใส สำหรับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรจะตรวจปัสสาวะทุกปี เพื่อดูการทำงานของไตว่าปกติอยู่หรือไม่


นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 124

ไม่มีความคิดเห็น: