แก้วลืมวาง
ชื่ออื่น ๆ : เก็งชุ้งล้อ (จีน-กรุงเทพฯ) แก้วลืมวาง (เชียงใหม่)
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dianthus chiinensis Linn
วงศ์ : CARYOPHYLLACEAE
ลักษณะทั่วไป
ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง มีความสูงเพียง 5-18 นิ้ว แตกกิ่งก้านเป็นจำนวนมาก
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปหอกแคบ ขนาดเล็ก ริมขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบออกเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน โคนใบจะเชื่อมติดกันเล็กน้อย
ดอก : ดอกออกตรงบริเวณปลายยอด มี 1-3 ดอก ลักษณะของดอกมีกลีบรองกลีบดอก ยาวราว 16-24 มม. โคนกลีบจะเชื่อมติดกัน ส่วนปลายแยกออกเป็นแฉกแหลม ตั้งตรงมี 5 แฉก และกลีบดอกมีขนาดยาวราว 1-25 มม. ริมขอบกลีบจะหยักเป็นซี่ ๆ ห่างกัน ามีสีแดงแกมขาว หรือสีแดงหรือสีแดงดำ กลางดอกมีเกสรตัวผู้ 10 อัน ท่อเกสรตัวเมียแยกเป็น 2 แฉก
ผล : ผลมีลักษณะ ปลายผลหยักเป็นซี่เลื่อย 4 ซี่ สีแห้ง
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่นิยมปลูกกันเป็นไม้ประดับ เจริญเติบโตได้ดีในที่มีลักษณะเป็นดินอุดมร่วนซุย มีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ลำต้น
สรรพคุณ : ลำต้น ใช้เป็นยาแก้โรคมะเร็งผิวหนัง แก้โรคเรื้อน ขับระดู ขับปัสสาวะ เป็นยารักษาบาดแผล รักษาโรคโกโนเรีย และโรคแผลเน่าเปื่อย
ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้กับสัตว์ที่มีครรภ์ เพราะอาจจะทำให้ลูกในท้องแท้งได้
ถิ่นที่อยู่ : แก้วลืมวาง เป็นพรรณไม้พื้นเมืองในเขตอบอุ่นแถบเหนือ
หมายเหตุ : “ผีเสื้อ (กรุงเทพฯ) แก้วลืมวาง (พายัพ) “in Siam Plant Names,1948,p.175″ Chinese Pink;Indian Pink.
พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น