วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2552

ตำราสมุนไพรไทย การะบูร

การะบูร, การบูร

ชื่ออื่น ๆ : การบูร การบูร (ภาคกลาง) อบเชยญวน พรมเส็ง (เงี้ยว) เจียโล่ (ประเทศจีน)

ชื่อสามัญ : Camphor, Laurel Camphor, Gum Camphor, Formosan Camphor

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum Camphora Th Fries, Cinnamomum Camphora Nees ex Eberm”

วงศ์ : LAURACEAE

ลักษณะทั่วไป

ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งมีลำต้นสูงประมาณ 9 เมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 25-45 นิ้ว ผิวมันเกลี้ยงเป็นสีเขียว

ใบ : เป็นใบเดี่ยว ผิวมันเรียบ เป็นสีเขียวตลอดทั้งปี ใบจะหนาและยาวประมาณ 5-15 ซม. ปลายใบแหลม ลักษณะของมันเป็นรูปรี

ดอก : ดอกเป็นสีขาวอมเขียว หรือสีเหลือง ดอกมีขนาดเล็กจะออกเป็นกระจุกตามบริเวณง่ามใบ มีดอกในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฏาคม

ผล : ผลมีสีชมพู หรือสีน้ำตาลม่วง เป็นผ ขนาดเล็ก ใน 1 ผล จะมีอยู่ 1 เมล็ด

ส่วนที่ใช้ : เปลือกและราก กลั่นเป็นการะบูนใช้กินประมาณ 1-2 เกรน ใช้แก้ปวดขัดตามเส้นประสาท
ข้อบวมเป็นพิษ แก้เคล็ดบวม เส้นสะดุ้ง กระตุก ขัดยอกแพลง ปวดท้อง ท้องร่วง ขับน้ำเหลือง แก้เลือดลม บำรุงกำหนัด ขับเหงื่อ ทำลายเสมหะ บำรุงธาตุ แก้โรคตา กระจายลม ขับผายลม และเมื่อนำมาผสมเป็นขี้ผึ้ง เป็นยาที่ร้อน ใช้ทาแก้เพื่อถอนพิษอักเสบเรื้อรัง ปวดยอกตามกล้ามเนื้อ สะบักจม ทรวงอก ปวดร้าวตามเส้นเอ็น โรคปวดผิวหนัง รอยผิวแตกในช่วงฤดูหนาว แก้พิษสัตว์กัดต่อย เป็นต้น

หมายเหตุ : วิธีการที่จะทำให้ได้สารสำคัญจากเปลือก เนื้อไม้หรือรากนั้น กระทำได้โดยการนำเอามา หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำกลั่นโดยใช่ไอน้ำ ก็จะได้การะบูนดิบ จากนั้นก็นำเอาการะบูนดิบไปแยกเอาน้ำมันออก โดยการระเหิด (sublimate)ด้วยถ่าน(charcoal)และน้ำปูนใส วิธีการสังเคราะห์การะบูน ซึ่งเริ่มจาก pinene เป็นสารที่สำคัญมักพบอยู่ในน้ำมันสน มีวิธีการคือเปลี่ยน pinene ให้กลายเป็น bornyl ester โดยการใช้ hydrogen chloride แล้ว treatf กับ sodium acetate ก็จะได้ iso-bornyl acetate แล้วนำ hydrolyse ก็จะได้ isoborneol สุดท้ายแล้วนำไป oxidise ก็จะให้ comphor.

หมายเหตุ : “การบูร(ทั่วไป) อบเชยญวณ(ไทย) พรมเส็ง(เงี้ยว).” In Siamese Plant Names,1948,p.117 “Camphor tree, Formosan camphor.”, “Camphor is a word covering several closely similar chemical substances. That from C. camphora is dextro-camphor,or common camphor, being the most abundant on the market. This the Malays call kapur tohor.” Burkill,I,1935,p.546.

พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม

ไม่มีความคิดเห็น: