เกล็ดมังกร
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาตร์ : Dischidia minor merr.
วงศ์ : ASCLEPIASACEAE
ลักษณะทั่วไป
ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นพัน เลื้อยเกาะยึดกับลำต้นไม้อื่นย้อยห้อยเป็นสายลง
ใบ : ใบมีลักษณะเป็นรูปกลม ขนาดเล็ก ปลายแหลมเป็นติ่งเล็ก ๆ ริมขอบใบเรียบ ขนาดใบกว้างและยาวประมาณ 5-11 มม. ใบจะออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ก้านใบสั้นยาวเพียง 2 มม.
ดอก : ดอกออกเป็นช่อสั้น ๆ ลักษณะของดอกกลีบ และกลีบรองกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นท่อ คล้ายรูปคนโท กลีบดอกมีสีแดง ยาวประมาณ 3 มม. ปลายกลีบเว้าเล็กน้อย ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้และตัวเมียเชื่อมติดกัน
ผล : มีลักษณะเป็นฝักโค้ง บริเวณเหนือจุดกึ่งกลางแหลมเรียวเป็นจะงอยใต้จุดกึ่งกลางเป็นรูปรีเบี้ยว ข้างในฝักมีเมล็ดแบนขนาดของฝักยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่มีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ลำต้น ใบสด
สรรพคุณ : ลำต้น เป็นยาแก้อักเสบ แก้ปวดบวม ใบสด นำมาตำให้ละเอียด แล้วนำมาพอกบริเวณแผลพุพอง
ถิ่นที่อยู่ : เป็นพรรณไม้ที่มักพบตามบริเวณป่าเบญจพรรณ
หมายเหตุ : “เบี้ย เกล็ดมังกร(ไทย) เบี้ยไม้ กับม้าลม(พายัพ) เกล็ดลิ่น(ศรีราช) อีแปะ(จันทบุรี).” In Siam Plant Names,1948,p.192.,Dischidia gaudichaudii Burkill I,1938,p.846 “Pitis pitia kechil (little pennywort).” “An epiphyte found from Tenasserim throughout Malasis.”
พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น