วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552

พืชมีพิษ พันซาด

พันซาด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Erythophleum succirubrum Gagnep
วงศ์ FABACEAE
ชื่ออื่นๆ พันชาด ซาด คราก เตรีย ตะแบง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ ดอกสีเหลือง ผลเป็นฝักคล้ายสะตอ ยาว 12-18 ซม. สูงประมาณ
20 - 35 เมตร พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ตอนบน (1) สรรพคุณ ตามตำรายาไทยใช้ ต้น แก้ไข้ทีมีพิษร้อน กระสับกระส่าย แก้ไข้เชื่อมซึม เนื้อไม้ แก้ไข้ ไม้ซากมีพิษถึงตายได้ ถ้าจะนำไปปรุงยา ต้องเผาถ่าน ถ่านไม้ แก้พิษไข้ ไข้เชื่อมซึม แก้โรคผิวหนัง แก้โรคในเด็ก ดับพิษตานซาง ไม่ระบุส่วนใช้ แก้พิษไข้ ไข้เชื่อมซึม แก้ไข้สันนิบาต ดับพิษโลหิต แก้โรคเด็ก การศึกษาทาง วิทยาศาสตร์ พบว่า มีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ กระตุ้นหัวใจ กระตุ้นการหดตัว ของ กล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อลาย คล้ายกล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อลาย เพิ่มความดันโลหิต เป็นพิษต่อหัวใจ ทำให้ตาย (2)

ความ หลากหลายของสายพันธุ์พืชในประเทศไทยมีค่อนข้างสูง บางชนิดมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก บางชนิดอาจแตกต่างกันแค่ลักษณะใบ ดอก หรือผล บางชนิดก็เหมือนกันจนแทบจะหาความแตกต่างในการจำแนกไม่ได้ ดังนั้นหลายกรณีของการได้รับพิษก็เนื่องมาจากการเข้าใจพิษคิดว่าพืชพิษเป็น พืชที่กินได้ และกรณีที่พบบ่อยมักจะเป็นเด็ก ในกรณีของพันซาดหรือซากก็เช่นกัน ผู้ที่รับประทานเข้าไปคิดว่าเมล็ดของพันซาดเป็นเมล็ดของไม้แดง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันมาก แต่เมล็ดของไม้แดงจะเล็กกว่า

รายงานความเป็นพิษ

รายที่ 1 เด็กชายอายุ 3 ปี มาโรงพยาบาลด้วยประวัติรับประทานเมล็ดต้นซากประมาณ 15 เมล็ด นาน 12 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล หลังจากการรับประทานประมาณ 30 นาที มีอาการอาเจียนหลายครั้ง ปวดท้อง ได้ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชน แพทย์ตรวจพบว่า มีอาการซึมเล็กน้อย ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ แพทย์ให้การรักษาโดยให้เข้าสารน้ำเข้าหลอดเลือดดำ ต่อมาผู้ป่วยซึมลง จึงส่งมารักษาต่อ ที่โรงพยาบาลมหาสารคาม การตรวจร่างกาย พบว่าคนไข้มีอุณหภูมิ กาย 36.8 องศาเซลเซียส ความดันโลหิต 100/100 มม. ปรอท หายใจ 32 ครั้งต่อนาที ชีพจร 96ครั้ง/นาที เบาเร็วไม่สม่ำเสมอ semicoma หัวใจเต้นจังหวะผิดปกติ ระบบอื่นๆ อยู่ในเกณฑ์ปกติ การตรวจคลื่นหัวใจ มีลักษณะ AF rhythum whit moderate ventricular response ให้การรักษาโดยให้สารน้ำและ NaHCO3 เข้าหลอดเลือดดำ ยให้ออกซิเจน 30 นาที ต่อมา ผู้ป่วยมีอาการหมดสติและหัวใจหยุดเต้น เคลื่อนหัวใจมีลักษณะ cardiac standstill ไม่ตอบสนอง ต่อการรักษา ผลการรักษา ถึงแก่กรรม(1)
รายที่ 2 เด็กชายอายุ 2 ปี มีประวัติรับประทานเมล็ดซากพร้อมผู้ป่วยรายที่ 1 แต่รับประทาน 3- 4 เมล็ด ครึ่งชั่วโมงต่อมามีอาการอาเจียน 3 - 4 ครั้ง ปวดท้องไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชน พร้อมผู้ป่วยรายที่ 1 ระหว่างการรักษาผู้ป่วยมีอาการซึมลง และชีพจรไม่สม่ำเสมอ จึงส่งผู้ป่วยรักษาต่อ การตรวจร่างกายพบว่าเด็กมี อุณหภูมิร่างกาย 36.5 องศาเซลเซียส ความดันโลหิต 90/50 มม. ปรอท หายใจ 32 ครั้ง/นาที ชีพจร 100 ครั้ง/นาที ไม่สม่ำเสมอ ผู้ป่วยมีอาการซึมเล็กน้อย หัวใจเต้นเร็ว ตรวจระบบอื่นๆ อยู่ในเกณฑ์ปกติ การตรวจห้อง ปฎิบัติการ ฮิมาโตคริค 36 % เม็ดเลือดขาว 17,750 เซลล์/มม 3 PMN 95% L 4% M 1% เกล็ดเลือด 150,000 เซลล์/มม3 เซลล์/มม3 ตรวจปัสสาวะ pH 6.0 ความถ่วงจำเพาะ 1.2020 ไม่พบ albumin และน้ำตาล BUN 10.0 มก/ดล creatinine 0.8 มก/ดล liver function test อยู่ในเกณฑ์ปกติ การตรวจคลื่นหัวใจ มีลักษณะ sinus arrest with A-V junctional escape beat ให้การรักษาโดยให้สาร โดยให้สารน้ำเข้าหลอดเลือดดำ ให้ออกซิเจน 2 ชั่วโมงต่อมาผู้ป่วยรู้สึกตัวดีขึ้น ชีพจรยังเต้นไม่สม่ำเสมอ วันต่อมาผู้ป่วนรู้สึกตัวดี vital sign อยู่ในเกณฑ์ปกติ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจซ้ำ พบว่ามีลักษณะปกติ ผลการรักษา ผู้ป่วยกลับบ้านในวันที่ 3 ของการรักษา (1)
รายที่ 3 เด็กหญิงอายุ 5 ปี มาโรงพยาบาลด้วยประวัติรับประทานเมล็ดต้นซาก 10-15 เมล็ด 7 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล หลังรับประทานครึ่งชั่วโมง มีอาการอาเจียนหลายครั้ง ซึมลง การตรวจร่างกาย อุณหภูมิ 36.8 องศาเซลเซียส ความดันโลหิต 80/50 มม. ปรอท หายใจ 40 ครั้ง/นาที ชีพจร 50 ครั้ง/นาที semicoma หายใจไม่สม่ำเสมอ ตรวจหัวใจพบว่าเต้นช้าและจังหวะไม่สม่ำเสมอ ตรวจระบบอื่นๆ อยู่ในเกณฑ์ปกติ การตรวจห้อง ปฎิบัติการ ฮีมาโตคริต 38 % เม็ดเลือดขาว 13,850 เซลล์/มม3 PMN 85% band 3% L 11% M 1% เกล็ดเลือด 346,000 เซลล์/มม3 creatinine 1.5 มก/ดล NA+ 140 mEq/ลิตร K+ 6.3 mEq/ลิตร Cl- 118mEq/ลิตร HCO3- 11.00 mEq/ลิตร การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Mobitztype II AV block with 2:1 AV conduction ventricular rate 50 ครั้ง/นาที T wave inversion ใน V1-V3 การรักษา โดยให้สารน้ำ NaHCO3 atropine และ dopamine เข้าหลอดเลือดดำ และให้ออกซิเจน ผลการรักษา พบว่าหัวใจเต้นช้าตลอดเวลา คลื่นหัวใจมีลักษณะเดิม บางครั้งมี A-V junctional-escape rhythm ผู้ป่วยมีอาการซึมลงเรื่อยๆ 3 ชั่วโมงต่อมาเริ่มหายใจช้า ความดันโลหิตลด และเสียชีวิตในที่สุด หลังจากรับประทานเมล็ดต้นซาก 13 ชั่วโมง (1)
รายที่ 4 เด็กหญิงอายุ 6 ปี มาโรงพยาบาลด้วยประวัติรับประทานเมล็ดต้นซาก 2 เมล็ด พร้อมกับผู้ป่วยรายที่ 3 หลังรับประทานครึ่งชั่วโมงมีอาการอาเจียนหลายครั้ง ซึมลง จึงมารับการรักษาพร้อมผู้ป่วยรายที่ 3 การตรวจร่างกาย อุณหภูมิ 36.8 องศาเซลเซียส ความดันโลหิต 100/60 มม. ปรอท หายใจ 40 ครั้ง/นาที ชีพจร 1000 ครั้ง/นาที ผุ้ป่วยซึมลงเล็กน้อย หายใจสม่ำเสมอ หัวใจเต้นเร็วเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ระบบอื่นๆ อยู่ในเกณฑ์ปกติ การตรวจห้องปฎิบัติการ ฮีมาโตคริต 31 % เม็ดเลือดขาว 12,400 เซลล์/มม3 PMN 88% band 2 % L 10 % เกล็ดเลือด 151,000 เซลล์/มม3 Na+ 137 mEq/L, K+ 3.4 mEq/L, Cl- 112.9 mEq/L, HCO –18.0 mEq/L น้ำตาลในเลือด 118 มก/ดล ตรวจปัสสาวะ pH 6.0 ความถ่วงจำเพาะ 1.015 ตรวจพบ albumin เล็กน้อย ไม่พบเล็กน้อย การตรวจคลื่นหัวใจ มีลักษณะ sinustachycardia อัตราการเต้น 125 ครั้ง/นาที ST depression ใน V1 - V3 และ deep T wave inversion ใน V1 - V4 วันต่อมาผู้ป่วยรู้สึกตัวดี vital signs อยู่ในเกณฑ์ปกติ การตรวจคลื่นหัวใจซ้ำพบว่ามีลักษณะ SA block ชนิด Mobitz type I,T wave inversion in V1 - V3 ผลการรักษาผู้ป่วยกลับบ้านได้ในวันที่ 3 หลังการรักษาในสภาพปกติ (1)
รายที่ 5 เด็กหญิงอายุ 12 ปี มีประวัติรับประทานเมล็ดต้นซาก 3 เมล็ด 1 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล หลังรับประทานมีอาการอาเจียนหลายครั้ง วิงเวียนศีรษะ ปวดท้อง การตรวจร่างกาย อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ความดันโลหิต 130 /90 มม. ปรอท หายใจ 24 ครั้ง/นาที ชีพจร 94 ครั้ง/นาที รู้สึกตัวดี การตรวจห้อง ปฎิบัติการ ฮีมาโตครีต 41 % เม็ดเลือดขาว 12,450 เซลล์/มม3 PMN 96% L 4% เกล็ดเลือด 286,000 เซลล์/มม3 ตรวจปัสสาวะ pH 6.5 ความถ่วงจำเพาะ 1,020 ไม่พบ albumin และน้ำตาล การตรวจคลื่นหัวใจ มีลักษณะ sinus rhythum rate 93 ครั้ง/นาที ST depression ใน Lead III, aVF, T wave inversion ใน V1 - V3 ผลการรักษาผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ในวันที่ 3 (1)
มีรายงานจากโรงพยาบาลอำเภอกระสังว่ามีเด็ก 4 คนอายุประมาณ 10 ขวบ กินเมล็ดเข้าไปตั้งแต่ตอนเที่ยงจนถึงเวลา 9 โมงเช้าของวันรุ่งขึ้น จึงได้นำมาโรงพยาบาล เนื่องจากเด็ก มีอาการอ่อนเพลียมากเกือบไม่รู้สึกตัว หอบ และเสียชีวิต 1 คน ขณะมาถึงโรงพยาบาลได้ประมาณ 5 – 10 นาที ทางโรงพยาบาลยังไม่ทันรักษาอย่างไร จากการตรวจร่างกายขณะมาถึงโรงพยาบาล ไม่ค่อยรู้สึกตัว หอบ หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ม่านตาหดเล็กมาก อีก 3 คนที่เหลือได้ให้การรักษา แบบประคบประคองตามอาการ ผลการรักษาหายเป็นปกติ จากการสอบถามเด็กที่รอดชีวิตพบว่า ได้กินเมล็ดเข้าไปคนละประมาณ 2-3 เมล็ดเท่านั้น (2)
นอกเหนือจากนี้มีรายงานผู้อพยพชาวกัมพูชา 27 คนรับประทานเมล็ดของตันซาก ทำให้เด็กเสียชีวิต 2 คน (5)
ความเป็นพิษ

ทุกส่วนของพิษชนิดนี้ได้แก่ ใบ เนื้อไม้ เปลือกไม้ ราก และเมล็ดมีพิษ เมื่อรับประทานเข้าไป ก็จะทำให ้เกิดอาการมึนเมา อาเจียน หัวใจเต้นผิดปกติ และทำให้เสียชีวิตได้ (1)
พืชในวงศ์ CAESALPINIACEAE ได้มีการศึกษาทางด้านเคมีและ เภสัชวิทยาเกี่ยวกับพืชในตระกูล นี้หลายชนิดคือ E. africanum, E. chlorostachys, E. couminga, E. ivorens, E. guineense (E. suaveolens) ซึ่งได้มีรายงานพบสาร dihydromyricetin และ alkaloids หลายชนิดได้แก่ 3ß-acetoxy-7ß -hydroxy-N-(2-hydroxyethyl)-N-methyl-(E)-cass 13(15)-en-16-amide, 3ß–acetoxynorerythrophlamine, 3ß -acetoxynorerythrostachamine, 3ß-acetoxynorerythrosuamine, cassadine, cassaide, cassaine, cassamide, cassamidine, cassamine, cassminic acid, coumidine, dehydronorerythrosuamine, erythrophlamide, erythrophlamine, erythrophleguine, erythrosuamine, 3-hydroxy norerythrosuamide, ivorine, norerythrosuamine, norcassamidine (erythrophleine), norcassamine, norcoumingide, 19-Nor-4-dehydro-cassaidine, norerythrophlamide, norerythrostachaldine norerythrostachamide, norerythrostachamine
ได้มีผู้นำเอา alkaloids เหล่านี้หลายตัวมาศึกษาพบว่า alkaloid cassaine, cassaidine, acetylcassaidine, erythrophleine, coumingine, ivorine, coumidine มีฤทธิ์ต่อหัวใจเหมือน Cardiac glycoside นอกจากนั้นในขนาดสูง ๆ จะกดศูนย์หายใจได้ ฤทธิ์อื่น ๆ ที่อาจพบ ได้แก่ความดันโลหิตสูง คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วงอย่างรุนแรง และมีโลหิตออกปนกับอุจจาระ น้ำลายออกมาก หายใจขัด และ ผู้ป่วยจะเสียชีวิตเนื่องจากหัวใจหยุดเต้น หรือกดศูนย์ควบคุม การหายใจอย่างมากจนหยุดหายใจ ดังนั้นอาการที่พบในเด็กอาจเนื่องมาจาก alkaloid เหล่านี้ เพราะต้นพันชาติเป็นไม้ในตระกูล Erythrophloem เช่นเดียวกัน ซึ่งน่าจะมีสารสำคัญเหมือนกัน การรักษาเนื่องจากไม่มี antidote ที่เฉพาะเจาะจงสำหรับสารนี้ จึงต้องรักษาตามอาการ
ในแอฟริกามีผู้ศึกษาพืชในสกุล Erythrophleum สองชนิดคือ Erythrophleum guineenese G. Don และ E. africanum Harms พบว่ามีอัลคาลอยด์หลายชนิดคือ cassaidine, nor- cassaidine,cassaine, cassamin, erythrophlamine, erythrophleine, homophleine ซึ่งอัลคาลอยด์เหล่านี้มีฤทธิ์คล้ายคลึงกับ cardiac glycoside (3) การรวบรวมการศึกษาสารในกลุ่ม erythrophleum alkaloids ในสัตว์ทดลองดังนี้
มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วงอย่างรุนแรง
มีผลต่อระบบประสาท เดินโซเซ น้ำลายไหล ชัก
มีผลต่อระบบอื่นๆ เช่น ยับยั้ง Na+-k+ ATPase system ของอวัยวะของสัตว์ทดลอง และอัลคาลอยด์บางชนิดเป็นพิษต่อเซลล์ (4)
ในประเทศไทย จินตนา สัตยสัย และคณะ ศึกษาน้ำสกัดจากใบของ E. succirubrum Gagnep พบว่ามีพิษต่อหนูถีบจักรเมื่อให้น้ำสกัดฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักร จะสังเกตอาการพิษได้อย่างชัดเจน ปริมาณใบพันซาดที่ทำให้หนูถีบจักรตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งมีค่าเท่ากับ 20 กรัม ต่อน้ำหนักหนุ 1 กิโลกรัม หากฉีดน้ำสกัดเข้าเส้นเลือดดำในหนูขาวปริมาณดังกล่าว จะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังกระตุ้นลำไส้เล็กส่วนปลาย (lleum) ของหนูที่ตัดออกจากร่างกาย แล้วแช่ไว้ในน้ำยา และอุณหภูมิเหมาะสม กระตุ้นแล้วตามด้วยการยับยั้งการทำงานของหัวใจห้องบนของหนู และกล้ามเนื้อกระบังลมที่กระตุ้นด้วยไฟฟ้าผ่านทางเส้นประสาท phrenic (6)

สรุป

อาการเริ่มแรกของรับประทานเมล็ดซากคือ อาเจียน ซึ่งอาการมักจะเกิดหลังจากกินประมาณ 30 นาที - 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ หลังจากนั้นจะมีผล ต่อระบบประสาท อาจเกิดจากพิษโดยตรง หรืออาจเกิดจากผลทางอ้อม ที่หัวใจทำงานผิดปกต ิแล้วเลือด ไปเลี้ยงสมอง ไม่เพียงพอ

ไม่มีความคิดเห็น: