โปรโมชั่น ครบ 1 ปี รับของแจกฟรี http://kasidit-herbal.blogspot.com
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาพี่ชายของผู้เขียน (ภญ.อัมพร จันทรอาภรณ์กุล) ซึ่งมีอายุเพียง 30 ปี มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกอย่างมาก จึงไปรับการตรวจที่โรงพยาบาล แพทย์ได้ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจพบว่ามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จึงให้ นอนพักรอดูอาการที่ห้อง CCU ซึ่งคล้ายกับ ICU ที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจเป็นพิเศษ แพทย์แจ้งว่าสาเหตุที่พี่ชายของดิฉันมีอาการดังกล่าวแม้เพียง อายุได้เพียง 30 ปี เนื่องจากมีภาวะน้ำหนักเกิน คือ สูง 173 เซนติเมตร แต่มีน้ำหนักมากถึง 98 กิโลกรัม และมีพฤติกรรมเสี่ยงชอบรับประทานอาหารที่มี โคเลสเตอรอลสูงเป็นระยะเวลานานนับ 10 ปี เหตุการณ์ นี้ทำให้บรรดาญาติพี่น้องทุกคนช็อกไปตามๆ กัน การที่ดิฉันนำเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟัง เนื่องจากต้องการให้เห็นภาพว่าปัจจุบันประเทศไทยเรานับวันจะมีวิถีชีวิต คล้ายประเทศตะวันตกมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผู้คนเป็นโรคไขมันในเลือดสูงมีจำนวนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย มี ผู้ที่เป็นโรคหัวใจที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงหลายท่าน หลังจากที่ได้รับการรักษาด้วยยาลดไขมันในเลือดไประยะหนึ่งจนระดับไขมันเป็น ปกติ จะมาถามดิฉันว่า “คุณหมอบอกว่าไขมันในเลือดปกติแล้ว ทำไมต้องกินยาลดไขมันต่ออีก หยุดกินได้มั้ย กินบ้างไม่กินบ้างได้มั้ย” แม้กระทั่งพี่ชายดิฉันที่ยังนอนอยู่ใน CCU ยังมิทันที่ไขมันในเลือดจะลดระดับลงเป็นปกติยังมีความสงสัยว่าจะต้องกินยาไป ถึงเมื่อไหร่ ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่หยุดยาเองโดยมิได้แจ้งให้แพทย์ทราบจนทำให้เกิดปัญหา ต่อเนื่องในระยะยาว ดังนั้นผู้ที่ได้รับยาลดไขมันในเลือดควรได้รับความกระจ่างในเรื่องนี้เพื่อ การปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง และก่อนจะตอบคำถามนี้ดิฉันจะขออธิบายเรื่องโรคนี้คร่าวๆ ก่อนนะคะ โคเลสเตอรอลคืออะไร โคเลสเตอรอล คือ สารไขมันคล้ายขี้ผึ้งที่ปรากฏอยู่ในทุกเซลล์ของร่างกาย โคเลสเตอรอลบางชนิดจำเป็นต่อการทำงานของร่างกายโดยทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบ ของผนังเซลล์ในร่างกาย และเป็นส่วน-ประกอบสำคัญของฮอร์โมนบางชนิดที่จำเป็นของร่างกาย
ไขมันในเลือดมีกี่ชนิด
ไขมันในเลือด หรือโคเลสเตอรอลมี 3 ชนิด คือ
| • | แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล (LDL) เปรียบเสมือน “ตัวผู้ร้าย” ถ้ามีปริมาณมากจะสะสมอยู่ในหลอดเลือดแดง เป็นต้นเหตุของโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ยิ่งระดับแอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูงมากเท่าไหร่ อัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น |
| • | เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล (HDL) เปรียบเสมือน “ตำรวจ” คอยจับผู้ร้าย เพราะเป็นตัวกำจัดแอล ดี แอล โคเลสเตอรอล ออกจากหลอดเลือดแดง การมีระดับเอช ดี แอล โคเลสเตอรอลสูง จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Heart Disease) |
| • | ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride หรือ TG) เป็นไขมันอีกประเภทหนึ่งในกระแสเลือด เปรียบเสมือน “ผู้ช่วยผู้ร้าย” คนที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์สูง พร้อมกับระดับเอช ดี แอล โคเลสเตอรอลต่ำ หรือแอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูง ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ | โคเลสเตอรอลในร่างกายมาจากไหน
| • | ตับของร่างกายเราสร้างขึ้น โดยทั่วไปตับจะทำหน้าที่สร้างโคเลสเตอรอลได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย |
| • | อาหาร ที่รับประทานเข้าไป ถ้ารับประทานอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูงเป็นนิสัย ก็อาจเกิดโทษต่อ สุขภาพได้จากโคเลสเตอรอลส่วนเกินที่สะสมอยู่ในร่างกายโดยเฉพาะในหลอดเลือด | อะไรทำให้โคเลสเตอรอลสูง มาจากพฤติกรรมการบริโภคของแต่ละคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารไขมันสูง นอกจากนี้เรื่องของกรรมพันธุ์ และโรคเบาหวานยังมีส่วนเกี่ยวข้องอีกด้วย
โคเลสเตอรอลสูงก่อให้เกิดโรคหัวใจได้อย่างไร
ปกติหลอดเลือดจะมีผิวเรียบสม่ำเสมอ แต่เมื่อมี แอล ดี แอล มาจับที่ผนังหลอดเลือดเป็นเวลานานจนกระทั่งพอกตัวหนาขึ้นๆ ก้อนไขมันที่สะสมที่ผนังหลอดเลือดนี้เราเรียกว่า พลัค (plaque) ซึ่งการ-ก่อตัวของพลัคทำให้หลอดเลือดตีบลง ดังนั้นหัวใจจึงต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดให้เคลื่อนที่ผ่านไป เลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ ก้อนพลัคนั้นสามารถขวางกั้นระบบไหลเวียนเลือดในหลอดเลือด และยังสามารถปริแตกตัวออกมาทำให้เกิดลิ่มเลือดแข็งตัวอุดตันบริเวณพลัคนั้น และเมื่อเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจหรือสมอง จะทำให้อวัยวะส่วนนั้นขาดเลือด เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด หรืออัมพาตจากสมองขาดเลือดได้
โคเลสเตอรอลเท่าไรที่เรียกว่าสูง
วิธีดูว่าใครมีโคเลสเตอรอลสูง ทางการแพทย์จะเทียบกับ ค่าระดับ แอล ดี แอล ซึ่งค่าดังกล่าวขึ้นกับว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจหรือเป็นโรคเบาหวาน หรือไม่ถ้ายังไม่เป็นโรคดังกล่าว ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องคำนึงในการจัดระดับแอล ดี แอล มีอยู่ 6 ประการ
| • | อายุ ชายเกิน 45 ปี หญิงเกิน 55 ปี |
| • | มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนวัยอันควร (ชายก่อนอายุ 55 ปี หญิงก่อนอายุ 65 ปี) |
| • | ความดันโลหิตสูง |
| • | โรคเบาหวาน |
| • | สูบบุหรี่ |
| • | ค่าเอช ดี แอล น้อยกว่า 40 มก.ต่อดล. | ทำไมต้องรับประทานยาลดไขมันในเลือด ไขมันโคเลสเตอรอลสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แอล ดี แอล เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหัวใจขาดเลือดและพบว่ามีการศึกษาวิจัย ยืนยันประสิทธิภาพการรักษาด้วยยาลดไขมันโดยเฉพาะยาในกลุ่ม สเตติน (Statins) ว่าหลังได้รับยาแล้วผู้ป่วยไขมันโคเลสเตอรอลสูงที่เป็นโรคหัวใจ มีอัตราการเสียชีวิตโดยรวมจากโรคหัวใจและโรค หลอดเลือดลดลงมาก
เมื่อไรต้องรับประทานยาลดไขมันโคเลสเตอรอล
การควบคุมอาหารเต็มที่จะลดระดับโคเลสเตอรอลได้ประมาณร้อยละ 10-15 ซึ่งอาจเพียงพอในผู้ที่มีไขมันสูงบางราย ในขณะที่อาจไม่เพียงพอในผู้ที่เป็นเบาหวานหรือผู้ที่เป็นโรคหัวใจที่ควรให้ แอล ดี แอล ต่ำกว่า 100 มก.ต่อดล. ดังนั้นการพิจารณาใช้ยาจึงขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของระดับไขมันโคเลสเตอรอล และดุลยพินิจของแพทย์ อย่างไรก็ตามการรับประทานยาเป็นเพียงการลดโอกาสการเกิดโรค หรือผลแทรกซ้อนทางเลือดเท่านั้น มิได้ป้องกันการเกิดโรค ดังนั้น การรักษาด้วยยาจึงต้องควบคู่ไปกับการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย การลดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ และอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างต่อเนื่อง
ต้องรับประทานยาลดไขมันในเลือดไปนานเท่าไร
มาถึงคำตอบที่รอคอยนะคะ การให้ยาลดไขมันหรือโคเลสเตอรอลในเลือดนั้น มีจุดมุ่งหมายมิใช่เพื่อการลดระดับไขมันในเลือด เท่านั้น แต่หวังผลในการลดการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดหัวใจ ที่สะสมมาตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นซึ่งก็นานนับสิบๆ ปีกว่าจะทำให้เกิดอาการ ดังนั้นหากต้องการให้ไขมันในผนังหลอดเลือดที่สะสมอยู่ลดลง ก็ต้องใช้เวลานานหลายปีเช่นเดียวกัน ประโยชน์จากการลดไขมันโคเลสเตอรอลจะเห็นได้ก็ต่อเมื่อ ระดับแอล ดี แอล ลดต่ำลงเป็นระยะเวลานานอย่างต่อเนื่อง เช่น อย่างน้อย 5 ปี (หรือตลอดชีวิต) นอกจากนี้การรับประทานยาไม่สม่ำเสมอจะไม่สามารถลดระดับไขมันให้ต่ำอย่างต่อ เนื่องก็จะไม่ได้ประโยชน์จากยา ดังนั้นการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องจึงมีความ-สำคัญอย่างยิ่ง ตารางแสดงค่าปัจจัยเสี่ยง | ชื่อโคเลสเตอรอล | ระดับค่า | แอล ดี แอล |
|
| • เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือเป็นโรคเบาหวาน | ควรต่ำกว่า | 100 มก./ดล. | • ไม่มีหลอดเลือดโรคหัวใจและโรคเบาหวานแต่มีปัจจัยเสี่ยงตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไป | ควรต่ำกว่า | 130 มก./ดล. | •ไม่มีโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคเบาหวานและมีปัจจัยเสี่ยงน้อยกว่า 2 ข้อ | ควรต่ำกว่า | 160 มก./ดล. | ไตรกลีเซอไรด | ควรต่ำกว่า | 150 มก./ดล. | เอช ดี แอล | ควรสูงกว่า | 40 มก./ดล. | สรุปว่าการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลในการลดการสะสมของไขมันในหลอดเลือดแดง และลดปัญหาแทรกซ้อนทางหลอดเลือดที่อาจเกิดขึ้น แต่การรับประทานยาอย่างต่อเนื่องนั้นยังมิใช่คำตอบสุดท้ายของการรักษานะคะ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย งดสูบบุหรี่ การควบคุมความดันโลหิตในคนที่มีความดันโลหิตสูง และการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ที่เป็นเบาหวาน ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำควบคู่กันไปค่ะ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น