วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552

พืชมีพิษ ปรง

ปรง

ชื่อวิทยาศาสตรCycas circinalis L.
วงศ์ Cycadaceae
ชื่ออื่นๆ กา กาเดาะ กูดหลวา แข่ดู่ ทอคลิ บอกะ มะพร้าวเต่าดอย มะพร้าวเต่าหลวง มุ่งมาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ต้น เปลือกสีน้ำตาล มีรอยแผลใบที่ลำต้น มีเหง้ากึ่งใต้ดิน ใบเป็นใบประกอบ รูปยาว แคบ ปลายใบแหลม ดอกเพศผู้และเพศเมียแยกต้นกันอยู่ ดอกตัวผู้ออก เป็น ช่อที่ปลายยอด มีสปอร์จำนวนมากเรียงรอบแกนกลาง ดอกเพศเมียอกเป็นกาบระหว่างใบ มีไข่อ่อนติดทั้ง 2 ข้าง ข้างละ 2-4 หน่วย เมล็ดกลมเมื่อแก่จัดสีแดงอมส้ม (1,2 )




ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้คนรับประทานพืชที่ไม่นิยมนำมารับประทานก็คือการขาดแคลนพืชอาหาร ซึ่งเสียงต่อพิษที่จะเกิดขึ้น โชคดีอาจมีแค่อาการระคายเคียง แต่ถ้าโชคร้ายอาจเสียชีวิต ในกรณีของปรงมีรายงานว่าผู้อพยพชาวเขมรที่หนีสงครามข้ามมาฝั่งไทยในช่วงปี 2516 ในระหว่างการ เดินทางมายังประเทศไทย เนื่องจากขาดแคลนอาหาร จึงเก็บยอดปรงรับประทาน หลังจากมาถึงค่ายผู้ อพยพแล้วก็ยังรับประทานกันต่อ เมื่อรับประทานเข้าไปมากๆ ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และ ท้องเสียอย่างรุนแรง (1 ) สำหรับประเทศไทยพบพืชในวงศ์ Cycadaceae ทั้งหมด 5 ชนิดได้แก่
Cycas circinalis L ปรง
C. micholitzii Dyer var. simplicipinna Smitin มะพร้าวเต่า
C. pectinnata Thunb ปรงเขา
C. rumphii Miq ปรงญี่ปุ่น
C. siamensis Miq ปรงเหลี่ยม ปรงป่า ผักกูดบก

ความเป็นพิษ

ส่วนที่เป็นพิษของปรงได้แก่ ยอดและเมล็ด
มีรายงานความเป็นพิษหลายรายได้แก่
ชาวเขมรอพยพที่รับประทานยอดปรง มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสียอย่างรุนแรง (1)
ชาวญี่ปุ่นที่ซ่อนตัวอยู่ในเกาะกวม กินผลซึ่งยังทำไม่สุก ทำให้อาเจียนและมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรง จนมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ (1) นอกเหนือจากนี้ยังพบรายงานว่าคนของกัปต้นคุกกินผลของปรงทำให้เกิดอาการอาเจียนอย่างรุนแรง (1) จากการศึกษาเมล็ดของปรงพบว่ามีสารพิษที่สำคัญคือ Cycasin ซึ่งเป็นสารกลุ่ม Pseudocyanotic glycosside ซึ่งสารพวกนี้เมื่ออยู่ในสภาวะกรดจะสลายตัวให้ เมทานอล ( methanol ) แต่ในสภาวะ ที่เป็นด่างจะสลายตัวให้กรดไฮโดรเจนไซยานิค (HCN) ซึ่งสารทั้ง 2 ที่ได้เป็นสารพิษ ปฎิกิริยาทั้ง 2 นี้จะเกิดในร่างกาย โดยที่สภาวะในกระเพาะจะเป็นกรดและในลำไส้จะมีสภาวะเป็นด่าง เมทานอล ( methanol ) ทำให้เกิดอาการปวดหัว หมุน อาเจียน ปวดท้อง ปวดหลัง หายใจขัด สั่น ตามัว ท้องเสีย ถ้ารับมากๆ อาจทำให้ตาบอด เกิดอาการ acidosis เลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลง อาจทำให้เสียชีวิตได้ ส่วนกรดไฮโดรเจนไซยานิค ( HCN ) จะไปทำปฎิกริยากับ Fe+ ใน cytochrome oxidase ทำให้ขัดขวางระบบหายใจ โดยร่างกายไม่สามารถใช้ออกซิเจนได้ ทำให้หายใจถี่ มีอาการชัก และตายโดยที่หยุดหายใจ นอกจากนี้การศึกษา cycasin ในสัตว์ทดลองยังพบว่า cycasin มีพิษต่อตับ (3,4,5) และระบบประสาท (6)

การรักษา

น่าจะรักษาอาการเช่นเดียวกับอาการพิษจาก เมทานอล คือรักษาอาการ acidosis โดยใช้alkali พยายามรักษาระดับ electrolyte และอาหาร และควรกำจัดเมทานอลโดยใช้วิธี hemodialysis หรือ peritoneal dialysis พยายามให้ความอบอุ่นแก่คนไข้ ป้องกันตาไม่ให้ถูกแสง อาจให้ ethanal ซึ่งการรักษาเหล่านี้ต้องทำโดยแพทย์ในโรงพยาบาลเท่านั้น

สรุป

เห็นได้ว่าการเกิดพิษ เริ่มจากอาการตั้งแต่เล็กน้อยเช่น ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน จนถึงมาก เช่น อาเจียนอย่างรุนแรง อาการบวมของกระเพาะและอาการสลดหดหู่ มึนงง ประสาทหลอน ท้องร่วง ปวดท้อง ชาตามกล้ามเนื้อ ซึ่งอาการเหล่านี้บางอาการจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว บางอาการจะเกิดขึ้นช้า นอกจากส่งผลต่อคนแล้วยังมีรายงานว่าแกะที่กินใบของปรงก็เกิดอาการเกิดอาการเซลล์ประสาท และ เซลล์ตับถูกทำลาย และตายในที่สุด ( 7 ) ปรงสามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้เฉพาะแป้งจากราก ต้นและเมล็ด แต่ในประเทศฟิลิปปินส์ยังรับประทานยอดอ่อนด้วยแต่ต้อง กำจัดสารพิษออกก่อนโดย การแช่น้ำนานหลายๆ วัน เพื่อให้สารพิษละลายออกไป หรือต้มทำลายสารพิษเสียก่อน (1)


อ้างอิง http://www.medplant.mahidol.ac.th/tpex/poison/poison.htm


ไม่มีความคิดเห็น: